Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4.3 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ - Coggle Diagram
บทที่4.3
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
4.3.1 หลักการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1.การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย(Peripheralintravenousinfusion)เป็นการให้
สารน้ำหรือของเหลวทางหลอดเลือดดาที่อยู่ในชั้นตื้นๆ ของผิวหนังหรือหลอดเลือดดำที่อยู่ในส่วนปลายของแขนและขา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องงดอาหารและน้ำดื่ม เพื่อเตรียมผ่าตัด
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำใหญ่ (Central venous therapy) เป็นการ ให้สารน้ำหรือของเหลวทาง Central line ทางหลอดเลือดดำใหญ่ ๆ
การให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านอุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง (Implanted vascular access device หรือ venous port) เป็นการฝังอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำไว้ใต้ผิวหนัง โดยที่ปลายสายสอดผ่านเข้าหลอดเลือดดำใหญ่
4.3.2 ชนิดของสารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution) จะมีความเข้มข้นเท่ากันน้ำนอกเซลล์ (Extracellular fluid)ซึ่งมีออสโมลาริตี้ระหว่าง280-310 m0sm/l
สารละลายไฮโปโทนิก (Hypotonic solution) ออสโมลาริตี้ น้อยกว่า 280 m0sm/l ซึ่งค่า Osmolarityน้อยกว่าน้ำนอกเซลล์ เป็นสารน้ำที่มีโมเลกุลอิสระของน้ำมากกว่าในเซลล์ จึงทำให้เกิดการเคลื่อน ของน้ำเข้าสู่เซลล์
สารละลายไฮเปอร์โทนิก (Hypertonic solution) เป็นสารน้ำที่มีค่าออสโมลาริตี้มากกว่า 310 m0sm/l ซึ่งมีมากกว่าออสโมลาริตี้ของน้ำนอกเซลล์ สารน้ำอันนี้มีโมเลกุลอิสระของน้ำน้อยกว่าน้ำใน เซลล์ และจะทำให้เกิดการดึงน้ำจากเซลล์สู่ระบบการไหลเวียน
4.3.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการหยดของสารน้ำ
ระดับขวดสารน้ำสูงหรือต่ำเกินไป การแขวนขวดสารน้ำให้สูง สารน้ำจะหยดเร็วกว่าการ แขวนขวดในระดับต่ำ
ความหนืดของสารน้ำ ถ้าสารน้ำมีความหนืดสูงอัตราการหยดจะช้า
ขนาดของเข็มที่แทงเข้าหลอดเลือดดำ เข็มขนาดใหญ่จะมีทางผ่านกว้าง อัตราการหยดจะเร็วกว่าใช้เข็มขนาดเล็ก
เกลียวปรับบังคับหยดที่ลื่นมากจะบังคับการหยดได้ไม่ดีพออัตราการหยดจะเร็ว
สายให้สารน้ำ มีความยาวมาก มีการหักพับงอหรือถูกกด จะทำให้สารน้ำผ่านไม่สะดวก อัตราการ ไหลจะช้าลง และถ้าปลายข้อต่อของสายให้น้ำถูกดึงรั้งจนหลวมหลุดจากเข็มสารน้ำจะไหลเร็วแต่ไม่เข้าหลอด เลือดดำ และจะมีเลือดออกมาจากหัวเข็มด้วย
การผูกยึดบริเวณหลอดเลือด แน่นหรือตึงเกินไปรวมทั้งการนั่ง หรือนอนทับสายให้สารน้ำ จะปิดกั้นทางผ่านของสารน้ำ ทำอัตราการหยดช้าลง
การเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยอาจทำให้เข็มเคลื่อนที่ปลายตัดของเข็มแนบ ชิดผนังหลอดเลือด หรือแทงทะลุหลอดเลือด สารน้ำไหลไม่สะดวก อัตราการหยดจะช้าลง
การปรับอัตราหยดผู้ป่วยเด็กที่เอื้อมมือไปหมุนปรับเล่นหรือญาติผู้ป่วยหมุนปรับเอง
4.3.4 การคำนวณอัตราการหยดของสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
สูตรการคำนวณอัตราหยดของสารน้ำใน 1 นาที
จำนวนหยดของสารละลาย (หยด/ นาที) = จำนวน Sol.(มล/ชม.) x จำนวนหยดต่อมล)
เวลา(นาที)
4.3.5 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การเลือกตำแหน่งของหลอดเลือดดำที่จะแทงเข็ม
1) เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่ถนัดก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้แขนข้างที่ถนัด ทำกิจวัตรต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
2) ให้เริ่มต้นแทงเข็มที่ให้สารน้ำที่หลอดเลือดดำส่วนปลายของแขนก่อน เพื่อให้หลอดเลือดดำ ส่วนที่ถัดเข้ามาสามารถใช้งานได้อีก
