Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและการประกอบวิชาชีพการพยาบาล - Coggle…
บทที่ 6
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
พฤติกรรมของพยาบาลที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย
2.พฤติกรรมบริการ เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่มีต่อผู้รับบริการในด้านการเคารพในสิทธิมนุษยชนและสิทธิผู้ป่วย
รักษาความลับ ปลอบโยนให้กำลังใจให้บริการโดยมุ่งความเป็นเลิศ ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่ผู้รับบริการ กล้ารับผิดชอบหากเกิดความผิดพลาดและรีบแก้ไข
3.พฤติกรรมทางวิชาชีพ เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามสร้างความเจริญก้าวหน้า
เผยแพร่ชื่อเสียงของวิชาชีพให้ประจักษ์แก่คนทั่วไป เป็นผู้นำทางการพยาบาล ส่งเสริมการศึกษาและการปฏิบัติการพยาบาล สนับสนุนการทำวิจัยทางการพยาบาล จัดทำเอกสารวิชาการ เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาล
1.พฤติกรรมส่วนตัว เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อวิชาชีพ
การแต่งกายที่สะอาดสุภาพเรียบร้อยถูกระเบียบ รักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล วางตัวเหมาะสมตามกาลเทศะ มีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและเป็นแบบอย่างที่ดี กิริยาท่าทางสุภาพ ใช้ถ้อยคำสุภาพ น้ำเสียงอ่อนโยน แคล่วคล่องว่องไว สุขภาพจิตสมบูรณ์ ดำรงตนอยู่ในขอบเขตของกฎหมายบ้านเมือง ซื่อสัตย์สุจริต
4.พฤติกรรมทางสังคม เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของพยาบาลต่อสังคม
ให้บริการด้วยคุณภาพโดยทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกชนชั้น วรรณะ เพศวัยเชื้อชาติศาสนา เศรษฐกิจและโรคที่เจ็บป่วย แสดงให้สังคมเห็นว่าได้มีการพัฒนาการพยาบาลอย่างต่อเนื่องและมีความปลอดภัยเสมอ
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อพยาบาลทำผิดกฎหมาย
1.การให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นจริงในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อจำกัดในการรักษาและการพยาบาล โดยยึดถือคำประกาศสิทธิผู้ป่วยและกฎระเบียบของโรงพยาบาล
2.การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยพิจารณาตามความจำเป็นและความพร้อมของหน่วยงาน
3.การจัดเตรียมบันทึกและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวของให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการต่อสู้คดีทุกชนิด
4.การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนหรือการฟ้องร้องในคดีที่เกิดขึ้น หรือที่มีความเกี่ยวพันกัน
6.การสังเกตสัญญาณอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ผู้ป่วยอาการทรุดลงหรืออาจนำไปสู่การเสียชีวิต ความวิตกกังวลของญาติที่อาจนำไปสู่ความไม่พอใจที่รุนแรงและการฟ้องร้องดำเนินคดีที่ไม่อาจสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันได้
วิธีปฏิบัติตัวของพยาบาลเมื่อต้องขึ้นศาลในฐานะจำเลย
1.การเจรจาและการต่อสู้คดีของพยาบาล กรณีการฟ้องคดีแพ่ง : ความรับผิดในทางแพ่ง(มาตรา 420) การฟ้องคดีอาญา : ความรับผิดในทางอาญา(มาตรา 59) การต่อสู้คดี เช่น เหตุสุดวิสัย ความจำเป็นในการรักษา การกระทำละเมิด การกระทำโดยประมาท การแต่งตั้งทนายและจัดเตรียมหลักทรัพย์ให้พร้อมเพื่อการประกันตัว
2.การจัดเตรียมแฟ้มเอกสารทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับคดีและมาตรฐานการรักษาพยาบาลเพื่อประกอบคำชี้แจงให้ศาลเข้าใจตามคดีที่เกิดขึ้น
3.การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยและญาติ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.การให้ปากคำแก่ศาลอย่างตรงไปตรงมาและกระชับตรงประเด็น
วิธีปฏิบัติตัวของพยาบาลเมื่อต้องขึ้นศาลในฐานะพยานบุคคล
1.การรับหมายศาล ที่โจทก์หรือจำเลยก็ตามที่อ้างให้พยาบาลเป็นพยานในคดี ถือเป็นความรับผิดชอบที่พยาบาลจะต้องให้ความร่วมมืออย่างเคร่งครัดโดยให้ถือว่าเป็นการไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ไม่ต้องลางานแต่ต้องแจ้งหัวหน้างานรับทราบเพื่อจัดผู้ปฏิบัติงานแทน
2.การสาบานตนตามความเชื่อในศาสนาหรือหลักการที่ตนยึดถือต่อหน้าศาลก่อนที่จะเริ่มให้ปากคำ
3.การให้ปากคำตามคำซักถามของทนายและตามคำอนุญาตของศาล พยาบาลจะต้องเรียบเรียงเหตุการณ์และถ้อยคำที่สั้นกระชับ พูดให้เสียงดังชัดเจนและไม่ควรกลัว
4.การให้ความเคารพแก่ศาลอย่างเหมาะสม เมื่อไปศาลพยาบาลต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ระวังกิริยามารยาท และทำความเคารพแก่ศาลเช่นเดียวกับผู้อื่น
การประกอบวิชาชีพที่ปราศจากคดี
1.มีความรู้และทักษะในการทำงานวิชาชีพ
2.ไม่ประมาทและทำงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
3.อย่าทำงานเกินขอบเขตของพยาบาล
4.ทำงานด้วยหลักคุณธรรมและจริยธรรม
5.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยญาติและผู้ร่วมงาน
6.รีบรายงานแพทย์เกี่ยวกับอาการที่ต้องสงสัยของผู้ป่วย
7.เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