Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
ประเทศกัมพูชา
วัยรุ่นมักจะจับกลุ่มในเพศเดียวกัน เด็กผู้ชายบางคนบวชเป็นสามเณร
ในยุคก่อนคอมมิวนิสต์ พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน
เด็กในกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดู
เด็กอายุ 5 ขวบจะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้
อายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่ วัยรุ่นมักจะจับกลุ่มในเพศเดียวกัน เด็กผู้ชายบางคนบวชเป็นสามเณร ในยุคก่อนคอมมิวนิสต์ พ่อแม่มีอำนา
อายุประมาณ 2-4 ปี เด็กจะมีอิสระมากขึ้น
ชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม
ชาวกัมพูชาถือว่าศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วยเด็ก
เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
ถ้าบุคลากรทางการสุขภาพไปแตะศีรษะหรือผมเด็ก และถ้าเด็กป่วย จะโดนโทษว่าเป็นคนที่ทำให้เด็กป่วย
การเกิดเป็นสิ่งที่ภูมิใจในครอบครัว และเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก
ประเทศจีน
พิธีครบเดือนหรือที่ชาวจีนโบราณเรียกว่า “หมีเย่ว์” ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุด
ในกรณีที่สมาชิกใหม่เป็นเด็กคนแรกในครอบครัวหรือเป็นเด็กที่เกิดเมื่อพ่อแม่อายุมาก หลังจากผู้โกนผมจุดธูปเสร็จก็จะเริ่มโกนผมพร้อมการจุดประทัด โดยอาของเด็กจะอุ้มเด็กให้นั่งตัวตรง จากนั้นผู้ที่รับหน้าที่โกนผมจะเอาใบชาที่อมจนเปื่อยในปากชโลมลงบนศีรษะเด็ก
ด้วยเชื่อว่าใบชาเขียวจะช่วยฆ่าเชื้อโรคบนศีรษะทารกและลบรอยแผลเป็น นอกจากนี้ยังทำให้ผมขึ้นอย่างดกดำ
ในบรรดาพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ประกอบไปด้วยการโกนผมไฟ การจัดเลี้ยงในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย และการตั้งชื่อให้เด็ก
โกนอย่างระมัดระวัง พยายามไม่ให้เกิดการเลือดไหล จะไม่โกนผมทั้งหมด แต่จะเหลือเป็นรูปสี่เหลี่ยมบริเวณโคนหน้าผาก และตรงบริเวณท้ายทอยจะเหลือผมไว้หนึ่งปอย เส้นผมที่โกนทิ้งจะไม่โยนทิ้ง แต่จะเก็บรวมกันและนำมาสานเป็นแผ่น แล้วจึงนำไปวางไว้หัวเตียงเด็กหรือเย็บติดกับเสื้อเด็ก เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและคุ้มครองให้แคล้วคลาดภยันตรายใดๆ
สำหรับเด็กที่เกิดในประเทศจีน เมื่อครบสามวันจะมีพิธีล้างวันที่สาม
ชาวจีนบางกลุ่มที่นิยมใส่ต้นหอมหรือนำเศษเหรียญใส่ลงในน้ำ เพราะต้นหอมหรือชงในภาษาจีนพ้องเสียงกับคำว่า “ชงหมิง” ที่แปลว่า ฉลาดหลักแหลม ส่วนเงินหมายความว่าพรั่งพร้อมไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง
ชาวปักกิ่งในสมัยราชวงศ์ชิงจะนำสมุนไพรจีนใส่ลงในน้ำ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อและอนามัยต่อสุขภาพของเด็ก
ต้องพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกภาชนะ น้ำ รวมถึงผู้ประกอบพิธี น้ำที่ใช้อาบมีชื่อเรียกว่า “ฉางโซ่วทัง” มีความหมายว่า น้ำอายุมั่นขวัญยืน
เป็นการอาบน้ำให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอด
ผู้ประกอบพิธีมักเป็นหญิงวัยกลางคนหรือหญิงชราที่มีครอบครัวแล้ว นอกจากนั้น หญิงที่มีบุตรยากจะถือโอกาสในวันนี้ แย่งกันเอาน้ำที่ได้หลังจากการอาบให้เด็กมาอาบตัว เชื่อว่าจะช่วยให้สามารถมีบุตรได้
ในอดีตประเทศจีนจะมีนโยบาย “ลูกคนเดียว (One child policy)” แต่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สามารถมีลูกคนที่สองได้
ประเทศไทย
ความเชื่อในการดูแลเด็กของคนไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะคล้ายคลึงกับประชาชนในประเทศลาว
การรักษาแบบผสมผสาน
การใช้น้ำมนต์
การผูกข้อมือ
การรักษาจากอำนาจเหนือธรรมชาติหรือรักษาตามอาการจากแพทย์พื้นบ้านร่วมกับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบัน
การรักษาความเจ็บป่วยจากอำนาจเหนือธรรมชาติในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
การผูกข้อมือเรียกขวัญ
การบูชาบวงสรวง
การสะเดาะห์เคราะห์
ในยุคสมัยใหม่หากเด็กมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะซื้อยาให้รับประทานเอง แต่ถ้ามีอาการรุนแรงหรือเจ็บป่วยเรื้อรังจะไปใช้บริการจากโรงพยาบาล
ในสมัยโบราณจะมีพิธีการสู่ขวัญเด็กเมื่ออายุครบ 1 เดือนและมีการโกนผมไฟ
เพราะเชื่อว่าจะทำ ให้เด็กที่มีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่าย
นอกจากพิธีโกนผมแล้วก็จะมีพิธีที่มักกระทำ เมื่อเด็กไม่สบายหรืองอแงก็จะให้ผู้ใหญ่ผูกข้อมือให้
ความเชื่อเกี่ยวกับเด็กหรือลูกของแต่ละศาสนาจะแตกต่างกันไป
ศาสนาอิสลามเชื่อว่าลูกเป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์
ต้องดูแลเด็กให้เป็นคนดีของสังคมต่อไป
