Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเลือดในสตรีตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
โรคเลือดในสตรีตั้งครรภ์
ABO Incompatibility
-
-
พยาธิสรีรภาพ
โดยทั่วไป anti-A มักจะเป็นสาเหตุของภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกเกิดได้บ่อยกว่า anti-B1 เฉพาะ IgG1 และ IgG3 เท่านั้นที่สามารถจับกับ Fc-receptor ของเซลล์ฟาโกไซต์แล้ว
กระตุ้นการทำลายเม็ดเลือดแดงได้ ภาวะนี้มักเกิดกับมารดาที่มีกลุ่มเลือด O A และ B ระหว่างการตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงของทารกจะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดของมารดา ซึ่งหากเป็นหมู่เลือด A จะมี antigen A ไปกระตุ้นให้มารดาสร้าง antibody ทำให้มี antibody มากและส่วนใหญ่จะเป็น IgG จะทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ทารกแรกเกิดมีภาวะซีด บวม และตัวเหลือ จนอาจเสียชีวิตได้ภายหลังคลอด
-
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
มีสาเหตุจากหมู่เลือดระบบ ABO ไม่เข้ากับมารดาพบเฉพาะในแถบประเทศตะวันตก ส่วนใหญ่จะพบในทารกหมู่เลือด A หรือ B ที่เกิดจากมารดาหมู่เลือด O แนวโน้มทารกที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในคนผิวดำ (Black) เนื่องจาก anti-A และ anti-B จะมีความแรงมากกว่าคนเอเชีย (Asian) และคนผิวขาว (Caucasian)
แนวทางการรักษา
การรักษาระหว่างตั้งครรภ์ยังไม่จำเป็น หากรุนแรงอาจต้องเปลี่ยนถ่ายเลือดในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่หากอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป การรักษาที่ดีที่สุดคือ การกระตุ้นให้คลอด
ความหมาย
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO เป็นหนึ่งสาเหตุของ hemolytic disease ของทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่มักจะเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ใดก็ได้อาการของโรคจะไม่เพิ่มความรุนแรงในครรภ์หลังๆ ทารกแรกเกิดมักมีอาการของโรคอยู่ในระดับปานกลาง ไม่มีอาการรุนแรง
การพยาบาล
-
-
2.อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม พยาธิสรีรภาพ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป รวมถึงการรักษาและพยาบาล แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว
5.ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟ ให้วางทารกไกลแสงไฟพอประมาณ ระวัง burn พลิกตัวทุก 3-4 ชั่วโมง และปิดตาทารกด้วย eye patches
-
-
Thalassemia
อาการและอาการแสดง
- อาการรุนแรงปานกลาง (thalassemia intermediate) ได้แก่ Hb H, α-thalassemia/Hb CS โดยจะมีอาการซีดปานกลาง ตับและม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลือง มีการเจริญเติบโตเกือบเหมือนคนปกติ
- กลุ่มที่ไม่มีอาการ (thalassemia minor) ได้แก่กลุ่มที่เป็นพาหะ และกลุ่ม homozygous Hb E, homozygous Hb CS โดยจะไม่มีอาการแสดง แต่อาจมีฮีโมโกลบินต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
- อาการรุนแรงมาก (thalassemia major) ่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเสียชีวิตไม่กี่ชั่วโมงหลังหลอด ทารกจะมีลักษณะบวมน้ำทั้งตัว ซีด ตับม้ามโต รกมีขนาดใหญ
-
พยาธิสรีรภาพ
คนปกติร่างกายจะมี α-globin และ β-globin อยู่ในสัดส่วนที่สมดุลกัน เมื่อมีความผิดปกติของยีนทำให้การสังเคราะห์ α-globin และ β-globin ลดน้อยลงหรือไม่สร้างเลย จะทำให้ globin ที่เหลืออยู่รวมตัวกันเอง แล้วตกตะกอนอยู่ในเม็ดเลือด ทำให้เลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ ขาดความยืดหยุ่นผนังของเม็ดเลือดแดงถูกทำลายง่าย เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น
ชนิดของโรคธาลัสซีเมีย
α-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทำให้มีการสร้าง α-globin น้อยลงหรือไม่สร้างเลยที่พบบ่อยได้แก่ α-thalassemia 1, α-thalassemia-2, Hb H และ Hb Bart’s hydrops fetalis
β-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทำให้มีการสร้าง β-globin น้อยลงหรือไม่สร้างเลยที่พบบ่อยได้แก่ β-thalassemia trait, homozygous β-thalassemia, Hb E และ βthalassemia/Hb E
การประเมินและการวินิจฉัย
- การตรวจร่างกาย อาจพบภาวะซีด ตับและม้ามโต ตัวเหลือง ตาเหลือง มีโครงสร้างใบหน้าเปลี่ยนแปลงผิดปกติ(Thalassemia facies)
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจ CBC จะพบ Hb, Hct และจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ ทำ blood smear จะพบเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและติดสีจาง แต่การตรวจ CBC และ blood smear เป็นต้น
- การซักประวัติ เกี่ยวกับโรคโลหิตจางในครอบครัว ประวัติโรคเลือด หรือโรคทางพันธุกรรมของครอบครัว อาการและอาการแสดงของโรคโลหิตจาง
สาเหตุ
Thalassemia เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้มีความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบิน (globin) ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นมามีความผิดปกติ ถูกทำลายง่ายและมีอายุสั้น ซึ่งความผิดปกติในการสังเคราะห์ globin มี 2ลักษณะ คือ
ความผิดปกติทางโครงสร้าง หมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงการเรียงตัวของ amino acid บน polypeptide chain ทำให้เกิด Hb ที่ผิดปกติ
ความผิดปกติทางปริมาณ หมายถึง มีการสร้าง globin สายใดสายหนึ่งลดลงหรือไม่สร้างเลยโดยที่โครงสร้างของ polypeptide chain ยังปกติ ถ้าการสร้าง globin สาย alpha น้อยลง เรียกว่า α-thalassemia ถ้า globin สาย beta น้อยลง β-thalassemia
ผู้ที่มีโอกาสเป็นพาหะของโรคได้แก่ คนทั่วไปมีโอกาสจะเป็นพาหะหรือมียีนของธาลัสซีเมียใดชนิดหนึ่ง ทารกในครรภ์อาจเป็นธาลัสซีเมีย คือคู่สามีภรรยาที่เคยมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือคู่สามีภรรยาที่มียีนธาลัสซีเมียพวกเดียวกัน
แนวทางการรักษา
- การให้ยาขับเหล็ก ให้ในรายที่ได้รับเลือดมากกว่า 10-20 ครั้ง หรือ serum ferritin มากกว่า1,000 mg Deferoxamine(Desferal®, DFO)
-
- การให้เลือด เพื่อป้องกันไม่ให้มีภาวะซีด และรักษาระดับฮีโมโกบินให้สูงพอที่จะกดไขกระดูกของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียไม่ให้สร้างเม็ดเลือดแดงมากเกินไป
-
- ทางเลือกของคู่สมรสที่มีอัตราเสี่ยงในการมีลูกเป็นโรคชนิดที่รุนแรงคือ ไม่มีลูกของตนเอง โดยคุมกำเนิดหรือทำหมัน
- การให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับ สาเหตุ อาการ การดำเนินของโรค การรักษา และการควบคุมป้องกันโรค
ความหมาย
โรคธาลัสซีเมีย (thalassemia) เป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดที่พบบ่อยมากที่สุดในประเทศไทย ในเม็ดเลือดแดงมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ Hb ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลที่ประกอบด้วย heme และ globin โดย heme มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ธาตุเหล็ก และ porphyrin ส่วน globin ประกอบด้วยสายของโปรตีน 4 สาย (polypeptide chain) โดย polypeptide chain มีอย่างน้อย 4 ชนิด
