Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Routine laboratory and interpretation in primary medical care - Coggle…
Routine laboratory and interpretation in primary medical care
การตรวจทางเคมีคลินิก (Clinical chemistry)
75 g oral glucose tolerance test (OGTT)
หากตรวจพบ140-199 mg/dl ถือว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคเบาหวาน และถ้าตรวจพบมากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/gl จะวินิจฉัยว่า เป็นโรคเบาหวาน
HemoglobinA1C(HbA1C)
เป็ นการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาหากตรวจพบค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 mg% ถือวา่ ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
Fasting blood sugar (FBS)
เป็นการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ค่าปกติเท่ากับ 70-100 mg/dl
Lipid profile
Total cholesterol คือระดับของ cholesterol ทั้งหมดในร่างกาย ค่าปกติ คือ < 200 mg/dl
Triglyceride เป็นไขมัน ชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้น หรืออาจมาจากการรับประทานอาหารบางประเภท เช่น ไขมันสัตว์ แป้ง น้ำตาลแอลกอฮอล์ ค่าปกติคือ < 150 mg/dl หากมากกว่า หรือเท่ากับ 500 mg/dl ผู้ป่วยจะได้รับประทานยาลดไขมัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ
HDL- cholesterol หรือไขมันชนิดที่ดี ท าหน้าที่ขจัดไขมันอันตรายไปจากกระแสเลือดต่อต้านการสะสมผิดที่ของไขมันและcholesterolค่าปกติคือ มากกวา่ 40 mg/dl ใน
LDL- cholesterol หรือไขมันชนิดที่ไม่ดี เป็นชนิดอันตรายเพราะเป็น cholesterol ที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง ในผู้แ่วยที่ไม่มีโรคประจำตัวควรมีระดับ LDL < 130 mg/dl ในผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีระดับ LDL < 100 mg/dl และในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบควรมีระดับ LDL < 70 mg/dl
Blood urea nitrogen
เป็นการตรวจวัดระดับปริมาณไนโตรเจนในเลือดเพื่อช่วยประเมินการทำงานของไต ค่าปกติคือ 6-20 mg/dl
Creatinine
ค่าปกติเพศชาย 0.6-1.2 mg/dl ค่าปกติเพศหญิง 0.5-1.0 mg/dl
Uric acid
ค่าปกติในเพศชายคือ < 7 mg/dl ค่าปกติในเพศหญิงคือ < 6 mg/dl
Liver function test
โดยหากพบค่า ALT สูง > 1,000 U/L มักพบใน acute viral hepatitis, การได้รับ drug/toxin, ภาวะ ischemia หรือ autoimmune เป็นต้น หากพบค่า ALT สูงปานกลาง มักพบใน acute viral hepatitis, chronic hepatitis เป็นต้น และในกรณีที่ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic hepatitis) จะมี AST/ALT ratio > 2
Electrolyte
Sodium (Na) ค่าปกติ135-150 mmol/L
Potassium (K) ค่าปกติ 3.5-5.0 mmol/L
Chloride (Cl) ค่าปกติ 98-107 mmol/L
CO2 (bicarbonate) ค่าปกติ 22-29 mmol/L
Cardiac biomarkers
Myoglobin คือ การตรวจพบค่าสูงได้เร็วกว่า รายการตรวจอื่น ในปัจจุบันไม่นิยมตรวจ Myoglobin เนื่องจากมีความจำเพาะกับกล้ามเนื้อหัวใจต่ำ
CK-MB พบว่า เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีปริมาณของ CK-MB มากแต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือ สามารถพบการเพิ่มสูงขึ้นของ CM-MB ในภาวะอื่นๆ ได้เช่น skeletal muscle injury, rhabdomyolysis,polymyolysis, chronic renal failure
Troponin ปัจจุบันนิยมใช้การตรวจ Troponin-T และ Troponin-I ในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เนื่องจากมีความจำเพาะมากกว่าแต่ก็สามารถขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคไตวายฉับพลันและเรื้อรัง
การตรวจทางโลหิตวิทยา (Hematology)
Complete blood cell count (CBC)
Hemoglobin (Hb) ค่าปกติในเพศชายเท่ากับ 13-17 g/dl ในเพศหญิง 12-15 g/dl
Hematocrit (Hct) ค่าปกติในเพศชายเท่ากับ 38-50 % ในเพศหญิง 36-45 % และอาจคำนวณ hematocrit ได้โดยใช้สูตร Hct % = Hb*3
Mean corpuscular volume (MCV) เป็นการตรวจวัดปริมาตรหรือขนาดของเม็ดเลือดแดง ค่าปกติคือ 80-98 fL
White blood cell (WBC) เป็นการตรวจนับปริมาณจำนวนเม็ดเลือดขาว ค่าปกติคือ 5,000 – 10,000 cell/mm3
Differntial count
Neutrophil มีหน้าที่ตอบสนองต่อ ภาวะการอักเสบและติดเชื้อเฉียบพลัน โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ค่าปกติคือ 45-75 %
