Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.2 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕, นางสาวสุดธิดา…
5.2 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
หมวด
หมวด ๓ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๒๖ ให้สํานักงานมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าวและคณะกรรมการสอบสวน
2.เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานการบริการสาธารณสุข
3.จัดให้มีทะเบียนผู้รับบริการหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
4.บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
5.จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการกําหนดให้แก่หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา๔๖
6.ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
7.ดําเนินการเพื่อให้ประชาชนมีหน่วยบริการประจําและการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจํารวมทั้งประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลของหน่วยบริการ
8.กํากับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้บริการสาธารณสุขให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกําหนดและอํานวยความสะดวกในการเสนอเรื่องร้องเรียน
9.ถือกรรมสิทธิ์มีสิทธิครอบครองและมีทรัพยสิทธิต่างๆ
10.ก่อตั้งสิทธิและทํานิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน
11.เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในการดําเนินกิจการของสํานักงาน
12.มอบให้องค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นทํากิจการที่อยู่ภายในอํานาจหน้าที่ของสํานักงาน
13.จัดทํารายงานประจําปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดําเนินงานของคณะกรรมการและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและเผยแพร่ต่อสาธารณชน
14.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานหรือตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมาย
มาตรา ๒๗ ทรัพย์สินของสํานักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคด
มาตรา๒๕ให้สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัดใกล้เคียง
มาตรา ๒๘ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สํานักงานได้มาโดยมีผู้บริจาคให้หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสํานักงานให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสํานักงาน
มาตรา๒๔ให้มีสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตร
มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายประจําปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสํานักงาน
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๑ ให้สํานักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับข้อกําหนดนโยบายมติและประกาศของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๒ เลขาธิการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
2.สามารถทํางานให้แก่สํานักงานได้เต็มเวลา
3.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
1.มีสัญชาติไทย
4.ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
5.ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
6.ไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
7.ไม่เป็นผู้บริหารหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจอื่นหรือกิจการอื่นที่แสวงหากําไร
8.ไม่เป็นข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจําของราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
9.ไม่เป็นข้าราชการการเมืองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภาสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
10.ไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือ
11.ไม่เคยถูกไล่ออกปลดออกหรือให้ออกจากหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทมหาชนจํากัดเพราะทุจริตต่อหน้าที่
12.ไม่เป็นหรือภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันได้รับแต่งตั้งไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจในการจัดการหรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญา
13.คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๓ เลขาธิการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
2.ลาออก
3.ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๓๒
1.ตาย
4.ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
5.ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
6.คณะกรรมการถอดถอนจากตําแหน่งเพราะบกพร่องต่อหน้าที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
7.ถูกเลิกสัญญาจ้า
มาตรา ๓๔ ให้เลขาธิการมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได
มาตรา ๓๕ ให้เลขาธิการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูงและให้ถือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งต้องห้ามมิให้ดําเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมาย
มาตรา๓๖เลขาธิการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.บรรจุแต่งตั้งเลื่อนลดตัดเงินเดือนหรือค่าจ้างลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสํานักงาน
2.ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบข้อบังคับประกาศข้อกําหนดนโยบายหรือมติของคณะกรรมการ
มาตรา๓๗ให้มีสํานักตรวจสอบขึ้นในสํานักงานทําหน้าที่เป็นสํานักงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการตรวจสอบและให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบและรายงานเลขาธิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
หมวด 4 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๓๘ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
มาตรา ๓๙ กองทุนประกอบด้วย
1.เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจํา
2.เงินที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
3.เงินที่ได้รับจากการดําเนินการให้บริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้
4.เงินค่าปรับทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้
5.เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่กองทุน
6.ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
7.เงินหรือทรัพย์สินใดๆที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน
8.เงินสมทบอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔๐ การรับเงินการจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุนรวมทั้งการนําเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการกันเงินจํานวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการโดยหาผู้กระทําผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา๔๑
มาตรา ๔๓ ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณให้คณะกรรมการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา
หมวด ๒ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่
1.กำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการและกำหนดมาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ
2.ให้คําแนะนําต่อรัฐมนตรีในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
3.กําหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จําเป็นต่อสุขภาพและการดํารงชีวิตและอัตราค่าบริการสาธารณสุขตามมาตรา๕
4.กําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน
5.กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการถอดถอนเลขาธิการตามมาตรา๓๑และกําหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของเลขาธิการตามมาตรา๓๒
6.ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงินการจ่ายเงินและการรักษาเงินกองทุนรวมทั้งการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา๔๐
7.กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทําผิดมิได้
8.สนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการ
9.สนับสนุนและกําหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชนองค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการแสวงหาผลกำไรดําเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการ
10.กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
11.กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงโทษปรับทางปกครองและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียน
12.จัดทํารายงานเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดําเนินงานรวมทั้งบัญชีและการเงินทุกประเภทของคณะกรรมการแล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
13.จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจําทุกปี
14.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลสํานักงานให้ดําเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
มาตรา ๑๗ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการ ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๒๐ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่งแล้วกรรมการตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
มาตรา๒๑ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นคณะหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบการบริหารเงินและการดําเนินงานของสํานักงาน
มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา๑๓วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินกว่าสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการแล้วแต่กรณีมีอํานาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงมาให้ถ้อยคําหรือส่งเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาได้
มาตรา ๑๔ กรรมการตามมาตรา ๑๓ จะดํารงตําแหน่งกรรมการตามมาตรา๔๘ในขณะเดียวกันมิได้
มาตรา ๒๓ ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ประกอบด้วย
ผู้แทนเทศบาลหนึ่ง คนองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคน องค์การบริหารส่วนตําบลหนึ่งคน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นหนึ่งคน โดยให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง
ผู้แทนองค์กรเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกําไรและดําเนินกิจกรรม
ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
ผู้แทนผู้ประกอบอาชีพด้านสาธารณสุขจํานวนห้าคน ได้แก่ผู้แทนแพทยสภาสภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรมทันตแพทยสภา และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ด้านละหนึ่งคน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนเจ็ดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านประกันสุขภาพการแพทย์และสาธารณสุขการแพทย์แผนไทยการแพทย์ทางเลือกการเงินการคลังกฎหมายและสังคมศาสตร์ด้านละหนึ่งคน
หมวด ๑ สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา ๙ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายกฎระเบียบประกาศมติคณะรัฐมนตรีหรือคําสั่งใดๆที่กําหนดขึ้นสําหรับส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐและให้ใช้สิทธิดังกล่าวตามพระราชบัญญัตินี
มาตรา ๑๐ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมการขยายบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ไปยังผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการประกันสังคมตกลงกัน
มาตรา ๘ ผู้ซึ่งมีสิทธิตามมาตรา๕ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนตามมาตรา ๖ อาจเข้ารับบริการครั้งแรกที่หน่วยบริการใดก็ได้และให้หน่วยบริการที่ให้บริการแก่บุคคลดังกล่าวจัดให้บุคคลนั้นลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจําตามมาตรา๖และแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่ให้บริการ
มาตรา ๑๑ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อใดแล้วให้หน่วยบริการแจ้งการเข้ารับบริการนั้นต่อสํานักงานและให้สํานักงานมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย
มาตรา ๗ บุคคลที่ได้ลงทะเบียนแล้วให้ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขได้จากหน่วยบริการประจําของตนหรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องหรือจากหน่วยบริการอื่นที่หน่วยบริการประจําของตนหรือเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องส่งต่อ
มาตรา๑๒ในกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อใดแล้วให้หน่วยบริการแจ้งการเข้ารับบริการนั้นต่อสํานักงานและให้สํานักงานมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
มาตรา ๖ บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา ๕ให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงานหรือหน่วยงานที่สำนักงานกำหนดเพื่อเลือกหน่วยบริการเป็นหน่วยบริการประจำ
มาตรา ๕ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติ
หมวด
หมวด ๖ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข”
มาตรา ๔๙ การดํารงตําแหน่งวาระการดํารงตําแหน่งการพ้นจากตําแหน่งและการประชุมของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานให้นํามาตรา๑๔มาตรา๑๕มาตรา๑๖และมาตรา๑๗มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๕๐ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจหน้าที่
1.ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา๔๕
2.กํากับดูแลการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานในกรณีที่หน่วยบริการนั้นๆมีการให้บริการในส่วนที่สูงกว่าบริการสาธารณสุขตามมาตรา๕
3.กําหนดมาตรการควบคุมและส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
4.เสนอแนะอัตราราคากลางของโรคทุกโรคต่อคณะกรรมการเพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์กําหนดค่าใช้จ่า
5.กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการร้องเรียนของผู้ซึ่งถูกละเมิดสิทธิจากการใช้บริการและวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
6.รายงานผลการตรวจตราและการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการต่อคณะกรรมการพร้อมทั้งแจ้งหน่วยบริการและหน่วยงานต้นสังกัด
7.สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจตราและการควบคุมกํากับหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
8.จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทําผิดมิได้
9.สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบการเผยแพร่ข้อมูลแก่ประชาชนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเข้ารับบริการสาธารณสุข
10.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๕๑ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมายได้
มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและคณะอนุกรรมการมีอํานาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงมาให้ถ้อยคําหรือส่งเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาได้
มาตรา๕๓ให้กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและอนุกรรมการได้รับค่าเบี้ยประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๕ หน่วยบริการและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๔ ให้สํานักงานจัดให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการแล้วประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
มาตรา๔๕ให้หน่วยบริการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.ให้บริการสาธารณสุขรวมทั้งการใช้วัคซีนยาเวชภัณฑ์อุปกรณ์ในการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
2.ให้ข้อมูลการบริการสาธารณสุขของผู้รับบริการตามที่ผู้รับบริการร้องขอและตามประกาศที่มีการกําหนดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยและผู้รับบริการโดยไม่บิดเบือน
3.ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับชื่อแพทย์เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือผู้รับผิดชอบในการดูแลอย่างต่อเนื่องทางด้านสุขภาพกายและสังคมแก่ญาติหรือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการอย่างเพียงพอก่อนจําหน่าย
4.รักษาความลับของผู้รับบริการจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) และ (๒) อย่างเคร่งครัด
5.จัดทําระบบข้อมูลการให้บริการสาธารณสุขเพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบคุณภาพและบริการ
มาตรา ๔๖ หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา๔๔และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๔๗ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด ๘ การกํากับมาตรฐานหน่วยบริการ
มาตรา๕๙ในกรณีที่ผู้รับบริการผู้ใดไม่ได้รับความสะดวกตามสมควรหรือตามสิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่กําหนดตามพระราชบัญญัตินี้จากหน่วยบริการหรือหน่วยบริการเรียกเก็บค่าบริการจากตนโดยไม่มีสิทธิที่จะเก็บหรือเรียกเก็บเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการกําหนดหรือไม่ได้รับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการภายในระยะเวลาอันสมควร
มาตรา๖๐ในกรณีที่การกระทําผิดของหน่วยบริการตามมาตรา๕๘หรือมาตรา๕๙เป็นการกระทําผิดร้ายแรงหรือเกิดซ้ำหลายครั้งให้เลขาธิการรายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อพิจารณาดําเนินการ
มาตรา๕๘ในกรณีที่ผลการสอบสวนตามมาตรา๕๗ปรากฏว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานดําเนินการ
มาตรา๖๑ผู้ร้องเรียนหรือหน่วยบริการที่ได้รับคําสั่งจากคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามหมวดนี้ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือวันที่ได้รับทราบคําสั่งแล้วแต่กรณี
มาตรา๕๗ในกรณีที่สํานักงานตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขที่กําหนดให้รายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณา
มาตรา๖๒เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งตามมาตรา๖๑ผลเป็นประการใดแล้วให้เลขาธิการรายงานผลการดําเนินการหรือคําวินิจฉัยต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อทราบ
หมวด
หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา๕๔ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปในสถานที่ของหน่วยบริการหรือของเครือข่ายหน่วยบริการในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบสอบถามข้อเท็จจริง
มาตรา ๕๕ ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
มาตรา๕๖ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๙ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๖๓ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๒๒มาตรา๕๒มาตรา๕๔หรือมาตรา๕๗ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา๕๕วรรคสามต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ ในวาระเริ่มแรกมิให้นําบทบัญญัติมาตรา๖มาตรา๗มาตรา๘มาตรา๑๑และมาตรา๑๒มาใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการจัดเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการสาธารณสุขตามบทบัญญัติ
มาตรา ๖๖ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา๙และมาตรา๑๐ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและหากไม่แล้วเสร็จให้ขยายระยะเวลาได้ครั้งละหนึ่งปีโดยให้สํานักงานหรือสํานักงานและสํานักงานประกันสังคมแล้วแต่กรณี
มาตรา๖๗ให้กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการให้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา๑๓ (๓) (๔) (๕) และ (๖) รวมทั้งสรรหาและคัดเลือกเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๘ ให้กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการให้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา๔๘ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) เพื่อให้ได้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗๐ ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการใดสมัครใจจะเปลี่ยนไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสํานักงานให้แจ้งความจํานงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาและจะต้องผ่านการคัดเลือกหรือการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๖๙ ให้โอนกิจการทรัพย์สินสิทธิหนี้และความรับผิดรวมทั้งเงินงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขในส่วนที่เกี่ยวกับงานประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัตินี้ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพไปเป็นของสํานักงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การไม่ขอรับบําเหน็จหรือบํานาญตามวรรคสี่จะต้องกระทําภายในสามสิบวันนับแต่วันที่โอนสําหรับกรณีของข้าราชการให้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการแล้วแต่กรณีสําหรับกรณีของลูกจ้างให้กระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานยื่นต่อผู้ว่าจ้างเพื่อส่งต่อไปให้กระทรวงการคลังทราบ
นางสาวสุดธิดา สิงหาอรุณ รหัส6001210514 เลขที่ 25 Sec B