Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 7 การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
หน่วยที่ 7 การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
ความหมาย
Physical activity : การเคลื่อนไหวทั้งหมดของรางกายที่เกิดจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าการเคลื่อนไหวนั้นจะเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
Regular physical activity : การเคลื่อนไหวทั้งหมดของรางกายที่เกิดจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าการเคลื่อนไหวนั้นจะเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจหรือไม่ก็ตาม อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
ประโยชน์การออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย
ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ สร้างความผาสุก และคุณภาพชีวิต
สามารถชะลอความเสื่อมถอยของร่างกายที่เกิดจากการไม่เคลื่อนไหว อันจะส่งผลให้กระบวนการสูงอายุเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ หรือป้องกันการเกิดดรค degenerative disease
แนวปฏิบัติในการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมทางกายมีผลต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ จึงแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีในเกือบทุกสัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว (Moderate physical activity) และประโยชน์มากขึ้นเมื่อทำ vigorous physical activity ในบางครั้ง
ดังนั้นควรมองว่า
การออกกำลังกายเป็นโอกาส ไม่ใช่อุปสรรค
สามารถกระทำได้ในหลายวิธีเท่าที่เป็นไปได้
ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีในเกือบทุกวันของสัปดาห์ (Moderate physical activity)
ถ้าเป็นไปได้ให้ทำ Vigorous physical activity ในบางครั้ง
การประเมินความพร้อมทางด้านร่างกาย
ความเสี่ยงต่อการออกกำลังกายจากโรคเรื้อรัง
การรับประทานอาหารเพียงพอ
ประวัติการได้รับยา
การเตรียมร่างกายก่อนออกกำลังกาย
หลักการออกกำลังกาย
ชนิดการออกกำลังกาย
Aerobic activities
Resistance activities
Balance activities
Flexbility
ความแรงในการออกกำลังกาย
ความถี่
ระยะเวลา
ความเครียดและการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ
ความหมาย
เป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยที่บุคคลเป็นผู้ประเมินด้วยสติปัญญา (Cognitive appraisal) ว่าความสัมพันธ์นั้นเกินขีดความสามารถหรือแหล่งประโยชน์ที่ตนเอง จะใช้ต่อต้านได้ และรู้สึกว่าถูกคุกคามเป็นอันตรายหรือสูญเสีย หรือท้าทายต่อความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต
อาการแสดงของภาวะเครียดทางด้านร่างกายและอารมณ์
การนอนไม่หลับ ฝันร้าย
การรับประทานอาหารไม่อร่อย
อาการปัสสาวะบ่อย
อาการปวดกล้ามเนื้อ
วิตกกังวล กลัว ท้อแท้ ซึมเศร้า
อ่อนล้า สมาธิสั้น หลงลืม
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดในผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงตามวัย
การเกษียณอายุราชการ
การที่ต้องรับภาระในการดูแลบุตรหลาน
การดูแลคู่สมรสหรือบุคคลใกล้ชิดที่เจ็บป่วย
เรื้อรังและการสูญเสียคู่สมรส
สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนลดลง
สถานภาพทางสังคมลดลง
การค้นหาแนวทางการเผชิญปัญหา
เป็นความพยายามทางความคิดและการกระทำของบุคคลที่ใช้ในการจัดการกับความต้องการของร่างกาย ทั้งภายนอกและภายในบุคคล ซึ่งต้องใช้แหล่งประโยชน์มากกว่าที่บุคคลมีอยู่
การเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหา
บุคคลมุ่งแก้สาเหตุของปัญหาโดยตรง ซึ่งจะต้องปรับความคิดและพฤติกรรม หรือโดยการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดปัญหานั้นขึ้น เผชิญกับสิ่งที่เป็นปัญหา และความจริง
เผชิญหน้ากับปัญหา (Confrontive coping)
การวางแผนแก้ปัญหา (Planful problem solving)
การเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์
(Emotion-focused coping)
การที่บุคคลเลือกใช้วิธีการเผชิญปัญหาที่จะช่วยควบคุม ปรับอารมณ์ และความรู้สึกของตนเอง
เป็นความคิดหรือพฤติกรรมของบุคคลที่มุ่งลดความไม่สบายใจ เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ได้
เป็นการรักษสมดุลเท่านั้น ไม่ได้จัดการปัญหาให้หมดไป เป็นเพียงวิธีบรรเทาปัญหาหรือลดความเครียด
วิธี
ประเมินสถานการณ์ใหม่ทางบวก (Positive reappraisal)
แสดงความรับผิดชอบต่อปัญหา (Accepting responsibility)
ควบคุมตนเอง (Self controlling)
แสวงหาการเกื้อหนุนทางสังคม (Seeking social support)
ถอยห่าง (Distancing)
หลีกเลี่ยงปัญหา (Escape avoidance)
การนอนหลับในผู้สูงอายุ
ความหมาย
ความรู้สึกตัวและการตอบสนองต่สิ่งเร้าลดลง การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมากหรือไม่มี มีพฤติกรรมแสดงออกในลักษณะสงบนิ่งและหลับตามักอยู่ในท่านอนราบ
อาจมีพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย เช่น การเดินละเมอพูด กัดฟัน
ขณะนอนหลับสมองมีการหยุดพัก และพร้อมจะกลับมาสู่การรู้สติตามเดิม ถ้ามีการกระตุ้นที่เหมาะสม
จึงต่างจากโคม่า คือ ในระยะโคม่าจะไม่สามารถกระตุ้นให้ตื่นได้
การนอนหลับและคลื่นไฟฟ้าสมอง
คลื่นไฟฟ้าสมองขณะนอนหลับและขณะตื่นมีความแตกต่างกัน
คลื่นไฟฟ้าสมองความถี่ 8 - 13 รอบต่อนาที (alpha rhythm or wave) เป็นคลื่นไฟฟ้าสมองในขณะตื่นแต่หลับตา
คลื่นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อยเมื่ออายุมากกว่า 65 ปี อาจเนื่องมาจาก ความเสื่อมตามวัย หรือการสูญเสียเซลล์ประสาท จากการลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยง
คลื่นเบต้า (beta wave) เป็นคลื่นไฟฟ้าสมองขณะง่วงนอนหรือการนอนหลับระยะแรก ช่วงที่ไม่มีการกลอกลูกตาอย่างเร็ว (stage 1 NREM) ความสูงคลื่นมากกว่า 30 ไมโครโวลต์ ความถี่ 13 - 30 รอบต่อนาที คลื่นเบต้าสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อรับ บาบิทูเรต (barbiturate) และเบนโซไดอะซิพีน (benzodiazepine)
วงจรการนอนหลับ
เริ่มจาก ระยะการนอนหลับที่ไม่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (Non Rapid Eye Movement sleep : NREM) แล้วจึงเข้าสู่ระยะที่มีการกลอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movement sleep : REM)
การตื่นนอนนาน 16 ชั่วดมง เป็นช่วงที่จังหวะชีวภาพ มีการเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของระบบประสาท ฮอร์โมน และอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้เกิดความง่วง
เมื่อเริ่มเข้าสู่การนอนหลับจะเข้าสู่ ระยะการนอนหลับที่ไม่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (Non Rapid Eye Movement sleep : NREM) ซึ่งแบ่งออกเป็นระยะย่อยๆ อีก 4 ระยะ เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 4 NREM จึงเข้าสู่ระยะ REM
