Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรักษาด้วยไฟฟ้า Electro convulsive Therapy (ECT), นางสาวเครือวัลย์ …
การรักษาด้วยไฟฟ้า
Electro convulsive Therapy (ECT)
เป็นการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นสมองผ่านขั้วตัวนำไฟฟ้า electrode บริเวณขมับ (fronto-temporal) ที่วางอยู่บริเวณขมับเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการชักเกร็งทั้งตัว
การพยาบาล : ก่อนทำ ECT
การเตรียมด้านจิตใจ
บอกขั้นตอนการรักษาด้วยไฟฟ้าคร่าวๆ โดยบอกว่า เวลาทำจะไม่รู้สึกเจ็บปวดจะหลับไปชั่วครู่ ย้ำว่าขณะทำจะมีแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด
ใช้คำว่า รักษาด้วยไฟฟ้า ไม่ใช้คำว่า ช็อคไฟฟ้า
อธิบายถึงเหตุผลที่ต้องทำการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าการรักษาอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น
อธิบายอาการหลังทำที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ภาวะสับสน งุนงง และความลืมความจำชั่วคราว แล้วอาการจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ
การเตรียมด้านร่างกาย
ตรวจสัญญาณชีพ
ให้ผู้ป่วยอาบน้ำสระผมและเช็ดให้แห้ง
งดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนทำการรักษา
นำของมีค่า ฟันปลอม แว่นตาและโลหะอื่นๆออก
แจ้งญาติเพื่อเซ็นใบยินยอมการรักษา
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทุกครั้งก่อนทำ
ตรวจร่างกาย โดยเฉพาะสมอง (MRI) ปอด (CXR) หัวใจ (EKG) ความดันโลหิต การตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC, E’lyte, U/A, LFT
การซักประวัติเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับโรค
ทฤษฏีประสาทสรีระวิทยา (Neurophysiology Theory) เมื่อเกิดการชักมีผลต่อโครงสร้างของสมองส่วนลึก เช่น basal ganalia และ thalamus ได้รับการฟื้นฟู ทำให้อาการทางจิตลดลง
ทฤษฏีชีวเคมี (Biochemical Theories) และทฤษฏีประสาทเคมีวิทยา (Neurochemical Theories) การชักทำให้การส่งสัญญาณประสาทภายในเซลล์เข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง
ระยะชักแบ่งออกเป็น 5 ระยะ
ระยะหมดสติ (unconscious phase) ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว นานประมาณ 1-2 วินาที
ระยะเกร็ง (tonic phase) สามารถสังเกตเห็นฝ่าเท้ากดลงและมีการงอของนิ้วเท้า (plantar flexion) นานประมาณ 5-15 วินาที
ระยะกระตุก (clonic phase) นิ้วมือ นิ้วเท้าและหนังตาจะกระตุกเป็นจังหวะ นาน 15-30 วินาที
ระยะหลับ (sleep phase) ผู้ป่วยหลับนานประมาณ 5 นาที ไม่เจ็บปวด ไม่รู้ว่ามีการชักเกิดขึ้นและรู้สึกตัวตื่นเกือบทันทีหลังชัก
ระยะสับสน (confuse phase) หลังจากตื่นผู้ป่วยจะมีอาการมึนงง สับสน กระวนกระวาย นานประมาณ 15 วินาที
ผลกระทบระบบการหายใจ
การอุดตันของทางเดินหายใจจากสิ่งคัดหลั่ง
การขาดออกซิเจน และภาวะตัวเขียว
หลอดลมหดเกร็ง (bronchospasm)
ผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
กระดูกหัก
อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ
มีแผลในปาก แผลที่ลิ้น
การพยาบาล : ขณะทำ ECT
นอนหงายบนเตียง ใช้หมอนหนุนบริเวณต้นคอ เอว ป้องกันกระดูกสันหลังเคลื่อน
ให้ออกซิเจนทางจมูกก่อน 2-3 นาที
เช็ดทำความสะอาดขมับด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ หลังจากนั้นนำแผ่นอิเล็กโทรดที่ทาเยลลี่วางบริเวณขมับ
ใส่แผ่นยางกันกัดโดยใช้ผ้าก๊อซพันให้เรียบร้อย
ให้ยานำสลบกลุ่ม barbiturate (thiopental/propofol)
ให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อยากลุ่ม depolarizing muscle relaxant
ผู้ช่วยเหลือ 2 คน จับบริเวณไหล่และข้อมือของผู้ป่วยข้างละ 1 คน และผู้ช่วยอีก 2 คนจับบริเวณสะโพกและหัวเข่า ข้างละ 1 คน
แพทย์ทำการปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในสมองของผู้ป่วย ทำให้เกิดการชักซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของแขนขาแบบเกร็ง
วัด vital signs หลังชักทันที 1 ครั้งและวัดอีกครั้งหลัง 5 นาที ช่วยหายใจผู้ป่วยโดยให้ออกซิเจนผ่าน inflating bag
โดยปกติผู้ป่วยจะกลับมาหายใจได้เองภายใน 5 นาที เมื่อผู้ป่วยหายใจได้ดีแล้ว จับนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก
การพยาบาล : หลังทำ ECT
1.วัด vital signs ทุก 15 นาทีใน 1 ชั่วโมงแรกหลังทำ หลังจากนั้นวัดทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะปกติ
2.ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องได้รับสารน้ำอย่างต่อเนื่องมาถึงหลังการรักษา ควรดูแลอัตราหยดของสารน้ำให้คงที่
ไม่เร็วเกินไป ดูแลไม่ให้บริเวณที่ให้สารน้ำมีการอักเสบบวมแดง
3.เมื่อผู้ป่วยตื่นอาจมีอาการมึนงง สับสน บางคนกระสับกระส่ายและวุ่นวาย ควรดูแลด้วยความระมัดระวัง
ป้องกันการตกเตียง ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าให้ผู้ป่วยเพื่อให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
4.ให้ผู้ป่วยนอนพัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะควบคุมตัวเองได้ ประเมินระดับความรู้สึกตัว
ก่อนผู้ป่วยลุกจากเตียงประเมินอาการมึนงง สับสน
5.ไม่ควรซักถามประวัติส่วนตัวของผู้ป่วยเพราะทำให้ผู้ป่วยกังวลใจมากขึ้นที่นึกเรื่องราวต่างๆของตัวเองไม่ได้
พยาบาลควรให้กำลังใจ อธิบายถึงผลข้างเคียง ความจำจะค่อยๆกลับมา อาการปวดศีรษะหรือปวดหลังจะค่อยๆหายไป
6.ช่วยทบทวนกิจวัตรประจำวัน และกิจกรรมต่างๆของหอผู้ป่วย
เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวให้ถูกต้องและลดความวิตกกังวล
นางสาวเครือวัลย์ ทองดี รหัส 6101110801099