Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Diagnosis and Evaluation of COPD, นางสาวพรชิตา เครือคง เลขที่ 60 …
Diagnosis and Evaluation of COPD
ขั้นตอนที่ 1: การซักประวัติหาสิ่งชี้นำที่ทำให้คิดถึงโรค COPD (Key Indicators for considering diagnosis of COPD)
1) หายใจเหนื่อย: ในผู้ป่วยโรค COPD จะมีอาการหายใจเหนื่อยอย่าง เรื้อรังและความรุนแรงของอาการ เหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะอาการหายใจเหนื่อยในผู้ป่วยโรค COPD ที่พบบ่อยคือผู้ป่วยจะบอกว่ารู้สึกต้องใช้แรงในการหายใจมากขึ้น / หายใจหนักๆ หรือรู้สึกหายใจเฮือกเหมือนขาดอากาศ หายใจ (air hunger)
2) อาการไอเรื้อรัง : มักเป็นอาการนำแรกของผู้ป่วยโรค COPD ส่วนใหญ่อาจไอแบบแห้งๆ หรือ ไอแบบมีเสมหะก็ได้ช่วงแรกของโรคอาจมีอาการไอเป็นๆ หายๆ แต่ในระยะหลังของโรคจะมีอาการไอเกือบตลอดทั้งวันของทุกวัน
3) มีเสมหะ : ผู้ป่วยโรค COPD มักมีเสมหะสีขาว เหนียวปริมาณเล็กน้อยหลังไอ
4) มีประวัติของการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงของโรค COPD:
การได้รับควันจากการทำกับข้าวหรือการหุงต้มเชื้อเพลิงต่างๆ
การสูบบุหรี่
5) มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรค COPD
ขั้นตอนที่2: การยืนยันการวินิจฉัยโรค COPD ด้วยการตรวจสมรรถภาพปอดด้วย spirometry
1) เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค: คือค่าFEV1 /FVC หลังให้ยาขยายหลอดลมน้อยกว่า ร้อยละ70 (ค่าFEV1 / FVC ratio ที่ยิ่งน้อยยิ่งบอกถึงการมี airflow limitation ที่มากขึ้น) หมายเหตุ: -FVC (forced vital capacity): คือ การวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจออกแรงเต็มที่ หลังจากให้ ผู้ป่วยหายใจเข้าแรงเต็มที่ -FEV1 (forced expiratory volume in one second):คือการวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจออกในช่วง 1 วินาทีแรก
2) เพื่อจัดระดับความรุนแรงของโรค : จะใช้ค่า FEV1 ร่วมกับอาการของโรค มาแบ่งความรุนแรงของโรคเป็น 4 ระดับ
การดูแลเพิ่มเติมก่อนส่งผู้ป่วยไปรับการตรวจสมรรถภาพปอดด้วย spirometry
1) การซักประวัติรายละเอียดเกี่ยวกับตัวโรค
ประวัติการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงของโรคเช่น สูบบุหรี่
ประวัติความเจ็บป่วยในอดีตของผู้ป่วย
ประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรค COPD หรือโรคทางเดินหายใจเรื้อรังอื่นๆ
รูปแบบของการเกิดอาการของผู้ป่วย
ประวัติของการเกิดอาการหอบกำเริบ
-ประวัติโรคประจำตัวร่วมของผู้ป่วย
ถามหาผลของโรค COPD ที่มีต่อชีวิตของผู้ป่วย : เช่น อาการทำให้เกิดการจำกัดของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ถามหาผลของโรค COPD ที่มีต่อชีวิตของผู้ป่วย : เช่น อาการทำให้เกิดการจำกัดของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
การมีครอบครัวและสังคมคอยช่วยสนับสนุนและดูแลผู้ป่วย
โอกาสที่ผู้ป่วยจะสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
2) การตรวจร่างกาย :
ในระยะแรกของโรคอาจตรวจร่างกายไม่
พบความผิดปกติ
ระยะต่อมาที่มีการอุดกั้นของหลอดลมมากขึ้น อาจตรวจพบลักษณะของ
airflow limitation และ air trapping
ในระยะท้ายของโรค อาจตรวจพบลักษณะของหัวใจขวาล้มเหลว (corpulmonale)
3) การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม:
ภาพรังสีทรวงอก เพื่อช่วยแยกโรคอื่นออก โรคมะเร็งปอด, วัณโรคปอด เป็นต้น
นางสาวพรชิตา เครือคง เลขที่ 60
61116301059