Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง
ไข้รูมาติก(Rheumatic Fever)
สาเหตุ
การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน
จากเชื้อ β-hemolytic streptococcus group A
ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องภายในเวลา 1-5 สัปดาห์
ไข้รูมาติกมักพบในเด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 6-15 ปี และพบบ่อยที่สุด
ในเด็กอายุ 8 ปี โรคนี้มักพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย และมีโอกาสเป็นซ้ำได้
พยาธิสรีรภาพ
เกิดการติดเชื้อ β-hemolytic streptococcus group A ในร่างกาย ประมาณ 1-5 สัปดาห์
แอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อโรคมีปฏิกิริยากับ
เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆด้วย จึงทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ถูกทำลาย เช่น หัวใจ เนื้อเยื่อของข้อ สมอง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
โดยเริ่มจากการอักเสบของหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ทุกชั้น
ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ ลิ้นไมตรัล (mitral valve) และ ลิ้นเอออร์ติค (aortic valve) โดยทำให้เกิดแผลขึ้น เกิดเป็น
ลิ้นหัวใจรั่วและตีบตามมา
อาการและอาการแสดง
อาการหลัก (major criteria)
การอักเสบของหัวใจ (Carditis)
ข้ออักเสบ (Arthritis)
อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Sydenham’s chorea)
ปุ่มใต้หนัง (Subcutaneous nodules)
ผื่นแดงที่ผิวหนัง (Erythema marginatum)
อาการรอง (minor criteria)
ไข้ต่ำๆ ประมาณ 38.0 องศาเซลเซียส บางครั้งไข้อาจสูงได้ แต่มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส
polyarthralgia มีอาการปวดข้อโดยไม่มีอาการอักเสบ คือ บวม แดง ร้อน ท าให้ขยับข้อได้ล าบาก
เลือดกำเดาไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ
มีประวัติเคยเป็นไข้รูมาติกมาก่อน หรือมีประวัติเป็นหวัดหรือเจ็บคอบ่อย
การวินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยมี 2 major criteria หรือ
ผู้ป่วยมี 1 major criteria และ 2 minor criteria พร้อมทั้งมีหลักฐานอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อ
streptococcus group A หรือ ในบางกรณีมี criteria ไม่ครบ อาจวินิจฉัยโรคได้ ดังนี้
ผู้ป่วยมีอาการ chorea หรือ
การเกิดเป็นไข้รูมาติกซ้ำ ในผู้ป่วยที่เคยเป็นไข้รูมาติก หรือโรคหัวใจรูมาติกมาก่อน
อาการแสดงของการเกิดซ้ำของไข้รูมาติก เช่น มีไข้ ปวดข้อ และมีหลักฐานการติดเชื้อ streptococcus
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะสำหรับกำจัดเชื้อ ß-hemolytic streptococcus group A เกิดในลำคอและทอนซิล สามารถให้ได้ตามข้อกำหนดในการรักษาการติดเชื้อ ß-hemolytic streptococcus group A ในลำคอ
ให้ยาสำหรับต้านการอักเสบของหัวใจและข้อ ได้แก่ salicylate และ steroid ซึ่งได้นำมาใช้ในการรักษา ผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกมานานแต่จากการติดตามผลการรักษาในระยะยาวของผู้ป่วยพบว่า ไม่มีความแตกต่างของความชุกของโรคหัวใจรูมาติกในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา salicylate และ steroid
ให้นอนพัก โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มี carditis และอาการหัวใจวาย ให้พักจนกว่าจะควบคุมภาวะหัวใจวายได้ ต่อมาค่อยๆ เพิ่มการเคลื่อนไหวมากขึ้นในเวลา 3 เดือน
ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ให้การรักษาโดยใช้ยา digitalis เช่น digoxin ยาขับปัสสาวะ ยาลดafterload ได้แก่ ยาขยายหลอดเลือดแดง รวมทั้งยากลุ่ม angiotensin converting enzyme inhibitor
ถ้าควบคุมภาวะหัวใจวายไม่ได้ โดยการรักษาทางยา อาจต้องพิจารณาให้การรักษาโดยการผ่าตัด
การรักษา chorea เช่น phenobarbital, haloperidol และอาจใช้ chlopromazine
โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart disease)
สาเหตุ
เป็นผลหรือภาวะแทรกซ้อนของไข้รูมาติก เนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อ ß-hemolytic