ในแต่ละคืน เมื่อวงจรแรกผ่านไป จะเข้าสู่วงจรการนอนหลับที่สอง โดยเริ่มจากระยะที่ 2, 3, 4 NREM และ REM วนเวียนตลอดคืน ประมาณคืนละ 5- 6 วงจร
ผลกระทบเนื่องจากปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ
ง่วงซึม อ่อนเพลีย อิดโรย ไม่แจ่มใส
ลดความทรงจำ โดยเฉพาะระยะสั้น ขาดสมาธิ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม งีบหลับขณะขับรถ
ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ลดลง เกิดโรคติดเชื้อง่าย
บั่นทอนสุขภาพจิต ผู้สูงอายุที่นอนหลับมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อคืนหรือน้อยกว่า 4 ชั่วโมง มักจะมีความวิตกกังวล ปัญหาสุขภาพจิต และจิตเวชสูงกว่าผู้สูงอายุที่นอนหลับปกติ
เพิ่มโอกาสใช้สารเคมีไม่เหมาะสม เช่น พยายามลดความง่วงนอนกลางวันด้วยการดื่มกาแฟ ชา เครื่องดื่มบำรุงกำลัง
ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลง ร่วมทั้งการร่วมงานทางสังคม และครอบครัวลดลง เพราะง่วงนอน ขาดสมาธิ หรือนอนหลับกลางวันเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยรบกวนการนอนหลับในผู้สูงอายุ
ด้านร่างกาย
ความสูงอายุ
ความเจ็บปวด
ความไม่สุขสบาย
การถ่ายปัสสาวะ
การหายใจลำบาก
อาการไอ
การกระตุกของแขนขาขณะนอนหลับ
ยา
บุหรี่, แอลกอฮอล์
ด้านจิตใจและอารมณ์
ความวิตกกังวล
อารมณ์เศร้า
ความเครียด
ด้านสิ่งแวดล้อม
เสียง
อุณหภูมิ
แสง
อื่นๆ ได้แก่ กลิ่น เพื่อนร่วมห้อง แมลงและสัตว์ต่างๆ
การพยาบาล
ก่อนให้การพยาบาลควรประเมินสาเหตุของปัญหาการนอนไม่หลับ
ผู้สูงอายุควรรับรู้และต้องการแก้ไข้ปัญหาการนอนหลับของตนเอง
เพื่อให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำของพยาบาล
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะการนอนหลับที่ถูกต้องให้ผู้สูงอายุทราบ ดดยเน้นเรื่องความรู้สึกเพียงพอในการนอนหลับ
โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานลดลง
ผู้ที่ไม่มีความผิดปกติของตับและไต ต้องการโปรตีน 1-1.2 กรัมต่อกก.ต่อวัน (โปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไม่ติดมัน
คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 50-60
จำกัดไขมันไม่เกินร้อยละ 30 เน้นไขมันจากพืช
พลังงาน, โปรตีน, ไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, วิตามินและเกลือแร่
ความหมายของภาวะทุพโภชนาการ
ภาวะที่มีปัยหาด้านการได้รับสารอาหาร เช่น การได้รับสารอาหารเกินหรือต่ำกว่ามาตรฐาน
ภาวะโภชนาการพร่อง มีปัจจัยเสี่ยง 2 ปัจจัย
การได้รับอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอทำให้น้ำหนักลดลง
ความผิดปกติของการดูดซึมและการนำสารอาหารไปใช้
ภาวะทุพโภชนาการ
ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 kg/m2
น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ตั้งใจมากกว่า 10% ภายใน 3-6 เดือน
บุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร คือ บุคคลที่รับประทานอาหารน้อย หรือไม่รับประทานอะไรเลยมากกว่า 5 วัน
ผลกระทบของภาวะโภชนาการพร่องต่อผู้สูงอายุ
ความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
แผลหายช้าขึ้น
ระบบหายใจบกพร่องเพราะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ซึมเศร้า หดหู่
ปัจจัยที่มีผลต่อโภชนาการในผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สุงอายุ
ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม
สภาวะจิตใจ
