Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
5.1 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
5.1.1 ประเทศไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับเด็กหรือลูกของแต่ละศาสนาจะแตกต่างกันไป
ส่วนความเชื่อในการดูแลเด็กของคนไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะคล้ายคลึงกับประชากรในประเทศลาว กล่าวคือ จะมีการรักษาความเจ็บป่วยจากอำนาจเหนือธรรมชาติ
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ปกครอง
เนื่องจากประชากรในประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลเด็กก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม แต่ละภูมิภาค
2.น้ำนม
ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา
3.เม่า
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วงที่ยังกินนม อาการคือ บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก
1.จกคอละอ่อน
ล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมาเชื่อว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ เมื่อโตขึ้นเด็กคนนั้นจะป่วยเป็นโรคหืดหอบได้
4.รก
ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก
ประเทศกัมพูชา
การเกิดของเด็กเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในครอบครัว
การเกิดถือว่าเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
เมื่ออายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่
เด็กผู้ชายบางคนบวชเป็นสามเณร
ชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
ประเทศจีน
ในอดีตประเทศจีนจะมีนโยบาย “ลูกคนเดียว (One child policy)” แต่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สามารถมีลูกคนที่สองได้ เพื่อมุ่งหวังแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างประชากรจีนในระยะยาว
ในอดีตความต้องการมีลูกชายไว้สืบสกุลเพราะมีลูกได้เพียงคนเดียว ทำให้มีข่าวการทำแท้งหรือฆ่าทารกเพศหญิงอยู่เสมอๆ
สำหรับเด็กที่เกิดในประเทศจีน เมื่อครบสามวันจะมีพิธีล้างวันที่สาม ในวันนี้จะเป็นการอาบน้ำให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอด
พิธีครบเดือนหรือที่ชาวจีนโบราณเรียกว่า “หมีเย่ว์” ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ประกอบไปด้วยการโกนผมไฟ การจัดเลี้ยงในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย และการตั้งชื่อให้เด็ก
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
1.ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
2.พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
3.หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
4.อาจทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ
5.การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์ ตั้งแต่การประเมินปัญหาของผู้ป่วย วินิจฉัย วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล
5.2 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำ ให้ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือน
ให้นำ หัวปลาไหลแห้ง ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่อาบนํ้าทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด โดยมีความเชื่อว่าจะทำ ให้คลอดง่าย
เผ่าม้งยังมีการคลอดที่บ้านเป็นส่วนใหญ่
หญิงหลังคลอดเผ่าม้งจะมีความเชื่อในการปฏิบัติที่ทำให้มีนํ้านมมาก โดยการเชิญหมอผีทำ พิธีเรียกนํ้านม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ถ้าร่างกายแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค
การใช้การรักษาดั้งเดิม ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม การขูดผิวหนังด้วยวัตถุใดๆ การนวด เป็นต้น
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
การพยาบาลผู้ป่วยและผู้ใช้บริการชาวจีน
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการชาวจีนด้วยภาษาจีนง่ายๆ หรือตามความสนใจ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว
เลือกใช้วิธีการพยาบาลบนพื้นฐานของการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลไปกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆเพื่อให้การดูแลที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม
การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ
การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม่
การคงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ
ศึกษาวัฒนธรรมของชาวจีนในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการกลุ่ม
5.3 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
4) การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะแขนขาอ่อนแรง ควรจัดสถานที่ให้ปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นติดราวที่ฝาผนัง ในห้องน้ำ
5) ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบ
3) สุขภาพและยาที่ใช้ ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่
6) การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ
2) การสื่อสาร ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม อัลไซม์เมอร์ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านสายตาและการมองเห็นที่ลดน้อยลง จึงควรมองตรงๆ ที่ใบหน้าและการใช้สายตาเพื่อให้การสื่อการง่ายขึ้น ใช้เสียงดังให้เหมาะสมกับความสามารถในการได้ยินด้วยและความสุภาพ
7) การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ เช่น ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด การไปวัดหรือร่วมนมัสการในบ้านหรือไปโบสถ์
1) การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