Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
ประเทศไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ปกครอง
ความเชื่อเกี่ยวกับเด็กหรือลูกของแต่ละศาสนา
อิสลาม
: เชื่อว่าลูกเป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ต้องดูแลให้เป็นคนดี มารดาต้องลูแลบุตรตั้งแต่ในครรภ์-วัยผู้ใหญ่อายุ 21 ปี ทั้งร่างกายและจิตใจ
คริสต์
: เชื่อว่าเด็กเป็นของขวัญจากพระเจ้า ต้องดูแลให้เติบโตในทางที่ดี เมื่อเด็กเกิดมาต้องเข้าพิธีบัติศมาเพื่อแสดงถึงการชำระเพื่อให้พ้นจากความบาป และประกาศตัวเป็นศาสนิกชน
ผู้นับถือนิกายพยานพระเยโฮวา
จะปฏิเสธการรับเลือดจากผู้อื่น เชื่อว่าการรับเลือดจากผู้อื่นจะเป็นบาป แม้ว่าตัวเองจะมีอันตรายถึงชีวิตก็ตาม ในเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะพ่อและแม่เป็นจะเป็นผู้ตัดสินใจในการรับการรักษาของเด็ก บุคลากรทางการแพทย์ต้องใช้ศาสตร์ในการอธิบายเหตุผลในการรักษาให้กับพ่อแม่ต่อไป
พุทธ
: ความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลเด็กจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม แต่ละภูมิภาค
เช่น
จกคอละอ่อน
: การที่แม่ช่าง(หมอตำแย) ใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด เพื่อล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมา เชื่อว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ เมื่อโตขึ้นเด็กคนนี้จะป่วยเป็นโรคหืดหอบ
น้ำนม
: เชื่อว่าถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา ถ้าเอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง ก็จะหาย และถ้าเอาน้ำนมของคนไปผสมกับดินปืนที่ใช้ทำบอกไฟดอก เชื่อว่าเมื่อจุดบอกไฟจะไม่ค่อยมีควันและดอกสวยงามสว่างไสว
ความเชื่อในการดูแลเด็กของคนไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะคล้ายคลึงกับประชาชนในประเทศลาว
ประเทศกัมพูชา
การเกิดของเด็กเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในครอบครัว เชื่อว่าการเกิดเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
เด็กกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี
เด็กอายุ 5 ขวบ
จะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้
อายุ 7-8 ปี
จะเริ่มเข้าโรงเรียน
อายุ 10 ขวบ
เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ เด็กผู้ชายต้องช่วยงานไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่
ชาวกัมพูชา ถือว่าศีรษะเป็นส่วนสำคัญที่สุด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะของผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วนเด็ก
ประเทศจีน
อดีตมีนโยบาย
ลูกคนเดียว (One child policy)
ปัจจุบันสามารถมีสูกสองคนได้ เพื่อแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างประชากรจีนในระยะยาว วัฒนธรรมจีนชื่นชอบลูกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในอดีตต้องการมีลูกชายไว้สืบสกุลเพราะมีลูกได้เพียงคนเดียว ทำให้เกิดการทำแท้งทารกเพศหญิงอยู่เสมอๆ ทำให้อัตราการเกิดของทารกเพศชายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เด็กที่เกิดในประเทศจีน เมื่อครบ 3 วัน จะมีพิธีล้าง คือเป็นการอาบน้ำให้เด็กครั้งแรกนับแต่คลอด จึงต้องพิถีพิถันในการเลือกภาชนะ น้ำ รวมถึงผู้ประกอบพิธี
น้ำที่ใช้อาบมีชื่อว่า “ฉางโซ่วทัง”
มีความหมายว่า อายุมั่นขวัญยืน
พิธีครบเดือนหรือ “หมีเย่ว์” เป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย การโกนผมไฟ การจัดเลี้ยวในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย และการตั้งชื่อให้เด็ก ในการโกนผมจะไม่โกนหมด จะเหลือเป็นรูปสี่เหลี่ยมบริเวณโคนหน้าผาก และบริเวณท้ายทอยจะเหลือผมไว้หนึ่งปอย
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
ทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อให้ครอบครัวได้ดูหรืออ่าน เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์ ตั้งแต่การประเมินปัญหาของผู้ป่วย วินิจฉัย วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว อายุ 20-25 ปีถึง 40 ปี
: มีพัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์ พร้อมที่จะมีบทบาทที่เลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพ คู่ครอง และความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ อย่างมีความหมาย
วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 40 ปีถึง 60-65 ปี
: เป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต
วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ อายุ 60-65 ปีขึ้นไป
: เป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม การปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ตัวชี้วัดด้านคุณภาพชีวิตที่สำคัญ
คือ การมีสุขภาพดีที่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจในโอกาสต่างๆ การดูแลผู้ป่วยเพื่อให้สามารถประกอบศาสนกิจได้เป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่ง
ศาสนกิจที่สำคัญ
ได้แก่ การละหมาดวันละ 5 เวลา ถือศีลอด การทำฮัจญ์
การดูแลทำความสะอาดผู้ป่วยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1.ผู้ป่วยสามารถทำความสะอาดได้
อาจทำด้วยตัวเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
2.ผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดได้
อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทำความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้ ไม่ต้องละหมาดชดเชยอีก
3.ผู้ป่วยที่มีนะญิสติดตัวอยู่ตลอดเวลา
แนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์ และการอาบน้ำละหมาดของเขานั้นไม่เสีย แต่เขาจะต้องอาบน้ำละหมาดหรือตะยัมมุมทุกครั้งที่จะละหมาดได้ จำเป็นที่จะต้องทำการละหมาดตามความสามารถของเขา ภายใต้การผ่อนปรนตามหลักการของศาสนา
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถปกปิดเอาเราะฮ์
เขาสามารถละหมาดได้โดยไม่ต้องปิดเอาเราะฮ์ และการละหมาดของเขาใช้ได้ ไม่ต้องละหมาดชดใช้อีก
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผินหน้าสู่กิบลัตได้
เขาสามารถละหมาดโดยไม่ต้องหันหน้าสู่กิบลัตได้
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำ
ให้ดื่มน้ำมะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ครบ 7-8 เดือน เพราะจะทำให้ลูกไม่มีไข คลอดง่ายและมีผิวสวย, ให้กินแกงผักปรัง ที่มีลักษณะลื่นๆ เพื่อจะทำให้ลูกคลอดไม่ลำบาก
ข้อพึงปฏิบัติตามความเชื่อ
คือ ให้นำหัวปลาไหล ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่น้ำอาบทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด เชื่อว่าจะทำให้คลอดง่าย เมื่อท้องแก่ใกล้คลอดให้เอาน้ำมันละหุ่งมาถูทาหน้าท้อง เชื่อว่าลูกเกิดมาจะได้ตัวสะอาด ไม่มีไข คลอดง่าย
หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้งมีการคลอดที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ เพราะความเชื่อ และปฏิบัติที่สืบต่อกันมานาน ชาวเขาบางคนที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลแต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
การปฏิบัติตัวหลังคลอดบุตร
: ใช้ผ้ารัดหน้าท้องให้แน่น เพื่อไม่ให้ท้องโต, กินไข่ไก่ 30 วัน, อยู่ไฟ 1 เดือน เมื่ออยู่ไฟครบจำทำพิธีบนผีหือทำผี เพื่อคลุมครองเด็กก่อนที่จะพาเด็กออกจากบ้านหรือเดินทางไปไหนไกลๆ
หญิงหลังคลอดเผ่าม้ง
จะมีความเชื่อในการปฏิบัติที่จะทำให้มีน้ำนมมาก
โดยการการเชิญหมอผีทำ พิธีเรียกน้ำนม คล้ายๆการบนผี รวมทั้งมีการกินยาสมุนไพรที่มียางสีขาว กินมะละกอต้มใส่ไก่ ส่วนอาหารอื่นๆกินน้อยมาก
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ความเชื่อด้านสุขภาพของชาวจีน
ถ้าร่างกายแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) เช่น การฝังเข็ม
การใช้สมุไพรเพื่อการบำบัดโรค เช่น โสมจีน
แนวทางการดูแลผู้ใช้บริการชาวจีน
ศึกษาวัฒนธรรมของชาวจีนในด้านต่างๆ เช่น ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และความเชื่อ เป็นต้น
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการชาวจีนด้วยภาษาจีนง่ายๆ หากสื่อสารไม่ได้อาจสื่อสารผ่านญาติ หรือใช้ล่ามแปล
เลือกใช้วิธีการพยาบาลพื้นฐานของการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลไปกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆ เพื่อให้การดูแลที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม ดังนี้
การคงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care preservation or maintenance)
การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care accommodation or negotiation)
การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม่ (Culture care repatterning or restructuring)
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยสูงอายุ
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยสูงอายุขึ้นอยู่กับ คุณค่า ความเชื่อ ของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความแตกต่างกัน
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังต้องการความเคารพในการเป็นผู้สูงวัยหรือผู้นำในครอบครัว
การคัดเลือกบุคลากรที่จะมาดูแลผู้สูงอายุจึงต้องคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง ไม่รังเกียจและไม่ดูถูกผู้สูงอายุที่มีภูมิหลังที่แตกต่างกัน
ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ
1. การเคารพนับถือความเป็นบุคคลผู้สูงอายุ
: การเข้าใจถึงบุคลิกภาพหรือสิ่งที่ผู้สูงอายุชอบ ให้ความสำคัญของรูปภาพของผู้สูงอายุและครอบครัว ให้ผู้สูงอายุได้ใช้ของใช้ส่วนตัว การให้ความสำคัญเรื่องเพศของผู้ดูแลต้องเป็นเพศเดียวกันกับผู้สูงอายุ
2. การสื่อสาร
: ควรมองตรงๆ ที่ใบหน้าและการใช้สายตาเพื่อให้การสื่อการง่ายขึ้น ใช้เสียงดังเหมาะสมกับความสามารถในการได้ยิน
3. สุขภาพและยาที่ใช้
: ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่ ดูแลเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายและป้องกันอุบัติเหตุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้าน ความจำ การพูด พฤติกรรม ฟันปลอม ผู้สูงอายุที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน และผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการทำกายภาพบำบัด
4. การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ
5. ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน
: ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวหรือแข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบ
ควรระวัง
การสำลัก เนื่องจากผู้สูงอายุมัดสำลักง่าย และอาจเกิดภาวะปอดบวมจากการสำลักได้
6. การดูแลด้านจิตใจสังคม
: ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ
ต้องพิจารณาตามความต้องการและความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ
7. การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ
เช่น ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด การไปวัดหรือร่วมนมัสการในบ้านหรือโบสถ์