3) ตรวจสอบบริเวณตำแหน่งที่จะแทงเข็มว่ามีสภาพที่เหมาะสม
4) ถ้าจำเป็นต้องผูกยึดแขนและขา ให้หลีกเลี่ยงการแทงเข็มให้สารน้ำ
5) หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับต่างๆ เพราะจะทำให้หลอดเลือดแตกทะลุง่าย หรือถ้าจำเป็นต้องแทงบริเวณข้อพับให้ใช้ไม้ดามป้องกันการงอพับ
6) คำนึงถึงชนิดของสารน้ำที่ให้ หากเป็นสารน้ำชนิด Hypertonic เนื่องจากสารน้ำมีความเข้มข้นของสารละลายสูง และมีความหนืดควรเลือกหลอดเลือดเส้นใหญ่ในการให้สารน้ำ
อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ขวดสารน้ำ โดยขวดสารน้ำ/ยา ต้องเตรียมให้ตรงกับใบสั่งการรักษาและตรวจสอบดูว่าสภาพ ขวดสารน้ำ/ยา ไม่มีรอยแตกร้าว หรือรูรั่วสารน้ำไม่หมดอายุ ไม่มีลักษณะขุ่น ไม่มีผงตะกอนลอยอยู่ภายขวด สารน้ำ/ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ/ยาที่ปราศจากเชื้ออย่างแท้จริง
2) ชุดให้สารน้ำ (IV Administration set) ใช้เป็นทางผ่านของสารน้ำจาก ขวดไปสู่หลอดเลือดดำของผู้ป่วยบรรจุในซองที่ปิดผนึกมิดชิดผ่านการฆ่าเชื้อ สามารถเปิดใช้ได้ทันที ลักษณะเป็นสายสีขาวใสมองเห็นสารน้ำได้ตลอดสาย ส่วนบนเป็นแท่งพลาสติกแข็งปลายแหลมใช้แทงผ่านจุกขวด
3) เข็มที่ใช้แทงเข้าหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheralinsertiondevices)ทำด้วยเทฟล่อน นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน มีหลายขนาดตั้งแต่เบอร์ 14, 16, 18, 20, 22 และ 24
4) อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เสาแขวนขวดให้สารน้ำ ยางรัดแขน (Tourniquet) แผ่นโปร่งใสปิดตาแหน่งที่แทงเข็ม (Transparent dressing) หรือก๊อซปลอดเชื้อ ไม้รองแขน พลาสเตอร์ สำลี ปลอดเชื้อ 70% Alcohol ถุงมือสะอาด
4.3.6 อาการแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะที่(Localcomplication)
การบวมเนื่องจากสารน้ำซึมออกนอกหลอดเลือดดำ(Infiltration)เกิดอาการบวมบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้า ผู้ป่วยรู้สึกปวดแสบบริเวณที่บวมและไม่สุขสบาย สารน้ำที่ให้หยดช้าลงหรือไม่ไหล
การติดเชื้อเฉพาะที่ (Local infection) บวมแดง ร้อน บริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำอาจจะมีหนองบริเวณที่แทงเข็ม
การพยาบาล
1) หยุดให้สารน้ำ จัดแขนข้างที่บวมให้สูงกว่าลำตัวผู้ป่วย
2) ประคบด้วยความร้อนเปียก
3) เปลี่ยนที่แทงเข็มให้สารน้ำใหม่
4) รายงานให้แพทย์ทราบเพื่อให้การรักษา
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบไหลเวียนของเลือด(Systemiccomplication)
1) การแพ้ยาหรือสารน้ำที่ได้รับ (Allergic reaction) มีผื่นแพ้เกิดขึ้นที่ผิวหนัง ร่วมกับอาการแพ้ต่าง ๆ
2) การติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia หรือ Septicemia) มีไข้สูง หนาวสั่น ความดัน โลหิตลดลง คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งมีอาการถ่ายเหลว มีการติดเชื้อเฉพาะที่เกิดร่วมด้วย
4.3.7 การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านร่างกาย
1.1 ระดับความรู้สึกตัว
1.2 พยาธิสภาพของโรค ประวัติเจ็บป่วย โรคของผู้ป่วย และโรคหรืออาการแทรกซ้อน
การประเมินด้านจิตใจ
2.1 ความพร้อมของการรับบริการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2.2 ความต้องการรับบริการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2.3 ความวิตกกังวลและความกลัว
การประเมินสิ่งแวดล้อม
3.1 ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยและรอบเตียง
3.2 ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย
3.3 ความพร้อมใช้ของสิ่งแวดล้อมตัวผู้ป่วย เช่น ตู้ข้างเตียง เหล็กกั้นเตียง เป็นต้น
3.4 บรรยากาศในหอผู้ป่วย และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
