Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
ประเทศไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ปกครอง เช่น การบอกกล่าวของบิดามารดา คำสั่งสอนของปู่ย่าตายาย จะได้ว่าครอบครัวที่เลี้ยงดูเด็กจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเจ็บป่วยของเด็กเป็นอันดับแรก รองลงมาอาจเป็นครู หรือเพื่อนที่จะมีอิทธิพลต่อความเชื่อของเด็ก
ความเชื่อในการดูแลเด็ก
น้ำนม เชื่อว่า ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา ถ้าเอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง ก็จะหาย และถ้าเอาน้ำนมมนุษย์ผสมกับดินปืนที่ใช้ทำบอกไฟดอก เชื่อว่าเมื่อจุดบอกไฟจะไม่ค่อยมีควันและมีดอกสวยงามสว่างไสว
จกคอละอ่อน คือการที่แม่ช่าง (หมอตำแย) หรือหมอทำคลอดใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด เพื่อล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมาเชื่อว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ เมื่อโตขึ้นเด็กคนนั้นจะป่วยเป็นโรคหืดหอบได้
เม่า เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วงที่ยังกินนม อาการคือ บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก ทำให้เด็กรู้สึกแสบแล้วร้องไห้ การรักษาโรคเม่าของคนสมัยก่อนนั้น พ่อแม่เด็กจะทำกรวยดอกไม้ จากนั้นจะนำกรวยไปเสียบไว้ข้างฝาหรือหลังคาเรือน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวันจึงนำกรวยดอกไม้นั้นมาทำพิธีเสกเป่าอีกครั้งหนึ่ง และทำอย่างนี้ทุก ๆ วัน จนกว่าเด็กจะหาย
รก ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้ ในสมัยก่อนต้องให้หมอเวทมนตร์มาเสกคาถาสะเดาะเคราะห์ใส่น้ำให้แม่เด็กดื่มเพื่อบังคับรกให้ออก
ประเทศกัมพูชา
การเกิดของเด็กเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในครอบครัว การเกิดถือว่าเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ ดังนั้น หญิงที่ตั้งครรภ์จึงมีข้อห้ามต่างๆมากมาย ซึ่งข้อห้ามเหล่านี้ยังนิยมอยู่ในชนบท
ชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา นอกจากนี้ชาวกัมพูชาถือว่าศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วยเด็ก ถ้าบุคลากรทางการสุขภาพไปแตะศีรษะหรือผมเด็ก และถ้าเด็กป่วย จะโดนโทษว่าเป็นคนที่ทำให้เด็กป่วย เป็นต้น
ประเทศจีน
ในชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคมแต่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สามารถมีลูกคนที่สองได้ เพื่อมุ่งหวังแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างประชากรจีนในระยะยาว อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมจีนชื่นชอบลูกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในอดีตความต้องการมีลูกชายไว้สืบสกุลเพราะมีลูกได้เพียงคนเดียว ทำให้มีข่าวการทำแท้งหรือฆ่าทารกเพศหญิงอยู่เสมอๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (แม้ว่าการทำอัลตร้าซาวด์เป็นเรื่องผิดกฎหมายในจีนก็ตาม) ส่งผลให้อัตราการเกิดของทารกเพศชายต่อเพศหญิงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้ ตัวอย่างคำถามเช่น “มีอะไรพิเศษที่เกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมของครอบครัว ที่ดิฉัน/ผม ควรได้รับทราบ เพื่อที่จะได้ให้การดูแลลูก/หลาน ของคุณได้อย่างเต็มที่ค่ะ”
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
อาจทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาพม่า ภาษามลายู ภาษาเขมร เป็นต้น เพื่อให้ครอบครัวได้ดูหรืออ่านเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ซึ่งตัวอย่างเรื่องการดูแลที่จำเป็นที่ควรแปลเป็นภาษาต่างประเทศคือการเช็ดตัวลดไข้ในเด็ก
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์ ตั้งแต่การประเมินปัญหาของผู้ป่วย วินิจฉัย วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 20-25 ปี หรืออาจเร็วกว่านั้น หากวัยรุ่นแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยก็ก้าวเข้าสู้ความเป็นผู้ใหญ่เลย วัยผู้ใหญ่คือวัยที่รับผิดชอบการดำเนินชีวิตของตน โดยนำประสบการณ์ต่าง ๆที่ได้สะสมมาตั้งแต่วัยเด็กมาใช้ในการปรับตัวและแก้ปัญหาชีวิต ผู้ที่ปรับตัวได้ดีในวัยผู้ใหญ่ คือ ผู้ที่ได้ผ่านพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยต่าง ๆมาตั้งแต่เด็กจนวัยรุ่น มีวุฒิภาวะ คือ ความสมบูรณ์ของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา สามารถเผชิญชีวิตและอุปสรรค์ต่าง ๆ ทั้งยามปกติและยามคับขัน มีความรับผิดชอบ กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลตามทำนองคลองธรรม
2.วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 40 ปีถึง 60-65 ปี เป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต
3.วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ อายุ 60-65 ปีขึ้นไป เป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม การปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้
1.วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว อายุ 20-25 ปีถึง 40 ปี วัยนี้มีพัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์ พร้อมที่จะมีบทบาทที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพ คู่ครอง และความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ อย่างมีความหมาย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
สำหรับชาวมุสลิมนั้น ตัวชี้วัดด้านคุณภาพชีวิตที่สำคัญ คือ การมีสุขภาพดีที่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นศาสนกิจภาคบังคับ และเพิ่มเติมอื่นๆ
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้ โดยไม่ต้องละหมาดชดใช้อีก
ผู้ป่วยที่มีนะญิส (สิ่งสกปรกที่ต้องชำระให้สะอาดตามหลักนิติบัญญัติอิสลาม) ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะขจัดนะญิสเหล่านั้นได้ เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์ และการอาบน้ำละหมาดของเขานั้นไม่เสีย แต่เขาจะต้องอาบน้ำละหมาดหรือตะยัมมุม
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำ ให้ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำ ให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย นอกจากนั้นหญิงตั้งครรภ์ก็จะถูกแนะนำ ให้กินแกงผักพื้นบ้าน ชื่อผักปรัง ซึ่งมีลักษณะลื่นๆ เพื่อจะทำ ให้ลูกคลอดไม่ลำบาก
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ผู้ป่วยและผู้ใช้บริการชาวจีนมีความเชื่อด้านสุขภาพและการปฎิบัติซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมประจำชาติ ความเชื่อด้านสุขภาพของชาวจีนมีหลายประการ พอสรุปสาระสาคัญได้ดังนี้
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture) การขูดผิวหนังด้วยวัตถุใดๆ (เชื่อว่า จะขับสารพิษที่ก่อโรคออกจากร่างกายผ่านทางผิวหนัง) การนวด เป็นต้น
ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค (Preventive screening) เช่น ตรวจร่างกายประจาปี อาทิ ตรวจดูเลือดและเอ็กเรย์ปอด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน สมุนไพรบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อยารักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน และสมุนไพรบางชนิดก็อาจถูกอาหารบางชนิดรบกวนการออกฤทธิ์ ตัวอย่างเช่น โสมจีน มีความเชื่อว่า มีฤทธิ์ลดความเครียด เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค และส่งเสริมความรู้สึกทางแพศ (sexual function) แต่ทำให้มีอาการข้างคียง คือ กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันเลือด หากได้รับปริมาณมากๆ อาจมีอาการปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ใจสั่น เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยและผู้ใช้บริการชาวจีนจำเป็นต้องใช้กรอบแนวคิดของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม(Trans-cultural nursing theory) ควบคู่กับศาสตร์ทางการพยาบาลอื่นๆ แนวทางการดูแลผู้ใช้บริการกลุ่มนี้มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการชาวจีนด้วยภาษาจีนง่ายๆ หรือตามความสนใจ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยแบบ องค์รวม หากสื่อสารไม่ได้ อาจสื่อสารผ่านญาติ หรือใช้ล่ามแปล
เลือกใช้วิธีการพยาบาลบนพื้นฐานของการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลไปกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆเพื่อให้การดูแลที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมดังนี้
3.2.2 การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care accommodation or negotiation) เช่น ชาวจีนจะให้หญิงหลังคลอด รับประทานไก่ผัดขิงผสมสุรา เพื่อบำรุงร่างกายของมารดา ความเชื่อนี้ต้องตัดสุราออกไป เนื่องจากแอลกอฮอล์จะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงของมารดา หากให้นมลูก แอลกอฮอล์จะปนออกมากับน้านมแม่ นอกจากนั้นการดื่มแอลกอฮอล์ 1 แก้วจะทาให้ปริมาณน้ำนมลดลงถึง 23 % และการดื่มมากกว่า 2 แก้ว อาจจะยับยั้งปฏิกิริยาน้านมพุ่งด้วย พยาบาลจึงควรเสนอแนะให้มีการปรับเอาสุราออกจากอาหารของหญิงหลังคลอด เป็นต้น
