Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร Drugs used in Gastrointestinal tract -…
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
Drugs used in Gastrointestinal tract
ยารักษาแผลในทางเดินอาหาร
Ulcer healing drugs
ยาระงับการหลั่งกรด
(Anti secretory Drugs)
การหลั่งกรดอยู่ในการควบคุมของ histamine , acetylcholine (Ach) และ gastrin
กลุ่มของยาระงับการหลั่งกรด
H2-receptor antagonist
กลไกการออกฤทธิ์
ยามีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับ histamine จึงทำการแย่งจับ H2-receptors ทำให้ histamine ออกฤทธิ์ได้ลดลง และป้องกันไม่ให้ Ach และ gastrin กระตุ้นการหลั่งกรดได้
เภสัชจลศาสตร์
ยาออกฤทธิ์นาน 6-9 ชั่วโมง ประสิทธิภาพลดการหลั่งกรดอยู่ที่ 70% ยาจับกับโปรตีนในเลือดได้น้อย และถูกทำลายที่ตับ ขับออกที่ไตในรูปแบบของของเสีย
ประโยชน์ทางคลินิค
รักษาแผลในทางเดินอาหาร รักษาโรคกรดไหลย้อน และสภาวะหลั่งกรดมากว่าปกติ
ป้องกันภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหารในผู้ป่วยวิฤกต โดยฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
ผลข้างเคียง
ท้องเสีย ท้องผูก อาเจียน ง่วงซึม ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
หากใช้ในปริมาณสูงจะทำให้ในผู้หญิงไม่มีน้ำนมในบุตร ส่วนผู้ชายจะทำให้จำนวนสเปิร์มลดลง เป็นหมันและสูญเสียความรู้สึกทางเพศ
Proton pump inhibitors:PPls
กลไกการออกฤทธิ์
ยานี้มีคุณสมบัติเป็นด่างอ่อน ยับยั้งการทำงานของ proton pump ทำให้สามารถยับยั้งการหลั่งจาก parietal cells ของกระเพาะอาหารอย่างถาวร จึงเป็นยาลดกรดที่ออกฤทธิ์แรงที่สุด
เภสัชจลศาสตร์
ตัวยาดูดซึมได้อย่างรวดเร็วในทางเดินอาหาร มีค่าครึ่งชีวิตสั้น 0.5-2 ชั่วโมง แต่ออกฤทธิ์นานมากกว่า 24 ชั่วโมง ลดการหลั่งกรดได้ถึง 80-90% ใช้ยาเพียงวันละครั้งเท่านั้น
ประโยชน์ทางคลินิค
เป็นยาตัวเลือกอันดับแรกในการนำไปรักษาฌรคที่เกี่ยงข้องกับการหลั่งกรดจากกระเพาะอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่ห้ามนำมาใช้กับหญิงตั้งครรภ์
ผลข้างเคียง
มีผลข้างเคียงต่ำ แต่ยังคงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง ท้องเสีย ท้องผูก และหากใช้ยาเป็นเวลานาน ยาจะทำให้การดูดซึมวิตามิน บี 12 ลดลง
ยาป้องกันการทำลายเยื่อบุทางเดินอาหาร
(Mucosal protactive agents, Cytoprotactive)
Colloidal bismuth compound
ประโยชน์ทางคลินิค
รักษาแผลทั้งในกระเพาะอาหารและลำไส้ และสามารถฆ่าเชื้อ H.pylori เพื่อรักษาแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นได้ ต้องใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ผลข้างเคียง
ทำให้ปาก ลิ้น และอุจจาระดำ คลื่นไส้อาเจียน และอาจทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ สับสนและชักได้
กลไกการออกฤทธิ์
จับกับแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการระคายเคือง และการทำลายของกรด
ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นกรด
Carbenoxolone
กลไกการออกฤทธิ์
เป็นสารสะกัดจากพืชจำพวกชะเอม มีฤทธิ์ในการสมานแผลทั้งในกระเพาะอาหารและลำไส้ แต่ทำให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ำได้ ควรระวังในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ผลข้างเคียง
เกิดการบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง หากใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจจะทำให้เกิดการคั่งของโซเดียมอาจเกิดหัวใจวายได้
Sucralfate
กลไกการออกฤทธิ์
จับกับกรดในกระเพาะอาหาร ได้สารที่มีลักษณะเหนียวข้น ทำหน้าที่ในการเคลือบแผล และป้องกันการเกิดแผลจากกรดในกระเพาะ และมีผลให้การดูดซับน้ำได้ดี
ประโยชน์ทางคลินิค
ป้องกันการเกิดแผลที่เกิดจากความเครียดและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ
