Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CA ovary With UTI With Electrolyte Imbalance - Coggle Diagram
CA ovary With UTI With Electrolyte Imbalance
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยเพศ หญิง อายุ 57 ปี เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
วินัจฉัย : CA ovary With UTI With Electrolyte Imbalance
ความหมาย : มะเร็งรังไข่ ร่วมกับติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ร่วมกับภาวะเสียสมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลต์
อาการสำคัญ : มีอาการอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้ 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล ทานอาหารไม่ได้ อาเจียน อ่อนเพลีย เป็นมะเร็งรังไข่ระยะที่ 3C รักษาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยมีนัดให้เคมีบำบัดแต่มีอาการดังกล่าวจึง Refer มารักษาตามสิทธิ์
พยาธิสภาพของมะเร็งรังไข่
เป็นมะเร็งที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ ทำให้รังไข่มีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเกิดการแพร่กระจาย ซึ่งมักกระจายตามเยื่อบุช่องท้องหรือเข้าสู่กระแสเลือด ทางเดินน้ำเหลือง จนไปปรากฎที่ส่วนต่างๆของร่างกาย เรียกมะเร็งรังไข่ระยะนี้ว่า Metastasis
ข้อวินิจฉัย
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ข้อมูลสนับสนุน
O = ชอบกินน้ำชามะนาว
O = DTX 289
O = ปัสสาวะบ่อย
S = ชาปลายมือปลายเท้า
S= ผู้ป่วยบอกว่าหิวน้ำบ่อย
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เกณฑ์การประเมิน
กินอาหารตรงเวลา ไม่กินจุบจิบ
สามารถเลือกรับประทานได้เหมาะสมกับโรค
ไม่มีภาวะ Hyperglycemia
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตรงตามเวลาในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
สังเกตอาการของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาลดระดับระดับน้ำตาลในเลือดและฉีดยาอินสุลินตามแผนการรักษา
ติดตามผลเลือดเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยตระหนักถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนาน ๆ
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีและย้ำให้ผู้ป่วยและญาติตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้ถูกต้องและการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอันตรายจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
การประเมินผล
ผู้ป่วยพยายามงดรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรือหวานจัด ไม่มีอาการของ Hyperglycemia
มีความวิตกกังวลเนื่องจากญาติไม่สามารถยอมรับภาวะการเจ็บป่วยได้อย่างเหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
O : มีสีหน้าวิตกกังวล
S : ไม่อยากให้ลูกรับรู้อาการเจ็บป่วยของตนเอง
S : ผู้ป่วยบอกว่าลูกชายโทรมาร้องไห้ทุกวัน
O : อยู่กับลูกจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วย
S : ผู้ป่วยบอกกลัวลูกเครียดกับอาการเจ็บป่วยของตนเอง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยเเละญาติมีการปรับตัวและยอมรับภาวะเจ็บป่วยได้อย่างเหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน
มีสีหน้ายิ้มเเย้มแจ่มใส
กล้าเล่าเรื่องของความเจ็บป่วยให้ลูกชายฟัง
ผู้ป่วยและญาติสามารถยอมรับเเละปรับตัวได้
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยเเละครอบครัว
สังเกตุสีหน้าท่าทางผู้ป่วยขณะซักถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการเพิ่มเติมจากญาติ
พูดคุยกับผู้ป่วยและแนะนำให้ผู้ป่วยพูดคุยหรือกล้าเล่าเรื่องของการเจ็บป่วยให้ญาติฟังได้
คุยกับญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับการโทรมาร้องไห้กับผู้ป่วยเพราะอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจ
แนะนำให้ญาติมาเยี่ยมและให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการพูดคุยที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล
มีภาวะ Electrolyte Imbalance เนื่องจากอาเจียนมากกว่า3ครั้งต่อวัน
ข้อมูลสนับสนุน
S = อาเจียน 3 ครั้ง
s= อ่อนเพลีย
O = 131 mmol/L
O = แมกนีเซียม 1.35 ต่ำ
เกณฑ์การประเมิน
Na = 136-146 mmol/L
Mg = 1.9-2.5
ไม่มีอาการอ่อนเพลีย
ไม่มีอาการอาเจียน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของการขาดน้ำอาการ และอาการคลื่นไส้อาเจียน
2.ประเมิน Vital signs และอาการขาดน้ำเช่น ปากแห้ง
3.ดูแลให้ได้รับสารน้ำทดแทน 0.9% Nacl 1000 ml IV 120 ml/hr
4.ดูแลให้ได้รับยา ondansetron 4 mg v prn. ทุก 8 hr.แก้คลื่นไส้อาเจียน
5.บันทึกสารน้ำเข้าออก
6.ติดตามผลแลป
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผลการตรวจแลป อิเล็กโทรไลต์ปกติ และสัญญาณชีพปกติ
เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกายเนื่องจากกลืนลำบาก
ข้อมูลสนับสนุน
S-ผู้ป่วยบอกเบื่ออาหารโรงพยาบาล
O=รูปร่างผอม
o= น้ำหนัก 38 ส่วนสูง 164 BMI=14.46 ต่ำ
S-ผู้ป่วยบอกกลืนยาก กลืนไม่ลง
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
ความเบื่ออาหารลดลง
-รับประทานได้มากขึ้น
-มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลความสะอาดของปาก
2.ช่วยจับให้นั่งรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการสำลัก
3.อาหารควรมีลักษณะ soft diet ตามแผนการรักษาของแพทย์
4.ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารน้อยแต่บ่อยครั้ง เนื่องจากผู้ป่วยกลืนยาก ไม่สามารถกินได้ในมื้อเดียว
5.รับประทานอาหารขณะอุ่นๆ
6.ถ้าเบื่ออาหารโรงพยาบาลแนะนำให้ญาตินำอาหารมาเอง ที่ไม่ขัดกับโรค
7.ประเมินน้ำหนักผู้ป่วยอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง
8.ติดตามผการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การประเมินผล
ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย รับประทานอาหารได้มากขึ้น เบื่ออาหารลด น้ำหนักเพิ่มขึ้น และค่าแลปปกติ
สาเหตุ
อายุมากจะเสี่ยงต่อการเกิดมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี
มีประจำเดือนครั้งเเรกเร็ว และหมดประจำเดือนช้า
I. กรรมพันธุ์
ฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิด ได้แก่ การใช้ยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ
การรักษา
รังสีรักษา
ใช้เพื่อบรรเทาอาการ (อาการจากก้อนมะเร็ง)
ยาเคมีบำบัด
Adjuvant chemotherapy เป็นการให้ยาเคมีบำบัดภายหลังการผ่าตัด
Neoadjuvant chemotherapy เป็นการให้ก่อนการผ่าตัด
Salvage chemotherapy เป็นการให้ยาเคมีบำบัดเมื่อมีการกลับมาเป็นซ้ำ
การผ่าตัด
โดยการทำผ่าตัด Completed surgery มักทำในทุกอายุและทุกระยะของโรค เพื่อเลาะเอาเซลล์มะเร็งออกให้เหลือน้อยที่สุด