Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรักษาด้วยไฟฟ้า ( Electroconvulsive Therapy : ECT) - Coggle Diagram
การรักษาด้วยไฟฟ้า
( Electroconvulsive Therapy : ECT)
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการทำ ECT
ข้อห้าม
โรคทางสมองทุกชนิด
โรคหัวใจทุกชนิด
โรคกระดูกทุกชนิด
เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
ข้อควรระวัง
โรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป
หญิงมีครรภ์
ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียมาก ๆ
ผู้ป่วยโรคปอดที่มีแนวโน้มทำให้เกิดการหายใจไม่สะดวก
ปฏิกิริยาตอบสนองผู้ป่วยที่ได้รับการ ECT (Unmodified method)
ระยะที่ 1 Unconscious stage ระยะนี้ผู้ป่วยจะกระตุกและหมดสติทันที่ประมาณ 1 วินาที
ระยะที่ 2 Tonic stage ระยะนี้กล้ามเนื้อจะเกร็งใบหน้าจะเงยขึ้นขากรรไกรอ้าลำตัวแอ่นแขนขาเกร็งเท้าจิกลงและหยุดหายใจอาการเกร็งนี้มีอยู่นาน 10 วินาที
ระยะที่ 3 Cloric stage มีอาการกระตุกถี่หลายครั้งนาน 30 วินาทีลักษณะกระตุกแบบนี้เรียก grand mal seizure จะมีอาการกระตุกของนิวมือนิ้วเท้า
ระยะที่ 4 Apnea stage ตลอดเวลาตั้งแต่เกร็งจนเริ่มกระตุกเป็นระยะที่ผู้ป่วยหยุดหายใจและจะหยุดต่อไปนี้อีกประมาณ 10 วินาทีจึงจะพื้นโดยมีอาการหายใจดังฟืดใหญ่
ระยะที่ 5 Sleep Stage ระยะนี้ผู้ป่วยจะหลับนาน 10- 20 นาทีก็จะตื่นขึ้นมา
ระยะที่ 6 Confusion stage ผู้ป่วยจะตื่นขึ้นมีอาการงุนงงสับสนผู้ป่วยบางรายหลับต่อไปอีกประมาณ 30 นาทีจึงฟื้น
กลไกการออกฤทธิ์ (Mechanism of Action)
ECT ปรับภาวะสมดุลของสารสื่อประสาทเช่น serotonin, norepinephrine และ dopamine ทำให้อาการทางจิตลดลง
ECT มีการออกฤทธิ์บางอย่างเหมือนกับยากันชัก (anticonvulsant) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอาการซึมเศร้า (antidepressant) และต้านอาการคลุ้มคลั่ง (antimania) การใช้กระแสไฟฟ้าทำให้ชักจะมีผลให้เกิดการต้านชัก (anticonvulsant activity) ตามมาการทำ ECT จึงมีประสิทธิภาพในการรักษาแบบยากันชัก
ECT ทำให้มีการเพิ่มการตอบสนองต่อ serotonergic agonist จึงมีผู้ตั้งสมมติฐานว่า ECT ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ serotonergic function ซึ่งทำให้อาการของโรคซึมเศร้าหายไป
ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้รักษา (Dosage of ECT)
วิธีการวางอีเลคโทรดการวางอีเลคโทรตแนบสนิทกับผิวหนังดีหรือไม่
เพศผู้หญิงใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่าหรือพลังงานไฟฟ้าสูงกว่าผู้ชายในขนาดน้ำหนักตัวเท่ากันเพราะผู้หญิงมีปริมาณไขมันใต้ผิวหนังมากกว่าผู้ชาย
อายุ อายุสูงขึ้นความคงทนของร่างกายต่อแรงกระตุ้นในระดับต่ำที่สุดของการชัก (seizure threshold) จะเพิ่มขึ้นตามอายุ
ปริมาณไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneous fat) ผู้ป่วยอ้วนจะใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่าผู้ป่วยผอม
จำนวนครั้งที่ทำ ECT ผู้ป่วยที่เคยทำ ECT มาแล้วจะใช้ประมาณกระแสไฟฟ้ามากกว่าผู้ป่วยที่ไม่เคยทำเนื่องจากความทนของร่างกายต่อแรงกระตุ้นในระดับต่ำที่สุดของการชัก threshold) ของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระหว่างการรักษา
ยาที่มีผลต่อการทำ ECT
ยากลุ่ม TCA
Amitriptyline
Nortriptyline
Imipramine
ข้อควรระวัง
-อาจทำให้เกิด Hypertension crisis อาจทำให้เสียชีวิตได้จึงควรหยุตยาอย่างน้อย 2 Wk. ก่อนทำ ECT แต่ผู้ที่ได้รับยานานมากกว่า 1 เดือนร่างกายจะปรับตัวไม่จำเป็นต้องหยุดยา
-ยากลุ่ม TCA เสริมฤทธิ์ anti cholinergic โดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจทำให้เกิดอาการสับสนในระยะพักฟื้น
Mianserin
Lithium
ไม่ค่อยมีผลต่อต่อการทำ ECT แต่จะเสริมฤทธิ์ barbiturate ทำให้ตื่นช้าและเสริมฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อ
Clozapine