Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.6 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. ๒๕๕๙ - Coggle Diagram
5.6 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. ๒๕๕๙
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๕๙”
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘
(๓) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๔) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“วัตถุออกฤทธิ์” หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
“วัตถุตำรับ” หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้
“วัตถุตำรับยกเว้น” หมายความว่า วัตถุตำรับที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้ได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมบางประการสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้น
“ฉลาก” หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ซึ่งแสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์
“เอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์” หมายความว่า กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยรูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ อันเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ ซึ่งสอดแทรกหรือรวมไว้กับภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์
“ผลิต” หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เพาะ หรือปลูกเฉพาะพืชที่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ และให้หมายความรวมถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย
“ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขาย
“นำเข้า” หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
“ส่งออก” หมายความว่า นำหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
“นำผ่าน” หมายความว่า นำหรือส่งผ่านราชอาณาจักร แต่ไม่รวมถึงการนำหรือส่งวัตถุออกฤทธิ์ผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้มีการขนถ่ายออกจากอากาศยานที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
“เสพ” หมายความว่า การรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายโดยรู้อยู่ว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไม่ว่าด้วยวิธีใด
“ติดวัตถุออกฤทธิ์” หมายความว่า เสพวัตถุออกฤทธิ์เป็นประจำติดต่อกันจนตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งวัตถุออกฤทธิ์นั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ
“การบำบัดรักษา” หมายความว่า การบำบัดรักษาผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งรวมตลอดถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพและการติดตามผลภายหลังการบำบัดรักษาด้วย
“สถานพยาบาล” หมายความว่า โรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานพักฟื้นหรือสถานที่อื่นใดที่ให้การบำบัดรักษาผู้เสพหรือผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
“สถานที่” หมายความว่า อาคารหรือส่วนของอาคาร และให้หมายความรวมถึงบริเวณของอาคารนั้น
“เภสัชกร” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม
“ข้อความ” หมายความว่า เรื่องราวหรือข้อเท็จจริงไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียงหรือเครื่องหมาย และให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ให้ปรากฏด้วยสิ่งนั้นอันทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้
“โฆษณา” หมายความว่า การเผยแพร่หรือการสื่อความหมายไม่ว่ากระทำโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า แต่ไม่รวมถึงเอกสารทางวิชาการหรือตำราที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ
“ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้รับใบอนุญาต ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งนิติบุคคลแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ด้วย
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า (๑) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นอกจากการอนุญาตใน (๒)
(๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น เฉพาะสำหรับการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ การสั่งพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว ในจังหวัดที่อยู่ในเขตอำนาจ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารายงานการรับ การจ่าย การเก็บรักษาและวิธีการปฏิบัติอย่างอื่นที่เกี่ยวกับการควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ต่อคณะกรรมการทุกหกเดือนของปีปฏิทิน
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นกับออกประกาศ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้
หมวด ๒
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์
มาตรา ๒๔ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๘ (๑) และมาตรา ๘๘ ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น
มาตรา ๒๕ ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา ๑๙ ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ได้ เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาตเป็น
(๑) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่บำบัดรักษาหรือป้องกันโรค และสภากาชาดไทย
(๒) หน่วยงานของรัฐที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๑)
(๓) ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าตามมาตรา ๑๕ (๒) หรือ
(๔) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล หรือกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ แล้วแต่กรณี และ
มาตรา ๒๖ ให้ผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยยาอีก
มาตรา ๑๘ บทบัญญัติมาตรา ๑๕ ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การนำวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินปริมาณที่จำเป็นต้องใช้รักษาเฉพาะตัวภายในสามสิบวัน โดยมีหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง หรือ
(๒) การนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ในปริมาณเท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร
มาตรา ๒๐ ห้ามผู้ใดผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ หรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๑๗ ผู้อนุญาตอาจอนุญาตให้ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ในปริมาณเท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในยานพาหนะนั้นได้
มาตรา ๒๓ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ มาตรา ๒๐ มาตรา ๘๘ และมาตรา ๑๐๐ ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตด้วย
มาตรา ๑๖ ห้ามผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๒๑ บทบัญญัติมาตรา ๒๐ ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การผลิตซึ่งกระทำโดยการปรุง การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ของเภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการขายตามมาตรา ๕๑ เฉพาะตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมสำหรับคนไข้เฉพาะราย หรือของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งสำหรับสัตว์เฉพาะราย
(๒) การผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ โดยกระทรวง ทบวง กรม และสภากาชาดไทย หรือหน่วยงานของรัฐตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๓) การขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งขายเฉพาะสำหรับคนไข้ที่ตนให้การรักษาพยาบาล หรือในสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งซึ่งขายเฉพาะสำหรับสัตว์ที่ตนทำการบำบัดหรือป้องกันโรค
(๔) การนำวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินปริมาณที่จำเป็นต้องใช้รักษาเฉพาะตัวภายในสามสิบวัน โดยมีหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง หรือ
(๕) การนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ในปริมาณเท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร
มาตรา ๑๕ ห้ามผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(๑) มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
(๒) เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ หรือ
(๓) เป็นการผลิตเพื่อส่งออกและส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ บางชนิดที่รัฐมนตรีประกาศระบุชื่อตามมาตรา ๗ (๕)
มาตรา ๒๒ ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต ขายหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ได้เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาต
มาตรา ๑๔ ห้ามผู้ใดผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
หมวด ๑
คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมอนามัย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด นายกแพทยสภา นายกสภาเภสัชกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินเจ็ดคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถหรือประสบการณ์เกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ เป็นกรรมการ
มาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ หรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอื่น
มาตรา ๑๑ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติการตามมาตรา ๗
(๒) ให้ความเห็นชอบต่อผู้อนุญาตในการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ
(๓) ให้ความเห็นชอบต่อผู้อนุญาตในการสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือการเพิกถอนใบอนุญาต
(๔) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) ให้ความเห็นหรือคำแนะนำต่อผู้อนุญาตในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
(๖) ปฏิบัติการอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
หมวด ๒
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์
หมวด ๓
หน้าที่ของผู้รับอนุญาต
มาตรา ๒๘ ผู้อนุญาตอาจออกใบอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ นอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตได้
มาตรา ๒๙ ผู้รับอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ จะขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ได้ โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ขายเฉพาะสำหรับคนไข้ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้การรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐ หรือขายเฉพาะสำหรับใช้กับสัตว์ที่ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งทำการบำบัดหรือป้องกันโรค ณ สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และ
(๒) ขายเฉพาะวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ที่ผู้อนุญาตได้อนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้า
ความใน (๑) ไม่ใช้บังคับแก่ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๙ (๒) และ (๓) แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการขายที่เลขาธิการประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๐ ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ตามมาตรา ๑๕ ผู้รับอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ตามมาตรา ๑๙ (๓) และผู้รับอนุญาตผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ตามมาตรา ๒๐ ต้องจัดให้มีเภสัชกรอยู่ประจำควบคุมกิจการตามเวลาที่เปิดทำการซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา ๓๑ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีการวิเคราะห์วัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้นก่อนนำออกจากสถานที่ผลิตโดยต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้งและมีหลักฐานแสดงรายละเอียดของการวิเคราะห์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันวิเคราะห์
(๒) จัดให้มีฉลากสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิต หรือจัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์สำหรับวัตถุตำรับที่ผลิต ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ดำเนินการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการผลิตยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
