Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครือข่ายของพิวเตอร์ - Coggle Diagram
เครือข่ายของพิวเตอร์
ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
LAN (Local Area Network)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันเช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร
CAN (Controller Area Network)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์
MAN (Metropolitan Area Network)
เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน
PAN (Personal Area Network)
เป็นเครือข่ายที่ใช่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น เช่น Bluetooth
SAN (Storage Area Network)
เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย
WAN (Wide Area Network)
เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล ซึ่งมีอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสารหรือสามารถนำเครือข่ายท้องถิ่นมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบธนาคารทั่วโลก
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว โดยจะมีสายเคเบิ้ลเป็นตัวเชื่อม เวลาส่งข้อมูลจะมีคอมเพียงตัวเดียวที่ส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลานั้น มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มาก
ข้อเสีย คือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก การส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหาข้อจำกัดและถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
ข้อดี คือใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงาน ของระบบโดยรวม
เครือข่ายเเบบแบบวงแหวน (ring topology)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป เเละถ้าข้อมูงที่ส่งมาไม่ตรงกับข้อมลต้นมันก็จะส่งผ่านไปจนกว่าจะถึงคอมปลายทาง
ข้อดี คือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
ข้อเสีย คือถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานี
ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
*ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ
ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ
แบบผสม (Hybrid Topology)เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสีย และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่ง Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
ข้อดี คือใช้สายส่งข้อมูลน้อย เมื่อเทียบกับระบบดาว เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลน้อย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย คือ หากเกิดความเสียหายจุดใด จะทำให้ระบบไม่สามารถติดต่อกันได้จนกว่าจะนำจุดที่เสียหายออกจากระบบ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด เพราะอาจต้องหาทีละจุด และการจัดโครงสร้างใหม่ค่อนข้างยุ่งยาก เมื่อต้องต้องการเพิ่มจุดสถานีใหม่ ถ้าจะทำต้องตัดสายใหม่
แบบเมช (Mesh Topology) มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูลได้อิสระ การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง
ข้อดี คือ อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ความเชื่อถือได้ของระบบ ง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด และ ข้อมูลมีความปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว
ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลสูง เช่นถ้า
ในเครือข่ายมีอยู่ 100 โหนด จะต้องมีจำนวนจุดเชื่อมต่อถึง 4,950 เส้น
รูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Peer-to-Peer คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์กำหนดให้ไฟล์และโฟลเดอร์ที่จะใช้ร่วมกันได้ พบในสำนักงานขนาดเล็กที่ไม่ได้ใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันแต่ละคู่ (เชื่อมต่อ 1 ต่อ 1) ไม่มี ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้ง Windows, Mac and Linux และสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ข้อดี
ไม่ต้องการระบบปฏิบัติการ (OS) สำหรับเครือข่าย
ไม่จำเป็นต้องใช้ Server เพราะแต่ละเครื่องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ไม่จำเป็นต้องใช้ Server เพราะแต่ละเครื่องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
การตั้งค่าได้ง่ายกว่า ระบบเครือข่ายแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Networks)และไม่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทาง
หากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งล้มเหลวจะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆของเครือข่ายแต่นั่นก็หมายความว่าผู้อื่นจะไม่สามารถเข้าถึงไฟล์งานได้
ข้อเสีย
คอมพิวเตอร์อาจมีการเข้าถึงโดยบุคคลอื่น ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง
ไฟล์และโฟลเดอร์ไม่ได้มีการสำรองข้อมูลจากส่วนกลาง
ไฟล์และทรัพยากรที่ไม่ได้อยู่ใน “พื้นที่แบ่งปัน”อาจจะยากต่อการเข้าถึงหากผู้ใช้มีการจัดเก็บที่ไม่เป็นระบบ
เป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้แต่ละคนที่จะไม่ให้ไวรัสติดเข้ามาในระบบเครือข่าย
ระบบรักษาความปลอดภัยมีน้อยหรือไม่มีเลยซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้ใช้ไม่มีการระบุตัวตนในการเข้าระบบ(log on)
Client/Server คือ เป็นรูปแบบหนึ่งของเครือข่าย โดยจะมีคอมพิวเตอร์หลักเครื่องหนึ่งเป็น เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะไม่ได้ทำหน้าที่ประมวลผลทั้งหมดให้เครื่องลูกข่าย หรือไคลเอนต์ (client) เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่เก็บข้อมูลระยะไกล (remote disk) และประมวลผลบางอย่าง
ขนาด
สามารถรองรับเครือข่ายตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แต่ที่เหมาะสมจะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
การบริหารระบบ
จะต้องมีเจ้าหน้าที่ในการบริหารระบบโดยเฉพาะ ซึ่งทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับงานพื้นฐานประจำวัน เช่น การสำรองข้อมูล การตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัย และการดูแลระบบให้ทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ
โปรแกรม
องค์กรที่ใช้เครือข่ายแบบนี้ มักมีการเก็บโปรแกรมไว้บนเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปเรียกใช้ได้ทันที
ระบบรักษาความปลอดภัย
เพื่อเป็นการป้องกันรักษาข้อมูล บริษัทส่วนใหญ่จึงมักจะเก็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ในห้องที่แยกต่างหากและมีการปิดล็อคไว้เป็นอย่างดี
บริการ
อาจจะมีเซิร์ฟเวอร์อยู่หลายตัวในการทำงานเฉพาะด้าน และบริหารไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่าย เช่น ดาต้าเบสเซอร์เวอร์จัดเก็บและบริหารฐานข้อมูลขององค์กร
การขยายระบบ
เครือข่ายนี้ ยืดหยุ่นต่อการเพิ่มเติมขยายระบบ การเพิ่มเครื่องไคลเอนต์ในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสเป็กสูง ราคาแพง โดยเครื่องที่มีสมรรถนะสูงนั้นเอาไว้ใช้เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์
ประสิทธิภาพ
นั้น เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำงานบริการให้กับเครื่องไคลเอนต์ที่ร้องขอเข้ามา ซึ่งนับว่าเป็นงานประมวลผลที่หนักพอสมควร ดังนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ก็ควรจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลัง
การดูแลซ่อมแซม
ปัญหาที่เกิดขึ้นในเครือข่ายแบบนี้หาพบได้ไม่ยาก เช่น ถ้าเครื่องไคลเอนต์เครื่องใดมีปัญหาผู้บริหารระบบก็เพียงแก้ไขที่เครื่องนี้ ซึ่งจะไม่กระทบต่อเครื่องไคลเอนต์เครื่องอื่น
ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมาชิก
นางสาว ปุญญิศา จันทรพูน เลขที่17 ม.4/12
นางสาว บัณฑิตา ทองมงคล เลขที่ 15 ม.4/12
นางสาว ณิชารีย์ แย้มยินดี เลขที่25 ม.4/12
นางสาว กันต์กมล วรรณเต็ม เลขที่33 ม.4/12
นางสาว พิชญาภัค หวามา เลขที่21 ม.4/12