Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.3 พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๔๑, นางสาวสุดธิดา สิงหาอรุณ หรัส…
5.3 พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๔๑
หมวด ๑ คณะกรรมการสถานพยาบาล
มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คําปรึกษาให้ความเห็นและให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตในเรื่องดังต่อไปนี้
1.การออกกฎกระทรวงหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
2.การอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลการดําเนินการสถานพยาบาลการปิดสถานพยาบาลหรือการเพิกถอนใบอนุญาต
3.การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการของสถานพยาบาล
4.การควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดําเนินการสถานพยาบาล
5.การกําหนดลักษณะและมาตรฐานหรือการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา๕วรรคหนึ่งและการแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสถานพยาบาลดังกล่าว
6.การกําหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือสาธารณภัยตาม
7.เรื่องอื่นๆตามที่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตมอบหมาย
มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา๘กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๗พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
1.ตาย
2.ลาออก
3.รัฐมนตรีให้ออก
4.เป็นบุคคลล้มละลาย
2.เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
6.พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ประกอบวิชาชีพผู้ดําเนินการในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในฐานะนั้น
7.ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๗มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปีกรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา ๑๒ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของคณะกรรมการได้
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสถานพยาบาล” ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
1.ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยคําแนะนําของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะจํานวนสองคนและผู้ประกอบวิชาชีพโดยคําแนะนําของสภาวิชาชีพซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพนั้นจํานวนหกคน
2.ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจํานวนห้าคนซึ่งในจํานวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้ดําเนินการสองคนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาหนึ่งคนผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชนหนึ่งคนและผู้แทนองค์กรเอกชนที่ดําเนินกิจกรรมทางด้านคุ้มครองผู้บริโภคหนึ่งคน
มาตรา ๑๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา ๑๒ มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ถ้อยคําหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้
หมวด ๒ การประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดําเนินการสถานพยาบาล
มาตรา ๒๓ ผู้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้ดําเนินการคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในการดําเนินการสถานพยาบาล
มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้บุคคลใดดําเนินการสถานพยาบาลเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๒๒ถ้าผู้รับอนุญาตตายและมีบุคคลแสดงความจํานงต่อผู้อนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย
มาตรา ๒๕ ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต
(๒) ไม่เป็นผู้ดําเนินการอยู่ก่อนแล้วสองแห่งแต่ในกรณีที่เป็นผู้ดําเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนอยู่แล้วแห่งหนึ่งจะอนุญาตให้เป็นผู้ดําเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนอีกแห่งหนึ่งไม่ได้
(๓) เป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด
(๑)เป็นผู้ประกอบวิชาชีพแต่บุคคลเช่นว่านี้จะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดําเนินการตามประเภทใดหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ใดให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา๒๖ถ้าผู้ดําเนินการพ้นจากหน้าที่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกินเจ็ดวันผู้รับอนุญาตอาจมอบหมายให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา๒๕ดําเนินการแทนได้ไม่เกินเก้าสิบวันในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการแทนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในสามวันนับแต่วันที่เข้าดําเนินการแทน
มาตรา ๒๑ การโอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลให้แก่บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๗ให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๒๗ ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการและผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลแห่งหนึ่งๆจะเป็นบุคคลคนเดียวกันก็ได
มาตรา ๒๐ ผู้รับอนุญาตต้องชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการถ้ามิได้ชําระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กําหนดให้ชําระเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือนและถ้ายังไม่ยินยอมชําระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่มหลังจากพ้นกําหนดหกเดือน
มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สองนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
มาตรา ๒๙ ในกรณีที่ผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตแล้วแต่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือการไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา ๑๙ ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
มาตรา ๓๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทําลายในสาระสําคัญให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการแล้วแต่กรณีแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคําขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหายหรือถูกทําลาย
มาตรา ๓๑ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลนั้น
มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ณสถานพยาบาลนั้น
(๑) ชื่อสถานพยาบาล
(๒) รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
(๓) อัตราค่ารักษาพยาบาลค่ายาและเวชภัณฑ์ค่าบริการทางการแพทย์ค่าบริการอื่นและสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดงตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง
มาตรา๑๘ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้จัดให้มีกรณีดังต่อไปนี้
(๑) มีแผนงานการจัดตั้งสถานพยาบาลที่ได้รับอนุมัติแล้วตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
(๒) มีสถานพยาบาลตามลักษณะที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา๑๔
(๓) มีเครื่องมือเครื่องใช้เวชภัณฑ์หรือยานพาหนะที่จําเป็นประจําสถานพยาบาลนั้นตามชนิดและจํานวนที่กําหนด
(๔) มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวง
(๕) ชื่อสถานพยาบาลต้องเป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๓ รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาลยาและเวชภัณฑ์การบริการทางการแพทย์หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาลและสิทธิของผู้ป่วย
มาตรา ๑๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
(๒) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(๓) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาท
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๔) ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขอรับอนุญาตผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาลเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๓๔ ห้ผู้ดําเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ
(๑) ควบคุมและดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขาชั้นหรือแผนที่ผู้รับอนุญาตได้แจ้งไว้ในการขอรับใบอนุญาตหรือมิให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทําการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
(๒) ควบคุมและดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของตน
(๓) ควบคุมและดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจํานวนเตียงตามที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตเว้นแต่กรณีฉุกเฉินซึ่งหากไม่รับไว้อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย
(๔) ควบคุมและดูแลสถานพยาบาลให้สะอาดเรียบร้อยปลอดภัยและมีลักษณะอันเหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล
มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกำหนดมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล
มาตรา ๓๕ ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน
(๑) จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาทําการ
(๒) จัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่จําเป็นประจําสถานพยาบาลนั้นตามชนิดที่กําหนดในกฎกระทรวง
(๓) จัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลและผู้ป่วยและเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนด
(๔) ควบคุมและดูแลการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานการบริการที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา ๑๕
มาตรา๑๔/๑สถานพยาบาลอาจจัดให้มีการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข
มาตรา ๓๖ ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามมาตรา ๓๓/๑ ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจําเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน
มาตรา ๑๔ สถานพยาบาลมี ๒ ประเภท
(๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
(๒) สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
มาตรา ๓๗ ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการต้องควบคุมดูแลมิให้มีการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภทหรือผิดลักษณะการให้บริการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา ๓๘ ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาลนอกจากชื่อและที่ตั้งของสถานพยาบาลตามที่ปรากฏในใบอนุญาตต้องได้รับอนุมัติข้อความเสียงหรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาหรือประกาศจากผู้อนุญาตทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายที่ผู้อนุญาตประกาศกําหนด
มาตรา๓๙ในกรณีที่มีการโฆษณาหรือประกาศฝ่าฝืนมาตรา๓๘ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้โฆษณาหรือประกาศระงับการกระทําดังกล่าวได
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการของสถานพยาบาลให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่หรือดัดแปลงอาคารเกินกว่าที่กําหนดในกฎกระทรวงเพื่อใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่นให้ดําเนินการเสมือนเป็นผู้ขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
มาตรา ๔๒ เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามมาตรา๑๘(๔) ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนนั้น
มาตรา ๔๓ ภายใต้บังคับมาตรา๑๘ (๕) การเปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาลต้องแจ้งเป็นหนังสือและจัดทํารายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ป่วยให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๕ ให้ผู้อนุญาตจัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจลักษณะของสถานพยาบาลและการประกอบกิจการของสถานพยาบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้โดยสม่ำเสมอในการนี้ถ้าพบว่าสถานพยาบาลตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ยาและเวชภัณฑ์ของสถานพยาบาลนั้นมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลผู้อนุญาตมีอํานาจออกคําสั่งให้ผู้รับอนุญาตแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมภายในระยะเวลาที่กําหนดได้
หมวด ๓ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา๔๖ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดังต่อไปนี้
(๒) เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๑) เข้าไปในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสถานพยาบาลที่ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ
(๓) มีหนังสือเรียกผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลมาให้ถ้อยคําหรือชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา
(๔) ยึดหรืออายัดบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อเป็นหลักฐานในการดําเนินคดี
มาตรา ๔๗ ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๘ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้อนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔ การปิดสถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๔๙ เมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการแล้วแต่กรณีระงับหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรแต่ทั้งนี้ไม่เป็นเหตุลบล้างความผิดตามพระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการกระทําการหรือละเว้นกระทําการอย่างใดๆจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายความเสียหายหรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงแก่ผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๔๕หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจออกคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ดําเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๗หรือมาตรา๒๕แล้วแต่กรณีหรือถ้าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการไม่ดําเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกําหนดตามมาตรา๕๐ให้ผู้อนุญาตโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลได้
มาตรา ๕๒ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในกรณีที่
(๑) ผู้รับอนุญาตตายและไม่มีผู้แสดงความจํานงเพื่อขอประกอบกิจการหรือผู้แสดงความจํานงนั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
(๒) ผู้อนุญาตมีคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวตามมาตรา๕๐หรือมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๕๑
มาตรา ๕๓ คําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙หรือของผู้อนุญาตตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑ให้ทําเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการณภูมิลําเนาของผู้นั้นแล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๔ ผู้ใดถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้วจะขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกําหนดสองปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๕๕ คําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙หรือของผู้อนุญาตตามมาตรา๕๐หรือมาตรา๕๑ผู้ที่ได้รับคําสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคําสั่ง
หมวด ๕ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๕๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่งหรือมาตรา๒๔วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับและศาลจะสั่งริบบรรดาสิ่งของที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลด้วยก็ได
มาตรา ๕๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๓๙หรือมาตรา ๔๕ หรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๒๑มาตรา๓๑มาตรา๓๒มาตรา๔๐หรือมาตรา๔๓ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๐ ผู้รับอนุญาตผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยมิได้จัดให้มีผู้ดําเนินการตามมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๑ ผู้ใดมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบแต่ไม่แจ้งภายในกําหนดเวลาตามมาตรา ๒๖ มาตรา ๓๐ มาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๒ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๓ วรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ ผู้ดําเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา๓๔ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๕ ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๔(๒) หรือมาตรา ๓๕ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๖ ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๖๗ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๗ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๖๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๓๘วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ฝ่าฝืนคําสั่งที่ให้ระงับการโฆษณาหรือประกาศทั้งนี้จนกว่าจะระงับการโฆษณาหรือประกาศดังกล่าว
มาตรา ๖๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๔๔วรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๐ ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลหรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานพยาบาลผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามมาตรา ๔๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา ๗๑ ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลนั้นถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมาตรา ๕๐ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับและให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา ๗๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการในการดําเนินการตามมาตรา๕๒ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๓ ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลผู้ใดจัดทําหรือยินยอมให้ผู้อื่นจัดทําหลักฐานเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการเอกสารแสดงการตรวจโรคเอกสารแสดงผลการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคลถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความผิด
มาตรา ๗๕ ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานครประกอบด้วยอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นประธานกรรมการผู้อํานวยการสํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุดเป็นกรรมการและให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแต่งตั้งข้าราชการของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพคนหนึ่งเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
(๒) ในเขตจังหวัดอื่นประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการอัยการจังหวัดและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นกรรมการและให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดคนหนึ่งเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๗๖ ใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลและใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๐๔ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลหรือใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี
มาตรา ๗๗ บรรดากฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๐๔และยังใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
นางสาวสุดธิดา สิงหาอรุณ หรัส 6001210514 เลขที่ 25 Sec B