streptococcus group A ประมาณ 1-5 สัปดาห์ แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
จึงทำให้เกิดหัวใจ
อักเสบ และจะมีการทำลายลิ้นหัวใจ
ส่งผลให้ลิ้นหัวใจมีพยาธิสภาพ
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังที่เด็กเป็นไข้รูมาติกแล้ว จะมีการอักเสบของลิ้นหัวใจทุกชั้น เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจ
อักเสบ และเยื่อบุหัวใจอักเสบ ซึ่งประกอบด้วย แผ่นลิ้น (cusp) เนื้อเยื่อยึดลิ้น (chordae tendinae) และกล้ามเนื้อ
papillary (papillary muscle)
ในรายที่เป็นไข้รูมาติกซ้ำๆหลายๆครั้ง จะส่งผลให้ลิ้นหัวใจถูกทำลายมากขึ้น โดยมีการหดตัว หรือแข็งตัวขึ้น ทำให้เกิดความผิดปกติของลิ้นหัวใจขึ้น อาจจะเป็นการรั่ว หรือการตีบ จึงเรียกว่าโรคหัวใจรูมาติก ดังนั้นผู้ป่วยไข้รูมาติก ถ้าได้รับการรักษาโรคอย่างทันท่วงทีและป้องกันที่ถูกต้อง ก็จะไม่เป็นโรคหัวใจรูมาติก
คำแนะนำ
พยาบาลควรให้ความรู้ คำแนะนำในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยและบิดามารดาในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหรือการสังเกตอาการและอาการแสดงของหัวใจวาย
ผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้ทันท่วงทีทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถดำเนินชีวิตที่ใกล้เคียงกับเด็กสุขภาพดีมากที่สุด และคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย
ภาวะหัวใจวาย
ภาวะหัวใจวาย
สาเหตุ
ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น เนื่องจากมีปริมาณเลือดในหัวใจเพิ่มมากขึ้น เรียก
ภาวะนี้ว่า volume overload
ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น เนื่องจากมีความดันในเวนตริเคิลสูงกว่าปกติ เกิดจาก
การอุดกั้นของทางออกของเวนตริเคิล
ความผิดปกติของกล้มเนื้อของหัวใจ (myocardial factor) ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ
ลดลง เนื่องจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจจะลดลง
จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (dysrhythmias) ส่งผลให้ปริมาณเลือดไหลปริมาณเลือดไหลออกจาก
หัวใจลดลง บางรายหัวใจเต้นเร็วเกินไป
อาการและอาการแสดง
หัวใจซีกซ้ายวาย (left-sided failure)
ภาวะ hypoxia จึงมีอาการหายใจเร็ว (tachypnea), หายใจลำบาก (dyspnea), เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ (orthopnea) มีอาการเหนื่อยหอบในช่วงกลางคืน (paroxysmal nocturmal dyspnea)
บางรายอาจมีอาการไอมี
เสมหะเป็นฟองหรือมีเลือดปน และฟังได้เสียง crepitation เนื่องจากมี pulmonary congestion
หัวใจซีกขวาวาย (right-sided failure)
หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง(engorgement of jugular vein) ตับโต หรือมีน้ำในช่องท้อง และในบางรายที่มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำส่วนปลาย (peripheral veins) จึงทำให้มีความดันสูงขึ้น
transudate รั่วเข้าไปอยู่ระหว่างเซลล์ในเนื้อเยื่อภายนอกหลอดเลือดฝอย จึงมี interstitial
fluid เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม เช่น บวมที่ขา บวมทั้งตัว มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
บางรายมีม้ามโต คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง แน่นอึดอัดท้อง แขนขาเย็น บวม และมีน้ำในช่องท้อง อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะตรวจพบ
ในเด็ก
โต ส่วนในเด็กเล็กอาจพบว่ามีอาการตับโต (hepatomegaly) เท่านั้น
การรักษา
การดูแลให้ทารก และเด็กได้รับสารน้ำ และสารอาหารที่เหมาะสม ไม่ใช้ออกซิเจนมากเกินไปเป็นหัวใจสำคัญ
เบื้องต้นของการรักษา การใช้ยาเป็นเพียงเครื่องช่วยประคับประคอง
ให้ยากลุ่มกลัยโคไซด์ (digitalis glycosides) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ
ยากลุ่ม Beta-adrenergic receptor blocking agent
ยาขยายหลอดเลือด (vasodilators)
ยา ACE inhibitors หรือ ACEI (angiotensin-converting enzyme inhibitors)
ยาขับปัสสาวะ (diuretic drugs)
ลดอาหารรสเค็ม
ให้ออกซิเจน ในรายที่มีภาวะปอดบวมน้ำ