ผลข้างเคียง
เกิดอาการท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน
Prostaglandins analogs
ขนาดยาที่ใช้และการบริหารยา
ยามีค่าครึ่งชีวิตสั้น 20-40 นาที ควรรับประทาน 3-4 ครั้งต่อวัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ
ประโยชน์ทางคลินิค
ป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารจากการใช้ยา NSAIDs ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง
กลไกการออกฤทธิ์
ควบคุมการสร้างเยื่อเมือกในทางเดินอาหารและมีฤทธิ์ยับยั้งการหลังกรดจาก parietal cells ในกระเพาะอาหารได้
ผลข้างเคียง
ยาจะเพิ่มการหลั่งสารคัดหลั่งในทางเดินอาหารมากขึ้น ทำให้ท้องเสียและปวดท้อง
และมีผลทำให้มดลูกบีบตัว อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
Antacids
กลไกการออกฤทธิ์
เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่เป็นด่างอ่อน สามารถทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อลดความเป็รกรดในกระเพาะอาหารลง
Papsin ในกระเพาอาหารทำงานได้ลดลง และมีการออกฤทธิ์สมานแผลเฉพาะที่
ประโยชน์ทางคลินิค
รักษาอาการแสบท้อง แผลในทางเดินอาหาร ลดอาการแสบยอดอก และภาวะกรดไหลย้อน
กลุ่มของยาลดกรด
Systemic Gastric Antacid
เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นด่างแต่ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์สั้น และหากรับเกินขนาดจะเสี่ยงต่อภาวะด่างรุนแรงและภาวะหัวใจล้มเหลวได้
Non-systemic Gastric Antacid
Magnesium hydroxide (Mg(OH)2)
ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือในกระเพาะอาหาร และมีการดูดซึมที่ระบบทางเดินอาหารเล็กน้อย
เกิดกระบวนการ Osmotic pressure ทำให้น้ำใน stool มากขึ้น จึงเรียกยานี้ว่าเป็นยาระบาย
ผลข้างเคียง
หากใช้ในผู้ป่วยโรคไตจะเกิด hypermagnesemia
จนเกิดการอัตมพาตของกล้ามเนื้อได้
Calcium carbonate (CaCO3)
ออกฤทธิ์ลดกรดได้ดี ยาถูกดูดซึมประมาณ 15%
ผลข้างเคียง
ท้องผูก อุจจาระแข็ง ทำให้ถ่ายลำบาก
หากได้รับยามาเป็นเวลานานแล้วหยุด จะทำให้เกิดการหลังกรอที่มากเกินไป
เกิดโรคที่ชื่อ milk alkali syndrome จากการที่เร่งการดูดซึม Ca มากเกินไป มีอาการทางประสาท เกิดภาวะสับสน
Aluminium hydroxide (Al(OH)3)
เป็นยาลดกรดที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุด ยาจะไม่ดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือในกระเพาะอาหาร
ฺ
ผลข้างเคียง
ลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร เกิดอาการท้องผูก
หากใช้ยานานเข้า ฟอสเฟตในเลือดจะต่ำ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และเกิดภาวะกระดูกพรุน
ข้องควรระวัง
การใช้ยาลดกรดมานาน จะทำให้กรดเกลือเกิดการหลั่งมากขึ้น และทำให้อาการโรครุนแรงขึ้น
ยาลดกรดอาจมีผลต่อการดูดซึมของตัวยาอื่น ดังนั้นควรทานยาตัวอื่นก่อนทานยาลดกรด 1 ชั่วโมง
Al(OH)3 ควรรับประทานอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง เพื่อป้องกันภาวะขาดฟอตเฟส
Mg(OH)2 ควรติดตามอาการ hypermagnesemia และระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยดรคไต เพราะจะทำให้เกิดไตวายได้
Al(OH)3 และCaCO3 จะทำให้เกิดอาการท้องผูก ส่วนMg(OH)2 จะทำให้เกิดท้องเดิน ควรสังเกตอาการหากเกิดขึ้นควรรายงานแพทย์เพื่อเปลี่ยนชนิดยา
ผลทางเภสัชวิทยา
ทำให้ PH ในกระเพาะมีค่าสูงขึ้น
ยับยั้งการทำงานของ Pepsin เมื่อ pH ในกระเพาะมากกว่า 2
เมื่อเพิ่ม pH ในทางเดินอาหารจะกระตุ้นหรือลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ขึ้นอยู่กับชนิดของยา
Helicobacter pylori (H.pylori)
เป็นยาฆ่าเชื้อ H.pylori มักนิยมใช้การรักษาแบบ triple therapy คือการให้การยับยั้งการหลั่งกรดกลุ่ม PPls 1 ตัวร่วมกับยา Antibiotics 2 ตัว ทานติดต่อกัน 10-14 วัน