การประเมินแผนการรักษา
4.1 ตรวจสอบแผนการรักษา
4.2 ตรวจสอบชนิดของสารน้าตามแผนการรักษา ชนิด ปริมาณ อัตรา และเวลา
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัย
มีความพร้อมในการเริ่มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
วางแผนให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำโดยประยุกต์ใช้หลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goal
ขั้นตอนที่ 4 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
วิธีทำการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ตรวจสอบคำสั่งการรักษา และเขียนชื่อนามสกุลของผู้ป่วย ชนิดของสารน้ำ วัน เวลาที่เริ่มให้อัตราการหยดของสารน้ำ
เตรียมเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย ตรวจสอบรายชื่อนามสกุล เตียงผู้ป่วยให้ตรงกับป้ายข้อมือผู้ป่วย
บอกให้ผู้ป่วยทราบโดยอธิบายวัตถุประสงค์และวิธีการให้ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจ และลดความวิตกกังวล และผู้ป่วยให้ความร่วมมือ
ล้างมือให้สะอาด
ดึงแผ่นโลหะที่ปิดขวดสารน้ำหรือฝาครอบที่ปิดถุงน้ำพลาสติกออก
เช็ดจุกยางที่ขวดหรือถุงสารน้ำด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
ต่อ IVset กับ IVfluid
ต่อthreeways กับ extensiontubeแล้วมาต่อกับ IVset
ปิด clampที่ IVset
แขวนขวด IV fluid เสาน้ำเกลือแขวนให้สูงประมาณ 1 เมตร (3 ฟุต) จากผู้ป่วย
บีบ chamber ของ IV set ให้ IV fluid ลงมาในกระเปาะประมาณ 1⁄2 ของกระเปาะ (อย่าให้มากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้ามากเกินไปจะไม่สามารถนับจานวนหยดของ IV ได้
การเตรียมผิวหนังและการแทงเข็มให้สารน้ำ
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การประเมินผลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1.1 ประเมินอาการแทรกซ้อนและอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยและปลอดภัยตาม หลักการ 6 Rightsและหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
1.2 ประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย (โดยการสอบถามผู้ป่วย) “รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง? เจ็บหรือปวดบริเวณเข็มน้ำเกลือ หรือไม่ ? อย่างไร ?” “รู้สึกมีอาการอย่างไรบ้าง”
1.3 ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและจัดท่านอนให้สุขสบายและเหมาะสม
1.4 ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย (โดยการสอบถามผู้ป่วย)
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล เป็นการประเมินผลของการปฏิบัติงาน เพื่อนามาปรับปรุง การปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนามา ปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
4.3.8 การใช้กระบวนการพยาบาลในการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านร่างกาย
การประเมินด้านจิตใจ
2.1 ความพร้อมของการรับบริการฉีดยา
2.2 ความต้องการรับบริการฉีดยา
การประเมินสิ่งแวดล้อม
3.1 ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยและรอบเตียง
3.2 ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย
3.3 ความพร้อมใช้ของสิ่งแวดล้อมตัวผู้ป่วย เช่น ตู้ข้างเตียง
ขั้นตอนที่2 ข้อวินิจฉัย
การบริหารยาที่มีประสิทธิภาพโดยใช้หลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
ขั้นตอนที่3 การวางแผนในการบริหารยา
วางแผนบริหารยาตามหลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
ขั้นตอนที่ 4 วิธีการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
การฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดา ปัจจุบันมีวัสดุทางการแพทย์ที่ช่วยให้การฉีดยาให้มีความสะดวก ง่าย