ให้ sedative ในรายที่ร้องไห้งอแง กระสับกระส่าย
รักษาสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจวาย เช่น การผ่าตัด
พยาธิสรีรภาพ
หัวใจซีกซ้ายวาย
เวนตริเคิลซ้ายมีความดันสูงขึ้น เลือดจากเอเตรียมซ้ายไหลลงเวนตริเคิลซ้ายได้ไม่เต็มที่ เกิดการคั่งของเลือดในเอเตรียมซ้าย ทำให้มีความดันของเอเตรียมซ้ายเพิ่มขึ้นด้วย มีการคั่งของเลือด pulmonary veins ส่งผลให้ความดันในpulmonary veins สูงขึ้น จึงมีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดฝอยที่ปอด (pulmonary congestion) ความดันในหลอดเลือดที่ปอดจะสูงขึ้น ส่งผลให้ของเหลวถูกกรองออกจากหลอดเลือดฝอย จะส่งผลให้ transudate รั่วเข้าไปอยู่ระหว่างเซลล์ในเนื้อเยื่อภายนอกหลอดเลือดฝอย จึงมี interstitial fluid เพิ่มขึ้น และเข้าไปในถุงลม (alveolar space) ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ(pulmonary edema) เนื้อที่สำหรับการแลกเปลี่ยนก๊าซบริเวณปอดลดลง เนื่องจากมีน้ำเข้าไปแทนที่
หัวใจซีกขวาวาย
เวนตริเคิลขวาไม่สามารถบีบเลือดออกสู่ pulmonary artery ได้เต็มที่ตามปกติ ทำให้มีการคั่งของเลือดในเวนตริเคิลขวา ส่งผลให้ความดันเวนตริเคิลขวาเพิ่มขึ้น จึงทำให้เลือดจากเอเตรียมขวาไหลลงเวนตริเคิลขวาไม่ได้เต็มที่ ทำให้เกิดการคั่งของเลือดในเอเตรียมขวา ส่งผลให้มีความดันของเอเตรียมขวาสูงขึ้นด้วย ทำให้เลือดจาก superior vena cava และ inferior vena cava ไหลกลับเข้าหัวใจได้ไม่เต็มที่ เป็นผลให้เกิดการคั่งของเลือดดำใน systemic venous circulation มาก อาจพบการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่คอ หรือใน portal vein หรือหลอดเลือดดำจากอวัยวะในช่องท้อง
โรคคาวาซากิ
สาเหตุ
ยังไมทราบแนชัด เข้าใจว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม
การสัมผัสกับอะไรบางอย่าง ไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ เกิด
การอักเสบของหลอดเลือดแดงขึ้นทั่วร่างกาย
อาการและอาการแสดง
เด็กจะมีไข้สูงทกคน โดยมากมักเป็นนานเกิน 5 วัน บางรายอาจนาน 3 – 4 สัปดาห อาจมีผื่นขึ้นตามตัวและแขนขา
ตาแดง จะเป็นทั้ง 2 ข้าง มักเห็นภายใน 2-4 วันแรกนับจากเริ่มมีไข้ ตาที่แดงจะเป็นบริเวณตาขาวมาก ไม่่ค่อยมีขี้ตา และไม่ค่อยเจ็บ
ริมฝีปากแห้งและแดง อาจแตกมีเลือดออกด้วย เยื่อบุในปากจะแดงด้วย แต่ไม่มีแผล ลิ้นจะแดงและมีปุ่มรับรสใหญ่กว่าปกติ ลักษณะคล้ายผลสตรอเบอรรี่
ฝ่ามือและฝ่าเท้า จะบวมแดง บางรายเจ็บชัดเจน ตั้งแต่ช่วงแรกๆของโรค ประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีไข้จะเห็นผิวหนังลอก โดยเริ่มลอกบริเวณรอบๆเล็บมือ เล็บเท้า อาจลามมาจนลอกทั้งฝ่ามือ ฝ่าเท้า
ผื่น มักขึ้นภายใน5 วันแรกนับจากมีไข้ โดยมักเป็นทั่วทั้งบริเวณลำตัว และแขน ขา โดยบริเวณสะโพก
อวัยวะเพศ ขาหนีบ ผื่นจะหนาแน่นที่สุด บางครั้งจะมีการลอกคล้ายที่มือและเท้าด้วย
ตอมน้ำเหลือง ที่โตมักพบที่คอ มักเป็นข้างเดียว ลักษณะค่อนข้างแข็ง และกดไม่ค่อยเจ็บ
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ภาวะแทรกซ้อนทางระบบไหลเวียนซึ่งส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ อาจมีหัวใจอักเสบ
ลิ้นหัวใจรั่ว ระยะต่อมาจะมี หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโป่งพอง
การรักษา
1.ในช่วงที่มีไข้ใน 10 วันแรก ตรวจหัวใจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ เพื่อดูลักษณะหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
2.ให้ยาลดการอักเสบคือ ยา aspirin ขนาดสูง ให้รับประทานอย่างต่อเนื่่องประมาณ 1 – 2 สัปดาห์
3.ให้ intravenous immune globulin (IVIG) เข้าหลอดเลือดดำ พบวาหลังให้ยาดังกล่าว ไขมักจะลดลงภายใน 24 - 48ชั่วโมง หลังจากไข้ลดจะต้องให้ยา aspirin ขนาดต่ำวันละ 1 ครั้ง รับประทานต่อเนื่อง 6 – 8 สัปดาห์เพื่อป้องกันเกล็ดเลือดรวมกันเป็นก้อน ซึ่งอาจไปเพิ่มการอุดตันในหลอดเลือดที่ผิดปกติ หลังจากนั้นตรวจอัลตราซาวน์หัวใจซ้ำ พบวา หลอดเลือดหัวใจปกติก็สามารถหยุดยาได้ และจากการติดตามผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดผิดปกติหลัง 8 สัปดาห์