Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle Diagram
การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
เลือด
ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด
การให้เลือด (Blood transfusion)
: การให้เลือด หรือเฉพาะเม็ดเลือด หรือเฉพาะน้ำเลือด แก่ผู้ป่วยโดยผ่านเข้าทางหลอดเลือดดำ
การให้-รับเลือดในหมู่เลือด
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้น แต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย
คนเลือดกรุ๊ป O รับจาก O เท่านั้น แต่ให้ได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้ทุกกรุ๊ป แต่ให้ได้เฉพาะกรุ๊ป AB เท่านั้น
คนเลือดกรุ๊ป A รับจาก A และ O ให้ได้กับ A กับ AB
คนเลือดกรุ๊ป B รับจาก B และ O ให้ได้กับ B กับ AB
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
เม็ดเลือดแดงสลายตัว (Hemolysis)
: เกิดจากการให้เลือดผิดหมู่ เม็ดเลือดแดงจะแตกและบางส่วนอุดตันหลอดเลือดฝอยของท่อไตทำให้ไตวาย ผู้ป่วยมีอาการ หนาวสั่น มีไข้ปวดศีรษะ ปวดหลังปวดเอว กระสับกระส่าย ปัสสาวะเป็นเลือด และปัสสาวะไม่ออกภายหลัง ตัวและตาเหลือง หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก หลอดเลือดแฟบ ความดันต่ำ
ปริมาตรการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป (Volume overload)
: เกิดจากการให้เลือดในอัตราเร็วเกินไป จึงเพิ่มปริมาณการไหลเวียนในกระแสเลือด ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก เกิดภาวะหัวใจวายและมีอาการน้ำท่วมปอด
ไข้ (Febrile transfusion reaction)
: เกิดจากการได้รับสารที่ทำให้เกิดไข้ เชื้อแบคทีเรียจากเครื่องใช้หรือเทคนิคการให้เลือดที่ไม่สะอาด
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction)
: เกิดจากผู้รับแพ้สารอย่สงใดอย่างหนึ่งในเลือดที่ได้รับ
การถ่ายทอดโรค (Transfusion-associated graft versus host disease)
: มักเกิดจากการขาดการตรวจสอบเลือดของผู้ให้ ซึ่งมีการติดเชื้อต่างๆ
การอุดตันจากฟองอากาศ (Air embolism)
: เกิดจากการไล่ฟองอากาศไม่หมดไปจากสายให้เลือดอากาศจะลอยไปตามกระแสเลือด และอาจไปอุดตันหลอดเลือดดำให้ขัดขวางการนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้น
ภาวะซิเตรทเกินปกติ
: เกิดจากการให้เลือดติดต่อกันเป็นจำนวนมาก
ภาวะโปตัสเซียมเกินปกติ (Hyperkalemia)
: เกิดจากการให้เลือดที่เก็บไว้ในธนาคารเลือดนานเกินไป
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านร่างกาย
: ระดับความรู้สึกตัว, พยาธิสภาพของโรค ประวัติเจ็บป่วย และโรคหรืออาการแทรกซ้อน
การประเมินด้านจิตใจ
: ความพร้อมของการรับบริการให้เลือดและสารประกอบเลือด, ความต้องการรับบริการให้เลือดและสารประกอบของเลือด, ความวิตกกังวลและความกลัว
การประเมินสิ่งแวดล้อม
: ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมรอบผู้ป่วยและรอบเตียง, ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย, ความพร้อมใช้ของสิ่งแวดล้อมตัวผู้ป่วย, บรรยากาศในหอผู้ป่วย มีอากาศถ่ายเทสะดวก
ขั้นตอนที่2 ข้อวินิจฉัย
มีความพร้อมในการเริ่มให้เลือดและสารประกอบของเลือดตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่3 การวางแผนในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
วางแผนให้ผู้ป่วยได้รับเลือดและสารประกอบของเลือดโดยประยุกต์ใช้หลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE
ขั้นตอนที่4 การให้เลือดและสารประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่5 การประเมินผลการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
การประเมินผลการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด เป็นการประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล เป็นการประเมินผลของการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานครั้งต่อไป
การดูแลผู้ป่วยภายหลังได้เลือด
สังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตลอดระยะเวลาที่ให้เลือด
ตรวจสอบสัญญาณชีพหลังการให้เลือด 15 นาที และต่อไปทุก 4 ชั่วโมง
บันทึกหมู่เลือด ชนิดของเลือด หมายเลขเลือด ปริมาณเลือด วัน เวลา ชื่อผู้ให้เลือด และบันทึกอาการของผู้ป่วยหลังให้เลือด ลงในใบบันทึกการพยาบาล
การปฏิบัติเมื่อพบอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับเลือด
หยุดให้เลือดทันทีแล้วเปิดทางหลอดเลือดดำ (KVO)ด้วย NSS
รายงานแพทย์
ตรวจสอบสัญญาณชีพ และสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างใกล้ชิด
เตรียมสารน้ำและยา เพื่อให้การรักษาตามแพทย์กำหนด
ส่งขวดเลือดและเจาะเลือดของผู้ป่วยจากแขนที่ไม่ได้ให้เลือดไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ
บันทึกจำนวนสารน้ำที่เข้า-ออกจากร่างกาย เพื่อดูการทำงานของไต และนำปัสสาวะส่งตรวจในรายที่ได้รับเลือดผิดหมู่
การหยุดให้เลือด เมื่อผู้ป่วยได้รับเลือดครบให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการหยุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การบันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย (Record Intake-Output)
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
: จำนวนน้ำหรือของเหลวทุกชนิดที่ร่างกายได้รับ ซึ่งจะได้รับด้วยวิธีใดก็ตาม
จำนวนน้ำที่ร่างกายขับออก (Fluid output)
: จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสียออกนอกร่างกายด้วยวิธีต่างๆ
หลักการบันทึกจำนวนสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกาย
แบบฟอร์มการบันทึกควรแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย เพื่อสะดวกในการจดบันทึกและเมื่อครบ 24 ชั่วโมง ต้องสรุปลงในแผ่นรายงานประจำตัวของผู้ป่วยหรือฟอร์มปรอท
อธิบายเหตุผลและความสำคัญของการวัดและการบันทึกจำนวนน้ำที่รับเข้าและขับออกจากร่างกาย
ร่วมกับผู้ป่วยในการวางแผนกำหนดจำนวนน้ำที่เข้าสู่ร่างกายในแต่ละช่วงเวลา
จดบันทึกจำนวนน้ำและของเหลวทุกชนิดที่ให้ขณะมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยดื่มน้ำในขวดที่เตรียมไว้ให้ ไม่นำน้ำที่เตรียมไว้ไปบ้วนปากหรือเททิ้ง
การจดบันทึกควรสรุปทุก 8 ชั่วโมง
บันทึกจำนวนสารน้ำที่สูญเสียทางอื่นๆ เช่น อาเจียน ท้องเดิน ของเหลวที่ระบายออกจากการใช้เครื่องดูดกับสายยางจากกระเพาะ