มารดาต้องดูแลบุตรตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่หรืออายุ21ปีทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ
ศาสนาคริสต์เชื่อว่าเด็กเป็นของขวัญจากพระเจ้า
ปฎิเสธการรับเลือดจากผู้อื่น
เด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลือกศาสนาของเด็กนั้นยังมิใช่การตัดสินใจของเด็กเต็มที่
ความเชื่อในการดูแลเด็ก
น้ำนม
ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา
เอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง ก็จะหาย
เม่า
บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก
พ่อแม่เด็กจะทำกรวยดอกไม้ จากนั้นจะนำกรวยไปเสียบไว้ข้างฝาหรือหลังคาเรือน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวันจึงนำกรวยดอกไม้นั้นมาทำพิธีเสกเป่าอีกครั้งหนึ่ง และทำอย่างนี้ทุก ๆ วัน จนกว่าเด็กจะหาย
จกคอละอ่อน
หมอทำคลอดใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด
เมื่อโตขึ้นเด็กคนนั้นจะป่วยเป็นโรคหืดหอบได้
รก
ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตาย
ในสมัยก่อนต้องให้หมอเวทมนตร์มาเสกคาถาสะเดาะเคราะห์ใส่น้ำให้แม่เด็กดื่มเพื่อบังคับรกให้ออก
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ปกครอง ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้างโดยเฉพาะผู้ปกครอง
การบอกกล่าวของบิดามารดา
คำสั่งสอนของปุ่ย่าตายาย
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
อาจทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาพม่า ภาษามลายู ภาษาเขมร เป็นต้น
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์ ตั้งแต่การประเมินปัญหาของผู้ป่วย วินิจฉัย วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ศาสนกิจที่สำคัญของชาวมุสลิม ได้แก่ การละหมาดวันละ 5 เวลาการถือศีลอด การทำฮัจญ์ เป็นต้น
การดูแลทำความสะอาดผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้ โดยไม่ต้องละหมาดชดใช้
ผู้ป่วยที่มีนะญิส (สิ่งสกปรกที่ต้องชำระให้สะอาดตามหลักนิติบัญญัติอิสลาม) ติดตัวอยู่ตลอดเวลา
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถปกปิดเอาเราะฮฺ์ (ส่วนที่ละอายของร่างกายที่บทบัญญัติอิสลามได้กำหนดให้มุสลิมต้องปกปิด) เช่น มีบาดแผล แผลไฟไหม้ ถูกแมลงกัดต่อย และแผลอักเสบ เป็นต้น อาจเนื่องจากผู้ป่วยจะรู้สึกปวดมากขึ้น หรือเป็นอุปสรรคมาก เมื่อสวมใส่เสื้อผ้า เขาสามารถละหมาดได้โดยไม่ต้องปกปิดเอาเราะฮ์
ทุกครั้งก่อนที่จะละหมาดผู้ป่วยตราบใดที่ยังมีสติ ครบเงื่อนไขที่จำเป็นต้องละหมาดและไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่ไม่สามารถทำการละหมาดได้ จำเป็นที่จะต้องทำการละหมาดตามความสามารถของเขา ภายใต้การผ่อนปรนตามหลักการของศาสนา
เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์ และการอาบน้ำละหมาดของเขานั้นไม่เสีย แต่เขาจะต้องอาบน้ำละหมาดหรือตะยัมมุม
ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงที่มิได้หันไปทางกิบลัต ไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขา หรือการเปลี่ยนทิศทาง ทำให้เขาได้รับความเจ็บปวดมาก หรือทำให้อาการของโรคทรุดหนักลง หรือ ด้วยเหตุสุดวิสัยอื่นๆเขาสามารถละหมาดโดยไม่ต้องหันหน้าสู่กิบลัตได้
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
การมีสุขภาพดีที่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นศาสนกิจภาคบังคับ และเพิ่มเติมอื่นๆ
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
หญิงหลังคลอดจะอาบนํ้าต้มตลอดช่วงที่อยู่ไฟ เพราะมีความเชื่อว่าการอยู่ไฟจะทำ ให้สุขภาพแม่ดี แข็งแรง และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว เมื่ออยู่ไฟครบจะทำ พิธีบนผีหรือทำ ผีเพื่อให้คุ้มครองเด็กก่อนที่จะพาเด็กออกจากบ้านหรือเดินทางไปไหนไกลๆ
หญิงหลังคลอดเผ่าม้งจะมีความเชื่อในการปฏิบัติที่ทำให้มีนํ้านมมาก โดยการเชิญหมอผีทำ พิธีเรียกนํ้านม ซึ่งจะทำคล้ายๆ การบนผี รวมทั้งมีการกินยาสมุนไพรที่มียางสีขาว กินมะละกอต้มใส่ไก่ ส่วนอาหารอื่นๆ จะกินน้อยมาก แต่ก็มีแม่หลายคนที่กินแป้งข้าวหมัก ซึ่งมีแอลกอฮอล์และอาจมีผลเสียต่อลูกได้
หญิงตั้งครรภ์ยังมีข้อพึงปฏิบัติตามความเชื่อคือ ให้นำ หัวปลาไหลแห้ง ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่อาบนํ้าทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด โดยมีความเชื่อว่าจะทำ ให้คลอดง่าย เมื่อท้องแก่ใกล้คลอดให้เอานํ้ามันละหุง่ มาถูทาหน้าท้อง โดยเชื่อว่าลูกเกิดมาจะได้ตัวสะอาด ไม่มีไข คลอดง่าย
หญิงตั้งครรภ์ก็จะถูกแนะนำ ให้กินแกงผักพื้นบ้าน ชื่อผักปรัง ซึ่งมีลักษณะลื่นๆ เพื่อจะทำ ให้ลูกคลอดไม่ลำบาก
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำ ให้ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำ ให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย
วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 40 ปีถึง 60-65 ปี
เป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง
มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต
วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ อายุ 60-65 ปีขึ้นไป
เป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม
การปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว อายุ 20-25 ปีถึง 40 ปี
มีพัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์
พร้อมที่จะมีบทบาทที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพ คู่ครอง และความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ อย่างมีความหมาย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture) การขูดผิวหนังด้วยวัตถุใดๆ (เชื่อว่า จะขับสารพิษที่ก่อโรคออกจากร่างกายผ่านทางผิวหนัง) การนวด เป็นต้น
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน สมุนไพรบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อยารักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน และสมุนไพรบางชนิดก็อาจถูกอาหารบางชนิดรบกวนการออกฤทธิ์ ตัวอย่างเช่น โสมจีน
ถ้าร่างกายแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค (Preventive screening) เช่น ตรวจร่างกายประจาปี อาทิ ตรวจดูเลือดและเอ็กเรย์ปอด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยและผู้ใช้บริการชาวจีนจำเป็นต้องใช้กรอบแนวคิดของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม(Trans-cultural nursing theory)
การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care accommodation or negotiation) เช่น ชาวจีนจะให้หญิงหลังคลอด รับประทานไก่ผัดขิงผสมสุรา เพื่อบำรุงร่างกายของมารดา
การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม่ (Culture care repatterning or restructuring) เช่น หญิงหลังคลอดให้ดื่มน้ำน้อยแต่ให้กินน้ำซุปเป็นหลัก กินอาหารรสร้อน เช่น ขิง กระเทียม โสม แครอท เห็ด เห็ดแห้ง หมู เป็ด ไก่ ไวท์ น้ามันงา พุทราจีน ให้ดื่มสุราวันละ 3 ครั้ง เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี
การคงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care preservation or maintenance) เช่น ชาวจีนจะให้หญิงหลังคลอด รับประทานไก่ผัดขิงโดยชาวจีนมีความเชื่อว่า ขิงช่วยขับลม บำรุงกระเพาะ ป้องกันโรคและมีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุขึ้นกับ คุณค่า ความเชื่อ ของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความแตกต่างกัน
ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาในด้านกายภาพทั่วๆไป ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ
การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะแขนขาอ่อนแรง ควรจัดสถานที่ให้ปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นติดราวที่ฝาผนัง ในห้องน้ำ
ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบเช่น รสจืด ไม่เผ็ด รสหวาน ให้รับประทานผลไม้ ไอศกรีม ขนม และ อาหารเสริม ควรระวังเรื่องการสำลัก เนื่องจากผู้สูงอายุมักสำลักง่าย และอาจเกิดภาวะปอดบวมจากากรสำลักได้
สุขภาพและยาที่ใช้ ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่ เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ผู้สูงอายุอาจเป็นลมจากน้ำตาลต่ำหรือสูงเกินจึงควรรู้จักยาที่ผู้สูงอายุใช้อยู่ เช่น ยาเบาหวาน ยาลดความดัน
การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ เช่น การเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อที่ผู้สูงอายุมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง
การสื่อสาร ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม อัลไซม์เมอร์
การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ เช่น ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด การไปวัดหรือร่วมนมัสการในบ้านหรือไปโบสถ์
การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ เช่น การเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม การเคารพในสัญชาติ ภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม การเข้าใจถึงบุคลิกภาพหรือสิ่งที่ผู้สูงอายุชอบ เช่น เสื้อผ้า การแต่งกาย เครื่องประดับ รองเท้า ให้ความสำคัญของรูปภาพของผู้สูงอายุและครอบครัว