Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5 การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
บทที่5 การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
ประเทศไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง
ความเชื่อเกี่ยวกับเด็กหรือลูกของแต่ละศาสนาจะแตกต่างกัน
ศาสนาอิสลามเชื่อว่าลูกเป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ต้องดูแลเด็กให้เป็นคนดีของสังคม
ศาสนาคริสต์เชื่อว่าเด็กเป็นของขวัญจากพระเจ้า ต้องดูแลให้เติบโตในทางที่ดี เมื่อเด็กเกิดมาต้องเข้าพิธีบัติศมาเพื่อแสดงถึงการชำระเพื่อให้พ้นจากความบาป และประกาศตัวเป็นศาสนิกชน
ความเชื่อในการดูแลเด็กของคนไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะคล้ายคลึงกับประชากรในประเทศลาว
จะมีการรักษาความเจ็บป่วยจากอำนาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ การประกอบพิธีกรรมต่างๆ
การสะเดาะห์เคราะห์
การบูชาบวงสรวง เพื่อให้เกิดความหวังและกำลังใจในรายที่การเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่ได้
น้ำนม
ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา ถ้าเอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง ก็จะหาย
เม่า
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วงที่ยังกินนม บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก ทำให้เด็กรู้สึกแสบแล้วร้องไห้
พ่อแม่เด็กจะทำกรวยดอกไม้ แล้วจะนำกรวยไปเสียบไว้ข้างฝาหรือหลังคาเรือน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวันจึงนำกรวยดอกไม้นั้นมาทำพิธีเสกเป่าอีกครั้งหนึ่ง และทำแบบนี้ทุก ๆ วัน จนกว่าเด็กจะหาย
จกคอละอ่อน
การที่แม่ช่าง (หมอตำแย) หรือหมอทำคลอดใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด เพื่อล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมาเชื่อว่าถ้าไม่ทำ เมื่อโตขึ้นเด็กคนนั้นจะป่วยเป็นโรคหืดหอบได้
รก
ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้
การผูกข้อมือเรียกขวัญ
ประเทศกัมพูชา
สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
เด็กในกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี หลังจากนั้น เด็กจะมีอิสระมากขึ้น
เด็กอายุ 5 ขวบจะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้
เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มไปโรงเรียนเมื่ออายุ 7-8 ปี
เมื่ออายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่
วัยรุ่นมักจะจับกลุ่มในเพศเดียวกัน เด็กผู้ชายบางคนบวชเป็นสามเณร
ยุคก่อนคอมมิวนิสต์ พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน การติดต่อระหว่างกลุ่มชนต่างอายุกัน จะต้องเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสม
ชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม
เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
ชาวกัมพูชาถือว่าศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วยเด็ก
ประเทศจีน
ในอดีตประเทศจีนจะมีนโยบาย ลูกคนเดียว (One child policy)
ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สามารถมีลูกคนที่สองได้ เพื่อมุ่งหวังแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างประชากรจีนในระยะยาว
วัฒนธรรมจีนชื่นชอบลูกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ในอดีตความต้องการมีลูกชายไว้สืบสกุลเพราะมีลูกได้เพียงคนเดียว ทำให้มีข่าวการทำแท้งหรือฆ่าทารกเพศหญิง
เด็กที่เกิดในประเทศจีน เมื่อครบสามวันจะมีพิธีล้างวันที่สาม
เป็นการอาบน้ำให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอด จึงต้องพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกภาชนะ น้ำ รวมถึงผู้ประกอบพิธี น้ำที่ใช้อาบมีชื่อเรียกว่า “ฉางโซ่วทัง” มีความหมายว่า น้ำอายุมั่นขวัญยืน สำหรับส่วนผสมของน้ำจะแตกต่างกันตามความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น
พิธีครบเดือนหรือที่ชาวจีนโบราณเรียกว่า “หมีเย่ว์”
เป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด
การจัดเลี้ยงในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย
การตั้งชื่อให้เด็ก
การโกนผมไฟ
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้ โดยไม่ต้องละหมาด
ผู้ป่วยที่มีนะญิส (สิ่งสกปรกที่ต้องชำระให้สะอาดตามหลักนิติบัญญัติอิสลาม) ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะขจัดนะญิสเหล่านั้นได้ เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
จะถูกแนะนำ ให้กินแกงผักพื้นบ้าน ชื่อผักปรัง ซึ่งมีลักษณะลื่นๆ เพื่อจะทำ ให้ลูกคลอดไม่ลำบาก
หญิงตั้งครรภ์ยังมีข้อพึงปฏิบัติตามความเชื่อคือ ให้นำ หัวปลาไหลแห้ง ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่อาบนํ้าทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด โดยมีความเชื่อว่าจะทำ ให้คลอดง่าย
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำ ให้ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำ ให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย
หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้งยังมีการคลอดที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ เป็นเพราะความเชื่อ และ
การปฏิบัติที่สืบต่อกันมานาน
การปฏิบัติตัวหลังคลอดหลังจากคลอดบุตรแล้วแม่เด็กจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องให้แน่นเพื่อไม่ให้ท้องโต
อาหารที่รับประทานก็จะเป็นพวกไก่ ไข่ ซึ่งจะรับประทานประมาณ 30 วัน ไข่ที่รับประทานจะมีการผสมพริกไทยเพราะเชื่อว่าเป็นยาบำรุงร่างกายช่วยขับนํ้าคาวปลา และเลือดที่ค้างในร่างกาย
หญิงหลังคลอดทุกคนจะอยู่ไฟประมาณ 1 เดือน โดยการก่อกองไฟไว้ข้างที่นอนตลอดเวลา หญิงหลังคลอดจะอาบนํ้าต้มตลอดช่วงที่อยู่ไฟ เพราะมีความเชื่อว่าการอยู่ไฟจะทำ ให้สุขภาพแม่ดี แข็งแรง และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
หญิงหลังคลอดเผ่าม้งจะมีความเชื่อในการปฏิบัติที่ทำให้มีนํ้านมมาก โดยการเชิญหมอผีทำ พิธีเรียกนํ้านม ซึ่งจะทำคล้ายๆ การบนผี รวมทั้งมีการกินยาสมุนไพรที่มียางสีขาว กินมะละกอต้มใส่ไก่
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการกลุ่มนี้
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน
ถ้าร่างกายแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค (Preventive screening)
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
ถ้าสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
ทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์ ตั้งแต่การประเมินปัญหาของผู้ป่วย วินิจฉัย วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ
การสื่อสาร
การเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม การเคารพในสัญชาติ ภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
มีความแตกต่างกัน
จะให้ความสำคัญของการคำนึงถึงความเป็นบุคคลและการมีอิสระในการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้มากที่สุด
สุขภาพและยาที่ใช้
ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้
ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุขึ้นกับ คุณค่า ความเชื่อ ของผู้สูงอายุ
การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของผู้สูงอายุ
ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบ
การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ
การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