3.2.3 การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม่ (Culture care repatterning or restructuring) เช่น หญิงหลังคลอดให้ดื่มน้ำน้อยแต่ให้กินน้ำซุปเป็นหลัก กินอาหารรสร้อน เช่น ขิง กระเทียม โสม แครอท เห็ด เห็ดแห้ง หมู เป็ด ไก่ ไวท์ น้ามันงา พุทราจีน ให้ดื่มสุราวันละ 3 ครั้ง
3.2.1 การคงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care preservation or maintenance) เช่น ชาวจีนจะให้หญิงหลังคลอด รับประทานไก่ผัดขิงโดยชาวจีนมีความเชื่อว่า ขิงช่วยขับลม บำรุงกระเพาะ ป้องกันโรคและมีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง แนวปฏิบัตินี้ถูกต้อง และเหมาะสม เพราะขิงมีสรรพคุณมากกว่าที่กล่าวมา อาทิ ทาให้นอนหลับสนิท แก้คลื่นไส้อาเจียน ระงับปวดต่อต้านเชื้อโรค พยาบาลจึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงและยังคงให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติได้ต่อไป เป็นต้น
ศึกษาวัฒนธรรมของชาวจีนในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ เช่น ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และความเชื่อ เป็นต้น
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
เช่นเดียวกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในบุคคลวัยอื่นๆ ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุขึ้นกับ คุณค่า ความเชื่อ ของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความแตกต่างกัน เช่น ผู้สูงอายุในแถบประเทศตะวันตกค่อนข้างจะให้ความสำคัญของการคำนึงถึงความเป็นบุคคลและการมีอิสระในการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้มากที่สุด
ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาในด้านกายภาพทั่วๆไป cในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ มีดังนี้
1) การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ เช่น การเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม การเคารพในสัญชาติ ภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม การเข้าใจถึงบุคลิกภาพหรือสิ่งที่ผู้สูงอายุชอบ เช่น เสื้อผ้า การแต่งกาย เครื่องประดับ รองเท้า ให้ความสำคัญของรูปภาพของผู้สูงอายุและครอบครัว ให้ผู้สูงอายุได้ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงผม ลิบสติค สมุดไดอารี่ การให้ความสำคัญเรื่องเพศของผู้ดูแลต้องเป็นเพศเดียวกับผู้สูงอายุก็ควรพิจารณาเช่นกัน
2) การสื่อสาร ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม อัลไซม์เมอร์ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านสายตาและการมองเห็นที่ลดน้อยลง จึงควรมองตรงๆ ที่ใบหน้าและการใช้สายตาเพื่อให้การสื่อการง่ายขึ้น ใช้เสียงดังให้เหมาะสมกับความสามารถในการได้ยินด้วยและความสุภาพ ไม่ควรให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกว่าถูกละเลยเนื่องจากไม่สามารถสื่อสารได้ ความสามารถในการสื่อสารกับผู้สูงอายุจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความไว้วางใจได้ดี
3) สุขภาพและยาที่ใช้ ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่ เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ผู้สูงอายุอาจเป็นลมจากน้ำตาลต่ำหรือสูงเกินจึงควรรู้จักยาที่ผู้สูงอายุใช้อยู่ เช่น ยาเบาหวาน ยาลดความดัน ยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาที่ทำให้เลือดออกง่าย ยาสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นพาร์คินสันและสมองเสื่อม
4) การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะแขนขาอ่อนแรง ควรจัดสถานที่ให้ปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นติดราวที่ฝาผนัง ในห้องน้ำ
5) ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบเช่น รสจืด ไม่เผ็ด รสหวาน ให้รับประทานผลไม้ ไอศกรีม ขนม และ อาหารเสริม ควรระวังเรื่องการสำลัก เนื่องจากผู้สูงอายุมักสำลักง่าย และอาจเกิดภาวะปอดบวมจากากรสำลักได้
6) การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ เช่น การเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อที่ผู้สูงอายุมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง ปัจจุบันประเทศไทยได้จัดให้มีโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง มีกิจกรรมในสังคมร่วมกัน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุได้ดี
7) การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ เช่น ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด การไปวัดหรือร่วมนมัสการในบ้านหรือไปโบสถ์