Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ของบุคคลแต่ละวัย
สังคมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ชาติพันธ์
ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม
ช่วงวัย : เด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ
เพศ อายุ ความต้องการการดูแลในแต่ละช่วงวัย
บทบาทของพยาบาล
เรียนรู้และเข้าใจ ความคิด ความเชื่อ
พฤติกรรม ของผู้รับบริการ บนพื้นฐาน
ความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม
ประเทศไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของ
เด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง
บิดามารดา
ปู่ย่าตายาย
คุณครู
เพื่อน
ศาสนาอิสลาม
ความเชื่อ
เป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า
มารดาต้องดูแลบุตรตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่หรืออายุ 21 ปี
ต้องดูแลเด็กให้เป็นคนดีของสังคม ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ศาสนาคริสต์
ความเชื่อ
เป็นของขวัญจากพระเจ้า ต้องดูแลให้เติบโตในทางที่ดี
ต้องเข้าพิธีบัพติศมา เพื่อชำระบาปและประกาศตัวเป็นศาสนิกชน
ทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
นิกายพยานพระเยโฮวา : ปฏิเสธรับเลือด แม้จะมีอันตรายถึงชีวิต
ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
บิดามารดาสามารถตัดสินในการรักษาพยาบาลบุตรได้
แพทย์สามารถดำเนินการรักษาได้จนกระทั่งเด็กบรรลุนิติภาวะ
ศาสนาพุทธ
ความเชื่อ
พิธีที่มักกระทำ เพื่อให้เด็กที่มีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่าย (เมื่ออายุครบ 1 เดือน)
พิธีการสู่ขวัญเด็ก โกนผมไฟ
พิธีที่มักกระทำ เมื่อเด็กไม่สบายหรืองอแง
ให้ผู้ใหญ่ผูกข้อมือ
บางครอบครัวในอำเภอเมืองน่านและอำเภอกระนวน
พิธีสู่ขวัญ เพื่อให้เด็กหยุดร้องไห้งอแงและอยู่ดีมีสุข
ถ้าเด็กร้องในช่วงอายุ 2 หรือ 3 เดือน จะทำพิธีหาพ่อเกิดแม่เกิดโดยผู้อาวุโสในชุมชน (ปัจจุบันปรากฏให้เห็นน้อยลง)
ความเชื่อการดูแลเด็ก
ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คล้ายคลึงกับประเทศลาว
รักษาความเจ็บป่วยด้วย
อำนาจเหนือธรรมชาติ
พิธีกรรม: สะเดาะเคราะห์ ผูกข้อมือเรียกขวัญ บูชาบวงสรวง
เพื่อให้เกิดความหวังและกำลังใจในรายที่การเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่ได้
รักษาตามอาการจากแพทย์พื้นบ้าน
ใช้สมุนไพร ประคบน้ำมัน
รักษาแบบผสมผสาน
ใช้สมุนไพร + วิธีการรักษาอื่น (น้ำมนต์ ผูกข้อมือ)
อำนาจเหนือธรรมชาติ/แพทย์พื้นบ้าน + แพทย์แผนปัจจุบัน
ปัจจุบัน
หากเจ็บป่วยเล็กน้อย ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ซื้อยาให้รับประทานเอง
หากมีอาการรุนแรง/เจ็บป่วยเรื้อรัง ไปโรงพยาบาล
ประเทศกัมพูชา
การเกิด
เป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภืจึงต้องระวัง
สตรีที่ตายจากการคลอดบุตร เชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
การเลี้ยงดู
จะเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี
อายุ 5 ปี : สามารถช่วยดูแลน้อง ๆ ได้
อายุ 7-8 ปี : ส่วนใหญ่จะเริ่มไปโรงเรียน
อายุ 10 ปี : เด็กหญิงช่วยงานบ้าน เด็กผู้ชายช่วยงานในไร่นา
สังคม
วัยรุ่นจะจับกลุ่มในเพศเดียวกัน
เด็กผู้ชายบางคนบวชเป็นสามเณร
ในยุคก่อนคอมมิวนิสต์ พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน
การติดต่อระหว่างกลุ่มชนต่างอายุกัน จะต้องเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสม
ทางการแพทย์
ให้การเคารพแพทย์ เพราะเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
ศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วยเด็ก
ประเทศจีน
อดีต
ประเทศจีนจะมีนโยบาย “ลูกคนเดียว (One child policy)”
ต้องการมีลูกชายไว้สืบสกุล เพราะมีลูกได้ 1 คน
เพิ่มอัตรา การทำแท้ง/ฆ่าทารกเพศหญิง
อัตราการเกิดทารกเพศชายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน
ปรับนโยบาย มีลูกคนที่ 2 ได้เพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างประชากรในระยะยาว
พิธีล้าง
เด็กเกิดครบสามวัน
มีความพิถีพิถัน การเลือกภาชนะ น้ำ ผู้ประกอบพิธี
ผู้ประกอบพิธี : หญิงวัยกลางคน/หญิงชราที่มีครอบครัวแล้ว
พิธีครบเดือน หรือ เรียกว่า “หมีเย่ว์”
โกนผมไฟ + จัดเลี้ยงในหมู่ญาติ มิตรสหาย + ตั้งชื่อให้เด็ก
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ในการดูแลเด็ก
บุคลากรทางด้านสุขภาพตระหนักถึง
ความเชื่อ
วัฒนธรรม
ศาสนา
เข้าใจและยอมรับ
ความเชื่อ วัฒนธรรม ศาสนา ของผู้รับบริการ
ให้การพยาบาลได้ สอดคล้องกับความเชื่อด้าน สุขภาพและวัฒนธรรมของ ผู้รับบริการ
ป้องกันการเกิด ความขัดแย้งจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้รับบริการ
ศึกษาวัฒนธรรมของ
ผู้ป่วยและครอบครัว
เข้าใจ ให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรม
การปฏิบัติพยาบาล
ประเมินปัญหา
วินิจฉัยการพยาบาล
วางแผนการพยาบาล
ปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินผลการพยาบาล
การสื่อสาร
พัฒนาทักษะการสื่อสารตามพัฒนาการของเด็กและผู้ดูแล ด้วยภาษาง่ายๆ
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ
ให้สื่อสารผ่านญาติที่สื่อสารได้ หรือใช้ล่าม
รูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือ หรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ของบุคคลวัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่
รับผิดชอบการดำเนินชีวิตของตนเอง
นำประสบการณ์ที่สะสมในวัยเด็กมาใช้ปรับตัวและแก้ปัญหาชีวิต
ผู้ใหญ่ที่ปรับตัวได้ดี
ผ่านพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
มีวุฒิภาวะ : มีร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา ที่สมบูรณ์
เผชิญชีวิตและอุปสรรค์ต่าง ๆ ได้ทั้งยามปกติและยามคับขัน
มีความรับผิดชอบ กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลตามทำนองคลองธรรม
แบ่งเป็น 3 ระยะ
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว
อายุ 20-25 ปี ถึง 40 ปี
มีพัฒนาการด้านร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจและอารมณ์อย่างเต็มที่
เลือกแนวทางดำเนินชีวิตของตนเองอย่างมีความหมายอาชีพ คู่ครอง ความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ
วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน
อายุ 40 ปี ถึง 60-65 ปี
ผ่านชีวิตครอบครัวและการทำงานมาระยะหนึ่ง
มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต
วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ
อายุ 60-65 ปีขึ้นไป
มีความเสื่อมถอยของร่างกาย
จิตใจ และบทบาททางสังคม
การปรับตัวต่อความเสื่อมถอย และการเผชิญชีวิตในบั้นปลาย เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้
วัยผู้ใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม
ศาสนกิจที่สำคัญของชาวมุสลิม
การละหมาดวันละ 5 เวลา
การถือศีลอด
การทำฮัจญ์
ตัวชี้วัดด้านคุณภาพชีวิตที่สำคัญ
การมีสุขภาพดีที่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจ
การดูแลทำความสะอาดผู้ป่วย แบ่งเป็นกลุ่ม
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้
ทำความสะอาดด้วยตนเองได้ หรือมีผู้อื่นช่วย
ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำ
ละหมาดในแต่ละเวลา
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้
ทำความสะอาดเท่าที่จะสามารถกระทำได้
การละหมาดถือว่าใช้ได้ ไม่ต้องละหมาดชดใช้
ผู้ป่วยที่มีนะญิส สิ่งสกปรกที่ต้องชำระให้สะอาดตามหลักนิติบัญญัติอิสลาม ติดตัวอยู่ตลอดเวลา
แนะนำผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าว
ตามปกติ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
การอาบน้ำละหมาดนั้นไม่เสีย แต่จะต้องอาบน้ำละหมาดหรือตะยัมมุม
จะต้องทำการละหมาดตามความสามารถ
ภายใต้การผ่อนปรนตามหลักการของศาสนา
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด
ชนเผ่าม้งภาคเหนือประเทศไทย
ให้ดื่มน้ำมะพร้าว
เมื่ออายุครรภ์ 7-8 เดือน
ทำให้ลูกไม่มีไข คลอดง่าย และผิวสวย
ให้กินแกงผักปรัง (ผักพื้นบ้าน) มีลักษณะลื่นๆ
ทำให้คลอดไม่ลำบาก
หัวปลาไหลแห้ง + ผักปลังดิน + ใบหนาด มัดรวมกันแช่น้ำและอาบทุกวัน เมื่อท้องแก่ใกล้คลอด
ทำให้คลอดง่าย
หากท้องแก่ใกล้คลอด เอานํ้ามันละหุ้ง ทาถูหน้าท้อง
ลูกเกิดมาจะได้ตัวสะอาด ไม่มีไข คลอดง่าย
คลอดที่บ้านเป็นส่วนใหญ่
เพราะเป็นความเชื่อและปฏิบัติสืบต่อกันมา
ปัจจุบันบางคนคลอดในโรงพยาบาล แต่ก็มีส่วนน้อย
การบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการ
คงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ
(Culture care preservation or maintenance)
หญิงหลังคลอด
รับประทานไก่ผัดขิง
มีความเชื่อว่า ขิงช่วยขับลม บำรุงกระเพาะ ป้องกันโรคและมีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง
แนวปฏิบัตินี้เหมาะสม เพราะขิงมีสรรพคุณ
ช่วยนอนหลับสนิท แก่คลื่นไส้อาเจียน ระงับปวด ต้านเชื้อโรค
พยาบาลจึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงและยังคงให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติได้ต่อไป
การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ
(Culture care accommodation or negotiation)
รับประทานไก่ผัดขิงผสมสุรา
มีความเชื่อว่า บำรุงร่างกายของมารดา
แนวปฏิบัตินี้ไม่เหมาะสม ต้องตัดสุราออกไป
จะสูงผลให้มารดาเกิดความดันโลหิตสูง
แอลกอฮอล์จะปนออกมากับน้ำนมแม่
การดื่มแอลกอฮอล์ 1 แก้ว ปริมาณน้ำนมลดลง 23 %
ดื่ม > 2 แก้ว อาจจะยับยั้งน้ำนม
พยาบาลควรเสนอแนะให้มีการปรับเอาสุราออกจากอาหารของหญิงหลังคลอด
การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม่
(Culture care repatterning or restructuring)
หญิงหลังคลอด
ให้ดื่มน้ำน้อย ๆ แต่ให้กินน้ำซุปเป็นหลัก
กินอาหารรสร้อน ขิง กระเทียม โสม แครอท เห็ด เห็ดแห่ง หมู เป็ด ไก่ ไวท์ น้ำมันงา พุทราจีน
ให้ดื่มสุราวันละ 3 ครั้ง เลือดไหลเวียนดี