มาตรา ๓๒ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑) จัดให้มีป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตวัตถุออกฤทธิ์ กับป้ายแสดงชื่อและเวลาทำการของเภสัชกรไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคาร ณ สถานที่ผลิต ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒) จัดให้มีการวิเคราะห์วัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้นก่อนนำออกจากสถานที่ผลิตโดยต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้งและมีหลักฐานแสดงรายละเอียดของการวิเคราะห์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันวิเคราะห์
(๓) จัดให้มีฉลากสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิต หรือจัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับไว้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๔) จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๕) จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการผลิตและการขายวัตถุออกฤทธิ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๖) ดำเนินการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการผลิตยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
มาตรา ๓๓ ให้ผู้รับอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าจัดไว้
(๒) จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๓) จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการขายวัตถุออกฤทธิ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๔ ให้ผู้รับอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่ขายวัตถุออกฤทธิ์ กับป้ายแสดงชื่อและเวลาทำการของเภสัชกรไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคาร ณ สถานที่ขาย ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒) ดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าจัดไว้
(๓) จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการขายวัตถุออกฤทธิ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๕ ให้ผู้รับอนุญาตนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีใบรับรองของผู้ผลิตซึ่งแสดงรายละเอียดการวิเคราะห์วัตถุออกฤทธิ์ที่นำเข้า
(๒) จัดให้มีฉลากสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่นำเข้า หรือจัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์สำหรับวัตถุตำรับที่นำเข้า ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุออกฤทธิ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๖ ให้ผู้รับอนุญาตนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่นำเข้าวัตถุออกฤทธิ์ กับป้ายแสดงชื่อและเวลาทำการของเภสัชกรไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคาร ณ สถานที่นำเข้า ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒) จัดให้มีใบรับรองของผู้ผลิตซึ่งแสดงรายละเอียดการวิเคราะห์วัตถุออกฤทธิ์ที่นำเข้า
(๓) จัดให้มีฉลากสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่นำเข้า หรือจัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับไว้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๔) จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๕) จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการนำเข้าและการขายวัตถุออกฤทธิ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๗ ให้ผู้รับอนุญาตส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าจัดไว้
(๒) จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๓) จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๘ ให้ผู้รับอนุญาตส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่ส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ กับป้ายแสดงชื่อและเวลาทำการของเภสัชกรไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคาร ณ สถานที่ส่งออก ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒) ดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าจัดไว้
(๓) จัดให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๙ บทบัญญัติมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๘ ไม่ใช้บังคับแก่ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้าหรือส่งออกเพื่อการศึกษาวิจัยหรือกรณีอื่นตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่เลขาธิการประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๑ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตของตนไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา ๔๒ ห้ามผู้รับอนุญาตย้าย เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มสถานที่ผลิต สถานที่ขาย สถานที่นำเข้า หรือสถานที่เก็บซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๔๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๒ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามรายการในใบอนุญาตตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๘๘ ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตเพื่อแก้ไขรายการในใบอนุญาตดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น
มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตผู้ใดจะเลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้แจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้า และให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นอายุตั้งแต่วันที่เลิกกิจการตามที่แจ้งไว้นั้น
ผู้รับอนุญาตที่เลิกกิจการโดยมิได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ต้องแจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกกิจการ และให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นอายุตั้งแต่วันที่เลิกกิจการ
มาตรา ๔๕ ให้ผู้รับอนุญาตซึ่งได้แจ้งการเลิกกิจการ ไม่ต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้อนุญาตไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ทำลายหรือขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ของตนที่เหลืออยู่ในส่วนที่เกินกว่าที่กฎหมายให้มีไว้ในครอบครอง ในกรณีที่ขายให้ขายแก่ผู้รับอนุญาตอื่นตามประเภทนั้น หรือแก่ผู้ซึ่งผู้อนุญาตเห็นสมควร ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันเลิกกิจการ วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุหรือวันที่ผู้อนุญาตไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต แล้วแต่กรณี เว้นแต่ผู้อนุญาตจะผ่อนผันขยายระยะเวลาต่อไปอีกแต่ต้องไม่เกินหกสิบวัน
