Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.4 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘, นางสาวสุดธิดา สิงหาอรุณ รหัส…
5.4 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
หมวด ๑ บททั่วไป
มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด
(๒) ช่องทางเข้าออกแห่งใดในราชอาณาจักรให้เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและยกเลิกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(๓) การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
(๑) ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกําหนด
(๒) หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการดําเนินการหรือออกคําสั่งและการสอบสวนโรค
(๓) หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการกําหนดค่าใช้จ่ายสําหรับเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะ
(๑) หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้น
(๔) หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้เดินทางต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
มาตรา๘เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักรให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคและยกเลิกประกาศเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร
มาตรา ๙ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดให้อธิบดีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศชื่ออาการสําคัญและสถานที่ที่มีโรคระบาดและแจ้งให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๔ทราบรวมทั้งประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ข้อมูลจากการเฝ้าระวังการสอบสวนโรคหรือการแจ้งหรือรายงานตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งมีการพาดพิงถึงตัวบุคคลทั้งที่ระบุตัวได้หรือไม่สามารถระบุตัวได้จะต้องเก็บเป็นความลับและประมวลผลโดยไม่เปิดเผยชื่อทั้งนี้การประมวลผลดังกล่าวจะต้องเหมาะสมและตรงกับวัตถุประสงค์ในการป้องกันและควบคุมโรค
หมวด ๒ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ” ประกอบด้ว
(๒) ปลัดกระทรวงกลาโหมปลัดกระทรวงการต่างประเทศปลัดกระทรวงคมนาคมปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงแรงงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการปลัดกระทรวงสาธารณสุขเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติอธิบดีกรมการแพทย์
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
(๓) กรรมการซึ่งมาจากผู้แทนแพทยสภาผู้แทนสภาการพยาบาลผู้แทนสภาเทคนิคการแพทย์และผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชนจํานวนแห่งละหนึ่งคน
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการสาธารณสุขการควบคุมโรคและด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจํานวนสี่คน
มาตรา ๑๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปีในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเดียวกันแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่งและให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง
(๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะมีพฤติกรรมเสื่อมเสียบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๒) ลาออก
(๑) ตาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดนโยบายวางระบบและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเพื่อให้หน่วยงานของรัฐคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครดําเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
(๒) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดและเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
(๓) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงระเบียบประกาศและแนวทางปฏิบัติเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ให้คําปรึกษาแนะนําและประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
(๕) ติดตามประเมินผลและตรวจสอบการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
(๖) พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าชดเชยค่าทดแทนค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่จําเป็นในการดําเนินการเฝ้าระวังการสอบสวนโรคการป้องกันหรือการควบคุมโรคติดต่อ
(๗) แต่งตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการด้านวิชาการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๑๑ (๔) และให้มีกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านโรคติดต่ออีกจํานวนไม่เกินเจ็ดคน
มาตรา ๑๗ ให้นําความในมาตรา๑๕มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นหรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาได้
มาตรา ๑๙ ให้กรมควบคุมโรคเป็นสํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการรับผิดชอบงานธุรการโดยให้มีอํานาจหน้าที่
หมวด ๓ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัง
มาตรา ๒๐ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดประกอบด้วย
(๑) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ
๒) ปลัดจังหวัดประชาสัมพันธ์จังหวัดปศุสัตว์จังหวัดหัวหน้าสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดผู้อํานวยการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่รับผิดชอบในเขตจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นกรรมการ
(๓) นายกเทศมนตรีจํานวนหนึ่งคนและนายกองค์การบริหารส่วนตําบลจํานวนหนึ่งคนซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเป็นกรรมการ
(๔) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศูนย์หรือผู้อํานวยการโรงพยาบาลทั่วไปจํานวนหนึ่งคนผู้อํานวยการโรงพยาบาลชุมชนจํานวนสองคนและสาธารณสุขอําเภอจํานวนสองคนซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเป็นกรรมการ
(๕) ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลจํานวนหนึ่งคนซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเป็นกรรมการ
มาตรา ๒๑ การแต่งตั้งวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา๒๐ (๓) (๔) และ (๕) และกรรมการตามมาตรา๒๐วรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมีอํานาจหน้าที่
(๓) รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดต่ออธิบดี
(๔) สนับสนุนส่งเสริมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดแล้วรายงานต่อคณะกรรมการ
(๒) จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่จังหวัด
(๕) แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา๒๓ในกรณีที่จังหวัดนั้นมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(๑) ดําเนินการตามนโยบายระบบและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่คณะกรรมการกําหนด
(๖) เรียกให้บุคคลใดๆมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นหรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
(๗) ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี
มาตรา ๒๓ คณะทํางานประจําช่องทางเข้าออก
(๒) ผู้แทนกรมปศุสัตว์ผู้แทนกรมวิชาการเกษตรผู้แทนกรมศุลกากรผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาและผู้แทนสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในช่องทางเข้าออกนั้นเป็นคณะทํางาน
(๓) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบช่องทางเข้าออกนั้นเป็นคณะทํางาน
(๑) เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออกนั้นเป็นประธานคณะทํางาน
(๔) เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศจํานวนหนึ่งคนเป็นคณะทํางานและเลขานุการ
มาตรา ๒๔ ให้คณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกมีอํานาจหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
(๒) ประสานสนับสนุนและติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนใน (๑)
(๓) จัดทําแผนการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(๑) จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข
(๔) ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมอบหมาย
มาตรา ๒๕ ให้นําความในมาตรา๑๕มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม
หมวด ๔ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
มาตรา๒๘ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีอํานาจหน้าที่
(๓) รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครต่ออธิบดี
(๔) สนับสนุนส่งเสริมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกรุงเทพมหานครแล้วรายงานต่อคณะกรรมการ
(๒) จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๕) แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา๒๓
(๑) ดําเนินการตามนโยบายระบบและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่คณะกรรมการกําหนด
(๖) เรียกให้บุคคลใดๆมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นหรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
(๗) ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายหรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๙ ให้นําความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม
มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา๒๖ (๓) (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา ๒๖ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
(๓) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครจํานวนหนึ่งคนผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขจํานวนหนึ่งคนและผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานครจํานวนหนึ่งคน
(๔) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐนอกจาก (๓) ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจํานวนไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ
(๒) ปลัดกรุงเทพมหานครผู้แทนสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยผู้แทนกรมควบคุมโรคผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์ผู้แทนกรมปศุสัตว์ผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานผู้อํานวยการสํานักการแพทย์กรุงเทพมหานคร
(๕) ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจํานวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ
(๑) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ
(๖) เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศในเขตกรุงเทพมหานครจํานวนแห่งละหนึ่งคนและแต่งตั้งผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออกประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศนั้นๆจํานวนแห่งละหนึ่งคนเป็นกรรมการ
มาตรา ๓๐ ให้นําความในมาตรา๒๓และมาตรา๒๔มาใช้บังคับแก่องค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแต่งตั้งโดยอนุโลม
หมวด ๕ การเฝ้าระวังโรคติดต่อ
มาตรา ๓๑ ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้นให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งต่อเจ้าพนักงาน
(๑) เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้านหรือแพทย์ผู้ทําการรักษาพยาบาลในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน
(๒) ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาลในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาล
(๓) ผู้ทําการชันสูตรหรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตรในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์หรือทางการสัตวแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว
(๔) เจ้าของหรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นใดในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานที่นั้น
มาตรา ๓๒ เมื่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้รับแจ้งตามมาตรา๓๑ว่ามีเหตุสงสัยมีข้อมูลหรือหลักฐานว่ามีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อแจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณีและรายงานข้อมูลนั้นให้กรมควบคุมโรคทราบโดยเร็ว
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้นในต่างประเทศให้กรมควบคุมโรคประสานงานไปยังองค์การอนามัยโลกเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าว
หมวด ๗ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา ๔๕ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอํานาจดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใดๆมาให้ถ้อยคําหรือแจ้งข้อเท็จจริงหรือทําคําชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
(๒) เข้าไปในพาหนะอาคารหรือสถานที่ใดๆในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของอาคารหรือสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
มาตรา ๔๖ ให้มีเครื่องแบบเครื่องหมายและบัตรประจําตัวสําหรับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อแสดงตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๘ ค่าทดแทน