ภาวะโภชนาการเดิมและบริโภคนิสัย
ความรู้ด้านโภชนาการ
ภาวะสุขภาพและโรคประจำตัว
หลักการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
พลังงาน ลดจำนวนอาหารประเภทพลังงานลง ได้แก่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ประมาณร้อยละ 10-20 ของพลังงานทั้งหมดตามอายุที่เพิ่มขึ้น
โปรตีน รับประทานไข่วันละ 1 ฟอง กรณีที่มีโคเลสเตอรอลสูง ควรรับประทานวันเว้นวัน หรือรับประทานเฉพาะไข่ขาว เนื้อสัตว์อื่นๆ ควรปรุงให้เปื่อย หรือสับให้ละเอียด
ไขมัน ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิกในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง
ใยอาหาร ควรรับวันละ 20-35 กรัม ผักและผลไม้ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาดขาว มะเขือ ส้มเขียวหวาน กล้วยสุก และมะละกอสุก
น้ำ ควรให้ผู้สูงอายุได้รับน้ำอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 1,500 มิลลิลิตร
นันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ
ความหมาย
กิจกรรมท่ทำในยามวางที่ผู้เข้าร่วมมีอิสรในการตัดสินใจเลือกปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดอารมณ์ที่ผ่อนคลาย และสนุกสนานเพลิดเพลินกับตนเองและกลุ่ม
ประเภทและลักษณะนันทนาการ
ที่เหมาะสมสำหรับผู้สุงอายุ
คำนึงถึงความจำกัดด้านร่างกาย จิตอารมณ์ และสังคมของผู้สูงอายุ
อาจเป็นกิจกรรมที่ใช้พลังงานน้อย เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ
กิจกรรมที่ใช้พลังงานปานกลาง เช่น กายบริหาร กีฬา และหัตถกรรม
-สนับสนุนตั้งแต่วัยทำงานจะมีผลต่อสุขภาวะ
ในสถานพยาบาล สามารถกระตุ้นผู้สูงอายุให้ออกกำลังกายมากขึ้น ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น
กิจกรรมที่เหมาะสมผู้สูงอายุ หลากหลาย มีทั้งที่ออกแรง ไม่ออกแรง กิจกรรมที่ทำคนเดียว กิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมทางศาสนา
กิจกรรมนันทนาการที่มีประโยชน์ด้านร่างกาย
ส่งเสริมความแข็งแรง และหรือความทนทาน เช่น ว่ายน้ำ เดินมาราธอน
ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทสัมผัส เช่น เสียงปริศนา ถุงปริศนา
ส่งเสริมการประสานความสัมพันธืของร่างกาย เช่น โบว์ลิ่ง ลีลาศ
ส่งเสริมประสิทธิภาพการทรงตัว เช่น ไท้เก็ก รำวง
ส่งเสริมความอ่อนตัว เช่น การบริหารข้อ จินตลีลา
ส่งเสริมความผ่อนคลาย เช่น การบริหารร่างกายแบบเหยียดหรือยืดกล้ามเนื้อ
กิจกรรมนันทนาการที่มีประโยชน์ด้านจิตใจ
อารมณ์ และการรับรู้ของผู้สุงอายุ
ส่งเสริมความพึงพอใจและความสนุกสนานเพลิดเพลิน เช่น งานปั้น งานประดิษฐ์
ส่งเสริมการรับรู้ เวลา สถานที่ เช่น งานวันปีใหม่ งานวันสงกรานต์
ส่งเสริมความจำและความภาคภูมิใจ เช่น เล่าเรื่องอดีตที่น่าจดจำ
ส่งเสริมความมั่นใจและคุณค่าของตนเอง เช่น อาสาสมัครงานสังคมสงเคราะห์และงานการกุศล
ระบายความคับข้องใจ เช่น ปิดตาตีหม้อ การเขียนบันทึก
ส่งเสริมสมาธิ และความสุขสงบทางจิตใจ เช่น ทำสมาธิ วาดรูป
กิจกรรมนันทนาการที่มีประโยชน์ด้านสังคมของผู้สูงอายุ
ส่งเสริมการแสดงออกทางสังคม เช่น การแนะนำตัว
ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม เช่น ส่งบอลเรียกชื่อ กลุ่มสนทนาอิสระ
ส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ เช่น การท่องเที่ยว กลุ่มวิจารณ์ข่าวประจำวัน
ส่งเสริมทักษะการสื่อความหมาย เช่น เกมใบ้คำ การเขียนกลอน
ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การเลือกซื้อสินค้า