Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดมีอาการเขียว (Congenital heart disease)
ชนิดที่มีเลือดไปปอดน้อยมีอาการเขียว (Decrease pulmonary blood flow
Tetrology of Fallot (TOF หรือ TF)
พยาธิสภาพ: เนื่องจากมีการตีบหรืออุดกั้นของเวนตริเคิลขวา เช่น การตีบที่ลิ้นพัลโมนารี ร่วมกับ มี VSD ขนาดใหญ่ จะ ทำให้ความดันเลือดเวนตริเคิลขวาและซ้ายใกล้เคียงกันหรือเทำกันและถ้ามีการตีบของลิ้นพัลโมนารีมากขึ้น หรือ บางครั้งมีการหดเกร็งของเนื้อเยื่อ infundibulum บริเวณใต้ลิ้นพัลโมนารีปริมาณเลือดที่ไปปอดจะลดลง ความดันในเลือดแดงพัลโมนารีจะต่ำลง ความดันในเวนตริเคิลขวาจึงสูงขึ้น ทำให้เลือดดำส่วนใหญ่ไหลลัดจากเวนตริเคิลขวาไป ผสมกับเลือดแดงในเวนตริเคิลซ้ายเป็นผลให้เวนตริเคิลซ้ายบีบตัวส่งเลือดที่มีค่าความเข้มข้นของ ออกซิเจนต่ำกว่าปกติ ไหลออกไปเลี้ยงร่างกาย ผู้ป่วยจึงมีอาการเขียวมากขึ้น อาการเขียวขึ้นอยู่กับความรุนแรงของ การตีบของทางออกของเวนตริเคิลขวา
อาการและอาการแสดง:
อาการเขียวทั่วร่างกาย (central cyanosis) จะพบได้บ่อยที่สุด โดยอาการเขียวจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงอายุ3-6 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่เด็กจะมีอาการเขียวเวลาร้องไห้ หรือมีกิจกรรมต่างๆที่ต้องออกแรงมาก เช่น หลังดูดนม อาการเขียวมักเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยง่าย และมีประวัตินั่งยองๆเวลาที่มีอาการเหนื่อย (squatting) เมื่อเด็กโตขึ้นอาจมีอาการของภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย คือ ภาวะสมองขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน (anoxic spells) ผู้ป่วยจะมีอาการเขียวมากขึ้นร่วมกับอาการหอบลึก และมักพบในเด็กอายุต่ำากว่า 2 ปี เนื่องจาก บางครั้งเนื้อเยื่อบริเวณใต้ลิ้นพัลโมนารีจะมีการบีบรัดหรือหดเกร็งตัว จึงส่งผลให้มีเลือดไหลไปปอดน้อยลง
ภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะในเด็กเล็กในช่วงอายุ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากมี VSD ขนาดใหญ่ ทำให้มีปริมาณเลือดไหลลัดจากหัวใจซีกซ้ายไปขวามาก จึงมีเลือดไปปอดมากขึ้น
การรักษา:
เด็กที่มีอาการไม่มาก ควรให้มีค่าฮีมาโตคริทอยู่ประมาณร้อยละ 50-60 โดยให้ธาตุเหล็ก วันละ 2-6มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน หรือในบางรายผู้ป่วยอาจมีอาการซีดจากการขาดเหล็ก ควรให้เหล็กเสริม
เด็กที่มีประวัติของภาวะ anoxic spells ชัดเจน ควรให้ propranolol ขนาด 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ทางปากให้ทุก 6 ชั่วโมง
เด็กที่มีอาการ anoxic spells มีหลักการรักษา ดังนี้
จับให้เด็กอยู่ในท่าเข่าชิดอก (knee chest position) และดูแลให้ออกซิเจน
ให้สารน้ำและกลูโคสทางหลอดเลือดดำ เพื่อให้สารน้ำและยา
ให้โซเดียมไบคาร์บอเนต ในรายที่มีภาวะออกซิเจนเป็นเวลานาน และมี acidosis
ให้ sedative ทำให้สงบ เช่น chloral hydrate หรือ morphine ในขนาด 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
Pulmonary atresia (PA)
พยาธิสภาพ:เนื่องจากมีการตันของลิ้นพัลโมนารี หรือมีการตีบที่ลิ้นพัลโมทนารี เวนตริเคิลขวาจึงไม่สามารถบีบตัวส่งเลือดดำ ผ่านลิ้นพัลโมนารีที่ตันหรือตีบมากไปสู่ปอดได้ แต่หัวใจดำนขวาจะสามารถส่งเลือดดดำไปสู่ปอดได้โดยผ่านทาง foramen ovale โดยเอเตรียมขวาจะบีบเลือดผ่าน foramen ovaleไปผสมกับเลือดแดงในเอเตรียมซ้ายแล้วลงสู่เวน ตริเคิลซ้าย เวนตริเคิลซ้ายจะบีบตัวส่งเลือดผสมออกไปสู่หลอดเลือดเอออร์ต้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ใน ขณะเดียวกันเลือดบางส่วนจะไหลจากหลอดเลือดเอออร์ต้า ผ่าน PDA ไปฟอกที่ปอดได้สวนในรายที่มี VSD เลือดดำบางส่วนจากเวนตริเคิลขวาจะไหลผ่าน VSD เข้าผสมกับเลือดแดงในเวนตริเคิลซ้าย แล้วไหลออกสู่หลอด เลือดเอออร์ต้า และเลือดบางส่วนไหลไปสู่ปอดโดยผ่าน PDA ผู้ป่วยที่มี PA มักมีเวนตริเคิลขวาเล็กและหนา และมีลิ้น ไตรคัสปิดเล็กร่วมด้วย
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมักมีอาการเขียวให้เห็นตั้งแต่ในวัยทารกแรกเกิด อาการเขียวจะขึ้นอยู่กับขนาดของ PDA ด้วย ถ้าในรายที่ PDA ปิด ผู้ป่วยจะมีอาการเขียวมากทันที และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
การรักษา
โดยการใช้ยา prostaglandin E1 หยดเข้าหลอดเลือดดำมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ PDA ปิด ก่อนไปทำการผ่าตัดให้มีการติดต่อระหว่างเวนตริเคิลขวากับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี (systemic- pulmonary shunt) โดยใช้ homograft และค่อยทำผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติภายหลัง เมื่อเด็ฏมีอายุและน้ำาหนักเหมาะสมที่จะรับการ ทำผ่าตัด จะทำให้อัตราตายลดอย่างมาก
ในรายที่เป็น PA ไม่มี VSD และมีเวนตริเคิลขวา และหลอดเลือดแดงพัลโมนารีที่มีขนาดโตพอ อาจพิจารณาทำ pulmonary valvotomy หรือ การทำ systemic- pulmonary shunt ร่วมกับ atrial septostomy ก็ได้
ชนิดมีอาการเขียวที่มีเลือดไปปอดมาก (increase pulmonary blood flow)
Transposition of the great arteries (TGA)
พยาธิสรีรภาพ: เมื่อมีการสลับที่กันของหลอดเลือดเอออร์ต้ากับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี โดยหลอดเลือดเอออร์ต้าออกจาก เวนตริเคิลขวา และหลอดเลือดแดงพัลโมนารีออกจากเวนตริเคิลซ้ายทำให้เวนตริเคิลขวาบีบตัวส่งเลือดดำออกสู่เอออร์ต้าแล้ะวออกไปเลี้ยงร่างกาย และกลับเข้าสู่่เอเตรียมขวา ส่วนเวนตริเคิลซ้ายบีบตัวส่งเลือดแดงออกสู่หลอดเลือด แดงพัลโมนารีเพื่อไปฟอกที่ปอด และกลับเข้าสู่เอเตรียมซ้ายดังนั้นจะต้องมีการติดต่อกันระหว่าง 2 วงจร มิฉะนั้นผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมี VSD เป็นทางติดต่อระหว่าง 2 วงจร เลือดแดงจะ ไหลจากเวนตริเคิลซ้าย ผ่าน VSD เข้าสู่เวนตริเคิลขวาผสมกับเลือดดำ แล้วเวนตริเคิลขวาบีบตัวส่งเลือดผสมออกสู่หลอดเลือดเอออร์ต้าออกไปเลี้ยงร่างกาย ทั้งนี้จะช่วยให้เลือดที่ออกไปเลี้ยงร่างกายจะเป็นเลือดที่มีความเข้มข้นของ ออกซิเจนสูงขึ้นจากเดิม แต่ก็ยังมีค่าต่ำกว่าปกติผู้ป่วยอาจจะมีอาการเขียวได้ เช่นเดียวกันจะมีเลือดไปปอดมากกว่า ปกติ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ ในบางรายอายมี PS ร่วมด้วยทำให้เลือดไปปอดลดลงได้ ถ้าหากมีการตีบมากหรือรุนแรงก็ทำให้เกิดอาการเขียว หายใจหอบลึก เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เป็น TOF ได้
อาการและอาการแสดง: ผู้ป่วยที่เป็น TGA และมี infact ventricular septum ทารกจะมีอาการเขียวมากตั้งแต่แรกเกิดหรือภายใน 2-3 วันแรกหลังเกิด ต่อมาจะมีอาการหอบเหนื่อย มีอาการของหัวใจวาย เพราะ foramen ovale และ PDA ซึ่งเป็นทาง ติดต่อของการไหลเวียนเลือดระหว่าง 2 วงจรได้ปิดตัวลงผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตในเวลาอันสั้นหลังเกิด ส่วนในรายที่มี VSD ร่วมด้วย จะมีอาการเขียวน้อย หรืออาการเขียวไม่ชัดเจน มีอาการเหนื่อยง่าย แต่จะมีอาการของหัวใจวายที่ รุนแรง อาการจะคล้ายกับผู้ป่วยที่เป็น VSD สำหรับในรายที่มี VSD และ PS จะมีอาการเขียว และหอบลึก คล้าย ผู้ป่วยที่เป็น TOF
การรักษา
ในทารกแรกเกิดที่เป็น TGA และ intact ventricular septum ควรให้ยา prostaglandin E เพื่อป้องกันไม่ให้ PDA ปิด จะช่วยให้ทารกมีชีวิตอยู่ได้ระดับหนึ่ง แล้วจึงผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ โดยทำRashkind procedure (balloon atrial septostomy) ส่วนในผู้ป่วยที่มีVSD ร่วมด้วย มีโอกาสเกิด pulmonary vascular disease หรือ เป็น Eisenmenger complex ได้เร็วภายในอายุ 2-3 เดือน จึงอาจทำการผ่าตัดชั่วคราวโดยการทำ pulmonary artery banding
การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติ ในปัจจุบันนิยมทำ arterial switch operation โดยการผ่าตัดสลับหลอดเลือดเอออร์ต้ากับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี ทำให้หลอดเลือดเอออร์ต้าออกจากเวนตริเคิลซ้าย และหลอดเลือด แดงพัลโมนารีออกจากเวนตริเคิลขวา รวมทั้งย้ายหลอดเลือดcoronary arteries จากหลอดเลือดเอออร์ต้าไปยัง หลอดเลือดแดงพัลโมนารีด้วย ในทารกแรกเกิด ทั้งในรายไม่มี VSD และมี VSD ถ้ามี VSD ให้ผ่าตัดปิด VSD ในคราวเดียวกัน การผ่าตัดมักทำในทารกแรกเกิดอายุ 2-3 สัปดาห์ หรืออาจทำ arterial switch operation เป็นการผ่าตัด เปลี่ยนทางเดินของเลือดในเอเตรียมขวา และซ้าย โดยทำทางเดินของเลือดดำในเอเตรียมขวาผ่านลิ้นไมตรัลไปสู่เวน ตริเคิลซ้าย และทำทางเดินของเลือดแดงในเอเตรียมซ้ายผ่านลิ้นไตรคัสปิดไปสู่เวนตริเคิลขวา จึงเป็นการสลับการ หน้าที่ของเวนตริเคิลขวาและซ้าย ส่วนรายที่มี VSD และมี PS ร่วมด้วยจะทำการผ่าตัด Restelli’s operation โดย การผ่าตัดสร้างช่องทางใหม่สำหรับเวนตริเคิลซ้ายและขวา คือใช้เยื่อหุ้มหัวใจเย็บเป็นช่องทางให้เลือดแดงออกจาก เวนตริเคิลซ้าย ไหลออกสู่หลอดเลือดเอออร์ต้า และเย็บปิดช่องทางออกของเวรตริเคิลขวา (ปิดลิ้นพัลโมนารี) แล้วต่อท่อ homograft valve condult ระหว่างเวนตริเคิลขวาเข้ากับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี
Tricuspid atresia (TA)
พยาธิสรีรภาพ:เมื่อมีการตันของลิ้นไตรคัสปิด เลือดดำจากเอเตรียมขวาจะไหลไปสู่เอเตรียมซ้าย โดยผ่านทาง foramen ovale หรือ ASD และไปผสมกับเลือดแดงที่ฟอกมาจากปอดที่เอเตรียมซ้าย เลือดดังกล่าวจะไหลผ่านลิ้นไมตรัลลงสู่ เวนตริเคิลซ้าย และไหลสู่เอออร์ต้าออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายในขณะเดียวกันเลือดผสมบางส่วนจะถูกส่งไป ฟอกที่ปอดทาง VSD โดยเวนตริเคิลซ้ายจะบีบเลือดผสมผ่าน VSD ไปสู่เวนตริเคิลขวาและผ่านลิ้นพัลโมนารีออกสู่ หลอดเลือดแดงพัลโมนารีไปฟอกที่ปอด และมักจะพบว่าเวนตริเคิลขวาขนาดเล็กและมีผนังหนาส่วนใหญ่จะพบ VSD มีขนาดเล็ก หรือการตีบบริเวณใต้ลิ้นพัลโมนารีร่วมด้วย ทำให้มีเลือดไปสู่ปอดน้อยกว่าปกปติผู้ป่วยจะ แสดงอาการเขียวตั้งแต่วัยทารก ส่วนในบางรายที่มี VSD ขนาดใหญ่และไม่มีทางอุดกั้นของการไหลของเลือดไปปอด ทารกจะมีอาการเหนื่อยจากภาวะหัวใจวาย ส่วนในรายที่ไม่มี VSDเลือดผสมจะถูกส่งจากเวนตริเคิลซ้ายและไปสู่ หลอดเลือดเอออร์ต้า โดยเลือดบางส่วนจะถูกส่งไปที่ปอดโดยผ่านทาง PDA ได้
อาการและอาการแสดง:ผู้ป่วยมักมีอาการเขียวให้เห็นตั้งแต่ในวัยทารก การตรวจร่างกาย จะพบคล้ายกับผู้ป่วย TOF คือเสียง systolic murmur บริเวณขอบซ้ายของกระดูกอก บางรายอาจได้ยิน continuous murmur ของ PDA ขนาดใหญ่ หรือมี TGA ร่วมด้วย จะมีอาการเขียวไมมากแต่จะมีภาวะหัวใจวาย ในรายที่มีภาวะหัวใจซีกขวาวาย อาจมีตับโตร่วม ด้วย ในเด็กเล็กบางรายอาจมีหัวใจเต้นเร็ว และอาการหายใจลำบาก ในเด็กโตอาจมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และมี นิ้วมือนิ้วเท้าปุ้ม
การรักษา
การรักษาโดยการใช้ยา prostaglandin E1 หยดเข้าหลอดเลือดดำมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ PDA ปิด ก่อนไปทำการผ่าตัด
การผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ จำพิจารณาทำผ่าตัดในรายที่เป็นเด็กเล็กที่มีอาการเขียวมาก และมีเลือดไปปอดน้อย โดยทำ systemic- pulmonary shunt ในบางรายที่มีทางติดต่อระหว่างเอเตรียมซ้ายและขวาไม่ใหญ่พอ หรือมี ASD ขนาดเล็ก อาจพิจารณาทำ balloon atrial septostomy ในระหว่างการสวนหัวใจ ซึ่งจะช่วยหู้ป่วย เหนื่อยน้อยลง
การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติ โดยการทำผ่าตัด bidirectional Glenn operation (Cavopulmonaryanastomosis) โดยการนำ proximal end superior vena cava ต่อเข้ากับด้านข้างของ right pulmonary artery การผ่าตัดนี้ไม่ควรทำในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน และการทำผ่าตัด Fontan operation ซึ่งนิยมทำในเด็กที่มีอายุ มากกว่า 2 ปี
การพยาบาล
ลดการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อต่าง ๆ
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจให้ดีขึ้น
ลดภาระการทำงานของหัวใจ
ประเมินสภาพการกำซาบของเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ
ทำความสะอาดภายในช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ
จัดให้เด็กนอนราบเข่าชิดอก หรือนั่งยองๆ (knee chest position)