Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
บทที่ 5 การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
[1] การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
{1.1} ประเทศไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคม และผู้ปกครอง เช่น การบอกกล่าวของบิดามารดา คาสั่งสอนของปู่ย่าตายาย
ความเชื่อในการดูแลเด็กของคนไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะคล้ายคลึงกับประเทศลาว
การประกอบพิธีกรรมสะเดาะห์เคราะห์ การผูกข้อมือเรียกขวัญ การบูชาบวงสรวง เพื่อให้เกิดความหวังและกำลังใจ
การใช้สมุนไพรร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆเช่น การใช้น้ำมนต์ การผูกข้อมือ เป็นต้น
สมัยโบราณจะมีพิธีการสู่ขวัญเด็กเมื่ออายุครบ 1 เดือนและมีการโกนผมไฟด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้เด็กที่มีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่าย
การจกคอละอ่อน คือการที่หมอตาแย หรือหมอทำคลอดใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลาคอของทารกแรกคลอด เพื่อล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมา
การใช้น้ำนม ทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา
การรักษาโรคเม่าของคนสมัยก่อน พ่อแม่เด็กจะทำกรวยดอกไม้ จากนั้นจะนำกรวยไปเสียบไว้ข้างฝาหรือหลังคาเรือน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน จากนั้นมาทำพิธีเสกเป่าอีกครั้ง
ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้
{1.2} ประเทศกัมพูชา
เด็กในกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี หลังจากนั้น เด็กจะมีอิสระมากขึ้น
เมื่ออายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นา ภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่
สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน
ชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม
ชาวกัมพูชาถือว่าศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ชาวกัมพูชาถือว่าศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
การติดต่อระหว่างกลุ่มชนต่างอายุกัน จะต้องเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสม
{1.3} ประเทศจีน
ชาวปักกิ่งในสมัยราชวงศ์ชิงจะนำสมุนไพรจีนใส่ลงในน้ำ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อและอนามัยต่อสุขภาพของเด็ก
ชาวจีนบางกลุ่มที่นิยมใส่ต้นหอมหรือนาเศษเหรียญใส่ลงในน้ำ เพราะต้นหอมในภาษาจีนพ้องเสียงกับคำว่า “ชงหมิง” ที่แปลว่า ฉลาดหลักแหลม ส่วนเงินหมายความว่าพรั่งพร้อมไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง
วัฒนธรรมจีนชื่นชอบลูกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เพราะต้องการมีลูกชายไว้สืบสกุลเพราะมีลูกได้เพียงคนเดียว
เมื่อครบวันที่สามจะมีพิธีล้าง เป็นการอาบน้าให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอด จึงต้องพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกภาชนะ น้ำ รวมถึงผู้ประกอบพิธี
น้ำที่ใช้อาบมีชื่อเรียกว่า “ฉางโซ่วทัง” มีความหมายว่า น้ำอายุมั่นขวัญยืน
หญิงที่มีบุตรยากจะถือโอกาสในวันนี้ แย่งกันเอาน้าที่ได้หลังจากการอาบให้เด็กมาอาบตัว เชื่อว่าจะช่วยให้สามารถมีบุตรได้
หมีเย่ว์ คือพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ประกอบไปด้วยการโกนผมไฟ และการตั้งชื่อให้เด็ก
ผู้ที่รับหน้าที่โกนผมจะเอาใบชาที่อมจนเปื่อยในปากชโลมลงบนศีรษะเด็ก เชื่อว่าใบชาเขียวจะช่วยฆ่าเชื้อโรคบนศีรษะทารกและลบรอยแผลเป็น
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
อาจทารูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
[2] การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
{2.1} การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
การดูแลผู้ป่วยเพื่อให้สามารถประกอบศาสนกิจได้จึงเป็นประเด็นที่สาคัญอย่างยิ่งในการจัดบริการสุขภาพตามวิถีมุสลิม
ให้ผู้ให้บริการที่ดูแลผู้ป่วยต้องมีการวางแผนการดูแลผู้ป่วยล่วงหน้าด้วย เพื่อให้เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจของผู้ป่วย
การดูแลทำความสะอาดผู้ป่วยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้ โดยไม่ต้องละหมาดชดใช้อีก
ผู้ป่วยที่มีนะญิส ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะขจัดนะญิสเหล่านั้นได้ เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติ
ศาสนกิจที่สาคัญของชาวมุสลิม ได้แก่ การละหมาดวันละ 5 เวลาการถือศีลอด การทำฮัจญ์ เป็นต้น โดยเฉพาะขณะผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล
{2.2} สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
หญิงตั้งครรภ์ยังมีข้อพึงปฏิบัติตามความเชื่อคือ ให้นำหัวปลาไหลแห้ง ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่อาบน้าทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด
หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้งยังมีการคลอดที่บ้านเป็นส่วนใหญ่
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำให้ดื่มน้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย
การรับประทานจะมีการผสมพริกไทยเพราะเชื่อว่าเป็นยาบำรุงร่างกายช่วยขับน้ำคาวปลา และเลือดที่ค้างในร่างกาย
หญิงหลังคลอดจะอาบน้ำต้มตลอดช่วงที่อยู่ไฟ เพราะมีความเชื่อว่าการอยู่ไฟจะทำ ให้สุขภาพแม่ดี แข็งแรง และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
หญิงหลังคลอดเผ่าม้งจะมีความเชื่อในการปฏิบัติที่ทำให้มีน้ำนมมาก โดยการเชิญหมอผีทำ พิธีเรียกน้ำนม
หญิงตั้งครรภ์ก็จะถูกแนะนำ ให้กินแกงผักพื้นบ้าน ชื่อผักปรัง ซึ่งมีลักษณะลื่นๆ เพื่อจะทำให้ลูกคลอดไม่ลำบาก
{2.3} การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ความเชื่อด้านสุขภาพของชาวจีน
การใช้การรักษาดั้งเดิม โดยชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม การขูดผิวหนังด้วยวัตถุใดๆ การนวด เป็นต้น
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค แต่สมุนไพรบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อยารักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน และสมุนไพรบางชนิดก็อาจถูกอาหารบางชนิดรบกวนการออกฤทธิ์
ถ้าร่างกายแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค
ชาวจีนจะให้หญิงหลังคลอด รับประทานไก่ผัดขิงโดยชาวจีนมีความเชื่อว่า ขิงช่วยขับลม บำรุงกระเพาะ ป้องกันโรคและมีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง
ชาวจีนจะให้หญิงหลังคลอด รับประทานไก่ผัดขิงผสมสุรา เพื่อบำรุงร่างกายของมารดา
หญิงหลังคลอดให้ดื่มน้าน้อยแต่ให้กินน้าซุปเป็นหลัก กินอาหารรสร้อน เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี และยังให้รับประทานปลาและหนังปลา เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วด้วย
แม่สามีชาวจีนจะเป็นผู้ดูแลลูกสะใภ้ให้สวมหมวกให้ศีรษะอุ่น ใส่เสื้อผ้า และห่มผ้าห่มหนา ๆ หลายชั้น จะร้อนแค่ไหน มือและเท้าห้ามออกนอกผ้าห่ม
[3] การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
1) การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ เช่น การเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม และการเข้าใจถึงบุคลิกภาพหรือสิ่งที่ผู้สูงอายุชอบ
2) การสื่อสาร ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม
3) สุขภาพและยาที่ใช้ ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่ ต้องดูแลเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายและป้องกันอุบัติเหตุ
4) การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของผู้สูงอายุสำคัญมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะแขนขาอ่อนแรง
5) ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบเช่น รสจืด ไม่เผ็ด รสหวาน ให้รับประทานผลไม้ ไอศกรีม ขนม และ อาหารเสริม
6) การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ เช่น การเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อที่ผู้สูงอายุมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง