Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน, นางสาวธัญวรรณ…
บทที่ 5 พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
หมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจำเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริม และคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอ
มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้า และต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ
มาตรา ๑๐ เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว
การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
มาตรา ๑๑ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
หมวด ๒ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๖ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๘) ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะกำหนด
มาตรา ๑๗ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๙) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
มาตรา ๒๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๕ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๔ หลักเกณฑ์และวิธีการการประชุม คสช. และการปฏิบัติงานของ คสช. ให้เป็นไปตามระเบียบที่ คสช. กำหนด
หมวด ๓ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๒๙ บรรดารายได้ของสำนักงานตามมาตรา ๒๘ ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสำนักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
มาตรา ๓๑ ให้มีเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงานขึ้นตรงต่อ คสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งงานของสำนักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสำนักงาน
มาตรา ๓๒ ให้เลขาธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๓๕ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้คณะกรรมการบริหารกำหนดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๓๘ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุมและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ให้เป็นไปตามระเบียบที่ คสช. กำหนด
หมวด ๔ สมัชชาสุขภาพ
มาตรา ๔๐ การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น หรือสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คสช. กำหนด
มาตรา ๔๑ ให้ คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๔๒ ในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ให้ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่งมีจำนวนตามที่ คสช. กำหนด
มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการประชุม ซึ่งต้องประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันประชุม
มาตรา ๔๔ ผู้ใดประสงค์จะเข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งใด ให้สมัครลงทะเบียนสำหรับการประชุมครั้งนั้นต่อเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกำหนดตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกำหนด
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนำไปปฏิบัติ หรือนำไปพิจารณาประกอบในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ให้เสนอต่อ คสช.เพื่อพิจารณาดำเนินการให้บรรลุผลตามควรแก่กรณีต่อไป
หมวด ๕ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๔๖ ให้ คสช. จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๔๘ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา ๒๕ (๒) ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ของตน
หมวด ๖ บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๐ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ไปเป็นของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๑ ให้นำบรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติมาใช้บังคับกับการปฏิบัติงานของสำนักงานโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๒ ให้ถือว่าข้าราชการที่โอนมาตามมาตรา ๕๐ ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๓ ให้นำความในมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับกับการออกจากราชการหรือออกจากงานของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่สำนักงานรับเข้าทำงานด้วยโดยอนุโลม แต่ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้นต้องแสดงความจำนงเป็นหนังสือสมัครเข้าทำงานต่อสำนักงานภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
หลักการและเหตุผล โดยที่มาตรา ๕๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้ชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ และการให้บริการสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพในมาตราใดของรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๙ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๓๕ เสรีภาพในเคหสถาน
มาตรา ๔๘ สิทธิในทรัพย์สิน
มาตรา ๕๒ สิทธิเสมอกันในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
สาระสำคัญของกฎหมาย
รับรองสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนด
กำหนดให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ กำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ และกำหนดมาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ กำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการสาธารณสุข ตามที่พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนด
กำหนดให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าว และคณะกรรมการสอบสวน ทั้งมีหน้าที่รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานการบริการสาธารณสุข จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการกำหนด และกำกับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้บริการสาธารณสุขให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด
กำหนดให้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
กำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีอำนาจสั่งให้หน่วยบริการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขที่กำหนด ชำระค่าปรับทางปกครอง
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541
สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
สถานพยาบาลประเภทที่ที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
ต้องมีการขออนุญาตตั้งและขออนุญาตดำเนินการ และต้องได้รับใบอนุญาตทั้งสองอย่างเสียก่อน มิฉะนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอตั้งและกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลทั้งสองประเภท
กฎหมายกำหนดให้สถานพยาบาลต้องมีเครื่องใช้อย่างเพียงพอ ให้มีผู้ดำเนินการซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะและมีผู้ประกอบโรคศิลปะ ประจำสถานพยาบาล
กฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาต(ผู้ขอตั้ง) และดำเนินการไว้
กฎหมายได้กำหนด เรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ดำเนินการและผู้รับอนุญาตตลอดจนการเปลี่ยนแปลงต่อเติมสถานพยาบาลและการเลิกสถานพยาบาล
กฎหมายได้กำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่และมาตรการในการสั่งปิดและเพิกถอนใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
กฎหมายกำหนดโทษทางอาญา แก่ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการหรือผู้อื่นในการกระทำผิดในกรณีต่างๆอันฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
กรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดตามนิยามกฎหมายเกิดขึ้น ให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน หรือแพทย์ผู้ทำการรักษาพยาบาลในกรณีที่พบผู้ที่เป็น หรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน
ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ ดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาล
ผู้ทำการชันสูตรหรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตร ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์หรือทางการสัตว์แพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว
เจ้าของ หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นใด ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานที่นั้น
เมื่อเกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่
ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามวัน เวลา สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานโรคติดต่อกำหนด เพื่อมิให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป
ให้นำศพหรือซากสัตว์ซึ่งตายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าตายด้วยโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดไป รับการตรวจ หรือจัดการทางแพทย์
ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีหรือสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้นเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรค
กรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด
สั่งปิดตลาด สถานที่ประกอบหรือจ าหน่ายอาหาร สถานที่ผลิตหรือจำหน่ายเครื่องดื่มโรงงาน สถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใดไว้เป็นการชั่วคราว
สั่งให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหยุดการประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว
สั่งห้ามผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเข้าไปในสถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
เปิดช่องให้มีการโฆษณายาเพียงขอจดแจ้งโฆษณาเท่านั้น จนอาจนำไปสู่การโฆษณายาที่ไม่เหมาะสม ทำให้มีการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาการดื้อยา อีกทั้งยังขาดมาตรการควบคุมการโฆษณายาทางอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์ที่ชัดเจน แต่ พ.ร.บ.ยา 2510 บัญญัติให้การโฆษณายาต้องขออนุญาตทุกกรณี
ไม่มีมาตรการควบคุมราคายา ร่าง พ.ร.บ.ยา มิได้กำหนดให้ต้องยื่นโครงสร้างราคายาเมื่อขอขึ้นทะเบียนตำรับยา บริษัทยายังสามารถกำหนดราคายา โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งเรียกเก็บค่ายาสูงกว่าราคาต้นทุนหลายเท่า เป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ยังไม่มีกฎหมาย เครื่องมือหรือหน่วยงานของรัฐที่จะตรวจสอบในเรื่องนี้ แม้ว่ายารักษาโรคจะเป็นสินค้าควบคุมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 แต่กลับไม่มีมาตรการควบคุมราคายาแต่อย่างใด จึงต้องอาศัย พ.ร.บ.ยา ในการแก้ปัญหานี้ การควบคุมราคายาในต่างประเทศมีวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น ในออสเตรเลียยาที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพที่รัฐบาลจะอุดหนุนราคายาให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา มีเงื่อนไขสำคัญคือ บริษัทยามีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลราคายาตามกฎหมายชื่อ National Health Act 1953
ไม่มีหลักเกณฑ์การทบทวนตำรับยาอันตราย หรือยาที่มีข้อมูลหลักฐานในต่างประเทศว่ามีอันตรายหรือมีความเสี่ยงต่อผู้ใช้ยา อีกทั้งยังไม่มีมาตรการระงับการขายยาชั่วคราว หากพบว่าผู้ใช้ยาได้รับอันตรายจากการใช้ยาดังกล่าว