และไม่ยุ่งยาก ทาให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายเพิ่มขึ้นด้วย
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการบริหารยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
การประเมินผลการบริหารยาฉีดเป็นการประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล เป็นการประเมินผลของการปฏิบัติงาน เพื่อนามาปรับปรุง การปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนามาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
4.3.9 การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ตำแหน่งของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
การให้ทางหลอดเลือดดำแขนง (peripheral vein)
การให้ทางหลอดเลือดดำใหญ่ (central vein)
อุปกรณ์ในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
สายให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ปัจจุบันสายให้อาหารทางหลอดเลือดดำมีรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
ชุดให้สารอาหาร
ข้อบ่งชี้ในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1) โรคทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วงเรื้อรัง การอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ อักเสบ จากการฉายรังสี
2) โรคของอวัยวะต่างๆ เช่น ภาวะไตวาย โรคหัวใจแต่กำเนิด
3) ภาวะทางศัลยกรรม เช่น ถูกน้ำร้อนลวก ภายหลังการผ่าตัด
4) ความผิดปกติของจิตใจ เช่น anorexia nervosa
5) โรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร
4.3.10 อาการแทรกซ้อนจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
. บวมเนื่องจากมีสารอาหารเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหนัง(Localinfiltration)
มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือด (Embolism) ที่พบบ่อยจะเป็นก้อนเลือด (thromboembolism) และอากาศ (air embolism) สาเหตุของการเกิดก้อนเลือดมักมาจากผนังด้านในของ หลอดเลือดดำไม่เรียบ และมีเข็มแทงผ่าน เป็นผลให้เลือดไหลผ่านบริเวณนั้นช้าลง
การให้สารอาหารมากเกินไป (Circulatory overload) พบได้ง่ายในผู้ป่วยเด็ก ผู้ที่มีปัญหาของระบบไหลเวียนเลือดและไต อาจเนื่องจากให้สารอาหารที่เร็วเกินไป
ไข้ (pyrogenic reactions) เกิดจากมีสารแปลกปลอมซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนเข้าสู่ กระแสเลือด สาเหตุเนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนในการเตรียมสารอาหาร หรือการฉีดยาทางสายยางให้อาหาร สารอาหารเสื่อมอายุ หมดอายุ
การเตรียมสารอาหารควรทาด้วยวิธีปลอดเชื้อ ก่อนให้สารอาหารทุกครั้ง ควรตรวจดู ว่ามีการร้าวของขวดให้สารอาหารหรือไม่ และความขุ่นของสารอาหาร
เขียนวัน เวลาที่เริ่มให้สารอาหารข้างขวดเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทราบโดยทั่วไป สารอาหารแต่ละขวดไม่ควรให้นานเกิน 24 ชั่วโมง
การหยุดให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
เมื่อไม่มีความจาเป็นที่จะให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำให้งด สารละลายไขมันได้ทันที และลด ความเข้มข้นของน้าตาลกลูโคส และกรดอะมิโนลง รวมทั้งเกลือแร่ต่างๆ ด้วย ในขณะเดียวกันก็เพิ่มอาหารที่ให้ ทางปาก เมื่อความเข้มข้นของกลูโคสในสารละลายลดลงเหลือร้อยละ 5 ก็อาจจะยกเลิกการให้สารอาหารทาง หลอดเลือดดำในวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้อาจจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 5-7 วัน
4.3.11 การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดำ
ผู้ป่วยสูงอายุชายไทย อายุ 45 ปี หลังทาการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหาร รับประทานอาหารทางปาก และอาหารทางสายให้อาหารไม่ได้ แพทย์ให้ 10% Aminosal 500 ml v drip OD
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย(Assessment)
S: “รู้สึกปากแห้ง อยากเคี้ยวอาหารทางปาก”
O: Known case CA stomach S/P Subtotal gastrectomy มีรูปร่างผอม
รับประทานอาหารทางปากและอาหารทางสายให้อาหารไม่ได้ แพทย์มีแผนการรักษาให้ 10% Aminosal 500 ml v drip OD
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
มีโอกาสเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำเป็นเวลาหลายวัน
มีโอกาสเกิดสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือดจากการให้สารอาหารทางหลอด เลือดดำเป็นเวลาหลายวัน
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล (Planning)
ให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำตามแผนการรักษาและไม่เกิดอาการแทรกซ้อน
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ก่อนและขณะให้สารน้าทางหลอดเลือดดา ควรมีการประเมินสภาพร่างกาย และควบคุม ผู้ป่วยในระยะแรก และระยะหลังของการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดา
ประเมินสัญญาณชีพก่อนและขณะให้สารอาหารและติดตามทุก 2-4 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (peripheral vein) ควรเปลี่ยน ตาแหน่งให้ทุก 3 วัน หรือทุกครั้งที่มีสารอาหารรั่วไหล (leak) ออกนอกเส้น
มีป้ายปิดที่ขวดให้สารอาหาร ระบุชื่อ และสกุลของผู้ป่วย ชนิด และปริมาณของ สารอาหารอัตราหยดต่อนาที วัน และเวลาที่เริ่มให้ วัน และเวลาที่สารอาหารหมด ชื่อผู้เตรียมสารอาหาร
สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ป่วย เช่น มีผื่นขึ้นตามตัว หายใจเร็วหรือช้ากว่าปกติ
ถ้าสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำรั่ว หรือทางเส้นเลือดดำอุดตัน ให้ไม่ได้ ควรรายงานให้แพทย์ทราบ
หลีกเลี่ยงการให้ยาฉีดทางหลอดเลือดดาสายเดียวกับให้สารอาหารทางหลอกเลือดดาถ้า จาเป็นต้อง push ยาเข้าทางสายให้อาหาร (IV catheter) ในตาแหน่งเดียวกับที่ให้สารอาหาร ให้ระมัดระวัง การเข้ากันไม่ได้ของยา และสารอาหารอาจมีการตกตะกอน
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลทางการให้สารอาหารทางหลอดเลือดด้า (Evaluation)
4.3.12 การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
การให้เลือด (Blood transfusion) หมายถึง การให้เลือด หรือเฉพาะเม็ดเลือด หรือเฉพาะน้ำเลือด แก่ผู้ป่วยโดยผ่านเข้าทางหลอดเลือดดำ การให้เลือดแม้จะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ แต่ก็ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่นกัน ซึ่งอาจทาให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้
การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้น แต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย (หาก คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve รับเลือดจาก Rh+ve อาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในครั้งถัดๆไป)
คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ปABรับได้จากทุกกรุ๊ปแต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ปAB
คนเลือดกรุ๊ป A รับได้จาก A และ O ให้ได้กับ A และ AB
คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B และ O ให้ได้กับ B และ AB
4.3.13 ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
เม็ดเลือดแดงสลายตัว (Hemolysis) เกิดจากการให้เลือดผิดหมู่ เม็ดเลือดแดงจะแตกและ บางส่วนไปอุดตันหลอดเลือดฝอยของท่อไตทำให้ไตวาย อาจเกิดอาการหลังให้เลือดไปแล้วประมาณ 50 มล. หรือน้อยกว่า
ปริมาตรการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป (Volume overload) เกิดจากการให้เลือดในอัตราเร็วเกินไป จึงเพิ่มปริมาตรการไหลเวียนในกระแสเลือด ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เกิดภาวะหัวใจวาย และมีอาการน้าท่วมปอด
ไข้(Febrile transfusion reaction)เกิดจากการได้รับสารที่ทำให้เกิดไข้เชื้อแบคทีเรียจาก เครื่องใช้หรือเทคนิคการให้เลือดที่ไม่สะอาด นอกจากนี้ อาจเกิดจากปฏิกิริยาต่อเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดหรือ โปรตีนในเลือดของผู้ให้ อาการไข้จากเชื้อบักเตรี
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction) เกิดจากผู้รับแพ้สารอย่างใดอย่างหนึ่งในเลือดที่ได้รับ ผู้ป่วยจะมีอาการมีผื่นคัน หรือลมพิษ อาการคั่งในจมูก หลอดลมบีบเกร็ง หายใจลำบาก ฟังได้เสียงวี๊ซ (wheeze) ใน ปอด
การถ่ายทอดโรค (Transfusion-associated graft versus host disease) มักเกิดจากการขาด การตรวจสอบเลือดของผู้ให้ ซึ่งมีการติดเชื้อต่าง ๆ
การอุดตันจากฟองอากาศ(Airembolism)เกิดจากการไล่ฟองอากาศไม่หมดไปจากสายให้เลือด อากาศจะลอยไปตามกระแสเลือด และอาจไปอุดตันหลอดเลือดดาให้ขัดขวางการนาออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะ ส่วนนั้น ถ้าฟองอากาศไปอุดตันที่ปอดจะเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย เป็นลม ช็อค และถึงแก่กรรมได้
ภาวะสารซิเตรทเกินปกติ เกิดจากการให้เลือดติดต่อกันเป็นจานวนมากจึงมีการสะสมของสารกัน การแข็งตัวของเลือด (Acid – citrate dextrose) เพิ่มขึ้นและไปจับตัวกับแคลเซี่ยมในเลือดระดับแคลเซี่ยมจึง ลดน้อยลง
ภาวะโปตัสเซียมเกินปกติ(Hyperkalemia)เกิดจากการให้เลือดที่เก็บไว้ในธนาคารเลือดนานเกินไป หลังจากที่ผู้ป่วยได้เลือดจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการคล้ายอัมพาตบริเวณ ใบหน้ามือและขา ชีพจรเบาช้า ถ้าระดับโปตัสเซียมสูงมากหัวใจจะหยุดเต้น
4.3.14 การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
การดูแลผู้ป่วยภายหลังได้รับเลือด
1) ตรวจสอบสัญญาณชีพหลังการให้เลือด 15 นาที และต่อไปทุก 4 ชั่วโมง
2) สังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างต่อเนื่อง
3) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตลอดระยะเวลาที่ให้เลือด
4) บันทึกหมู่เลือด ชนิดของเลือด หมายเลขเลือด ปริมาณเลือด วัน เวลา ชื่อผู้ให้
การปฏิบัติเมื่อพบอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับเลือด
1) หยุดให้เลือดทันทีแล้วเปิดทางหลอดเลือดดา (KVO) ด้วย NSS
2) รายงานแพทย์
3) ตรวจสอบสัญญาณชีพ และสังเกตสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างใกล้ชิด
4) เตรียมสารน้าและยา เช่น Antidiuretic, Antihistamine, Epinephrine, Steroid และ Aminophyline เป็นต้น เพื่อให้การรักษาตามแพทย์กาหนด
5) ส่งขวดเลือดและเจาะเลือดของผู้ป่วยจากแขนที่ไม่ได้ให้เลือดไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อ ตรวจสอบ
6) บันทึกจานวนสารน้าที่นาเข้า–ออกจากร่างกาย เพื่อดูการทางานของไต และนาปัสสาวะ ส่งตรวจในรายที่ได้รับเลือดผิดหมู่
7) การหยุดให้เลือด เมื่อผู้ป่วยได้รับเลือดครบให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการหยุดให้สารน้าทาง หลอดเลือดดา หลังจากนั้นนาถุงเลือดพร้อมใบแจ้งที่กรอกข้อความเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยหลังให้เลือด กลับคืนไปยังธนาคารเลือด
4.3.15 การบันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย (Record Intake-Output)
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) หมายถึง จำนวนน้ำหรือของเหลวทุกชนิดที่ร่างกายได้รับ ซึ่งจะได้รับด้วยวิธีใดก็ตาม ได้แก่ ได้รับทางปาก เช่น การดื่มน้ำ นมหรือเครื่องดื่มชนิดต่างๆ การได้รับ อาหารทางสายให้อาหาร การได้รับสารน้ำ ยา หรือส่วนประกอบของเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำ
จำนวนน้ำที่ร่างกายขับออก(Fluid output) หมายถึง จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสียออกนอก ร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ทางปัสสาวะ อาเจียน อุจจาระ ของเหลวที่ออกจากท่อระบายต่างๆ
3.12.1 หลักการบันทึกจำนวนสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกาย
1) แบบฟอร์มการบันทึกควรแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย เพื่อสะดวกในการจดบันทึกและเมื่อครบ 24 ชั่วโมง ต้องสรุปลงในแผ่นรายงานประจำตัวของผู้ป่วยหรือฟอร์มปรอท
2) อธิบายเหตุผลและความสำคัญของการวัดและการบันทึกจำนวนน้ำที่รับเข้าและขับออกจาก ร่างกาย
3) ร่วมกับผู้ป่วยในการวางแผนกำหนดจำนวนน้าที่เข้าสู่ร่างกายในแต่ละช่วงเวลา
4) จดบันทึกจำนวนน้ำและของเหลวทุกชนิดที่ให้ขณะมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร พร้อมทั้ง อธิบายให้ผู้ป่วยดื่มน้ำในขวดที่เตรียมไว้ให้ ไม่นำน้ำที่เตรียมไว้ไปบ้วนปากหรือเททิ้ง
5) การจดบันทึกควรสรุปทุก 8 ชั่วโมง และทุกวัน
6) บันทึกจำนวนสารน้ำที่สูญเสียทางอื่น ๆ เช่น อาเจียน ท้องเดิน ของเหลวที่ระบายออกจากการ ใช้เครื่องดูดกับสายยางจากกระเพาะ
4.3.16 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมความสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
ผู้ป่วยรายหนึ่งเข้ารับการผ่าตัดนิ่วในไต แพทย์มีแผนการรักษาให้งดน้ำและอาหารทางปาก และให้ สารน้ำชนิด 5% Dextrose in water 1000 cc vein drip 100 cc/hr บริเวณหลังมือซ้าย ภายหลังจากผ่าตัด 5 วัน แผลผ่าตัดบวมแดง แพทย์จึงให้ฉีดยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมงต่อ ขณะที่พยาบาลกำลัง ฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำให้แก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยบ่นปวดบริเวณที่ให้ สารน้ำมาก และขอเปลี่ยนตำแหน่งที่แทง เข็มใหม่ พยาบาลสังเกตเห็นหลังมือซ้ายบวมแดง หลอดเลือดดำที่ให้สารน้ำเป็นลำแข็ง จงใช้กระบวนการ พยาบาลในการส่งเสริมความสมดุลให้แก่ผู้ป่วยรายนี้
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
S : ผู้ป่วยบ่นปวดบริเวณที่ให้สารน้ำมาก ขอเปลี่ยนตำแหน่งที่แทงเข็มใหม่
O : จากการสังเกตบริเวณที่หลังมือซ้ายบวมแดง หลอดเลือดดำที่ให้สารน้ำเป็นลำแข็ง บริเวณที่ แทงเข็มให้สารน้ำเป็นตำแหน่งเดิมนาน 5 วันแล้ว
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
มีภาวะหลอดเลือดดาอักเสบจากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นเวลานาน
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
เกณฑ์การประเมินผล
• ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบลดลง
• อาการปวดบริเวณท่ีให้สารน้ำลดลง โดยใช้แบบประเมินความปวด (Pain scale)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
1) หยุดให้สารน้ำทันที
2) ประเมินอาการบวมท่ีหลังมือซ้ายทุกเวร หากบวมมากขึ้น ผู้ป่วยมีไข้
3) บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
4) จัดมือซ้ายที่บวมให้สูงกว่าลำตัวผู้ป่วย โดยใช้หมอนรอง เพื่อลดอาการบวม
5) เปลี่ยนบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำใหม่
6) ประเมินการขาดสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์ โดยบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกทุกเวร
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
1) ประเมินอาการปวดของผู้ป่วย (โดยการสังเกตสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย และจาก Pain scale) ผู้ป่วยสีหน้าสดช่ืน ไม่บ่นปวดบริเวณหลังมือซ้าย
2) ประเมินอาการหลอดเลือดดาอักเสบบริเวณหลังมือ (อาการบวมลดลง)
3) ปริมาณสารน้ำเข้าและออกมีความสมดุล