ยาระบาย
(Laxative agents)
ยาระบายที่มีแรงดึงน้ำมาก
(Hyperosmotic agents)
ประโยชน์ทางคลินิค
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่เหมาะในเด็กในสตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร
กลไกการออกฤทธิ์
ดึงน้ำจากร่างกายเข้ามาในลำไส้ด้วยแรงดัน osmotic ทำให้แรงดันในลำไส้เพิ่มขึ้น เกิดการกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวและขับอุจจาระออกมา
ยาที่ระบายที่มีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้
(Stimulant cathartics)
Anthraquinone laxatives
กลไกการออกฤทธิ์
สารที่พบในมะขามแขกจะถูกแบคทีเรียในลำไส้ย่อยเป็นกลูโคสและ emodins
ซึ่งกระตุ้นให้ปลายประสาทลำไส้ใหญ่ เกิดการเคลื่อนไหวมากขึ้น
Castor oil
กลไกการออกฤทธิ์
ลดการดูดกลับของน้ำและเกลือแร่จึงทำให้มีการเพิ่มปริมาณในลำไส้ เร่งให้เกิดการขับถ่าย
การรับประทานยา
ควรรับประทานยาพร้อมกับน้ำหวานหรือน้ำผลไม้และควรทานตอนท้องว่าง
Bisacodyl
กลไกการออกฤทธิ์
กระตุ้นปลายประสาทในเยื่อมูกของลำไส้ใหญ่โดยตรง ทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวแรงและเร็วขึ้น กระตุ้นเยื่อบุทางเดินอาหารให้หลั่ง PGE2 ทำให้มีการหลั่งน้ำและเกลือแร่เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ทางคลินิค
แก้ท้องผูกแบบเฉียบพลัน โดยทานยาทั้งเม็ดพร้อมอาหารทันทีหรือหลังอาหารแล้วดื่มน้ำตามมากๆ
ยาที่ทำให้เกิดการเพิ่มของกากใย
(Bulk forming agents or hydrophilic laxative)
ประโยชน์ทางคลินิค
เป็นยาระบายที่ปลอดภัยที่สุด เป็นตัวเลือกแรกในการรักษาอาการท้องผูกเรื้อรัง
แต่ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลเรื้อรังในลำไส้
ผลข้างเคียง
เกิดลมในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ
กลไกการออกฤทธิ์
หลังรับประทานเข้าไปแล้วจะเกิดการพองตัวในลำไส้ ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณกากในอุจจาระ เกิดการเคลื่อนไหวบีบตัวขับเอาอุจจาระออกมา
ยาที่ช่วยหล่อลื่นและทำให้อุจจาระนุ่มขึ้น
กลไกการออกฤทธิ์
ลดการตึงผิวของก้อนอุจจาระทำให้น้ำและไขมันรวมตัวกัน
ส่งผลให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น
ยาระงับการคลื่นไส้อาเจียน (Antiemetic agents)
5HT3
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ปิดกั้น 5HT3-receptor ระงับอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด หรือหลังผ่าตัด
ประโยชน์ทางคลินิค
บรรเทาหรือระงับอาการอาเจียนได้
อาการข้างเคียง
ปวดศีรษะ ท้องผูก หลอดลมหดเกร็ง
Dopamine D2-receptor antagonists
ออกฤทธิ์ปิดกั้น D2 receptor สามารถระงับอาการอาเจียนได้ ลดสัญญาณประสาทของระบบทางเดินอาหารที่ไปยังศูนย์อาเจียนและเพิ่มการหดตัวของกล้ามเนื้อหูรูดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการอาเจียนลดลง
ยาในกลุ่มนี้
Domperidone
ระงับการอาเจียน มีผลข้างเคียงน้อย แต่ต้องระวังเพราะอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
Haloperidol
ระงับการอาเจียนที่เกิดจาก gastroenteritis มะเร็งและยา
มีผลข้างเคียง คือ ง่วงนอน ความดันต่ำ
Metochlopramide
ดูดซึมในตับได้ดี และระงับบอาการอาเจียนเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด
Chlorpromazine
ระงับการอาเจียนหลังจากผ่าตัดหรือแพ้รังสี หรืออาเจียนจากภาวะไตวาย และใช้รักษาโรคจิต
Anticholinergic drugs
ประโยชน์ทางคลินิค
ป้องกันการอาเจียนจากการเมารถ หรือ เมาเรือ ควรทานก่อนเดินทาง 30 นาที
อาการข้างเคียง
ปากแห้ง คอแห้ง
กลไกการออกฤทธิ์
ลดการนำกระแสประสาทเข้าสู่ CTZ และยับยั้งการกระตุ้นศูนย์ควบคุมการอาเจียนที่ระบบประสาท cholinergic
Cannabinoids
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ต้านการอาเจียนโดยการออกฤทธิ์กระตุ้นตัวรับ cannabinoid ที่ศูนย์อาเจียน
ประโยชน์ทางคลินิค
ป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนจากการใช้ยาเคมีบำบัด
อาการข้างเคียง
หัวใจเต้นเร็ว ประสาทหลอน นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ความดันเลือดลดต่ำ เคลิบเคลิ้ม และเกิดการติดยาได้
Histamine H1 - receptor antagonists
ประโยชน์ทางคลินิค
ระงับอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเคลื่อนไหว ป้องกันการเมารถ เมาเรือ แก้อาการแพ้ท้อง
อาการข้างเคียง
ง่วงซึม ปวดศีรษะ ปากแห้ง
กลไกการออกฤทธิ์
แย่งจับ H1receptor ที่หูและสมอง
อื่นๆ
Cisapride
กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร และมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท cholinergic ทางอ้อม จึงนำมาใช้กับผู้ป่วยที่พึ่งผ่าตัดกระเพาะหรือกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต
กลุ่มยานอนหลับ
มีฤทธิ์ระงับการคลื่นไส้อาเจียนจากการรับยาเคมีบำบัด ลดความวิตกกังวลและคลายเครียด
ยารักษาอาการท้องเสีย
(Antidiarrheal Agents)
สารที่ทำให้อุจจาระเป็นก้อน
(Bulk Forming Substance)
บรรเทาอาการอุจจาระเหลวเปฌนน้ำ แต่ไม่ได้บรรเทาการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากร่างกาย
สารที่มีฤทธิ์ดูดซับสารพิษที่เป็นต้นเหตุของอาการท้องเสีย
Kaolin และ Pactin
ออกฤทธิ์คลุมเยื่อเมือกในทางเดินอาหาร ป้องกันไม่สัมผัสกับสิ่งระคายเคืองต่างๆ
ทำให้อุจจาระเป็นก้อน แต่จะทำให้เกิดท้องผูกได้
Activated harcoal
เป็นถ่านที่กระตุ้นผิวเซลล์สามารถดูดซับสารพิษได้เร็ว ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเดิน
ผลข้างเคียงทำให้อุจจาระเป็นสีดำ
Bismuth
ช่วยลดการอักเสบที่ลำไส้ และลดการเคลื่อนไหวของลำไส้มากเกินไป
ใช้ป้องกันการท้องเสียระหว่างเดินทาง
Cholestyramine
บรรเทาอาการท้องเดินซึ่งเกิดจากกรดในน้ำดีในลำไส้มากกว่าปกติ
ผลข้างเคียง
ท้องอืด ท้องผูก อุจจาระอุดตันในลำไส้ ใช้นานเข้าจะขาด วิตามิน A D และกรด folic
สารที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
Opioids
เป็นยาที่ให้ผลดีที่สุดในการบรรเทาอาการท้องเดิน มีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้
ทำให้น้ำมีการดูดซึมกลับเยื่อบุลำไส้ได้อีก
Lopermide
นิยมใช้ยากลุ่มนี้ในการรักษาอาการท้องเดินมากกว่ากลุ่มยาอื่น
ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้อุจจาระเป็นก้อน
Diphenoxylate
ยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการระงับความเจ็บปวด หากใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการติดยาได้
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผื่นแดง มึนงง เวียนศีรษะ ซึม
กระสับกระส่าย ท้องอืด ปากแห้ง ตาพร่ามัว
ยาอื่นๆ
Lactobacillus acidophilus
สร้างกรด Lactic ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค
จึงไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 2 วัน
ผงน้ำตาลเกลือแร่ (oral rehydration salts: ORS)
รักษาอาการท้องเสียเบื้องต้น เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
รับประทานแบบค่อยๆจิบไปเรื่อยๆ จิบบ่อยๆ และควรดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมงหลังชง
ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย
หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง ย่อยยาก นม เหล้า และอาหารที่มีไขมันมาก
ห้ามซื้อยารับประทานเอง หากมีไข้สูงหรือถ่ายมีมูกเลือด
เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี หากมีอาการท้องเสียควรไปพบแพทย์ทันที
ระวังการขาดน้ำและเกลือแกร่
หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยาไป 2 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที