Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle Diagram
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด
การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
วัตถุประสงค์
ให้ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารและน้ำทางปากไม่ได้ หรือรับประทานได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป
ข้อบ่งชี้ในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1) โรคทางเดินอาหาร
2) โรคของอวัยวะต่างๆ
3) ภาวะทางศัลยกรรม
4) ความผิดปกติของจิตใจ
5) โรคมะเร็งต่างๆ
ส่วนประกอบของสารอาหารในสารละลาย
คาร์โบไฮเดรต นิยมใช้ในรูปของกลูโคส ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม
สารละลายไขมัน (fat emulsion) ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม
โปรตีนอยู่ในรูปกรดอะมิโน ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม ใช้กรดอะมิโนทุกชนิดทั้งที่จำเป็นและไม่จ าเป็นในปริมาณและสัดส่วนที่พอเหมาะ
วิตามิน ให้ทั้งชนิดละลายในน้ า เช่น วิตามิน B12, thiamine เป็นต้น และชนิดละลายในไขมัน
เกลือแร่ ก่อนที่จะเริ่มให้สารอาหารควรมีการค านวณจ านวนเกลือแร่ให้เรียบร้อย
ชนิดของสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
Total parenteral nutrition (TPN)
ตำแหน่งของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
การให้ทางหลอดเลือดดำแขนง (peripheral vein)
การให้ทางหลอดเลือดดำใหญ่ (central vein)
อุปกรณ์ในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
สายให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ปัจจุบันสายให้อาหารทางหลอดเลือดดำมีรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
ชุดให้สารอาหาร
ขั้นตอนในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ
ล้างมือให้สะอาดก่อนให้การพยาบาลทุกครั้ง สวมmask
เตรียมอุปกรณ์ในการให้ PPN หรือ TPN ที่สะอาดปราศจากเชื้อ
ต่อสายยางให้อาหารเข้าไปในชุดให้สารอาหาร ปิดผ้าก๊อซปราศจากเชื้อบริเวณรอยต่อโดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
ตรวจสอบ PPN หรือ TPN จะต้องไม่ขุ่นหรือมีตะกอน
มีป้ายปิดที่ขวดให้สารอาหาร ระบุชื่อ และสกุลของผู้ป่วย ชนิดและปริมาณของสารอาหารอัตราหยดต่อนาที วันและเวลาที่เริ่มให้ วันและเวลาที่สารอาหารหมด ชื่อผู้เตรียมสารอาหาร
นำสารอาหารและสายยางให้สารอาหารไปต่อกับผู้ป่วยโดยเช็ดบริเวณรอยต่อด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ ปิดด้วยผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ
ให้สารอาหารปรับจำนวนหยดตามแผนการรักษา
อาการแทรกซ้อนจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
บวมเนื่องจากมีสารอาหารเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหนัง (Local infiltration)
ลักษณะที่พบ
1) บวมบริเวณที่ให้ บางครั้งอาจมองเห็นไม่ชัดเจน แต่บางครั้งก็อาจมองไม่ชัดเจน อุณหภูมิของบริเวณนั้นจะเย็นกว่าบริเวณอื่นๆ เนื่องจากสารอาหารมีอุณหภูมิต่่ำกว่าร่างกาย
2) ผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบายบริเวณที่ให้ ซึ่งเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารอาหาร ซึ่งถ้าสารอาหารเหล่านี้ซึมออกไปจากหลอดเลือดจะทำให้รู้สึกปวดมาก
การพยาบาลและการป้องกัน
1) ถ้าพบว่ามีสารอาหารซึมออกมาอยู่ในเนื้อเยื่อควรหยุดให้สารอาหารทันที
2) ควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดสารอาหารซึมออกมาอยู่ในเนื้อเยื่อส่วนมาก
มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือด (Embolism)
ลักษณะที่พบ
1) อาการเขียว
2) สังเกตพบว่าอัตราการหยดของสารอาหารจะช้าลง หรือหยุดไหล
การพยาบาลและการป้องกัน
1) ระมัดระวังในการเปลี่ยนขวดสารอาหารไม่ให้อากาศผ่านเข้าไปในชุดสายให้สารอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหรือยืน
2) หยุดให้สารอาหารทันทีถ้าพบว่ามีก้อนเลือดอุดตันที่เข็ม
3) ห้ามนวดคลึงเพราะอาจทำให้ก้อนเลือดนั้นหลุดเข้าไปในกระแสเลือดและถ้าผู้ป่วยมีอาการแสดงให้บันทึกสัญญาณชีพ และรายงานแพทย์ด่วน
การให้สารอาหารมากเกินไป (Circulatory overload)
ลักษณะที่พบ
1) อาการแสดงที่ปรากฏเริ่มแรก
2) ตรวจพบความดันเลือดและแรงดันหลอดเลือดส่วนกลางสูงขึ้น ชีพจรเร็ว
3) ผู้ป่วยมีปริมาณน้ำเข้าและออก (intake/output) ไม่สมดุล
4) มีการคั่งของเลือดดำจะพบว่าหลอดเลือดดำที่คอโป่ง
5) ถ้ารุนแรงจะมีภาวะปอดบวมน้ำ อาการคือ หายใจล าบาก นอนราบไม่ได้ผิวหนังเขียวคล้ำ ไอมีเสมหะเป็นฟองและอาจมีเลือดปน
การพยาบาลและการป้องกัน
1) ปรับอัตราหยดให้ช้าที่สุดและรายงานให้แพทย์ทราบด่วน
2) บันทึกสัญญาณชีพ
3) จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่งเพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
ไข้(pyrogenic reactions)
ลักษณะที่พบ
1) ไข้สูง 37.3-41 องศาเซลเซียส
2) ปวดหลัง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
3) หนาวสั่น
4) ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้รับและสภาวะของผู้ป่วย
การพยาบาลและการป้องกัน
1) หยุดให้สารอาหาร
2) บันทึกสัญญาณชีพ และรายงานแพทย์
3) ถ้าเป็นไปได้ ควรเก็บชุดให้สารอาหารและชุดสายให้สารอาหารส่งเพาะเชื้อ
4) การเตรียมสารอาหารควรท าด้วยวิธีปลอดเชื้อ ก่อนให้สารอาหารทุกครั้ง ควรตรวจดูว่ามีการร้าวของขวดให้สารอาหารหรือไม่ และความขุ่นของสารอาหาร
5) เขียนวัน เวลาที่เริ่มให้สารอาหารข้างขวดเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทราบโดยทั่วไปสารอาหารแต่ละขวดไม่ควรให้นานเกิน 24 ชั่วโมง
6) ตรวจสอบรูรั่วของสายให้อาหารก่อนใช้ทุกครั้ง
7) เปลี่ยนชุดให้สารอาหารทุก 24 ชั่วโมง
8) ควรมีสถานที่เฉพาะสำหรับเตรียมสารอาหารและหมั่นรักษาความสะอาด กำจัดฝุ่นละอองให้มากที่สุด
9) ล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสอุปกรณ์และบริเวณที่แทงเข็ม
10) หุ้มผ้าก๊อซปราศจากเชื้อบริเวณรอยข้อต่อต่างๆ
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดำ
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย (Assessment)
ขั้ั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล (Planning)
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลทางการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ (Evaluation)
การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้น แต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย
คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ป ABรับได้จากทุกกรุ๊ป แต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ป AB
คนเลือดกรุ๊ป A รับได้จาก A และ O ให้ได้กับ A และ AB
คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B และ O ให้ได้กับ B และ AB
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
เม็ดเลือดแดงสลายตัว (Hemolysis)
ปริมาตรการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป (Volume overload)
ไข้ (Febrile transfusion reaction)
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction)
การถ่ายทอดโรค (Transfusion-associated graft versus host disease)
การอุดตันจากฟองอากาศ (Air embolism)
ภาวะสารซิเตรทเกินปกติ
ภาวะโปตัสเซียมเกินปกติ (Hyperkalemia)
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านร่างกาย
การประเมินด้านจิตใจ
การประเมินสิ่งแวดล้อม
การประเมินแผนการรักษา
ขั้นตอนที่2 ข้อวินิจฉัย
มีความพร้อมในการเริ่มให้เลือดและสารประกอบของเลือดตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่3 การวางแผนในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
วางแผนให้ผู้ป่วยได้รับเลือดและสารประกอบของเลือดโดยประยุกต์ใช้หลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
ขั้นตอนที่ 4 การให้เลือดและสารประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
การบันทึกปริมาณน้้าเข้า-ออกจากร่างกาย (Record Intake-Output)
หลักการบันทึกจ้านวนสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกาย
1) แบบฟอร์มการบันทึกควรแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย เพื่อสะดวกในการจดบันทึกและเมื่อครบ 24ชั่วโมง ต้องสรุปลงในแผ่นรายงานประจ าตัวของผู้ป่วยหรือฟอร์มปรอท
2) อธิบายเหตุผลและความสำคัญของการวัดและการบันทึกจำนวนน้ำที่รับเข้าและขับออกจากร่างกาย
3) ร่วมกับผู้ป่วยในการวางแผนก าหนดจ านวนน้ าที่เข้าสู่ร่างกายในแต่ละช่วงเวลา
4) จดบันทึกจำนวนน้ำและของเหลวทุกชนิดที่ให้ขณะมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยดื่มน้ำในขวดที่เตรียมไว้ให้ไม่นำน้ำที่เตรียมไว้ไปบ้วนปากหรือเททิ้ง
5) การจดบันทึกควรสรุปทุก 8 ชั่วโมง และทุกวัน
6) บันทึกจำนวนสารน้ำที่สูญเสียทางอื่น ๆ เช่น อาเจียน ท้องเดิน ของเหลวที่ระบายออกจากการใช้เครื่องดูดกับสายยางจากกระเพาะ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมความสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)