ส่งเสริมการพนัน มอมเมาประชาชนและผู้บริโภค ร่าง พ.ร.บ.ยา มาตรา 139 (10) และวรรคสอง อนุญาตให้บริษัทยา หรือธุรกิจเกี่ยวข้องสามารถโฆษณากิจกรรมชิงรางวัล ออกรางวัลหรือวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกันได้ เสมือนผู้ร่างกฎหมายสวมวิญญาณศรีธนญชัย เลี่ยงใช้คำว่า “โฆษณาวัตถุ”
เปิดโอกาสให้เภสัชกรไม่ต้องอยู่ประจำร้าน ประชาชนหรือผู้ป่วยที่ซื้อยาในร้านยาอาจไม่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้เภสัชกรไม่ต้องอยู่ประจำร้านยาตลอดเวลา ทำให้ปัญหาการแขวนป้ายรุนแรงเพิ่มยิ่งขึ้น ข้อสำคัญคือจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยหรือผู้ใช้ยา หากมีข้อผิดพลาดในการจ่ายยาขึ้น กฎหมายยาปัจจุบันจะกำหนดให้ร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มียาอันตรายจำหน่าย (ขย.1) กำหนดให้ต้องมีเภสัชกรประจำตลอดเวลาทำการ
ไม่มีโทษทางปกครอง กฎหมายยาในประเทศพัฒนาแล้วจะมีการลงโทษทางแพ่งหรือโทษปรับทางปกครอง เช่น กฎหมายยาของสหรัฐ ฉะนั้น ร่าง พ.ร.บ.ยา จึงควรมีโทษทางปกครอง เพื่อระงับเหตุที่กระทำผิดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพดีกว่าโทษอาญา เช่น การตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน จำกัดการประกอบการ เพิกถอนใบอนุญาต ปรับทางปกครอง
กรณีมีการรักษาโรคเบื้องต้นแล้ว หากจำเป็นต้องใช้ยาในการบำบัดโรคแก่คนไข้ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง สามารถทำการรักษาโรคเบื้องต้น และการให้ภูมิคุ้มกันโรคในสถานพยาบาลได้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาลกำหนดตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2545 ได้เท่าที่ไม่ขัดกับ พ.ร.บ.ยา 2510
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559
วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑
ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ซึ่งกำหนดให้เฉพาะกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการเท่านั้นเพื่อให้มีการอนุญาตในขอบเขตของการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของทางราชการ (กฎหมายเดิมห้ามการดำเนินการแต่ไม่ใช้บังคับแก่กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข)(มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง)
กำหนดบทสันนิษฐานสำหรับฐานความผิดการผลิตนำเข้าหรือส่งออก เพื่อขายซึ่งจะนำไปสู่การลงโทษที่หนักขึ้น (มาตรา ๑๔ วรรคสาม)
ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต(หลักการตามกฎหมายเดิม) (มาตรา ๒๐วรรคหนึ่ง)
กำหนดบทสันนิษฐานสำหรับฐานความผิดการนำผ่านเพื่อขายซึ่งจะนำไปสู่การลงโทษที่หนักขึ้น (มาตรา ๒๐วรรคสาม)
การมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์รายละเอียดอยู่ในหมวด ๑๐ มาตรการควบคุมพิเศษ (มาตรา ๘๘ มาตรา ๘๙ และมาตรา ๙๐)
วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒
ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ซึ่งกำหนดให้เฉพาะกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรณีเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขและกรณีเป็นการผลิตเพื่อส่งออกและส่งออกตามประกาศของรัฐมนตรีเท่านั้น
ผู้ขออนุญาตเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์หรือประเมินเอกสารทางวิชาการเพื่อมิให้เป็นภาระกับเงินงบประมาณของทางราชการ(มาตรา ๑๕ วรรคสาม)
ต้องจัดให้มีเภสัชกรอยู่ประจำควบคุมกิจการตามเวลาที่เปิดทำการซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต(มาตรา ๓๐)
กำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาตขึ้นใหม่ (มาตรา ๓๑มาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๗
กำหนดหน้าที่ของเภสัชกรขึ้นใหม่ (มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๔)
วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔
ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุและในกรณีที่ใบอนุญาตสิ้นอายุไม่เกินสามสิบวันให้ยื่นคำขอผ่อนผันการต่ออายุใบอนุญาตได้
ก ำหนดบทสันนิษฐานสำหรับฐานความผิดการผลิต นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน เพื่อขายซึ่งจะนำไปสู่การลงโทษที่หนักขึ้น
กำหนดคุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตให้ผลิต ขาย หรือน าเข้าต้องมีใบอนุญาตผลิต ขาย หรือนำเข้าซึ่งยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา และมีเภสัชกรอยู่ประจำตลอดเวลาที่เปิดทำการ
ผู้ขอใบอนุญาตส่งออก ต้องมีใบอนุญาตผลิต ขาย หรือนำเข้าแล้ว
ผู้รับอนุญาตผลิต ขาย นำเข้า ส่งออกต้องจัดให้มีเภสัชกรอยู่ประจำควบคุมกิจการตามเวลาที่เปิดทำการซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต
กำหนดเพิ่มหน้าที่ของผู้รับอนุญาตเช่นจัดให้มีการทำบัญชีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น ดำเนินการผลิตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตยา
กำหนดเพิ่มหน้าที่ของเภสัชกร เช่นควบคุมการทำบัญชี
วัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออก
กำหนดห้ามการผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ปลอม วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน วัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ วัตถุออกฤทธิ์ที่มิได้ขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ และวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ
กำหนดห้ามขายวัตถุออกฤทธิ์ในลักษณะยาชุดโดยจัดไว้ล่วงหน้าเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค
การขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ
การรับขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับการแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับการไม่รับขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับและการขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับเป็นอำนาจของผู้อนุญาต
ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์หรือประเมินเอกสารทางวิชาการ
ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับมีอายุ ๕ ปีการขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับต้องยื่นคำขอก่อนใบสำคัญสิ้นอายุ
กำหนดกรณีการสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ
การโฆษณา
ห้ามโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งอยู่ที่ภาชนะหรือหีบห่อ หรือเป็นการโฆษณาที่กระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งต้องได้รับอนุญาตก่อน
กำหนดเพิ่มบทบังคับกรณีฝ่าฝืนการโฆษณา ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทได้และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอุทธรณ์
การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
กำหนดให้การสั่งพักใช้ใบอนุญาตการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตและการยกเลิกการสั่งพักใช้ใบอนุญาตก่อนกำหนดเวลา ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ขยายระยะเวลาการพักใช้ใบอนุญาตเป็นครั้งละไม่เกิน๑๘๐ วัน (กฎหมายเดิมก าหนดไว้ครั้งละไม่เกิน๑๒๐ วัน) ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
กรณีผู้รับอนุญาตผลิต ขาย หรือน าเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยา ให้ผู้อนุญาตสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย เนื่องจากใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเป็นคุณสมบัติที่ผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ต้องมีตามมาตรา ๒๒
กำหนดเงื่อนไขการเพิกถอนใบอนุญาตให้ครอบคลุมคุณสมบัติของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ประเภท ๒ประเภท ๓ หรือประเภท ๔
ผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง
กำหนดมาตรการบังคับแก่ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต โดยต้องทำลายหรือขายวัตถุออกฤทธิ์ที่เหลืออยู่ในส่วนที่เกินกว่าที่กฎหมายให้มีไว้ในครอบครอง ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
บทกำหนดโทษ
รับปรุงบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับเนื้อหาในพระราชบัญญัติและแก้ไขอัตราโทษให้เหมาะสมเช่น เพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้นในกรณีการผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ประเภท ๒ประเภท ๓ หรือประเภท ๔
กำหนดเพิ่มบทบัญญัติให้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจในการกำหนดโทษผู้กระทำความผิดให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดีและลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เมื่อผู้กระทำผิดให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อันจะนำไปสู่การดำเนินการกับผู้กระทำผิดรายใหญ่
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๑๕ ใบรับจดแจ้งให้มีอายุ สามปี นับแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้ง
ในกรณีที่ผู้จดแจ้งประสงค์จะขอต่ออายุใบรับจดแจ้ง ให้ยื่นคำขอก่อนวันที่ใบรับจดแจ้งสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุพร้อมกับการยื่นคำขอแล้ว ให้ใบรับจดแจ้งนั้นใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้รับจดแจ้งจะสั่งไม่ให้ต่ออายุใบรับจดแจ้งนั้น
การขอต่ออายุใบรับจดแจ้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ผู้จดแจ้งซึ่งใบรับจดแจ้งของตนสิ้นอายุไม่เกินหนึ่งเดือน จะยื่นคำขอต่ออายุและขอผ่อนผันโดยแสดงเหตุผลในการที่มิได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุก็ได้แต่การขอผ่อนผันไม่เป็นเหตุให้พ้นผิดตามมาตรา ๖๔
มาตรา 41 การโฆษณาเครื่องสำอางต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2552
สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑
การนำบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาให้ได้รับการบำบัดรักษา
มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย
มาตรา ๑๗ การบำบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บำบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy, ECT) ให้กระทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องรับทราบถึงเหตุผลความจำเป็น ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน ประโยชน์ของการบำบัด แต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น
การทำหมัน การทำหมันจะทำไม่ได้ เว้นแต่ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อการบำบัดรักษา หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา
การวิจัยใดๆ ที่กระทำต่อผู้ป่วยจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ป่วย และต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต คือมีภาวะอันตรายหรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตำรวจโดยเร็ว
กรณีที่ผู้ป่วยได้รับคำสั่งให้เข้ารับการบำบัดรักษาแต่ไม่เห็นด้วย มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน ๓๐ วัน โดยผู้มีสิทธิอุทรได้แก่ ผู้ป่วย คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ซึ่งดูแลผู้ป่วย
ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
ผู้ใดแจ้งความเท็จ ว่าบุคคลนั้นๆมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีความผิดปกติทางจิต โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นางสาวธัญวรรณ วรรณา 6001211115 เลขที่ 49 Sec B