Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่11 การพยาบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม, นางสาวศศิภา แก้วอาษา…
หน่วยการเรียนรู้ที่11 การพยาบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม
ความหมายของอนามัยสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต อาจเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมีลักษณะทางกายภาพที่มองเห็นได้ จับต้องได้ หรือสัมผัสด้วยประสามสัมผัสอื่นๆ ได้ เช่น มนุษย์ พืช สัตว์ ดิน น้ำ อากาศ สิ่งของต่างๆ
จำแนกตามลักษณะของการเกิด แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Environments) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นรูปธรรม มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ พืช และสัตว์ เป็นต้น
2.สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Environments) หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์หรือการจัดระเบียบของการอยู่ร่วมกันในสังคม
จำแนกตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมได้ 4 ประเภท ดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environments) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น ดิน หิน น้ำ อากาศ
2.สิ่งแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเป็นสารเคมีที่อาจอยู่ในสถานะ ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ
3.สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ (Biological Environments) หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่มีองค์ประกอบของสิ่งที่มีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ พืช
4.สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม (Social Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มี ลักษณะเป็นนามธรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในการกำหนดพฤติกรรมและการใช้ชีวิตในสังคม ได้แก่ จารีตประเพณี
ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
องค์การอนามัยโลกได้จำแนกขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อมทั่วโลกไว้ 17 รายการ ดังนี้
การจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคและอุปโภค (Water supply)
การป้องกันและควบคุมมลพิษทางดิน (Soil Pollution)
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health)
การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล(Solid wast management)
การควบคุมมลพิษทางเสียง (Noise Pollution)
การควบคุมมลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
การจัดการสิ่งแวดล้อมของที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง (Housing Sanitation)
การป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี (Radioactive Health)
การวางผังเมือง (Urban Planning)
การจัดการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการคมนาคม (Transportation)
การป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ (Accident Prevention)
การบำบัดน้ำเสียและการควบคุมมลพิษทางน้ำ(WastwaterTreatment)
การสุขาภิบาลอาหาร (Food Hygine)
การสุขาภิบาลของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (Recreation Sanitation)
การควบคุมแมลง และสัตว์พาหะนำโรค(Vector and Rodent Control)
การดำเนินงานสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด เหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร (Emergency Case)
17.มาตรการป้องกันทางสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป(EnvironmentMeasurement)
ความสำคัญของอนามัยสิ่งแวดล้อม
มนุษย์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ได้อาศัยและใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยในการประกอบอาชีพ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของสังคม เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี
งานอนามัยสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ค่อนข้างมาก ซึ่งในการดำเนินงานนั้นจะต้องพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
2.ทางผ่าน (Pathway) ดังเช่น แม่น้ำ ลำคลอง อากาศ เป็นต้น
3.ผู้ได้รับผลกระทบ (Receiver) ดังเช่น ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากแหล่งกำเนิด เป็นต้น หากสามารถดำเนินการควบคุมที่องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งก็จะสามารถป้องกันหรือลดผลกระทบจากแหล่งกำเนิดไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือมนุษย์ได้
1.แหล่งกำเนิด (Source) ดังเช่น รถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ขยะมูลฝอย เป็นต้น
การอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของการสาธารณสุขในมิติของการให้บริการด้านป้องกันโรค สามารถสรุปความสำคัญของอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ดังนี้
2.สร้างเสริมสุขภาพของประชาชน
3.สร้างสุนทรียภาพและความเจริญในชุมชน
4.ส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน
1.ลดอัตราป่วยและอัตราตายของประชากร
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพ
การเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้ความต้องการด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติเพื่ออยู่อาศัย การเกษตร อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการตัดต้นไม้ทำลายป่า มีการใช้ประโยชน์ที่ดินไมเหมาะสม หน้าดินถูกทำลายขาดสารอาหารบริเวณหน้าดิน ทำให้ดินเสื่อมสภาพ นอกจากนี้การขยายตัวของประชากรทำให้มีกิจกรรมต่างๆ
ความเสื่อมโทรมของสุขภาพอนามัยของประชากรในพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะดังนี้
2.ได้รับเชื้อโรคหรือสารพิษที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกรรมพันธุ์
3.ภูมิต้านทานโรคต่ำลง อันเนื่องมาจากสารพิษและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
