Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Cancer cervix with Hypokalemia with Anemia with Acute gastroenteritis -…
Cancer cervix with Hypokalemia with Anemia with Acute gastroenteritis
สาเหตุ/ปัจจัย
มะเร็งปากมดลูก (ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคนี้) มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูกจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papilloma virus - HPV) และสายพันธุ์ของเชื้อความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน พฤติกรรมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ภาวะการเจรฺิญพันธุ์ การสูบบุหรี่ และการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน
ข้อมูลส่วนตัว
ผู้ป่วยเพศ หญิง อายุ 41 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ รับไว้ในการดูวันที่ 13 กรกฎาคม 2563
อาการสำคัญ
อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ ถ่ายเหลว ก่อนมาโรงพยาบาล 3 วัน
อาการปัจจุบัน
1วันก่อนมาโรงพยาบาลถ่ายเหลว 7 ครั้ง
วินิจฉัย
Cancer cervix with Hypokalemia with Anemia with Acute gastroenteritis
ความหมาย มะเร็งปากมดลูกร่วมกับภาวะโพแทสเซียมต่ำร่วมกับภาวะซีดร่วมกับกระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ
พยาธิสภาพ
เปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผิวปากมดลูก(dysplasia) ขึ้นในบริเวณ Transformation Zone (T zone) คือบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่าง sqamous epithelium กับ columnar epithelium ที่อยู่โดยรอบของ external os หากมีการติดเชื้อ HPV เซลล์เยื่อบุมดลูกบริเวณ T zone จะมีการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น และมีลักษณะเซลล์ที่ผิดรูปร่างไปจากเดิม
รักษาโดยการให้คีโม ผลข้างเคียง มีจุดเลือดหรือจ้ำเลือด ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยบอกว่า วันที่24 มิ.ย 2563 ให้คีโม หลังจากนั้น 4วันมีอาการอาเจียนเป็นน้ำดีมีเลือดปน ถ่ายเหลวมีเลือดปน ประมาณ 10 ครั้ง/วัน และมีเลือดออกทางช่องคลอด อ่อนเพลีย แพทย์วินิจฉัยเป็น Acute gastroenteritis
เชื้อประจำถิ่นถูกทำลาย เกิดการอักเสบ หรือเซลล์เยื่อบุตายได้ มีผลต่อการขับน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ทำให้เกิดการยับยั้งการดูดกลับของโซเดียม โซเดียมและโปรตีนถูกขับเข้าไปในลำไส้ใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดอาการท้องเดิน หากเชื้อโรคทำลายเยื่อบุผนังลำไส้จะทำให้มีเลือดออกเกิดแผลบริเวณลำไส้
Anemia ความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดแดง ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้ จากการใช้ยาเคมีบำบัด ATB NSAIDS การสัมผัสกับรังสี การอักเสบติดเชื้อไวรัสหรือโรคทางภูมิคุ้มกัน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
คุณค่าในตนเองลดลงเนื่องจากต้องพึ่งพาผู้อื่น
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่า "แต่ก่อนเป็นเสาหลักสามารถหาเงินเลี้ยงดูแม่และคนในครอบครัวได้ แต่ตอนนี้แม่ต้องดูแลตน"
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นที่รักของครอบครัว และมีคุณค่ามากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
ไม่รู้สึกตัดพ้อ หรือถดทอย หรือหดหู่ใจ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้สึก การแสดงออกของผู้ป่วยทั้งคำพูดและพฤติกรรม
บอกผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อจะทำหัตถการ
พูดกับผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวล อ่อนโยน และรับฟังผู้ป่วย เมื่อ
ผู้ป่วยต้องการพูด ไม่แสดงท่าที่ เร่งรีบ หรือรังเกียจ
ให้กำลังใจผู้ป่วย พูดให้ผู้ป่วยเห็นความสามารถของตนเอง
พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
o= ลุกนั่งได้เฉพาะบนเตียง
o= นั่งทรงตัวนานไม่ได้
o= ไม่สามารถขยับท่องล่างเองได้
o = เดินไม่ได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถตอบสนองความต้องการด้านกิจวัตรประจำวันและเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
สามารถนั่งทรงตัวได้นานขึ้น
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัตกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
สอนญาติให้ช่วยเหลือผู้ป่วยให้ถูกวิธี และกระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง
แนะนำผู้ดูเเลให้ทำความสะอาดร่างกาย ความสุขสบายหลังผู้ป่วยขับถ่าย จัดหากระโถนใว้ไกล้ผู้ป่วย
ประเมินความสามารถในการปฏิบัตกิจวัตรประจำวันและการเคลื่อนไหวร่างกาย
ประเมินสภาพผิวหนังว่ามีรอยแดงหรือรอยกดทับหรือไม่
ขาดสารอาหารเนื่องจากภาวะของโรคมะเร็ง
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยอ่อนเพลีย
O : น้ำหนักลดลง
O : ร่างกายซูบผอมกล้ามเนื้อแขนขาลีบ ยกขาซ้ายเองไม่ได้
O : ผู้ป่วยมีเยื่อบุตาซีด
S : ผู้ป่วยทานอาหารได้น้อย
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และใกล้เคียงกับความต้องการของร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยอ่อนเพลียน้อยลง แขนขามีแรงมากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการขาดสารอาหาร เช่น อาการกล้ามเนื้อแขนขาลีบ เยื่อบุตาซีด
ดูแลให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น Hypoglycemia hyperglycemia เป็นต้น
ประเมินการให้โภชนบำบัด เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนขา การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุใต้ตา
ดูแลให้ได้รับยา ferrous Fumarate 1 x 2 P.O. pc ตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อลดอาการเยื่อบุใต้ตาซีด
ประเมินสารน้ำเข้าออกจากร่างกาย
เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเนื่องจากร่างกายส่วนล่างไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่าปวดสะโพกและขาข้างซ้ายมากไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
O: ขาซ้ายอ่อนแรงไม่สามารถเคลื่อนไหวเองได้
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่เกิดแผลกดทับ
เกณฑ์การประเมิน
ผิวหนังไม่มีรอยแดง ไม่เกิดการฉีดขาดของผิวหนังหรือแผลถลอก
ผิวหนังชุ่มชื้นและมีความยืดหยุ่นดี
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาพผิวหนัง โดยการสังเกตว่ามีรอยแดงหรือรอยกดทับหรือไม่ โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณที่ปุ่มกระดูกต่างๆ
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการพลิกตะแคงตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
สอนวิธีนวดหลังและผิวหนังบริเวณที่มีปุ่มกระดูกเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ถ้าผิวหนังแห้งให้ทาน้ำมันหรือโลชั่นช่วยให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นขึ้น
ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาดแห้ง และเรียบตึงอยู่เสมอ
สอนบริหารข้อต่างๆ ตามหลัก ROM
ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารเนื่องจากภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่าถ่ายเหลว
S: ผู้ป่วยมีอ่อนเพลีย
O : Stool Examination พบ Color Green
O : ผลตรวจ Speciman: Rectal Swab-Stool พบเชื้อSalmonella serogroup E
O : WBC Count 3.5^3 cell/uL
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
การติดเชื้อทางเดินอาหารลดลง
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
กิจกรรมการพยาบาล
ถ้ามีอาการอ่อนเพลียมากแนะนำให้พักผ่อนมากๆจำกัดกิจกรรมที่ทำ
ดูแลให้ได้รับยาฆ่าเชื้อ Ciprofloxacin (400) IV q 12 hr ตามแผนการรักษา
สังเกตและบันทึก ลักษณะ ปริมาณ สี ของอุจจาระ และจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระ/วัน
ติดตามผลทางห้องปฎิบัติการ
ล้างมืออย่างถูกต้องทุกครั้งก่อนและหลังให้การพยาบาลผู้ป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถ่ายอุจจาระ
ประเมินอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง
แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยากหรือกระตุ้นการทำงานของลำไส้ เช่น อาหารรสเผ็ดจัด และแนะนำให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
เกณฑ์การประเมิน
อุจจาระเป็นก้อน
ไม่มีอาการอ่อนเพลีย
อุจจาระสีเหลือง/สีน้ำตาล
WBC Count 5.10^3 cell/uL
ตรวจ Speciman: Rectal Swab-Stool ไม่พบเชื้อ
มีภาวะซีดเนื่องจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด
ข้อมูลสนับสนุน
O = เยื่อบุตาซีด
O = Hct = 29.9%
O = Hb = 10.3 g/dl
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่มีภาวะซีด
เกณฑ์การประเมิน
Hematocrit = 37-47%
Hemoglobin = 12-16g/dl
เยื่อบุตาซีดน้อยลง ไม่มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มึนศีรษะ
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการผิดปกติ เช่นมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มึนศีรษะ เพื่อประเมินภาวะซีด
ติดตามฮีมาโตคริตและฮีโมโกลบินเพื่อประเมินภาวะซีด
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ตับ ไข่แดง ผักใบเขียว เพื่อนำสารอาหารไปสร้างเม็ดเลือดแด
ทำกิจกรรมต่างๆตามปกติ แต่ปรับให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
ดูแลให้ได้รับยา Folic 1 x 1 P.O. pc และferrous Fumarate
1 x 2 P.O. pc ตามแผนการรักษา