Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - Coggle…
บทที่ 3กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
วิวัฒนาการของกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
พ.ศ. 2466 การบำบัดโรคทางยาและทางผ่าตัด รวมทั้งการผดุงครรภ์การช่างฟันการสัตวแพทย์การปรุงยาการพยาบาลการนวดหรือการรักษาคนเจ็บป่วยไข้โดยประการใดๆ
พ.ศ. 2472 มีการแก้ไขโดยการตัดสาขาสัตวแพทย์ออกโดยให้การประกอบโรคศิลปะเป็นการกระทำต่อมนุษย์เท่านั้น
พ.ศ. 2479 ซึ่งได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น2 แผนได้แก่แผนโบราณและแผนปัจจุบัน
พ.ศ. 2518 เพิ่มอีก 2สาขา คือ กายภาพบำบัดและเทคนิคการแพทย์ เพื่อสามารถควบคุมการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ
พ.ศ. 2511 และมีแพทยสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพของตนขึ้นทำให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างคล่องตัว พยาบาลจึงได้ร่วมประชุมและมีมติให้สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พ.ศ.2528 ได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. 2528
พ.ศ. 2534 กำหนดขอบเขตของการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จ านวนกรรมการสภาการพยาบาล การเลือกนายกสภาการพยาบาล ซึ่งเปลี่ยนจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นกรรมการสภาการพยาบาล
พ.ศ. 2540 การสอบขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทุก 5 ปี รวมทั้งปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมและได้เสนอร่างกฎหมายผ่านรัฐสภา
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาล
ความหมายและลักษณะของกฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพ่ง
เป็นส่วนหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ที่ก าหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนโดยทุกฝ่าย
กฎหมายพาณิชย์
:เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการใดๆ ที่ได้กระท าในเรื่องหุ้นส่วนบริษัท ประกันภัยตั๋วเงิน
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
:เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการดำเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น
นิติกรรม
ปพพ. มาตรา149“นิติกรรม
หมายความว่า การใดๆ อันท าลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล
นิติกรรม
หมายถึง การกระทำของบุคคลด้วยใจสมัครและถูกต้องตามกฎหมาย มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล
องค์ประกอบของนิติกรรม
1.ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน
2.การกระทำโดยเจตนา
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง
การแสดงเจตนาโดยปริยาย
3.การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
4.ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ
ประเภทของนิติกรรม
1.นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียว
นิติกรรมหลายฝ่าย
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต
3.นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่มีค่าตอบแทน
นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
ความสามารถของบุคคล (Capacity)
ความสามารถของบุคคลเป็นสิ่งสำคัญต่อการพิจารณาความรับผิดทางกฎหมาย
บุคคลหมายถึง สิ่งซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
บุคคลธรรมดา
หมายถึง มนุษย์ที่มีชีวิตรอดภายหลังการคลอดจากครรภ์มารดา ในทางกฎหมายก าหนดให้สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
การตายโดยธรรมชาติ
หมายถึง การป่วยตาย แก่ตาย หรือถูกะฆ่าตายของบุคคล
การสาบสูญ
หมายถึง การที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่า บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี
นิติบุคคล
หมายถึง สิ่งซึ่งกฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล
ผู้เยาว์
หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมาย บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะใน 2กรณี คือ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือการสมรส เมื่อหญิงและชายอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
คนไร้ความสามารถ
หมายถึง คนวิกลจริต หรือ อยู่ในภาวะผัก ที่คู่สมรส ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลื้อ) บุพการี (บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด) ผู้อนุบาล หรือพนักงานอัยการยื่นเรื่องต่อศาล
คนเสมือนไร้ความสามารถ
หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเอง หรือจัดกิจการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว และศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลายตาม พรบ.
ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อศาลมีค าสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอ านาจในการจัดการ
สามีภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
จึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกันเป็นการทำนิติกรรมบางประเภท
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆะกรรม
หมายถึง ความเสียเปล่าของนิติกรรม ที่กระทำตั้งแต่ต้น
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
โมฆียกรรม
หมายถึง การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทำ แต่สามารถบอกล้างหรือปฏิเสธนิติกรรมโดยผู้เสียหายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ความสามารถของบุคคล
การแสดงเจตนาโดยวิปริต
การบังคับชำระหนี้เป็นการชำระเงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนหมายถึงการที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมมากที่สุด
ความรับผิดจากการละเมิด คือ การกระทำโดยจงใจหรือประมาทต่อผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย หมายถึง การประทุษกรรม หรือกระท าต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายด้วยการฝ่าฝืนข้อห้าม
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
การกระทำโดยจงใจ
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
อายุความ
คือ ระยะเวลาที่กฎหมายก าหนดให้บุคคลมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการละเมิดภายใน 1ปี นับแต่วันที่รู้เรื่องการละเมิดและรู้ตัวผู้กระท าละเมิด และไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและวัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญา
กระทำใดเป็นความผิดและกำหนดโทษอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย
ประเภท
ความผิดต่อแผ่นดิน
เป็นความผิดที่ส าคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม
ความผิดต่อส่วนตัว
เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงมีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว
ลักษณะสำคัญ
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง
กล่าวคือ ในขณะที่กระท าผิด ต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษรการตีความ
หมายถึง การถอดความหมายของข้อความหรือศัพท์ต่างๆ ในบทบัญญัติออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
หมายถึงจะไม่มีผลในการเพิ่มโทษแก่บุคคลหากขณะกระท ายังไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าการกระท านั้นเป็นความผิด
หลักเกณฑ์ความรับผิด
การกระทำ
หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึกและอยู่ภายใต้การบังคับของจิตใจ
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
ซึ่งเป็นลักษณะส าคัญของความรับผิดตามกฎหมายอาญา ที่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อน
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนาความผิดทางอาญา
นอกจากมีการกระท าที่เป็นองค์ประกอบภายนอกแล้ว กฎหมายยังค านึงถึงองค์ประกอบภายใน
.เหตุยกเว้นความรับผิด
เหตุยกเว้นความรับผิดหมายถึง การกระทำที่โดยทั่วไปกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แต่ถ้ามีเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมบังคับให้ผู้กระทำต้องกระทำเช่นนั้น
เหตุยกเว้นโทษหมายถึง การกระท าที่เป็นความผิดทางอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หากมีเหตุอันควรที่กฎหมายระบุ
เหตุลดหย่อนโทษหมายถึง มีพฤติการณ์หรือเหตุการณ์ที่น่าเห็นใจ หรือมีเหตุเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ให้หย่อนโทษได้
อายุความ
อายุความฟ้องคดีทั่วไป 20
ปี
)
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้เช่น ความผิดฐานบุกรุกหรือหมิ่นประมาท กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3เดือน
โทษทางอาญา
โทษประหารชีวิตเป็นโทษสูงสุด สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดคดีอุกฉกรรจ์
โทษจำคุกเป็นโทษจ ากัดเสรีภาพของนักโทษที่ถูกควบคุมไว้ในเรือนจำตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
โทษกักขังเป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง
โทษปรับการเสียค่าปรับ คือ การชำระเงินต่อศาลตามจำนวนที่ศาลกำหนดไว้ในคำพิพากษา
โทษริบทรัพย์สินศาลมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน
ลหุโทษหมายถึง ความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร
ความบกพร่องด้านการบันทึก
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพกับการปฏิเสธการรักษา
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจเป็นความผิดลหุโทษ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท
ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
แท้งลูก
จิตพิการอย่างเต็มตัว
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร: การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
ความผิดฐานปลอมเอกสาร
ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูก
การทำให้ตนเองแท้งลูก จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