4.เกิดความเดือดร้อนรำคาญและไม่สะดวกสบายจากการได้รับการรบกวนจากมลพิษ เช่น เสียงดัง กลิ่นเหม็น อากาศมีหมอกควัน
5.โรคต่างๆที่มีอยู่แล้วในพื้นที่เกิดการระบาดขึ้น และแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
6.เกิดผลเสียต่อสุขภาพจิตจากการอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมเป็นมลภาวะ
1.ได้รับเชื้อโรคหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น เชื้อโรค สารพิษ ที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะเรื้อรัง
การผลิตน้ำประปา
การผลิตน้ำประปา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตน้ำให้สะอาดปลอดภัยและเพียงพอสำหรับประชาชน แหล่งน้ำจะเป็นน้ำผิวดินหรือใต้ดินก็ได้แต่น้ำที่ได้มาต้องสะอาดและเพียงพอ
การผลิตต้องเป็นวิธีที่ง่าย ลงทุนน้อย และจะต้องมีน้ำจ่ายตลอดเวลา มีขั้นตอนดังนี้
1.การทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศ (Aeration) โดยการทำให้น้ำแตกกระจายเป็นฝอยเล็กๆเพื่อให้สารเคมีบางอย่างที่ละลายอยู่ในน้ำกลายเป็นสารที่ตกตะกอน
2.การผสมสารเคมีลงไปในน้ำ (Coagulation) โดยการผสมสารส้มหรือปูนขาวลงไป เพื่อสารต่างๆที่อยู่ในน้ำเกิดตะกอนเร็วขึ้น
3.การตกตะกอน (Sedimentation) เป็นการทำให้ตะกอนที่เกิดขึ้นตกลงไปยังก้นถังตะกอน โดยการให้น้ำอยู่นิ่งๆหรือไหลช้าๆในอัตราไม่เกิน 3 ฟุตต่อนาที
การปรับปรุงน้ำจากผิวดินสำหรับครัวเรือน
แหล่งน้ำผิวดิน น้ำตามลำธารจากน้ำตก ที่ผ่านหินกรวดเป็นน้ำใส คุณภาพดี ถ้านำมาดื่ม ปรับปรุงโดยการต้ม ส่วนน้ำใช้ ใช้ได้เลยโดยไม่ต้องปรับปรุง
แหล่งน้ำจากแม่น้ำลำคลอง เป็นน้ำที่มีความขุ่นมาก ปรับปรุงโดยใช้สารส้มช่วยให้ตกตะกอนและนำน้ำใสไปใช้โดยผสมผงปูนละลายในน้ำสะอาด
แนวทางการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
การจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคอุปโภคน้ำสะอาด หมายถึง น้ำที่ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสารพิษ ไม่มีเชื้อโรคหรือถ้ามีปะปนต้องไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้
1.การปรับปรุงด้านชีวภาพ การปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water treatment)
1.1 การใช้ความร้อนโดยการต้ม (Boiling) ต้มให้เดือดนาน 5 นาที ทำลายเชื้อแบคทีเรียได้ ต้มนาน 15 นาที ทำลายสปอร์ของแบคทีเรียได้
1.2 การใช้สารเคมีเพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรีย
2.การปรับปรุงด้านกายภาพ โดยการทำให้น้ำใส ไม่ขุ่น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เค็มเกินมาตรฐาน
2.1 การทำให้ตกตะกอน (Sedimenation) โดยการเติมสารส้มช่วยสร้างตะกอน
2.2 การทำให้น้ำผ่านอากาศ (Aeration) ทำให้เหล็กและแมงกานีส ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนตกตะกอน
2.3 การกรอง (Filtration) ควรเลือกวัสดุกรองที่หาง่าย ราคาถูก ทนทานมีอายุใช้งานนานไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี ไม่ละลายน้ำ
3.การปรับปรุงด้านเคมี
3.1 การกำจัดเหล็กและแมงกานีส โดยการทำให้เป็นตะกอน ได้แก่ การเติมอากาศ ปูนขาว คลอรีน ด่างทับทิมหรือการปรับ pH
3.2 การกำจัดความกระด้างของน้ำ ส่วนมากเป็นสารประกอบแคลเซียม
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลชุมชนในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
งานอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรคโดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมเอื้อต่อภาวะสุขภาพของประชาชน
บทบาทของพยาบาลชุมชนในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1.เป็นผู้ให้ความรู้และคำแนะนำ (Educator) บทบาทนี้เป็นบทบาทหลักของพยาบาลในการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.เป็นผู้ให้คำปรึกษา (Counselor) โดยให้คำปรึกษาเมื่อผู้รับบริการมีปัญหาสุขภาพ ซึ่งมีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อม หรือวิธีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ พยาบาลชุมชนต้องมีความรู้และให้คำปรึกษาได้อย่างถูกต้อง
3.เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมบางประเภทจำเป็นต้องดำเนินงานร่วมกับบุคลากรหลายฝ่าย
4.เป็นผู้บริหารจัดการ (Manager) พยาบาลชุมชนที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้างานในระดับต่างๆหรือเป็นคณะกรรมการอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน
5.เป็นผู้ดำเนินการวิจัย (Researcher) การที่ได้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับผู้รับบริการ ทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพประชาชน พยาบาลชุมชนจึงสามารถทำวิจัยในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพอนามัยเกี่ยวข้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อม
การแนะนำการปรับปรุงน้ำดื่มน้ำใช้สำหรับครัวเรือน
กรณีไม่มีระบบการผลิตประปาในชุมชนชนบท ต้องอาศัยการเก็บกักน้ำน้ำฝนให้เพียงพอสำหรับดื่มและใช้ตลอดทั้งปี ซึ่งในภาคเหนือและภาคอีสาน ฝนตกปีละ 4-5 เดือน ภาคกลางปีละ 5-6 เดือน ภาคใต้ปีละ 9 เดือน
การบำบัดน้ำเสียและการควบคุมมลพิษทางน้ำ
น้ำเสีย (Sewage) หมายถึง สิ่งปฏิกูลในรูปของเหลวที่เกิดจากการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ ประเภทของน้ำเสียมี 3 ประเภท ได้แก่
1.น้ำเสียจากชุมชนที่พักอาศัย (Domestic Sewage) จากบ้านเรือน โรงแรม สถานอาบอบนวด ร้านอาหาร น้ำเสียชนิดนี้มีอินทรียสารเจือปนมาก ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะมีการสลายตัวของสิ่งสกปรกทำให้มีกลิ่นเหม็นเป็นน้ำสีดำ
2.น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial sewage) ซึ่งส่วนใหญ่โรงงานใช้น้ำในการชะล้าง หล่อเย็น ดังนั้น สิ่งเจือปนขึ้นอยู่กับลักษณะของโรงงานและวัตถุดิบที่ใช้ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์และแร่ธาตุโลหะหนัก น้ำมัน สี กรด ด่าง ความร้อน ความเย็น
3.น้ำฝน (Strom sewage) ที่ชะล้างและพัดพาสิ่งสกปรกต่างๆไปตามไป
ตามผิวดิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและปัญหาสุขภาพตามมา
นางสาวศศิภา แก้วอาษา 611410068-3 คณะพยาบาลศสาตร์