Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
ประเทศไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง
ครอบครัวที่เลี้ยงดูเด็กจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเจ็บป่วยของเด็กเป็นอันดับแรก รองลงมาอาจเป็นครู หรือเพื่อน
ความเชื่อเกี่ยวกับเด็กหรือลูกของแต่ละศาสนาจะแตกต่างกันไป
ศาสนาอิสลาม
เชื่อว่าลูกเป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า
มารดาต้องดูแลบุตรตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่หรืออายุ 21 ปี ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ศาสนาคริสต์
เด็กเป็นของขวัญจากพระเจ้า ต้องดูแลให้เติบโตในทางที่ดี เมื่อเด็กเกิดมาต้องเข้าพิธีบัติศมาเพื่อแสดงถึงการชำระเพื่อให้พ้นจากความบาป และประกาศตัวเป็นศาสนิกชน
ศาสนาพุทธ
ความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลเด็กก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมแต่ละภูมิภาค
การดูแลเด็กของคนไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะคล้ายคลึงกับประชากรในประเทศลาว
จะมีการรักษาความเจ็บป่วยจากอำนาจเหนือธรรมชาติ
มีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
การสะเดาะห์เคราะห์
การบูชาบวงสรวง
การผูกข้อมือเรียกขวัญ
มีการรักษาตามอาการจากแพทย์พื้นบ้าน มีการใช้สมุนไพร การประคบน้ำมัน รวมไปถึงการรักษาแบบผสมผสาน มีการรักษาตามอาการจากแพทย์พื้นบ้าน มีการใช้สมุนไพร การประคบน้ำมัน รวมไปถึงการรักษาแบบผสมผสาน
ตัวอย่าง ความเชื่อในการดูแลเด็ก
จกคอละอ่อน
การที่แม่ช่าง (หมอตำแย) หรือหมอทำคลอดใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด
น้ำนม
ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา ถ้าเอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง ก็จะหาย
เม่า
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วงที่ยังกินนม
อาการคือ บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก ทำให้เด็กรู้สึกแสบแล้วร้องไห้
นำกรวยไปเสียบไว้ข้างฝาหรือหลังคาเรือน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน ทำแบบนั้นจนกว่าเด็กจะหาย
รก
ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้
ในสมัยก่อนต้องให้หมอเวทมนตร์มาเสกคาถาสะเดาะเคราะห์ใส่น้ำให้แม่เด็กดื่มเพื่อบังคับรกให้ออก
ประเทศกัมพูชา
การเกิดของเด็กเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในครอบครัว การเกิดถือว่าเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก
ชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม
เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
ช่วงอายุ
เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มไปโรงเรียนเมื่ออายุ 7-8 ปี
เมื่ออายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่ วัยรุ่นมักจะจับกลุ่มในเพศเดียวกัน
เด็กอายุ 5 ขวบจะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้
เด็กในกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี หลังจากนั้น เด็กจะมีอิสระมากขึ้น
ชาวกัมพูชาถือว่าศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วยเด็ก
ประเทศจีน
สำหรับเด็กที่เกิดในประเทศจีน เมื่อครบสามวันจะมีพิธีล้างวันที่สาม ในวันนี้จะเป็นการอาบน้ำให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอด
น้ำที่ใช้อาบมีชื่อเรียกว่า “ฉางโซ่วทัง”
มีความหมายว่า น้ำอายุมั่นขวัญยืน
นิยมใส่ต้นหอมหรือนำเศษเหรียญใส่ลงในน้ำ เพราะต้นหอมหรือชงในภาษาจีนพ้องเสียงกับคำว่า “ชงหมิง” ที่แปลว่า ฉลาดหลักแหลม
หญิงที่มีบุตรยากจะถือโอกาสในวันนี้ แย่งกันเอาน้ำที่ได้หลังจากการอาบให้เด็กมาอาบตัว เชื่อว่าจะช่วยให้สามารถมีบุตรได้
ต้องพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกภาชนะ น้ำ
พิธีครบเดือนหรือที่ชาวจีนโบราณเรียกว่า “หมีเย่ว์”
ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด
ประกอบไปด้วยการโกนผมไฟ การจัดเลี้ยงในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย และการตั้งชื่อให้เด็ก ในงานเลี้ยงจะมีการจุดประทัดรื่นเริง
เส้นผมที่โกนทิ้งจะไม่โยนทิ้ง แต่จะเก็บรวมกันและนำมาสานเป็นแผ่น แล้วจึงนำไปวางไว้หัวเตียงเด็กหรือเย็บติดกับเสื้อเด็ก เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและคุ้มครองให้แคล้วคลาดภยันตรายใดๆ
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
อาจทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 20-25 ปี หรืออาจเร็วกว่านั้น หากวัยรุ่นแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยก็ก้าวเข้าสู้ความเป็นผู้ใหญ่เลย
วัยผู้ใหญ่คือวัยที่รับผิดชอบการดำเนินชีวิตของตน โดยนำประสบการณ์ต่าง ๆที่ได้สะสมมาตั้งแต่วัยเด็กมาใช้ในการปรับตัวและแก้ปัญหาชีวิต
ผู้ที่ปรับตัวได้ดีในวัยผู้ใหญ่ คือ ผู้ที่ได้ผ่านพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยต่าง ๆมาตั้งแต่เด็กจนวัยรุ่น
มีวุฒิภาวะ คือ ความสมบูรณ์ของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา สามารถเผชิญชีวิตและอุปสรรค์ต่าง ๆ ทั้งยามปกติและยามคับขัน มีความรับผิดชอบ กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลตามทำนองคลองธรรม
วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
.วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว อายุ 20-25 ปีถึง 40 ปี
วัยนี้มีพัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์
บทบาทที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพ คู่ครอง และความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ อย่างมีความหมาย
.วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 40 ปีถึง 60-65 ปี
เป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต
วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ อายุ 60-65 ปีขึ้นไป
เป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม
การปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ตัวชี้วัดด้านคุณภาพชีวิตที่สำคัญ คือ การมีสุขภาพดีที่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นศาสนกิจภาคบังคับ
ศาสนกิจที่สอดคล้องกับเดือนในปฏิทินฮิจเราะห์ศักราช ซึ่งจะมีจำนวนวันน้อยกว่า ปฏิทินตามพุทธศักราช(จันทรคติ)
ศาสนกิจที่สำคัญของชาวมุสลิม
การละหมาดวันละ 5 เวลา
การถือศีลอด
การทำฮัจญ์
การดูแลผู้ป่วยที่ทำการละหมาดเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการดูแลทำความสะอาดผู้ป่วยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้
ผู้ป่วยที่มีนะญิส ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะขจัดนะญิสเหล่านั้นได้ เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำ ให้ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำ ให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย
หญิงตั้งครรภ์ก็จะถูกแนะนำ ให้กินแกงผักพื้นบ้าน ชื่อผักปรัง ซึ่งมีลักษณะลื่นๆ เพื่อจะทำ ให้ลูกคลอดไม่ลำบาก
หญิงตั้งครรภ์ยังมีข้อพึงปฏิบัติตามความเชื่อคือ ให้นำ หัวปลาไหลแห้ง ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่อาบนํ้าทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด โดยมีความเชื่อว่าจะทำ ให้คลอดง่าย
เมื่อท้องแก่ใกล้คลอดให้เอานํ้ามันละหุง่ มาถูทาหน้าท้อง โดยเชื่อว่าลูกเกิดมาจะได้ตัวสะอาด ไม่มีไข คลอดง่าย
การปฏิบัติตัวหลังคลอดหลังจากคลอดบุตร
แม่เด็กจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องให้แน่นเพื่อไม่ให้ท้องโต
อาหารที่รับประทานก็จะเป็นพวกไก่ ไข่ ซึ่งจะรับประทานประมาณ 30 วัน
หญิงหลังคลอดทุกคนจะอยู่ไฟประมาณ 1 เดือน
พิธีบนผีหรือทำ ผีเพื่อให้คุ้มครองเด็กก่อนที่จะพาเด็กออกจากบ้านหรือเดินทางไปไหนไกลๆ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ถ้าร่างกายแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
สมุนไพรบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อยารักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน และสมุนไพรบางชนิดก็อาจถูกอาหารบางชนิดรบกวนการออกฤทธิ์
อาการข้างคียง
ปวดศีรษะ
เบื่ออาหาร
เพิ่มความดันเลือด
ใจสั่น
กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
แนวทางการดูแลผู้ใช้บริการกลุ่มนี้มีวิธีการปฏิบัติ
ศึกษาวัฒนธรรมของชาวจีนในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการกลุ่มนี้
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการชาวจีนด้วยภาษาจีนง่ายๆ หรือตามความสนใจ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว
เลือกใช้วิธีการพยาบาลบนพื้นฐานของการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลไปกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆเพื่อให้การดูแลที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม
การคงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ
การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care accommodation or negotiation)
การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม่ (Culture care repatterning or restructuring)
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุในแถบประเทศตะวันตกค่อนข้างจะให้ความสำคัญของการคำนึงถึงความเป็นบุคคลและการมีอิสระในการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้มากที่สุด
ผู้สูงอายุในแถบตะวันออกมักจะมีความต้องการพึ่งพาลูกหลานและครอบครัวมากกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังต้องการความเคารพในการเป็นผู้สูงวัยหรือผู้นำในครอบครัว
ความคล้ายคลึงกันในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุทั่วๆไปคือ ความสามารถในทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม โครงสร้างทางสังคม การมีส่วนร่วมในสังคมและคุณค่าในสังคม
ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้สูงอายุ
การคัดเลือกบุคลากรที่จะมาดูแลผู้สูงอายุที่มีภูมิหลังหรือวัฒนธรรม
ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ
การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ
การสื่อสาร ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้
ใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม อัลไซม์เมอร์
ผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านสายตาและการมองเห็นที่ลดน้อยลง จึงควรมองตรงๆ ที่ใบหน้าและการใช้สายตาเพื่อให้การสื่อการง่ายขึ้น
ใช้เสียงดังให้เหมาะสมกับความสามารถในการได้ยินด้วยและความสุภาพ
ไม่ควรให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกว่าถูกละเลยเนื่องจากไม่สามารถสื่อสารได้ ความสามารถในการสื่อสารกับผู้สูงอายุจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความไว้วางใจได้ดี
สุขภาพและยาที่ใช้ ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่
การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะแขนขาอ่อนแรง ควรจัดสถานที่ให้ปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม
ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบ
การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ
การจัดกิจกรรมในบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุมีความสำคัญที่จะเสริมสร้างคุณค่าของชีวิต
มีกิจกรรมในสังคมร่วมกัน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุได้ดี
การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ
เช่น ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด การไปวัดหรือร่วมนมัสการในบ้านหรือไปโบสถ์