Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ความเชื่อด้านสุขภาพของชาวจีน
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments)
ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture)
การขูดผิวหนังด้วยวัตถุใดๆ (เชื่อว่า จะขับสารพิษที่ก่อโรคออกจากร่างกายผ่านทางผิวหนัง)
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค
สมุนไพรบางชนิดก็อาจถูกอาหารบางชนิดรบกวนการออกฤทธิ์
โสมจีน มีความเชื่อว่า มีฤทธิ์ลดความเครียด เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค และส่งเสริมความรู้สึกทางแพศ (sexual function) แต่ทำให้มีอาการข้างคียง คือ กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
ถ้าร่างกายแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์
ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค (Preventive screening)
กรอบแนวคิดของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
(Trans-cultural nursing theory)
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการชาวจีนด้วยภาษาจีนง่ายๆ
เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว
หากสื่อสารไม่ได้ อาจสื่อสารผ่านญาติ หรือใช้ล่ามแปล
เลือกใช้วิธีการพยาบาลบนพื้นฐานของการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลไปกับวัฒนธรรม
การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care accommodation or negotiation)
ชาวจีนจะให้หญิงหลังคลอด รับประทานไก่ผัดขิงผสมสุรา เพื่อบำรุงร่างกายของมารดา
ความเชื่อนี้ต้องตัดสุราออกไป เนื่องจากแอลกอฮอล์จะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงของมารดาและเป็นอันตรายกับทารกที่ดูดน้ำนมจากแม่ด้วยเช่นกัน พยาบาลจึงควรเสนอแนะให้มีการปรับเอาสุราออกจากอาหารของหญิงหลังคลอด
การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม่ (Culture care repatterning or restructuring)
หนึ่งเดือนหลังคลอดสามีชาวจีนจะเป็นผู้ดูแลลูกสะใภ้ให้สวมหมวกให้ศีรษะอุ่น ใส่เสื้อผ้า และห่มผ้าห่มหนา ๆ หลายชั้น
มือและเท้าห้ามออกนอกผ้าห่ม ห้ามสระผม ห้ามอาบน้ำห้ามล้างมือล้างเท้า ใช้การเช็ดตัวด้วยน้าร้อน แอลกอฮอล์
และเกลือแทนใช้น้าอุ่นจัด ๆ แปรงฟัน และล้างหน้า
พยาบาลควรปรับเปลี่ยนแบบแผนการดูแลของหญิงหลังคลอด
ให้เหมาะสมกับภูมิอากาศปัจจุบันที่มีอากาศร้อนมากขึ้นกว่าในอดีต
ให้รักษาร่างกายให้อบอุ่น และอาบน้ำ สระผมได้เมื่อร่างกายมีเหงื่อไคลตามความเหมาะสมกับภูมิอากาศในปัจจุบัน
ให้ดื่มน้ำมากขึ้นและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
หญิงหลังคลอดให้ดื่มน้ำน้อยแต่ให้กินน้ำซุปเป็นหลัก กินอาหารรสร้อน เช่น ขิง กระเทียม โสม แครอท เห็ด เห็ดแห้ง หมู เป็ด ไก่ ไวท์ น้ำมันงา พุทราจีน ให้ดื่มสุราวันละ 3 ครั้ง เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี และยังให้รับประทานปลาและหนังปลา เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วด้วย
การคงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care preservation or maintenance)
ชาวจีนจะให้หญิงหลังคลอด รับประทานไก่ผัดขิงโดยชาวจีนมีความเชื่อว่า ขิงช่วยขับลม
บำรุงกระเพาะ ป้องกันโรคและมีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง แนวปฏิบัตินี้ถูกต้อง และเหมาะสมพยาบาลจึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงและยังคงให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติได้ต่อไป
ศึกษาวัฒนธรรมของชาวจีนในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
วัยที่รับผิดชอบการดำเนินชีวิตของตน โดยนำประสบการณ์ต่าง ๆ
ที่ได้สะสมมาตั้งแต่วัยเด็กมาใช้ในการปรับตัวและแก้ปัญหาชีวิต
วุฒิภาวะ
ความสมบูรณ์ของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา
สามารถเผชิญชีวิตและอุปสรรค์ต่าง ๆ ทั้งยามปกติและยามคับขัน
มีความรับผิดชอบ กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลตามทำนองคลองธรรม
วัยผู้ใหญ่เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 20-25 ปี หรืออาจเร็วกว่านั้น
หากวัยรุ่นแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยก็ก้าวเข้าสู้ความเป็นผู้ใหญ่เลย
วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 40 ปีถึง 60-65 ปี
วัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต
วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ อายุ 60-65 ปีขึ้นไป
วัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม
การปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว อายุ 20-25 ปีถึง 40 ปี
พัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์ พร้อมที่จะมีบทบาทที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพ คู่ครอง และความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ อย่างมีความหมาย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
ประเทศกัมพูชา
วัยเด็ก
เด็กอายุ 5 ขวบจะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้
เริ่มไปโรงเรียนเมื่ออายุ 7-8 ปี
เด็กในกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี
อายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ เด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นา
วัยรุ่น
เด็กผู้ชายบางคนบวชเป็นสามเณร
พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน
มักจะจับกลุ่มในเพศเดียวกัน
การติดต่อระหว่างกลุ่มชนต่างอายุกัน จะต้องเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสม
การเกิดถือว่าเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
หญิงที่ตั้งครรภ์จึงมีข้อห้ามต่างๆมากมาย ซึ่งข้อห้ามเหล่านี้ยังนิยมอยู่ในชนบท
การให้ความเคารพ
ให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม
เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
ชาวกัมพูชาถือว่าศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาต
จากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วยเด็ก
ถ้าบุคลากรทางการสุขภาพไปแตะศีรษะหรือผมเด็ก และถ้าเด็กป่วย
จะโดนโทษว่าเป็นคนที่ทำให้เด็กป่วย
ประเทศจีน
ความเชื่อในการเลี้ยงดูเด็ก
พิธีล้างวันที่สาม
เป็นการอาบน้ำให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอด จนถึงวันที่สาม
ชาวปักกิ่งในสมัยราชวงศ์ชิงจะนำสมุนไพรจีนใส่ลงในน้ำ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อและอนามัยต่อสุขภาพของเด็ก นอกจากนี้ยังมีชาวจีนบางกลุ่มที่นิยมใส่ต้นหอมหรือนำเศษเหรียญใส่ลงในน้ำ เพราะต้นหอมหรือชงในภาษาจีนพ้องเสียงกับคำว่า “ชงหมิง” ที่แปลว่า ฉลาดหลักแหลม ส่วนเงินหมายความว่าพรั่งพร้อมไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง
ที่ใช้อาบมีชื่อเรียกว่า “ฉางโซ่วทัง” มีความหมายว่า น้ำอายุมั่นขวัญยื
หญิงที่มีบุตรยากจะถือโอกาสในวันนี้ แย่งกันเอาน้ำที่ได้หลังจากการอาบให้เด็กมาอาบตัว เชื่อว่าจะช่วยให้สามารถมีบุตรได้
หมีเย่ว์
พิธีครบเดือน เป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด
การโกนผมไฟ การจัดเลี้ยงในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย และการตั้งชื่อให้เด็ก
โกนผมพร้อมการจุดประทัด โดยอาของเด็กจะอุ้มเด็กให้นั่งตัวตรง
จากนั้นผู้ที่รับหน้าที่โกนผมจะเอาใบชาที่อมจนเปื่อยในปากชโลมลงบนศีรษะเด็ก
วัฒนธรรมจีน
ชื่นชอบลูกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
มีข่าวการทำแท้งหรือฆ่าทารกเพศหญิงอยู่เสมอๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ในอดีตประเทศจีนจะมีนโยบาย “ลูกคนเดียว (One child policy)” แต่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สามารถมีลูกคนที่สองได้
ประเทศไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับเด็กหรือลูกของแต่ละศาสนา
ศาสนาคริสต์
เด็กเป็นของขวัญจากพระเจ้า ต้องดูแลให้เติบโตในทางที่ดี
เข้าพิธีบัติศมาเพื่อแสดงถึงการชำระเพื่อให้พ้นจากความบาป และประกาศตัวเป็นศาสนิกชน
ผู้นับถือนิกายพยานในพระเยโฮวา จะปฏิเสธการรับเลือดจากผู้อื่น
เพราะมีความเชื่อว่าการรับเลือดจากผู้อื่นจะเป็นบาป
ศาสนาพุทธ
ในสมัยโบราณจะมีพิธีการสู่ขวัญเด็กเมื่ออายุครบ 1 เดือนและมีการโกนผมไฟ
อำเภอกระนวนจะมีการทำพิธีสู่ขวัญให้กับเด็กเพื่อให้เด็กหยุดร้องอแงและอยู่ดีมีสุข
ถ้าเด็กร้องในช่วงอายุสองหรือสามเดือนก็จะมีการหาพ่อเกิดแม่เกิดให้กับเด็กโดยให้ผู้อาวุโสในชุมชนทำพิธีให้
