Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
ประเทศไทย
่ส่วนความเชื่อในการดูแลเด็กของคนไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะคล้ายคลึงกับประชากรในประเทศลาว
การสะเดาะห์เคราะห์
การผูกข้อมือเรียกขวัญ
จะมีการรักษาความเจ็บป่วยจากอำนาจเหนือธรรมชาติ
เพื่อให้เกิดความหวังและกำลังใจในรายที่การเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่ได้
ประชากรในประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลเด็กก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม แต่ละภูมิภาค
น้ำนม เชื่อว่า ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา ถ้าเอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง ก็จะหาย และถ้าเอาน้ำนมมนุษย์ผสมกับดินปืนที่ใช้ทำบอกไฟดอก เชื่อว่าเมื่อจุดบอกไฟจะไม่ค่อยมีควันและมีดอกสวยงามสว่างไสว
เม่า เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วงที่ยังกินนม อาการคือ บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก ทำให้เด็กรู้สึกแสบแล้วร้องไห้ การรักษาโรคเม่าของคนสมัยก่อนนั้น พ่อแม่เด็กจะทำกรวยดอกไม้ จากนั้นจะนำกรวยไปเสียบไว้ข้างฝาหรือหลังคาเรือน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวันจึงนำกรวยดอกไม้นั้นมาทำพิธีเสกเป่าอีกครั้งหนึ่ง และทำอย่างนี้ทุก ๆ วัน จนกว่าเด็กจะหาย
จกคอละอ่อน คือการที่แม่ช่าง (หมอตำแย) หรือหมอทำคลอดใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด เพื่อล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมาเชื่อว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ เมื่อโตขึ้นเด็กคนนั้นจะป่วยเป็นโรคหืดหอบได้
รก ชาวล้านนาเชื่อว่าหลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้ ในสมัยก่อนต้องให้หมอเวทมนตร์มาเสกคาถาสะเดาะเคราะห์ใส่น้ำให้แม่เด็กดื่มเพื่อบังคับรกให้ออก
ความเชื่อเกี่ยวกับเด็กหรือลูกของแต่ละศาสนาจะแตกต่างกันไป
ศาสนาอิสลามเชื่อว่าลูกเป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า
ศาสนาคริสต์เชื่อว่าเด็กเป็นของขวัญจากพระเจ้า ต้องดูแลให้เติบโตในทางที่ดี เมื่อเด็กเกิดมาต้องเข้าพิธีบัติศมาเพื่อแสดงถึงการชำระเพื่อให้พ้นจากความบาป และประกาศตัวเป็นศาสนิกชน ศาสนาคริสต์เชื่อว่าทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ปกครอง
การบอกกล่าวของบิดามารดา
คำสั่งสอนของปู่ย่าตายาย
ครอบครัวที่เลี้ยงดูเด็กจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเจ็บป่วยของเด็กเป็นอันดับแรก รองลงมาอาจเป็นครู
ประเทศกัมพูชา
พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน การติดต่อระหว่างกลุ่มชนต่างอายุกัน จะต้องเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสม
ชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
ด็กในกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี หลังจากนั้น เด็กจะมีอิสระมากขึ้น เด็กอายุ 5 ขวบจะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้ เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มไปโรงเรียนเมื่ออายุ 7-8 ปี เมื่ออายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่
ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่ควรแตะศีรษะผู้ป่วยก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยเองหรือจากบิดามารดาของผู้ป่วยเด็ก
การเกิดของเด็กเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในครอบครัว การเกิดถือว่าเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
อาจทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาพม่า ภาษามลายู ภาษาเขมร เป็นต้น เพื่อให้ครอบครัวได้ดูหรืออ่านเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ซึ่งตัวอย่างเรื่องการดูแลที่จำเป็นที่ควรแปลเป็นภาษาต่างประเทศคือการเช็ดตัวลดไข้ในเด็ก
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์ ตั้งแต่การประเมินปัญหาของผู้ป่วย วินิจฉัย วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้ ตัวอย่างคำถามเช่น “มีอะไรพิเศษที่เกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมของครอบครัว ที่ดิฉัน/ผม ควรได้รับทราบ เพื่อที่จะได้ให้การดูแลลูก/หลาน ของคุณได้อย่างเต็มที่ค่ะ”
ประเทศจีน
สำหรับเด็กที่เกิดในประเทศจีน เมื่อครบสามวันจะมีพิธีล้างวันที่สาม ในวันนี้จะเป็นการอาบน้ำให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอด จึงต้องพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกภาชนะ น้ำ รวมถึงผู้ประกอบพิธี น้ำที่ใช้อาบมีชื่อเรียกว่า “ฉางโซ่วทัง” มีความหมายว่า น้ำอายุมั่นขวัญยืน สำหรับส่วนผสมของน้ำจะแตกต่างกันตามความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น
พิธีครบเดือนหรือที่ชาวจีนโบราณเรียกว่า “หมีเย่ว์” ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ประกอบไปด้วยการโกนผมไฟ การจัดเลี้ยงในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย และการตั้งชื่อให้เด็ก ในงานเลี้ยงจะมีการจุดประทัดรื่นเริง
วัฒนธรรมจีนชื่นชอบลูกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ในอดีตความต้องการมีลูกชายไว้สืบสกุลเพราะมีลูกได้เพียงคนเดียว
ทำให้มีข่าวการทำแท้งหรือฆ่าทารกเพศหญิงอยู่เสมอๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (แม้ว่าการทำอัลตร้าซาวด์เป็นเรื่องผิดกฎหมายในจีนก็ตาม)
ส่งผลให้อัตราการเกิดของทารกเพศชายต่อเพศหญิงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
หรับชาวมุสลิมนั้น ตัวชี้วัดด้านคุณภาพชีวิตที่สำคัญ
ศาสนกิจที่สำคัญของชาวมุสลิม
การละหมาดวันละ 5 เวลา
การถือศีลอด
การทำฮัจญ์
การมีสุขภาพดีที่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นศาสนกิจภาคบังคับ และเพิ่มเติมอื่นๆ
การดูแลทำความสะอาดผู้ป่วยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้ การละหมาดของเขาก็ใช้ได้ โดยไม่ต้องละหมาดชดใช้อีก
ผู้ป่วยที่มีนะญิส (สิ่งสกปรกที่ต้องชำระให้สะอาดตามหลักนิติบัญญัติอิสลาม) ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะขจัดนะญิสเหล่านั้นได้ เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์ และการอาบน้ำละหมาดของเขานั้นไม่เสีย แต่เขาจะต้องอาบน้ำละหมาดหรือตะยัมมุม (การทำความสะอาดร่างกายด้วยฝุ่นแทนน้ำเพื่อเตรียมตัวละหมาด) ทุกครั้งก่อนที่จะละหมาดผู้ป่วยตราบใดที่ยังมีสติ ครบเงื่อนไขที่จำเป็นต้องละหมาดและไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่ไม่สามารถทำการละหมาดได้ จำเป็นที่จะต้องทำการละหมาดตามความสามารถของเขา ภายใต้การผ่อนปรนตามหลักการของศาสนา
ผู้ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วย ก็ให้ทำความสะอาดตามปกติ ก่อนที่จะอาบน้ำละหมาดในแต่ละเวลา
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
ข้อพึงปฏิบัติตามความเชื่อคือ ให้นำ หัวปลาไหลแห้ง ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่อาบนํ้าทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด โดยมีความเชื่อว่าจะทำ ให้คลอดง่าย เมื่อท้องแก่ใกล้คลอดให้เอานํ้ามันละหุง่ มาถูทาหน้าท้อง โดยเชื่อว่าลูกเกิดมาจะได้ตัวสะอาด ไม่มีไข คลอดง่าย
หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้งยังมีการคลอดที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เป็นเพราะความเชื่อ และ
การปฏิบัติที่สืบต่อกันมานาน แม้ว่าปัจจุบันจะมีชาวเขาบางคนที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลแต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำ ให้ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำ ให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย
หญิงหลังคลอดเผ่าม้งจะมีความเชื่อในการปฏิบัติที่ทำให้มีนํ้านมมาก โดยการเชิญหมอผีทำ พิธีเรียกนํ้านม ซึ่งจะทำคล้ายๆ การบนผี รวมทั้งมีการกินยาสมุนไพรที่มียางสีขาว กินมะละกอต้มใส่ไก่ ส่วนอาหารอื่นๆ จะกินน้อยมาก แต่ก็มีแม่หลายคนที่กินแป้งข้าวหมัก ซึ่งมีแอลกอฮอล์และอาจมีผลเสียต่อลูกได้
วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 40 ปีถึง 60-65 ปี เป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง มีความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิต
วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ อายุ 60-65 ปีขึ้นไป เป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม การปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของวัยนี้
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว อายุ 20-25 ปีถึง 40 ปี วัยนี้มีพัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์ พร้อมที่จะมีบทบาทที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพ คู่ครอง และความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ อย่างมีความหมาย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ผู้ป่วยและผู้ใช้บริการชาวจีนมีความเชื่อด้านสุขภาพและการปฎิบัติซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมประจำชาติ ความเชื่อด้านสุขภาพของชาวจีนมีหลายประการ พอสรุปสาระสาคัญ
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture) การขูดผิวหนังด้วยวัตถุใดๆ (เชื่อว่า จะขับสารพิษที่ก่อโรคออกจากร่างกายผ่านทางผิวหนัง) การนวด เป็นต้น
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน สมุนไพรบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อยารักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน และสมุนไพรบางชนิดก็อาจถูกอาหารบางชนิดรบกวนการออกฤทธิ์ ตัวอย่างเช่น โสมจีน มีความเชื่อว่า มีฤทธิ์ลดความเครียด เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
ถ้าร่างกายแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค (Preventive screening) เช่น ตรวจร่างกายประจาปี อาทิ ตรวจดูเลือดและเอ็กเรย์ปอด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยและผู้ใช้บริการชาวจีนจำเป็นต้องใช้กรอบแนวคิดของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม(Trans-cultural nursing theory) ควบคู่กับศาสตร์ทางการพยาบาลอื่นๆ แนวทางการดูแลผู้ใช้บริการกลุ่มนี้มีวิธีการปฏิบัติ
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการชาวจีนด้วยภาษาจีนง่ายๆ หรือตามความสนใจ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยแบบ องค์รวม หากสื่อสารไม่ได้ อาจสื่อสารผ่านญาติ หรือใช้ล่ามแปล
เลือกใช้วิธีการพยาบาลบนพื้นฐานของการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลไปกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆเพื่อให้การดูแลที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม
การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care accommodation or negotiation)
การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม่ (Culture care repatterning or restructuring)
การคงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ (Culture care preservation or maintenance)
ศึกษาวัฒนธรรมของชาวจีนในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ เช่น ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และความเชื่อ เป็นต้น
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกันในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุทั่วๆไปคือ ความสามารถในทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม โครงสร้างทางสังคม การมีส่วนร่วมในสังคมและคุณค่าในสังคม (Homes and Holmes, 1995)
Mirabelle (2013) กล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุว่า การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้สูงอายุ และการคัดเลือกบุคลากรที่จะมาดูแลผู้สูงอายุที่มีภูมิหลังหรือวัฒนธรรมแตกต่างกันเป็นปัจจัยที่สำคัญ เนื่องจากปัจจุบันผู้สูงอายุมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานมากขึ้น
ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาในด้านกายภาพทั่วๆไป ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ
การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะแขนขาอ่อนแรง ควรจัดสถานที่ให้ปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม มีสิ่งอำนวยความสะดวก
ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป จัดอาหารรสชาติที่ผู้สูงอายุชอบ
สุขภาพและยาที่ใช้ ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่ เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ
การสื่อสาร ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม
การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ เช่น ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา ฟังพระคัมภีร์ การละหมาด การไปวัดหรือร่วมนมัสการในบ้านหรือไปโบสถ์
การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ เช่น การเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม การเคารพในสัญชาติ ภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุขึ้นกับ คุณค่า ความเชื่อ ของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความแตกต่างกัน เช่น ผู้สูงอายุในแถบประเทศตะวันตกค่อนข้างจะให้ความสำคัญของการคำนึงถึงความเป็นบุคคลและการมีอิสระในการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้มากที่สุด