Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
5.1 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
5.1.1 ประเทศไทย
ศาสนาคริสต์
เชื่อว่าเด็กเป็นของขวัญจากพระเจ้า ต้องดูแลให้เติบโตในทางที่ดี
เมื่อเด็กเกิดมาต้องเข้าพิธีบัติศมาเพื่อแสดงถึงการชำระเพื่อให้พ้นจากความบาป และประกาศตัวเป็นศาสนิกชน
ศาสนาอิสลาม
เชื่อว่าลูกเป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ดังนั้นต้องดูแลเด็กให้เป็นคนดีของสังคมต่อไป
มารดาต้องดูแลบุตรตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่หรืออายุ 21 ปี ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ศาสนาพุทธ
1.จกคอละอ่อน
การที่แม่ช่าง (หมอตำแย) หรือหมอทำคลอดใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด เพื่อล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมาเชื่อว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ เมื่อโตขึ้นเด็กคนนั้นจะป่วยเป็นโรคหืดหอบได้
2.น้ำนม
เชื่อว่า ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา ถ้าเอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดงก็จะหาย
3.เม่า
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วงที่ยังกินนม อาการคือ บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก ทำให้เด็กรู้สึกแสบแล้วร้องไห้
4.รก
ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้ ในสมัยก่อนต้องให้หมอเวทมนตร์มาเสกคาถาสะเดาะเคราะห์ใส่น้ำให้แม่เด็กดื่มเพื่อบังคับรกให้ออก
5.1.2 ประเทศกัมพูชา
สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
เด็กในกัมพูชา
จะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี หลังจากนั้น เด็กจะมีอิสระมากขึ้น เด็กอายุ 5 ขวบจะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้
เริ่มไปโรงเรียนเมื่ออายุ 7-8 ปี
อายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่
เด็กผู้ชายบางคนบวชเป็นสามเณร ในยุคก่อนคอมมิวนิสต์ พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน
ชาวกัมพูชา
ให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม
เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
ศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วยเด็ก
5.1.3 ประเทศจีน
อดีตประเทศจีนจะมีนโยบาย “ลูกคนเดียว (One child policy)” แต่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สามารถมีลูกคนที่สองได้
สำหรับเด็กที่เกิดในประเทศจีน
เมื่อครบสามวันจะมีพิธีล้างวันที่สาม ในวันนี้จะเป็นการอาบน้ำให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอดมีชื่อเรียกว่า “ฉางโซ่วทัง” มีความหมายว่า น้ำอายุมั่นขวัญยืน
พิธีครบเดือนหรือที่ชาวจีนโบราณเรียกว่า “หมีเย่ว์”
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
1.ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ
2.พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ
3.หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ
4.อาจทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ
5.การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์
5.2 การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
การดูแลทำความสะอาดผู้ป่วยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้ โดยไม่ต้องละหมาดชดใช้อีก
ผู้ป่วยที่มีนะญิส (สิ่งสกปรกที่ต้องชำระให้สะอาดตามหลักนิติบัญญัติอิสลาม) เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย
หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้งยังมีการคลอดที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เป็นเพราะความเชื่อ และ
การปฏิบัติที่สืบต่อกันมานาน
หญิงหลังคลอดเผ่าม้งจะมีความเชื่อในการปฏิบัติที่ทำให้มีนํ้านมมาก โดยการเชิญหมอผีทำ พิธีเรียกนํ้านม ซึ่งจะทำคล้ายๆ การบนผีรวมทั้งมีการกินยาสมุนไพรที่มียางสีขาว กินมะละกอต้มใส่ไก่
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ถ้าร่างกายแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค
2.การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรค
5.3การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
1) การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ
เช่น การเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม การเคารพในสัญชาติ และวัฒนธรรม การเข้าใจถึงบุคลิกภาพหรือสิ่งที่ผู้สูงอายุชอบ ให้ความสำคัญของรูปภาพของผู้สูงอายุและครอบครัว
2) การสื่อสาร
ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม อัลไซม์เมอร์
3) สุขภาพและยาที่ใช้
ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่
4) การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ
ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะแขนขาอ่อนแรง
5) ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน
ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบ
6) การดูแลด้านจิตสังคม
ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ
7) การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ
เช่น ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด การไปวัดหรือร่วมนมัสการในบ้านหรือไปโบสถ์