ศาสนาอิสลาม
ลูกเป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า
ดังนั้นต้องดูแลเด็กให้เป็นคนดีของสังคมต่อไป
มารดาต้องดูแลบุตรตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่หรืออายุ 21 ปี
ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ความเชื่อในการดูแลเด็กของคนไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รักษาตามอาการจากแพทย์พื้นบ้าน
การใช้สมุนไพร การประคบน้ำมัน
การรักษาแบบผสมผสาน
มีการสมุนไพรร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆเช่น การใช้น้ำมนต์ การผูกข้อมือ
มีการรักษาความเจ็บป่วยจากอำนาจเหนือธรรมชาติ
การประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น การสะเดาะห์เคราะห์ การผูกข้อมือเรียกขวัญ
การบูชาบวงสรวง เพื่อให้เกิดความหวังและกำลังใจในรายที่การเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่ได้
กาจากแพทย์แผนปัจจุบัน
อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยจะซื้อยาให้รับประทานเอง แต่ถ้ามีอาการรุนแรงหรือเจ็บป่วยเรื้อรังจะไปใช้บริการจากโรงพยาบาล
ความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง
ครู หรือเพื่อนที่จะมีอิทธิพลต่อความเชื่อของเด็ก
การบอกกล่าวของบิดามารดา คำสั่งสอนของปู่ย่าตายาย
ความเชื่อในการดูแลเด็ก
น้ำนม
เอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา
เอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง ก็จะหาย
เม่า
เกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วงที่ยังกินนม อาการคือ บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก ทำให้เด็กรู้สึกแสบแล้วร้องไห้
การรักษา
พ่อแม่เด็กจะทำกรวยดอกไม้ จากนั้นจะนำกรวยไปเสียบไว้ข้างฝาหรือหลังคาเรือน
ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวันจึงนำกรวยดอกไม้นั้นมาทำพิธีเสกเป่าอีกครั้งหนึ่ง
และทำอย่างนี้ทุก ๆ วัน จนกว่าเด็กจะหาย
จกคอละอ่อน
หมอตำแยใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด เพื่อล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมา เชื่อว่าถ้าไม่ทำ เมื่อเด็กโตขึ้นจะเป็นหอบหืด
รก
ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ศาสนกิจที่สำคัญของชาวมุสลิม
การถือศีลอด
การทำฮัจญ์
การละหมาดวันละ 5 เวลา
การดูแลทำความสะอาดผู้ป่วยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้
ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้
โดยไม่ต้องละหมาดชดใช้อีก
ผู้ป่วยที่มีนะญิส
(สิ่งสกปรกที่ต้องชำระให้สะอาดตามหลักนิติบัญญัติอิสลาม)
เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์ และการอาบน้ำละหมาดของเขานั้นไม่เสีย แต่เขาจะต้องอาบน้ำละหมาดหรือตะยัมมุม ทุกครั้งก่อนที่จะละหมาดผู้ป่วยตราบใดที่ยังมีสติ ครบเงื่อนไขที่จำเป็นต้องละหมาดและไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่ไม่สามารถทำการละหมาดได้
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้
ให้ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
การมีสุขภาพดีที่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นศาสนกิจภาคบังคับ และเพิ่มเติมอื่นๆ
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
ต้องตะหนักถึงความเชื่อ วัฒนธรรม ศาสนาของครอบครัวนั้นๆ
ควรใช้เวลาพูดคุยกับบิดามารดาหรือผู้ดูแลเด็ก ซักถามเกี่ยวกับความเชื่อในการเลี้ยงดูเด็ก การดูแลเด็กในเรื่องต่างๆ
ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมดังนี้
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ
สื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
ทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วย
ของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ซึ่งตัวอย่างเรื่องการดูแลที่จำเป็นที่ควรแปลเป็นภาษาต่างประเทศคือการเช็ดตัวลดไข้ในเด็ก
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
มีอะไรพิเศษที่เกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมของครอบครัว ที่ดิฉัน/ผม ควรได้รับทราบ เพื่อที่จะได้ให้การดูแลลูก/หลาน ของคุณได้อย่างเต็มที่ค่ะ”