มาตรา ๔๖ ถ้าผู้รับอนุญาตตาย และทายาทหรือผู้ที่ได้รับความยินยอมจากทายาทแสดงความจำนงต่อผู้อนุญาตเพื่อขอประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตนั้นต่อไปภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย เมื่อผู้อนุญาตตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๙ (๔) หรือมาตรา ๒๒ แล้วแต่กรณี ให้ผู้แสดงความจำนงนั้นประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตสิ้นอายุ และให้ถือว่าผู้แสดงความจำนงเป็นผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย
มาตรา ๔๗ ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ มาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๘๘ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ไว้ในครอบครองในปริมาณไม่เกินที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๙๐ รวมทั้งกระทรวง ทบวง กรม และสภากาชาดไทยหรือหน่วยงานของรัฐตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ที่ได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต การขาย การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ที่มิใช่วัตถุตำรับยกเว้น ต้องเสนอรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าวต่อเลขาธิการ
หมวด ๔
หน้าที่ของเภสัชกร
มาตรา ๕๒ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการนำเข้าวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๕ (๒)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมกิจการไม่ประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมกิจการนั้นแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นหน้าที่
มาตรา ๕๑ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการขายวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๔ (๒)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการปรุงหรือการแบ่งบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพตาม (๕)
(๕) ดูแลให้มีฉลากสำหรับวัตถุออกฤทธิ์ที่ปรุงหรือแบ่งบรรจุตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๖) ควบคุมการส่งมอบวัตถุออกฤทธิ์ให้ถูกต้องตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพตาม (๕)
(๗) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการขายวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๕ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๘ (๒)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๕๐ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการขายวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๓ (๑)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการขายวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๕๔ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๗ (๑)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๔๙ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๒ (๓)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๕๓ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการนำเข้าวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๖ (๓)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๔๘ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมให้มีฉลากและเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๓๑ (๒)
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทำบัญชีเกี่ยวกับการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ
หมวด ๕
วัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออก
มาตรา ๖๐ วัตถุออกฤทธิ์ต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ
มาตรา ๕๙ วัตถุออกฤทธิ์ต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน
มาตรา ๕๘ วัตถุออกฤทธิ์หรือสิ่งต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอม
(๑) สิ่งที่ทำเทียมวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(๒) วัตถุออกฤทธิ์ที่แสดงชื่อว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์อื่นหรือแสดงเดือนปีที่วัตถุออกฤทธิ์สิ้นอายุ ซึ่งไม่ใช่ความจริง
(๓) วัตถุออกฤทธิ์ที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งไม่ใช่ความจริง
(๔) วัตถุออกฤทธิ์หรือสิ่งที่แสดงว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ (๑) หรือตามตำรับของวัตถุตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้ซึ่งไม่ใช่ความจริง
(๕) วัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐานถึงขนาดสารออกฤทธิ์ขาดหรือเกินกว่าร้อยละสิบของปริมาณที่กำหนดไว้ไปจากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุด ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ (๒) หรือตามตำรับของวัตถุตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้
มาตรา ๖๑ ห้ามผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปหรือขายวัตถุออกฤทธิ์และยารวมกันหลายขนาน โดยจัดเป็นชุดไว้ล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ทางการค้า
มาตรา ๕๗ ห้ามผู้ใดผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ดังต่อไปนี้
(๑) วัตถุออกฤทธิ์ปลอม
(๒) วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน
(๓) วัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ
(๔) วัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับแต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้
(๕) วัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ
หมวด ๖
การขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ
มาตรา ๖๒ ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ จะผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าว ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับนั้นต่อผู้อนุญาตก่อนและเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับแล้วจึงจะผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุตำรับนั้นได้
มาตรา ๖๓ การขอขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับตามมาตรา ๖๒ ต้องแจ้งรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อวัตถุตำรับ
(๒) ชื่อและปริมาณของวัตถุต่าง ๆ อันเป็นส่วนประกอบของวัตถุตำรับ
(๓) ขนาดบรรจุ
(๔) วิธีวิเคราะห์มาตรฐานของส่วนประกอบของวัตถุตำรับ
(๕) ฉลาก
(๖) เอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์
(๗) ชื่อผู้ผลิตและประเทศที่สถานที่ผลิตตั้งอยู่
(๘) รายการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๖๔ การแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อนุญาต
มาตรา ๖๕ ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจไม่รับขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับในกรณีดังต่อไปนี้
มาตรา ๖๗ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญ ถ้าผู้รับใบสำคัญประสงค์จะขอต่ออายุใบสำคัญ จะต้องยื่นคำขอก่อนใบสำคัญสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าจะได้มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบสำคัญนั้น
มาตรา ๖๘ เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าวัตถุตำรับใดที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วนั้น ต่อมาปรากฏว่าไม่มีสรรพคุณตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรืออาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ หรือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอม หรือใช้ชื่อผิดไปจากที่ขึ้นทะเบียนไว้ ให้คณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับนั้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับต่อผู้อนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
มาตรา ๖๖ บทบัญญัติมาตรา ๖๕ ให้ใช้บังคับแก่การแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับโดยอนุโลม
หมวด ๗
การโฆษณา
มาตรา ๗๑ ในกรณีที่ผู้อนุญาตเห็นว่าการโฆษณาใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๐ วรรคสอง หรือมีการใช้ข้อความโฆษณาซึ่งไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
(๑) ห้ามการโฆษณาหรือห้ามใช้วิธีการนั้นในการโฆษณา
(๒) ห้ามการใช้ข้อความบางอย่างที่ปรากฏในการโฆษณา
(๓) ให้แก้ไขข้อความหรือวิธีการในการโฆษณา
(๔) ให้โฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้น
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา ๗๑ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้
มาตรา ๗๐ ห้ามผู้ใดโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่
(๑) เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ หรือ
(๒) เป็นการโฆษณาซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง
มาตรา ๗๓ การอุทธรณ์ตามมาตรา ๗๒ ให้ยื่นต่อคณะกรรมการภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้อุทธรณ์ได้รับทราบคำสั่งของผู้อนุญาต
หมวด ๘
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๗๔ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสถานที่ทำการของผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออก สถานที่ผลิต สถานที่ขาย สถานที่เก็บวัตถุออกฤทธิ์หรือสถานที่ที่ต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้นเมื่อมีเหตุเชื่อได้ตามสมควรว่ามีทรัพย์สิน ซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ ทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลายหรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(๓) ค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีวัตถุออกฤทธิ์ซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๔) ยึดหรืออายัดวัตถุออกฤทธิ์ที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณา
มาตรา ๗๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อผู้รับอนุญาตหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๗๗ ในการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๔ มาตรา ๗๕ และมาตรา ๗๙ วรรคสาม ให้ผู้รับอนุญาตและบุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๗๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๙
การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๗๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ในกรณีมีการฟ้องผู้รับอนุญาตต่อศาลว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อนุญาตจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้รอคำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้
มาตรา ๘๐ ผู้รับอนุญาตผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๙ (๔) หรือมาตรา ๒๒ (๑) หรือไม่จัดให้มีเภสัชกรอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
มาตรา ๘๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบ ในกรณีไม่พบตัวผู้รับอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับอนุญาตได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่รับหรือปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๘๒ ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งยกเลิกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตก่อนกำหนดเวลาได้ เมื่อเป็นที่พอใจว่าผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว
มาตรา ๘๓ ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ยกอุทธรณ์ ยกเลิกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หรือแก้ไขคำสั่งของผู้อนุญาตในทางที่เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ได้
มาตรา ๘๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องทำลายหรือขายวัตถุออกฤทธิ์ของตนที่เหลืออยู่ในส่วนที่เกินกว่าที่กฎหมายให้มีไว้ในครอบครอง ในกรณีที่ขายให้ขายแก่ผู้รับอนุญาตอื่นหรือแก่ผู้ซึ่งผู้อนุญาตเห็นสมควร ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือวันที่ได้ทราบคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เว้นแต่ผู้อนุญาตจะผ่อนผันขยายระยะเวลาต่อไปอีกแต่ต้องไม่เกินหกสิบวัน
หมวด ๑๐
มาตรการควบคุมพิเศษ
มาตรา ๘๕ ให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย
มาตรา ๘๖ ในกรณีที่วัตถุตำรับมีวัตถุออกฤทธิ์อันระบุอยู่ในประเภทต่างกันมากกว่าหนึ่งประเภทผสมอยู่ ให้ถือว่าวัตถุตำรับนั้นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่มีการควบคุมเข้มงวดที่สุดในบรรดาวัตถุออกฤทธิ์ที่ผสมอยู่นั้น
มาตรา ๘๗ รัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดให้วัตถุตำรับใดซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นวัตถุตำรับยกเว้นได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๑) มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างปรุงผสมอยู่
(๒) มีลักษณะที่ไม่อาจก่อให้เกิดการใช้ที่ผิดทาง
(๓) ไม่สามารถจะแยกสกัดเอาวัตถุออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในวัตถุตำรับนั้นกลับมาใช้ในปริมาณที่จะทำให้เกิดการใช้ที่ผิดทาง และ
(๔) ไม่ก่อให้เกิดอันตรายทางด้านสุขภาพและสังคมได้
มาตรา ๘๘ ห้ามผู้ใดมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๘๙ บทบัญญัติมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทสำหรับกิจการของผู้รับอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้น ๆ
(๒) การมีไว้ในครอบครองของบุคคลในปริมาณพอสมควรเพื่อการเสพ การรับเข้าร่างกายหรือการใช้ด้วยวิธีอื่นใดซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ บำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของบุคคลหรือสัตว์นั้น
(๓) การมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ตามหน้าที่ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ของกระทรวง ทบวง กรม และสภากาชาดไทย หรือหน่วยงานของรัฐตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๔) การมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ในปริมาณเท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร
มาตรา ๙๐ ในกรณีที่เห็นสมควรรัฐมนตรีจะประกาศกำหนดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ที่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งมีไว้ในครอบครองในปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโดยไม่ต้องขออนุญาตก็ได้
มาตรา ๙๑ ห้ามผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑
มาตรา ๙๒ ห้ามผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ เว้นแต่เป็นการเสพตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลผู้นั้น
มาตรา ๙๓ ห้ามผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นเสพวัตถุออกฤทธิ์
มาตรา ๙๔ ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะ
มาตรา ๙๕ ผู้รับอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ต้องจัดให้มีการป้องกันตามสมควรเพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์สูญหาย หรือมีการนำไปใช้โดยมิชอบ
มาตรา ๙๖ ห้ามผู้ใดซึ่งมิใช่เภสัชกรที่อยู่ประจำควบคุมกิจการของสถานที่ผลิต สถานที่ขาย หรือสถานที่นำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่ผู้อื่นในสถานที่นั้น เว้นแต่อยู่ในความควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของเภสัชกรประจำสถานที่นั้น
มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๘ เภสัชกรจะขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ให้ได้เฉพาะแก่กระทรวง ทบวง กรม และสภากาชาดไทย หรือหน่วยงานของรัฐตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ผู้ที่มีใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว ใบสั่งยาแต่ละฉบับให้ใช้ได้ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออก
มาตรา ๙๘ ในกรณีที่ไม่มีสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานพยาบาลของรัฐ สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของรัฐ ซึ่งมีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง
มาตรา ๙๙ ในการส่งมอบวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๙๗ หรือมาตรา ๙๘ เภสัชกรต้องมอบคำเตือนหรือข้อควรระวังตามประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ (๖) ให้แก่ผู้ซื้อด้วย
หมวด ๑๑
การค้าระหว่างประเทศ
มาตรา ๑๐๐ การนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ของผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๒๐ นอกจากจะต้องได้รับใบอนุญาตตามมาตราดังกล่าวแล้ว ในการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ของผู้รับอนุญาตในแต่ละครั้งต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออกอีกด้วย
มาตรา ๑๐๑ ในการนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ ประเภท ๒ หรือประเภท ๓ ให้ผู้รับอนุญาตจัดให้มีสำเนาใบอนุญาตส่งออกหรือสำเนาหนังสือแสดงการอนุญาตให้ส่งออกของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้นส่งมาพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์หนึ่งฉบับและจัดให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกส่งสำเนาใบอนุญาตหรือสำเนาหนังสือแสดงการอนุญาตให้ส่งออกไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้วย
มาตรา ๑๐๒ ในการส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ให้ผู้รับอนุญาตนำใบอนุญาตนำเข้าของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศนั้นมามอบให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนจึงจะได้รับการพิจารณาออกใบอนุญาตเฉพาะคราวเพื่อส่งออก และในการส่งออกให้ผู้รับอนุญาตแนบสำเนาใบอนุญาตเฉพาะคราวไปพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ส่งออกด้วยหนึ่งฉบับ
มาตรา ๑๐๓ ในการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ ผู้รับอนุญาตต้องมีใบอนุญาตส่งออกของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้นมาพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์และต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้บรรทุกทราบก่อนผ่านเข้ามาในราชอาณาจักร และให้ผู้ควบคุมยานพาหนะนั้นจัดให้มีการป้องกันตามสมควรเพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์สูญหายหรือมีการนำเอาวัตถุออกฤทธิ์ที่อยู่ในยานพาหนะนั้นไปใช้โดยมิชอบ
มาตรา ๑๐๔ ผู้รับอนุญาตนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท จะต้องนำวัตถุออกฤทธิ์ที่ตนนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน แล้วแต่กรณี มาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์ที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ (๑๒) เพื่อทำการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๐๕ ในการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท ห้ามผู้ใดเปลี่ยนแปลงการส่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังจุดหมายอื่นที่มิได้ระบุในใบอนุญาตส่งออกที่ส่งมาพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศผู้ออกใบอนุญาตนั้น และเลขาธิการให้ความเห็นชอบด้วย
มาตรา ๑๐๖ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการส่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังจุดหมายอื่นตามมาตรา ๑๐๕ ให้ถือว่าวัตถุออกฤทธิ์นั้นได้ส่งออกจากประเทศที่ออกใบอนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักร และให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสลักหลังสำเนาใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้นโดยแจ้งวันเดือนปีและปริมาณที่แท้จริงของวัตถุออกฤทธิ์ที่นำผ่าน และส่งสำเนานั้นกลับไปให้เจ้าหน้าที่ของประเทศผู้ออกใบอนุญาต พร้อมทั้งจัดทำสำเนาเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหนึ่งฉบับ
มาตรา ๑๐๗ ในระหว่างที่มีการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ หรือในระหว่างที่วัตถุออกฤทธิ์อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ศุลกากรตามมาตรา ๑๐๓ วรรคสอง ห้ามผู้ใดแปรรูปหรือแปรสภาพวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นอย่างอื่น หรือเปลี่ยนหีบห่อที่บรรจุวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเลขาธิการ
มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็น เลขาธิการมีอำนาจผ่อนผันการใช้บังคับมาตรการควบคุมตามมาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๐๖ และมาตรา ๑๐๗ เกี่ยวกับการนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ได้ตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๑๐๙ ในการนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท ห้ามผู้ใดส่งวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวไปยังบุคคลอื่นหรือสถานที่อื่นนอกเหนือไปจากบุคคลหรือสถานที่ที่ระบุในใบอนุญาตเฉพาะคราวเพื่อนำเข้า เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเลขาธิการ
มาตรา ๑๑๐ ในการส่งออกแต่ละครั้งซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ให้ผู้รับอนุญาตแนบสำเนาใบอนุญาตเฉพาะคราวเพื่อส่งออกไปพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ส่งออกนั้นหนึ่งฉบับ
มาตรา ๑๑๑ เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้รับแจ้งการห้ามนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดที่ต่างประเทศได้แจ้งผ่านเลขาธิการสหประชาชาติระบุห้ามนำเข้าไปยังประเทศนั้น ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดการห้ามนำเข้าของประเทศนั้น
มาตรา ๑๑๒ ห้ามผู้ใดส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ไปยังประเทศที่ระบุห้ามนำเข้าตามมาตรา ๑๑๑ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวจากประเทศนั้นและใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกจากเลขาธิการ
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๑๓ การมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ในปริมาณพอสมควรเท่าที่จำเป็นต้องใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ ให้ได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมสำหรับการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๑๔ ผู้ควบคุมยานพาหนะตามมาตรา ๑๑๓ ต้องจัดให้มีการป้องกันตามสมควรเพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์นั้นสูญหายหรือมีการนำไปใช้โดยมิชอบ
หมวด ๑๒
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๑๑๕ ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงสองล้านบาท
มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท
มาตรา ๑๑๗ ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงสองล้านบาท
มาตรา ๑๑๘ ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท
มาตรา ๑๑๙ ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ หรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๑๒๐ ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
มาตรา ๑๒๑ ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๘ (๑) หรือมาตรา ๘๘ ผู้ใดดำเนินการภายหลังที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว โดยมิได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับวันละห้าร้อยบาท นับแต่วันถัดจากวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุจนถึงวันที่ยื่นคำขอผ่อนผันต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา ๒๔ วรรคสอง
มาตรา ๑๒๒ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๒๓ ผู้รับอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๒๔ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคสามหรือวรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๑๒๕ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒๖ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๒๗ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๑๒๘ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๒๙ เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมกิจการผู้ใดละทิ้งหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมกิจการของผู้รับอนุญาตโดยไม่มีเหตุอันควรตามมาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๐ เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมกิจการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาท
มาตรา ๑๓๑ ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท
มาตรา ๑๓๒ ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐานอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐานอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๓๓ ผู้ใดขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๓๔ ผู้ใดผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ แต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท
มาตรา ๑๓๖ ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๓๗ ผู้ใดแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๘ ผู้ใดโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา ๗๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๓๙ ผู้รับอนุญาตหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๔ มาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๙ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔๐ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔๑ ผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๑ หรือผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔๒ ผู้ใดให้ผู้อื่นเสพวัตถุออกฤทธิ์อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๓ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔๓ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๔ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่จัดให้มีการป้องกันตามสมควรเพื่อมิให้วัตถุออกฤทธิ์สูญหายหรือมีการนำไปใช้โดยมิชอบอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๖ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๖ เภสัชกรผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๙๘ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๔๗ เภสัชกรผู้ใดไม่จัดให้มีการลงบัญชีรายละเอียดการขายตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๙๘ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๑๔๘ ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๒๐ ผู้ใดกระทำการนำเข้าหรือส่งออกในแต่ละครั้งซึ่งวัตถุออกฤทธิ์อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๑๔๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐๖ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๑๐ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๑๕๐ ผู้ควบคุมยานพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๐๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๕๑ ผู้รับอนุญาตนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐๔ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๗ หรือมาตรา ๑๑๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๕๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๕๔ ผู้ควบคุมยานพาหนะตามมาตรา ๑๑๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๑๕๕ ผู้ใดเสพ เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย หรือเสพและขายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ตามลักษณะ ชนิด ประเภทและปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้สมัครใจขอเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลก่อนความผิดจะปรากฏต่อพนักงานฝ่ายปกครอง
มาตรา ๑๕๖ ผู้ใดทำการบำบัดรักษาผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์เป็นปกติไม่ว่าโดยวิธีใดซึ่งมิได้กระทำในสถานพยาบาลตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
มาตรา ๑๕๗ บรรดาวัตถุออกฤทธิ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือทรัพย์สินอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น
มาตรา ๑๕๘ วัตถุออกฤทธิ์ ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ยึดไว้ตามมาตรา ๗๔ หรือตามกฎหมายอื่น รวมทั้งในกรณีที่มีการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งวัตถุออกฤทธิ์โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี และไม่มีการฟ้องคดีต่อศาลเพราะเหตุไม่ปรากฏผู้กระทำความผิดและพนักงานอัยการสั่งงดการ
มาตรา ๑๕๙ ในกรณีที่มีการฟ้องคดีความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อศาลและไม่ได้มีการโต้แย้งเรื่องประเภท จำนวนหรือน้ำหนักของวัตถุออกฤทธิ์นั้น ถ้าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวตามมาตรา ๑๕๗ หรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๖๐ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งมีโทษปรับสถานเดียว ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๖๑ กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใด ผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ หรือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา ๑๖๒ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์
มาตรา ๑๖๓ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าการกระทำความผิดของผู้ใด เมื่อได้พิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด และพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว กรณีมีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะราย ศาลจะลงโทษจำคุกน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้
มาตรา ๑๖๔ ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญในชั้นจับกุมหรือชั้นสอบสวน อันเป็นการเปิดเผยถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ของบุคคลที่เป็นเครือข่าย
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๑๖๕ คำขอใดที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ และยังอยู่ในระหว่างพิจารณาให้ถือว่าเป็นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่คำขอมีข้อแตกต่างไปจากคำขอซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๖๖ ให้ผู้รับอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ และถ้าประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตเดิมจะสิ้นอายุ แต่ถ้าผู้อนุญาตมีคำสั่งเป็นหนังสือไม่ออกใบอนุญาตให้ ผู้นั้นไม่มีสิทธิดำเนินกิจการนับแต่วันที่ทราบคำสั่งเป็นต้นไป
มาตรา ๑๖๗ ให้คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าจะได้มีคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๖๘ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่ใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