มือและเท้าห้ามออกนอกผ้าห่ม ห้ามสระผมและอาบน้ำ ห้ามล้างมือล้างเท้า ใช้เช็ดตัวด้วยน้ำร้อน แอลกอฮอล์ และเกลือแทน
ใช้น้ำอุ่นจัด ๆ แปรงฟัน และล้างหน้า
พยาบาลควรปรับแผนการดูแลให้เหมาะสมกับภูมิอากาศปัจจุบัน (อากาศร้อนมากขึ้น)
ให้รักษาร่างกายให้อบอุ่น และอาบน้ำ สระผมได้เมื่อร่างกายมีเหงื่อไคล
ให้ดื่มน้ำมากขึ้นและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยสูงอายุ
แถบประเทศตะวันตก
ให้ความสำคัญความเป็นบุคคลและการมีอิสระในการดำเนินชีวิต
แถบตะวันออก
มีความต้องการพึ่งพาลูกหลานและครอบครัว
ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ
การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ
การเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม การเคารพในสัญชาติ
ภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
การเข้าใจถึงบุคลิกภาพหรือสิ่งที่ผู้สูงอายุชอบ เช่น เสื้อผ้า การแต่งกาย เครื่องประดับ รองเท้า
ให้ความสำคัญของรูปภาพของผู้สูงอายุและครอบครัว
ให้ผู้สูงอายุได้ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงผม ลิบสติค สมุดไดอารี่
ให้ความสำคัญเรื่องเพศของผู็ดูแลต้องเป็นเพศเดียวกับผู้สูงอายุก็ควรพิจารณาเช่นกัน
การสื่อสาร
ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้
การสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหา
ความจำเสื่อม อัลไซม์เมอร์ สายตาและการมองเห็นที่ลดลง
ควรมองตรง ๆ ที่ใบหน้า และใช้สายตาสื่อสาร
ใช้เสียงดังให้เหมาะสมกับความสามารถในการได้ยินด้วยความสุภาพ
ไม่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกถูกละเลย เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารได้
ควรทำให้ผู้สูงอายุเกิดความไว้วางใจ
สุขภาพและยาที่ใช้
สุขภาพและโรคที่เป็น เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
อาการจากผลข้างเคียงของยา เช่น เป็นลมจากน้ำตาลต่ำหรือสูงเกินจึง
ยาที่ผู้สูงอายุใช้ เช่น ยาเบาหวาน ยาลดความดัน ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาที่ทำให้เลือดออกง่าย ยาพาร์คินสัน และสมองเสื่อม
การเคลื่อนไหวร่างกายและการป้องกันอุบัติเหตุ โดยเฉพาะผู้ที่ปัญหาด้านความจำ การพูดพฤติกรรม มีฟันปลอม ผู้ที่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินหรือล้อเข็น และได้รับการกายภาพบำบัด
การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ
ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ
ผู้ที่มีภาวะแขนขาอ่อนแรง ควรจัดสถานที่ให้ปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม มีสิ่งอำนวยความสะดวก
ติดราวที่ฝาผนังในห้องน้ำ
ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน
ไม่จัดอาหารที่เหนียว/แข็งเกินไป
จัดอาหารรสชาติที่ชอบ
รสจืด ไม่เผ็ด รสหวาน
จัดให้รับประทานผลไม้ ไอศกรีม ขนม และ อาหารเสริม
ระวังเรื่องการสำลัก
ผู้สูงอายุสำลักได้ง่าย
อาจเกิดภาวะปอดบวมจากากรสำลักได้
การดูแลด้านจิตสังคม
จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่สุขภาพดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม
เป็นวิทยากรด้านที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
และมีประสบการณ์สูง
การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ
ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด