Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่12 การพยาบาลอาชีวอนามัย, นางสาวศศิภา แก้วอาษา 61141006…
หน่วยการเรียนรู้ที่12 การพยาบาลอาชีวอนามัย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัย หมายถึง สุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพในทุกภาคส่วนของประเทศ ที่ควรจะมีสภาวะที่สมบูรณ์ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สัมพันธภาพ และสถานภาพในสังคม ขณะเดียวกันอาชีวอนามัยในฐานะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและผลลัพธ์ของการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ปกป้องคุ้มครอง และธำรงรักไว้ซึ่งสภาวะอนามัยทั้งร่างกาย จิตใจ
องค์การอนามัยโลก และองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้กำหนดขอบเขตของงานอาชีวอนามัยประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการ คือ
การส่งเสริม(Promotion) และธำรงไว้(Maintenance) สุขภาพร่างกายและจิตใจความเป็นอยู่ที่ดีในสังคมผู้ใช้แรงงาน
การป้องกัน (Prevention) ไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรม ผิดปกติจากการทำงาน
การปกป้องคุ้มครอง (Protection) ผู้ประกอบอาชีพไม่ให้ทำงานในสภาพที่เสี่ยงอันตราย เป็นสาเหตุให้เจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ
4 . การจัด (Placing) ให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การจัดหรือปรับปรุงสภาพงานให้เหมาะสม กับลักษณะของงานและผู้ปฏิบัติงาน (Adaptation of Work)
ขอบเขตของการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นงานที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านบริการ และด้านพาณิชยกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันโรคอันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ
สิ่งแวดล้อมจากการทำงานที่คุกคามสุขภาพ
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน(Working environment) หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวในขณะทำงาน อาจจะเป็นคน เช่น ผู้ร่วมงาน นายจ้าง ลูกจ้าง หรือสัตว์ เชื้อโรค หรือสิ่งของ ได้แก่ เครื่องจักรกล สารเคมี ยาฆ่าแมลง พลังงาน เช่น แสง เสียง ความร้อน รังสี
สิ่งแวดล้อมที่คุกคามต่อสุขภาพ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
สิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ (Physical Health Hazards) เช่น ความร้อน ความเย็น แสง เสียง ความสั่นสะเทือน บรรยากาศที่ไม่เหมาะสม เช่น เป็นตะคริว เป็นลมอ่อนเพลีย
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยด้านสารเคมี (Chemical Health Hazards) เช่น ก๊าช ไอ ฝุ่น ควัน เช่น โรคพิษตะกั่วในคนงานหลอมตะกั่ว
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางชีวภาพ (Biological Health Hazards) เช่น การสัมผัสหรือได้รับสารจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ แบคทีเรีย ปาราสิต และเชื้อไวรัส ที่มีอยู่ในสถานประกอบการ เช่น โรคแอนแทรกซ์ในกลุ่มคนงานเกี่ยวกับสัตว์ หรือโรงงานฟอกหนัง เป็นต้น
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางจิตวิทยาสังคม (Psychosocial Health Hazards) หมายถึงสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ทำให้เกิดความเครียดจากการทำงาน เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน(Physical work condition) ภาระงาน(Workload) ที่ไม่เหมาะสม
การยศาสตร์ หรือ เออร์กอนอมิกส์ (Ergonomics)
การยศาสตร์ หรือ เออร์กอนอมิกส์ หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยในการทำงาน เป็นการออกแบบงาน รวมทั้งเครื่องมือให้เหมาะสมกับการทำงานประเภทนั้นๆ
องค์ประกอบของเออร์กอนอมิกส์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1.องค์ประกอบด้านกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) คำนึงถึงขนาด และรูปร่างของคน และท่าทางของคนในขณะทำงาน
2.องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา (Physiology) คำนึงถึงการใช้พลังงานในขณะทำงาน และสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบทางด้านจิตวิทยา (Psychology) มุ่งเน้นความชำนาญในงาน การเข้าใจในลักษณะงาน จิตวิทยาในการทำงาน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกแบบงานให้เหมาะสมกับคน
ช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการทำงาน
ลดอุบัติเหตุจากการทำงาน
ลดความเมื่อยล้าจากการทำงาน
ก่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน
โรคจากการประกอบอาชีพ
โรคจากการประกอบอาชีพ(Occupational disease) หมายถึงความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบอาชีพ โดยมีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ลักษณะท่าทางการปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง
โรคจากการประกอบอาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
โรคจากการประกอบอาชีพ มีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางเคมี ปัจจัยทางชีวภาพ และปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมและเออร์กอนอมิกส์
โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมีดังต่อไปนี้ เช่น เบริลเลียมหรือสารประกอบของเบริลเลียม แคดเมียม หรือสารประกอบของแคดเมียม
โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ เช่น โรคหูตึงจากเสียง โรคจากความสั่นสะเทือน
โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ ได้แก่ โรคติดเชื้อ หรือโรคปรสิตเนื่องจากการทำงาน
โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน เช่น โรคปอดจากโลหะหนัก โรคบิสสิโนซิส
หลักการป้องกันและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ
วิธีการควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อม
หลักการทดแทน (Substitution) วิธีการทำความสะอาดใช้ผงซักฟอกผสมน้ำ แทนพวกตัวละลายที่เป็นสารอินทรีย์สารละลายประเภทเบนซีน (มีพิษร้ายแรง) สามารถใช้โทลูอีนแทนได้
การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Changing the process) การใช้เครื่องขัดทรายที่มีความเร็วรอบต่ำ แทนเครื่องที่มีความเร็วรอบสูงการทาสีด้วยแปรง แทนเครื่องพ่นสี (ลดอนุภาคแขวนลอยของสีในอากาศ)
การแยกออกหรือใช้ระบบปิด (Isolation or Enclosure) แยกกระบวนการผลิต หรือเครื่องจักรที่มีเสียงดังออกการใช้ฉากดูดเสียงกั้น
วิทยาการระบาดในงานอาชีวอนามัย
ระบาดวิทยา หมายถึง การศึกษาการกระจายของโรค และปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุ หรือสัมพันธ์กับการเกิดโรคในประชากร
ปัจจัยของการเกิดโรคและการบาดเจ็บ
ปัจจัยทางด้านโฮสต์หรือผู้ปฏิบัติงาน (Host) เพศ อายุ ภาวะโภชนาการ งานอดิเรก สันทนาการ การใช้สารเสพติด ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงาน
หลักการพิจารณาการเป็นสาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุของการเกิดโรคนั้นต้องเพียงพอ (Sufficient Cause) หรือจำเป็นต่อการเกิดโรค (Necessary Cause) โดยคำนึงถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างการได้รับปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์ทางสุขภาพด้วย
การเฝ้าระวังโรคและปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพ
การเฝ้าระวังโรคและปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพ หมายถึง ดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อติดตามสังเกต พิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะการเกิดการกระจาย ปัจจัยสาเหตุและสิ่งคุกคามสุขภาพต่างๆ
วัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังและปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพ
1.) เพื่ออธิบายสถานะสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
2.)เพื่อประเมินและพยากรณ์แนวโน้มสภาวะการเกิดโรคและอุบัติเหตุจากการทำงาน
3.) เพื่อทราบข้อมูลการเกิดโรคและกระตุ้นให้เกิดการศึกษาด้านวิทยาการระบาดโรคจากการประกอบอาชีพ
กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง กับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
กฎหมายมีความสำคัญต่องานอาชีวอนามัย เพราะเป็นการหามาตรการ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อนำมาใช้ควบคุมสถานประกอบการให้ปฏิบัติตาม เพื่อเป็นผลดีแก่เจ้าของสถานประกอบการและลูกจ้าง
พยาบาลอาชีวอนามัยเป็นผู้ให้บริการสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงานตามนโยบาย แผนงาน ของบริษัทหรือองค์กร จำเป็นต้องมีความรู้ และความเข้าใจบทบาทหน้าที่ซึ่งดำเนินการให้สอดคล้องเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจากบทบาทของพยาบาลในฐานะผู้ปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
บทบาทของพยาบาลอาชีวอนามัย
การพยาบาลอาชีวอนามัย(Occupational health nursing) หมายถึงการพยาบาลเฉพาะทาง ที่มุ่งเน้นให้บริการแก่บุคคลวัยแรงงานทุกอาชีพในสถานพยาบาลและแหล่งประกอบอาชีพ
ขอบเขตของการพยาบาลอาชีวอนามัย
งานการพยาบาลอาชีวอนามัยกำหนดขอบเขตการบริหารจัดการบริการพยาบาลอาชีวอนามัย ที่เป็นปัจจุบันและครอบคลุมการบริการพยาบาลอาชีวอนามัยในความรับผิดชอบหรือตามบริบทของหน่วยงาน
บทบาทของพยาบาลอาชีวอนามัย
การบริการส่งเสริมสุขภาพ และจัดทำโครงการป้องกันอันตรายและสิ่งแวดล้อม (Health promotion /protection) ส่วนประกอบหลักคือการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันทั้งตัวบุคคลและกลุ่มแรงงานในบริษัท
การประเมินสุขภาพพนักงานและการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพและสิ่งคุกคามต่อสุขภาพในการทำงาน
การสำรวจสถานประกอบการและการค้นหาสิ่งคุกคาม พยาบาลอาชีวอนามัยจำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังและติดตามเพื่อค้นหาสิ่งคุกคามตอ่สุขภาพของแรงงาน
จากบทบาทหลักของพยาบาลอาชีวอนามัย สามารถแบ่งเป็น 5 ด้านใหญ่ๆ ดังนี้
1.นักบริหาร (Administrator)
2.นักวิชาการ ( Educator)
3.นักวิจัย( Researcher )
4.เป็นผู้ให้คำปรึกษา ( Consultant)
5.นักปฏิบัติการ( Practitioner)
9.การสำรวจสถานประกอบการ
วัตถุประสงค์ ของการสำรวจสถานประกอบการ ในงานพยาบาลอาชีวอนามัย
เพื่อค้นหาศักยภาพเชิงอันตรายและอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และ สังเกตการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
เพื่อเก็บข้อมูลการได้รับสัมผัสสิ่งอันตราย โดยเทียบกับค่ามาตรฐานต่างๆ
เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนดำเนินการ/ประเมินความสำเร็จของนโยบายหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน
ชนิดของการสำรวจ
การสำรวจเป็นระยะๆ (Formal Inspection) โดยทีมที่รับผิดชอบด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ภายหลังการสำรวจมีการจัดทำรายงานผลการสำรวจ
การสำรวจเพื่อตรวจสอบกับค่ามาตรฐานต่างๆทางกฎหมาย
นางสาวศศิภา แก้วอาษา 61141006-3 คณะพยาบาลศาสตร์