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้งยังมีการคลอดที่บ้านเป็นส่วนใหญ่
หลังคลอด
อาหารที่รับประทานก็จะเป็นพวกไก่ ไข่ ซึ่งจะรับประทานประมาณ 30 วัน
หญิงหลังคลอดทุกคนจะอยู่ไฟประมาณ 1 เดือน โดยการก่อกองไฟไว้ข้างที่นอนตลอดเวลา
แม่เด็กจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องให้แน่นเพื่อไม่ให้ท้องโต
หญิงหลังคลอดจะอาบนํ้าต้มตลอดช่วงที่อยู่ไฟ เพราะมีความเชื่อว่าการอยู่ไฟ
จะทำให้สุขภาพแม่ดี แข็งแรง และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
มีความเชื่อในการปฏิบัติที่ทำให้มีนํ้านมมาก โดยการเชิญหมอผีทำ พิธีเรียกนํ้านม ซึ่งจะทำคล้ายๆ การบนผี รวมทั้งมีการกินยาสมุนไพรที่มียางสีขาว กินมะละกอต้มใส่ไก่ ส่วนอาหารอื่นๆ จะกินน้อยมาก
แต่ก็มีแม่หลายคนที่กินแป้งข้าวหมัก ซึ่งมีแอลกอฮอล์และอาจมีผลเสียต่อลูกได้
ตอนตั้งครรภ์
กินแกงผักพื้นบ้าน ชื่อผักปรัง ซึ่งมีลักษณะลื่นๆ เพื่อจะทำ ให้ลูกคลอดไม่ลำบาก
นำหัวปลาไหลแห้ง ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่อาบนํ้าทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด โดยมีความเชื่อว่าจะทำ ให้คลอดง่าย
ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือน
เพราะจะทำให้ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย
ท้องแก่ใกล้คลอดให้เอานํ้ามันละหุง่ มาถูทาหน้าท้อง
โดยเชื่อว่าลูกเกิดมาจะได้ตัวสะอาด ไม่มีไข คลอดง่าย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
แถบประเทศตะวันตกค่อนข้างจะให้ความสำคัญของการคำนึงถึงความเป็นบุคคลและการมีอิสระในการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้มากที่สุด
แถบตะวันออกมักจะมีความต้องการพึ่งพาลูกหลานและครอบครัวมากกว่า
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุขึ้นกับ คุณค่า ความเชื่อ ของผู้สูงอายุ
การคัดเลือกบุคลากรที่จะมาดูแลผู้สูงอายุจึงต้องคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง ไม่รังเกียจและไม่ดูถูกผู้สูงอายุที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน คุณสมบัตินี้มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาในด้านกายภาพทั่วๆไป
ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ
การสื่อสาร
ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม
ใช้เสียงดังให้เหมาะสมกับความสามารถในการได้ยินด้วยและความสุภาพ
ไม่ควรให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกว่าถูกละเลยเนื่องจากไม่สามารถสื่อสารได้
ความสามารถในการสื่อสารกับผู้สูงอายุจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความไว้วางใจได้ดี
สุขภาพและยาที่ใช้
ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่
ยาสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นพาร์คินสันและสมองเสื่อม นอกจากนี้ต้องดูแลเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ
การเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม การเคารพในสัญชาติ ภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม การเข้าใจถึงบุคลิกภาพหรือสิ่งที่ผู้สูงอายุชอบ
การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ
ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะแขนขาอ่อนแรง
ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน
ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบเช่น รสจืด ไม่เผ็ด รสหวาน ให้รับประทานผลไม้
ควรระวังเรื่องการสำลัก เนื่องจากผู้สูงอายุมักสำลักง่าย และอาจเกิดภาวะปอดบวมจากากรสำลักได้
การดูแลด้านจิตสังคม
ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ
การเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อที่ผู้สูงอายุมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง
การจัดกิจกรรมในบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุมีความสำคัญที่จะเสริมสร้างคุณค่าของชีวิต
จัดให้มีโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง มีกิจกรรมในสังคมร่วมกัน
การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ
ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด การไปวัดหรือร่วมนมัสการในบ้านหรือไปโบสถ์