การพยาบาล
-
ในกรณีที่ทั้งสตรีตั้งครรภ์และสามีเป็นคู่เสี่ยงของโรคธาลัสซีเมียที่อาการรุนแรง ควรแนะนำเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด และให้สตรีตั้งครรภ์และสามีตัดสินใจว่าจะดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปหรือยุติการตั้งครรภ์
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ลักษณะของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความแตกต่างระหว่างเป็นโรคและเป็นพาหะ อาการและอาการแสดงของโรคผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การรักษาและการพยาบาลที่จะได้รับ
ในกรณีที่ตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ให้การสนับสนุนทางด้านจิตสังคมแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว พร้อมทั้งให้การดูแลให้ได้รับการส่งต่อ
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย และสามีเข้าใจถึงความจำเป็นในการคัดกรองหาพาหะธาลัสซีเมีย
ในกรณีที่ดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
ป้องกันการติดเชื้อในระบบต่างๆ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การรับประทานยาตามแผนการรักษา การมาตรวจตามนัด และหากมีอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์ทันที
Rh incompatibility
การพยาบาล
เฝ้าระวังและตรวจหา antibodies ในหญิงตั้งครรภ์ และการดูแลสุขภาพของทารกในครรภ์โดยให้การดูแลดังนี้
-
-
-
การประเมินและการวินิจฉัย
- การซักประวัติการตรวจกลุ่มเลือด ทั้งของสตรีตั้งครรภ์และคู่สมรส ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดที่ผ่านมาเกี่ยวกับการไม่เข้ากันของกลุ่มเลือดระบบ Rh
- การตรวจร่างกาย ทารกมีภาวะโลหิตจาง ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อย จนถึงซีดมาก ตัวบวมน้ำ ตับม้ามโต และเหลืองเร็วมากคลอดครั้งที่ 2 ขึ้นไป มีอาการรุนแรงจนทำให้เกิด hydrops fetalis ทารกจะมีภาวะบวมน้ำและมีการไหลเวียนล้มเหลว
-
- ผลการตรวจ Coombs’ test ให้ผลบวกอย่างรุนแรง
- ผลการตรวจความเข้มข้นของเลือดพบ hematocrit ต่ำมาก reticulocyte count สูงพบลักษณะของ severe hemolysis
-
อาการและอาการแสดง
หากทารกมีhemolysis ที่รุนแรงขณะอยู่ในครรภ์ทารกจะซีดมาก อาจเกิดหัวใจวายตัวบวมนํ้าที่ เรียกว่า hydrops fetalis และอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การไม่เข้ากันของกลุ่มเลือด Rh ของมารดาและทารกในครรภ์ Rh เป็น Antigen ตัวหนึ่งที่มีเม็ดเลือดแดง พบในคนผิวขาวร้อยละ 85 และร้อยละ 95 พบในคนผิวดำ อินเดียนแดง และภาค
ตะวันออกของอเมริกา มีRh positive นอกนั้นจะมีRh negative
ความหมาย
เป็นหมู่เลือดที่มีความสำคัญเช่นกัน ถูกกำหนดโดยสารแอนติเจนที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงคือสาร ดี(D antigen) โดยคนที่มีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์เอชบวก (Rh positive) ส่วนคนที่ไม่มีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์
เอชลบ (Rh negative)
พยาธิสภาพ
Rh Isoimmunization จะเกิดขึ้นเมื่อแม่มี Rh negative และทารกมี Rh positive โดยในขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของมารดาทำให้เกิดการสร้าง antibodies ในแม่ซึ่ง antibodies นี้จะไหลเวียนกลับเข้าสู่ทารกในครรภ์ และantibodies เหล่านี้จะไปจับและทำลายเม็ดเลือดแดงของทารก ทำให้ทารกมีภาวะโลหิตจาง