Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
บทที่ 5 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
5.2 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
5.2.1 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้ โดยไม่ต้องละหมาดชดใช้อีก
ผู้ป่วยที่มีนะญิส ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะขจัดนะญิสเหล่านั้นได้ เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์ และการอาบน้ำละหมาดของเขานั้นไม่เสีย แต่เขาจะต้องอาบน้ำละหมาดหรือตะยัมมุม ทุกครั้งก่อนที่จะละหมาดผู้ป่วยตราบใดที่ยังมีสติ
5.2.2 สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำ ให้ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำ ให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย
นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังมีข้อพึงปฏิบัติตามความเชื่อคือ ให้นำ หัวปลาไหลแห้ง ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่อาบนํ้าทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด โดยมีความเชื่อว่าจะทำ ให้คลอดง่าย
หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้งยังมีการคลอดที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เป็นเพราะความเชื่อ และ การปฏิบัติที่สืบต่อกันมานาน
5.2.3 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
1.ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค (Preventive screening) เช่น ตรวจร่างกายประจาปี อาทิ ตรวจดูเลือดและเอ็กเรย์ปอด
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture) การขูดผิวหนังด้วยวัตถุใดๆ การนวด
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
การพยาบาลผู้ป่วยและผู้ใช้บริการชาวจีนจำเป็นต้องใช้กรอบแนวคิดของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการชาวจีนด้วยภาษาจีนง่ายๆ หรือตามความสนใจ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว
3.เลือกใช้วิธีการพยาบาลบนพื้นฐานของการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลไปกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆเพื่อให้การดูแลที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม
ศึกษาวัฒนธรรมของชาวจีนในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ เช่น ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และความเชื่อ
5.1 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
5.1.1 ประเทศไทย
ศาสนาคริสต์เชื่อว่าเด็กเป็นของขวัญจากพระเจ้า ต้องดูแลให้เติบโตในทางที่ดี เมื่อเด็กเกิดมาต้องเข้าพิธีบัติศมาเพื่อแสดงถึงการชำระเพื่อให้พ้นจากความบาป และประกาศตัวเป็นศาสนิกชน
ศาสนาพุทธ ความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลเด็กก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม แต่ละภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในสมัยโบราณจะมีพิธีการสู่ขวัญเด็กเมื่ออายุครบ 1 เดือนและมีการโกนผมไฟด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำ ให้เด็กที่มีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่าย
ศาสนาอิสลามเชื่อว่าลูกเป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ดังนั้นต้องดูแลเด็กให้เป็นคนดีของสังคมต่อไป
5.1.2 ประเทศกัมพูชา
การเกิดของเด็กเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในครอบครัว การเกิดถือว่าเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
ชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
นอกจากนี้ชาวกัมพูชาถือว่าศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วยเด็ก ถ้าบุคลากรทางการสุขภาพไปแตะศีรษะหรือผมเด็ก และถ้าเด็กป่วย จะโดนโทษว่าเป็นคนที่ทำให้เด็กป่วย
5.1.3 ประเทศจีน
วัฒนธรรมจีนชื่นชอบลูกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
สำหรับเด็กที่เกิดในประเทศจีน เมื่อครบสามวันจะมีพิธีล้างวันที่สาม ในวันนี้จะเป็นการอาบน้ำให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอด จึงต้องพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกภาชนะ น้ำ รวมถึงผู้ประกอบพิธี น้ำที่ใช้อาบมีชื่อเรียกว่า “ฉางโซ่วทัง” มีความหมายว่า น้ำอายุมั่นขวัญยืน
พิธีครบเดือนหรือที่ชาวจีนโบราณเรียกว่า “หมีเย่ว์” ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ประกอบไปด้วยการโกนผมไฟ การจัดเลี้ยงในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย และการตั้งชื่อให้เด็ก
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
2.พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
3.หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
1.ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
4.อาจทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาพม่า ภาษามลายู ภาษาเขมร
5.การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์ ตั้งแต่การประเมินปัญหาของผู้ป่วย วินิจฉัย วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล
5.3 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุขึ้นกับ คุณค่า ความเชื่อ ของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุในแถบประเทศตะวันตกค่อนข้างจะให้ความสำคัญของการคำนึงถึงความเป็นบุคคลและการมีอิสระในการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้มากที่สุด
ส่วนผู้สูงอายุในแถบตะวันออกมักจะมีความต้องการพึ่งพาลูกหลานและครอบครัวมากกว่า
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ มีดังนี้
4) การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
5) ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบเช่น รสจืด ไม่เผ็ด
3) สุขภาพและยาที่ใช้ ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่
6) การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ
2) การสื่อสาร ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม
7) การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ เช่น ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด การไปวัดหรือร่วมนมัสการในบ้านหรือไปโบสถ์
1) การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