มาตรา๔๘ในการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้หากเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวังการป้องกันหรือการควบคุมโรคให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามความจําเป็น
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๘ ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๒๓เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๕๙ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา๑๑ยกเว้นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๑๑ (๔) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา๕๙ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา๑๑ยกเว้นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๑๑ (๔) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
หมวด ๖ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายโรคระบาดหรือพาหะนําโรคให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวถูกแยกกักกักกันคุมไว้สังเกตหรือได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
มาตรา ๔๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศหรือโรคระบาดให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอํานาจออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหรือการได้รับยาป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศหรือหนังสือรับรองอื่นๆให้แก่ผู้ร้องขอโดยผู้ร้องขอเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
มาตรา ๔๑ ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้นเพื่อแยกกักกักกันคุมไว้สังเกตหรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตลอดทั้งออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศตามมาตรา๔๐และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ออกคําสั่งให้ผู้ใดดําเนินการตามมาตรา๓๔ (๓) (๔) หรือ (๕) มาตรา๓๘มาตรา๓๙ (๔) หรือมาตรา๔๐ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วผู้นั้นละเลยไม่ดําเนินการตามคําสั่งภายในเวลาที่กําหนดเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอํานาจดําเนินการแทนได้โดยให้ผู้นั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการนั้นตามจํานวนที่จ่ายจริงทั้งนี้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด
มาตรา ๔๐ เมื่อรัฐมนตรีประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคตามมาตรา๘ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจดําเนินการเองหรือออกคําสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรจากท้องที่หรือเมืองท่านั้น
มาตรา ๓๙ ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศเมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุสงสัยว่าพาหนะนั้นมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคระบาดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจหน้าที่
มาตรา ๓๘ เมื่อมีเหตุอันสมควรให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจตรวจตราควบคุมกํากับดูแลในพื้นที่นอกช่องทางเข้าออกและแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดําเนินการกําจัดยุงและพาหะนําโรคในบริเวณรัศมีสี่ร้อยเมตรรอบช่องทางเข้าออกในการนี้ให้เจ้าของหรือผู้อยู่ในบ้านโรงเรือนหรือสถานที่ในบริเวณดังกล่าวอํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามสมควร
มาตรา๓๗ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบช่องทางเข้าออกปฏิบัติตามวิธีการเพื่อการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศในบริเวณช่องทางเข้าออก
(๑) จัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะรวมทั้งกําจัดสิ่งอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒) จัดการสุขาภิบาลเกี่ยวกับอาหารและน้ําให้ถูกสุขลักษณะ
(๓) กําจัดยุงและพาหะนําโรค
(๔) ปฏิบัติการตามวิธีการอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา ๓๖ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณีจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อขึ้นในทุกอําเภอหรือทุกเขตอย่างน้อยหนึ่งหน่วยเพื่อทําหน้าที่ในการเฝ้าระวังสอบสวนโรคป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดทั้งนี้หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา๓๕ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีอํานาจในพื้นที่ความรับผิดชอบของตน
มาตรา ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเมื่อเกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่ใดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่นั้นมีอํานาจที่จะดําเนินการเองหรือออกคําสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดําเนินการ
หมวด ๙ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๕๓ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา๓๘ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๔ เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๐ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๔ (๓) (๔) (๗) หรือ (๘) หรือมาตรา๔๐ (๓) หรือ (๔) หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา๓๕ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๕ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๕วรรคสามต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา๕๑ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๔ (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) มาตรา๓๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) มาตรา๔๐ (๕) หรือไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๙ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๖ ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๖กระทําการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา๓๑ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา๔๙ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา๑๘หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามมาตรา๒๒(๖) หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา๒๘ (๖) หรือคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๕ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือ
มาตรา ๕๗ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบที่คณะกรรมการกําหนด
นางสาวสุดธิดา สิงหาอรุณ รหัส 6001210514 เลขที่ 25 Sec B