Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคล แต่ละวัย - Coggle Diagram
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคล
แต่ละวัย
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
อาจทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
ประเทศไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ปกครอง เช่น การบอกกล่าวของบิดามารดา คำสั่งสอนของปู่ย่าตายาย จะได้ว่าครอบครัวที่เลี้ยงดูเด็กจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเจ็บป่วยของเด็กเป็นอันดับแรก
ประเทศจีน
ในชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคมแต่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สามารถมีลูกคนที่สองได้ เพื่อมุ่งหวังแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างประชากรจีนในระยะยาว อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมจีนชื่นชอบลูกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในอดีตความต้องการมีลูกชายไว้สืบสกุลเพราะมีลูกได้เพียงคนเดียว
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
ให้ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำ ให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย นอกจากนั้นหญิงตั้งครรภ์ก็จะถูกแนะนำ ให้กินแกงผักพื้นบ้าน ชื่อผักปรัง ซึ่งมีลักษณะลื่นๆ เพื่อจะทำ ให้ลูกคลอดไม่ลำบาก
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้ โดยไม่ต้องละหมาดชดใช้อีก
ผู้ป่วยที่มีนะญิส (สิ่งสกปรกที่ต้องชำระให้สะอาดตามหลักนิติบัญญัติอิสลาม) ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะขจัดนะญิสเหล่านั้นได้
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค (Preventive screening) เช่น ตรวจร่างกายประจาปี อาทิ ตรวจดูเลือดและเอ็กเรย์ปอด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture)
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
การพยาบาลผู้ป่วยและผู้ใช้บริการชาวจีนจำเป็นต้องใช้กรอบแนวคิดของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม(Trans-cultural nursing theory) ควบคู่กับศาสตร์ทางการพยาบาลอื่นๆ แนวทางการดูแลผู้ใช้บริการกลุ่มนี้มีวิธีการปฏิบัติ
ศึกษาวัฒนธรรมของชาวจีนในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ เช่น ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และความเชื่อ เป็นต้น
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการชาวจีนด้วยภาษาจีนง่ายๆ
เลือกใช้วิธีการพยาบาลบนพื้นฐานของการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลไปกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆเพื่อให้การดูแลที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม
การคงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care preservation or maintenance)
การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ (
การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม่ (Culture care repatterning or restructuring)
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ
การสื่อสาร ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม
สุขภาพและยาที่ใช้ ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่
การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ
ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป
การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี