Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สาเหตุการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) - Coggle Diagram
สาเหตุการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
เพศหญิง
การสูญเสียฮอรโมนเพศหญิงเนื่องจากหมดประจำเดือน
เมื่ออายุมากกว่า50ปี กระดูกจะบางลงทุก1-3% ทุกปี
สตรีหมดประจำเดือนเร็วหรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ45ปี
เพศชาย
การขาดฮอร์โมนเพศชาย
การเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
พบได้น้อยกว่าเพศหญิง
นิยาม
เกิดจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก
พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ
โรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในสตรีสูงอายุ
สาเหตุอื่น ที่เกิดกระดูกพรุน
1.พันธุกรรม
พบว่าชาวผิวขาวมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าชนผิวดำ ( นิโกร ) ส่วนชาวเอเชีย ( รวมทั้งคนไทย ) เป็นพวกเผ่ามองโกลอย จะเก็บสะสมเนื้อกระดูกได้มากกว่าชาวผิวขาวแต่น้อยกว่าชาวผิวดำ
2.ปริมาณแคลเซียมที่ได้รับและเก็บสะสมไว้ในขณะนั้น
3.สารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างเนื้อกระดูก
3.1 โปรตีน
ปริมาณอาหารโปรตีนที่รับประทานจะต้องสมดุลกับปริมาณแคลเซียมด้วย มีรายงานหลายฉบับชี้ให้เห็นว่า การบริโภคโปรตีนที่มากเกินไป จะทำให้มีการสูญเสียแคลเซียม ออกมาทางปัสสาวะในปริมาณที่มากกว่าที่พบในกลุ่มที่บริโภคโปรตีนต่ำกว่า
3.2 ฟลูออไรด์ แมกนีเซียม และโปรแตสเซียม
เป็นสารที่พบปริมาณน้อย แต่มีความจำเป็นในการสร้างกระดูก
3.3 ฮอร์โมนเพศ
เพศหญิงจะเห็นได้ชัดเจนในช่วง 5 ปีแรกของการหมดประจำเดือน ซึ่งในช่วงนั้นสุขภาพสตรีทุกคนจะมีการสูณเสียเนื้อกระดูกอย่างรวดเร็ว (3-5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี ) ถ้าคูณตัวเลขเหล่านี้จะเห็นว่าสูงถึง 15-25 เปอร์เซ็นต์ ของกระดูกในร่างกาย สำหรับเพศชายนั้นไม่มีช่วงที่สูญเสียเนื้อกระดูกมากๆ อย่างในหญิงวัยหมดประจำเดือน ยกเว้นว่ามีความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนเพศชายจะทำให้เนื้อกระดูกบางกว่าปกติ
3.4 หญิงที่มีการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
จะเกิดการสูญเสียเนื้อกระดูกในลักษณะดังกล่าวในช่วงหลังการผ่าตัด