Lymphocyte ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานต่อทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย มีปริมาณสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อไวรัส และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด ค่าปกติคือ 20-40 %
Monocyte ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย มักมีปริมาณเพิ่มขึ้นตอบสนองต่อภาวะติดเชื้อไวรัสวัณโรค หรือเชื้อรา รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด ค่าปกติคือ 2-10 %
Eosinophil ทำหน้าที่ในการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ปริมาณสูงขึ้นพบได้ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหืด แพ้ยา หรือมีพยาธิในร่างกาย ค่าปกติคือ 1-6 %
Basophil ทำหนา้ที่สร้างสารป้องกัน มิใหเ้ลือดแข็งตัว และรวมทั้งหลั่งสารที่ช่วยในการขยายของหลอดเลือด ค่าปกติคือ 0-2 %
Platelet เป็นการตรวจหาปริมาณเกล็ดเลือด ค่าปกติคือ 140,000 –400,000/mm3
Venous clotting time (VCT) หรือ Whole blood clotting time (WBCT)
คือ การเจาะเลือดผู้ป่วย 2 ml ใส่ในหลอดแก้วที่สะอาดตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 20 นาที แล้วมาดูว่าเลือดมีการแ็งตัวหรือไม่ การตรวจนั้นช่วยในกรณีที่สงสัยถูกงูที่มีพิษต่อระบบเลือดกัด ได้แก่ งูเขียวหางไหม้ งูกะปะ งูแมวเซา หากตรวจพบว่า ค่า VCT หรือ WBCT นานกว่า 20 นาที ผู้ป่วยจำ เป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเซรุ่มต้านพิษงู
Malaria thin film and thick film
โรคไข้มาลาเรีย คือ โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในกลุ่มพลาสโมเดียม (Plasmodium spp.) ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการกัดของยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.) อาการที่พบได้บ่อยที่สุด คือไข้ โดยไข้มักจะเป็นเวลาร่วมกับอาการหนาวสั่น เหงื่อออก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ปวดทอ้ง ปวดก้ามเนื้อและข้อ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การส่งตรวจเพื่อช่วยวินิจฉัย คือ การส่งตรวจฟิล์มเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Thick Film และ Thin Film)
การตรวจทางจุลทรรศนศาสตร์คลินิก (Clinical microscopy)
Urine analysis
Urine protein คือ การตรวจหาโปรตีนที่รั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งโดยปกติจะต้องตรวจไม่พบในปัสสาวะ หากตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะก็จะเป็นตัวบอกว่าไตเริ่มมีปัญหา ในการทำงาน เช่น ไตอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง nephrotic syndrome โรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน
Urine sugar คือ การตรวจหาน้ำตาลที่รั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งโดยปกติจะต้องตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ หากตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะอาจสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
White blood cell คือ การตรวจปริมาณเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ค่าปกติคือพบ < 5 cell/HPF ถ้าตรวจพบ > 5-10 cell/HPF ในผู้ชาย หรือ > 10 cell ในเพศหญิง จะบ่งบอกถึงการอักเสบหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
Red blood cell คือ การตรวจปริมาณเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ ค่าปกติคือ < 3cell/HPF ถ้าตรวจพบ > 3-5 cell/HPF จะบ่งบอกถึงอาจมีภาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ ในเพศหญิงอาจจะต้องซักประวัติการมีประจำเดือนหรือเลือดออกในช่องคลอดร่วมด้วย หากตรวจพบเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติหรือ dysmorphic red blood cell จะบ่งบอกถึงพยาธิสภาพที่บริเวณ glomerulus
Squamous epithelium คือ เซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ค่าปกติคือ < 5cell/HPF ถ้าหากตรวจพบ > 5-10 cell/HPF จะบ่งบอกถึงการปนเปื้อนจากการเก็บปัสสาวะที่ไม่ถูกต้อง
Bacteria คือ การตรวจหาปริมาณแบคทีเรียในปัสสาวะ ปกติปัสสาวะไม่ควรมีแบคทีเรีย หากตรวจพบปริมาณแบคทีเรียอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ หรือกรณีตั้งปัสสาวะไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลบวกปลอมได้
Stool exam
White blood cell คือ การตรวจปริมาณเม็ดเลือดขาวในอุจจาระ ค่าปกติ 0-2 cell/HPF หากตรวจพบเม็ดเลือดขาว > 3-5 cell/HPF จะบ่งบอกถึงมีภาวะการอักเสบหรือติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร
Red blood cell คือ การตรวจปริมาณเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ ค่าปกติ 0-2 cell/HPF หากตรวจพบเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร (Dysentery) มีเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือมีเนื้องอกในทางเดินอาหาร
Oval and Parasite คือ การตรวจพยาธิและโปรโตซัวในอุจจาระ ค่าปกติคือ ไม่ควรพบ
การตรวจทางจุลชีววิทยาคลินิก (Clinical microbiology)
Gram stain เป็นการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียด้วยการย้อมสีแกรม โดยแบคทีเรียชนิด Gram positive จะย้อมติดสีน้ำเงินม่วงและแบคทีเรียชนิด Gram negative จะย้อมติดสีแดง
Wet smear เป็นการตรวจโดยใช้ normal saline หยดลงสไลด์แล้วปิดส่องใต้กล้องจุลทรรศน์ จะตรวจในสิ่งส่งตรวจ เช่น ตกขาว
KOH เป็นการตรวจด้วยการหยดสารละลาย 30% potassium hydroxide ลงบนสิ่งส่งตรวจเพื่อช่วยในการหาการติดเชื้อรา
Acid fast stain เป็นการย้อมสีแบคทีเรียทนกรด (acid-fast bacteria) ได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Mycobacterium เช่น Mycobacterium tuberculosis ที่เป็นสาเหตุของโรควัณโรคและเชื้อ M. leprae ที่เป็นสาเหตุของโรคเร้ือน
การตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก (Clinical immunology)
Venereal Disease Research Laboratory (VDRL)
โรค syphilis เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum หรืออาจจะตาบอดได้ การตรวจหาโรค syphilis ทำได้โดยการตรวจ VDRL หรือ RPR ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อหาภูมิคุ้มกัน ซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อซิฟิลิส หากให้ผลบวกจำเป็นต้องทำการตรวจเพื่อยืนยันด้วยการตรวจ TPHA หรือ FTA-ABS
Hepatitis profile
HBs Ag เป็นการตรวจหาส่วนประกอบของไวรัสตับอักเสบชนิดบี หากผล positive จะแสดงว่า มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
Anti-HBs เป็นการตรวจหา antibody ต่อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หากผล positive แสดงว่า มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
Anti-HBc เป็นการตรวจหา antibody ต่อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หากผล positive แสดงว่า เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีมาก่อน
HBeAg หมายถึงแอนติเจนที่ได้จากยีนของไวรัส บ่งบอกว่า กำลังมีการแบ่งตัวของไวรัสเกิดขึ้นในร่างกาย
Anti-HCV เป็นการตรวจหา antibody ต่อไวรัสตับอักเสบชนิดซีหากผล positive จะแสดงว่า มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี
Leptospira antibody
โรค leptospirosis หรือโรคฉี่หนู มีสาเหตุจากเชื้อ Leptospira interrogans ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะหรือเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือน้ำ ดินที่ปนเปื้อนเชื้อ การวินิจฉัยโรค leptospirosis คือการตรวจหา antibody ต่อเชื้อ leptospira
Scrub typhus antibody
โรค scrub typhus หรือไข้รากสาดใหญ่ เกิดจากเชื้อ Orientia tsutsugamushi โดยที่โดนตัวไรอ่อนกัด (Chigger mite) การวินิจฉัยโรค scrub typhus มีการตรวจหลายวิธี เช่น Weil-Felix test ปัจจุบันไม่นิยมตรวจเนื่องจากมีความจำเพาะต่ำ ปัจจุบันจึงนิยมส่งตรวจ antibody ต่อเชื้อ Orientia tsutsugamushi แทนซึ่งมีความจำเพาะกว่า
Dengue NS1Ag and IgM/IgG
Dengue fever (DF) หรือไข้เดงกี่ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอย 2-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ผื่นเลือดออกแต่ยังไม่พบไม่มีการรั่วของพลาสมา ผลเลือดจะพบ Hct เพิ่ม 5-10% WBC < 5,000 Platelet < 150,000
Dengue hemorrhagic fever (DHF) หรือไข้เลือดออก คือมีอาการของ dengue fever ร่วมกับ มีการรั่วของพลาสมา อาจพบอาการตาบวม ตับโต กดเจ็บ หอบเหนื่อย ท้องโตจาก ascites ผลเลือดพบ Hct เพิ่ม > 20% WBC < 5,000 Platelet < 100,000 หรือ Albumin < 3.5โดย DHF จะแบ่งเป็น 4 grade
Grade 1 สัญญาณชีพปกติ
Grade 2 สัญญาณชีพปกติ, มีเลือดออก
Grade 3 pluse pressure แคบน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 mmHg
Grade 4 วัดความดันไม่ได้
Dengue shock syndrome (DSS) หรือไข้เลือดออกช็อก คือไข้เลือดออก grade 3 จะมี pluse pressure แคบน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 mmHg ไข้เลือดออก grade 4 จะวัดความดันไม่ได้