Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
6 Problems Common Respiratory - Coggle Diagram
6 Problems Common Respiratory
common cold
โรคหวัด
อาการของโรค
ขึ้นอยู่กับอายุและชนิดของไวรัส
เด็กเล็กอาจมีไข้ และน้ำมูกเป็นอาการเด่น
เด็กโตมักไม่มีไข้ แต่อาจเริ่มด้วยอาการเจ็บคอ หรือระคายเคืองคอ ต่อมามีน้ำมูก คัดจมูก ไอ
อาการแสดง
เยื่อบุจมุกบวมแดง อาจพบเยื่อบุตาแดง ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มีpost nasal drip ได้
การรักษา
ลดไข้
การช่วยให้จมูกโล่ง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ไม่จำเป็น
ต่อมทอลซิลอักเสบ (Tonsillitis)
ลักษณะอาการทางคลินิก
ถ้าเป็นจากเชื้อไวรัส
จะพบอาการนำคล้ายโรคหวัด คือ มีน้ำมูก คัดจมูก จาม อาจพบตาแดง น้ำตาไหล เสียงแหบ เด็กบางรายอาจตรวจพบ มีแผลในปากหรือเป็นตุ่มน้ำใส ผื่นตามตัว หรือมีคลื่นไส้อาเจียนท้องเสียร่วม ด้วย
ถ้าเป็นจากเชื้อแบคทีเรีย
จะมีอาการไข้สูง
เจ็บคอมาก ปวดศีรษะคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยทั่วไป การวินิจฉัยโรคอาศัยการซักประวัติและการตรวจร ่างกาย อย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำการตรวจหาเชื้อก่อโรคในผู้ป่วย ทุกราย แพทย์สามารถพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมไปได้เลยในขั้นต้น
Epiglottis
เชื้อแบคทีเรียจะลุกลามเข้าสู่บริเวณ supraglottic ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณ นั้นเกิดการอักเสบแบบ cellulitis และเนื่องจากบริเวณนี้เยื่อบุจะคลุมด้วยเซลล์ ชนิด stratified squamous epithelium ซึ่งจะจับกันอย่างหลวมๆ ทำให้มีการ สะสมของเซลล์อักเสบและสารน้ำต่างๆ เกิดการบวมได้มาก เซลล์อักเสบส่วน ใหญ่จะเป็นเม็ดเลือดขาวชนิด polymorphonuclear นอกจากนี้อาจมีเลือดออก ภายใน มีการสะสมของ fibrin หรืออาจเกิดเป็นฝีเล็กๆ ได้ การอักเสบดังกล่าว มักจำกัดเฉพาะบริเวณเหนือกล่องเสียง มักไม่ลุกลามลงไปถึงบริเวณ subglottis และระบบต่อมน้ำเหลือง (laryngeal lymphatic system)
อาการ
ผู้ป่วยมักมีไข้สูงเฉียบพลัน เจ็บคอมาก กลืนลำบาก น้ำลายไหล พูดไม่ชัด กระสับกระส่าย หลังจากนั้นจะมีอาการของทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นตามมา อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ได้แก่ หายใจลำบาก บางครั้งลักษณะคล้ายถอน หายใจ หากอาการลุกลามถึงกล่องเสียงจะพบเสียงแหบร่วมด้วย
การวินิจฉัยโรค
ต้องหลีกเลี่ยงการกดลิ้นเพื่อตรวจดูคอ
Bronchitis
โดยทั่วไปมักเริ่มจากมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนนำมา ก่อน ได้แก่ เยื่อบุจมูกอักเสบ (rhinitis), คออักเสบ (pharyngitis) และมีการแพร่ กระจายของเชื้อที่เป็นสาเหตุจากด้านบนลงมาด้านล่าง ทำให้เกิดการอักเสบ ร่วมกับมีการทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ (ciliated epithelium) ของหลอดคอ, หลอดลมขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยพยาธิวิทยาของเซลล์ (cytopathology) เยื่อบุทางเดินหายใจที่เกิดขึ้น ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจเกิดภาวะบวมมีเสมหะ เพิ่มมากขึ้น ทำให้ทางเดินหายใจส่วนล่างเกิดภาวะอุดกั้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายหวัด ได้แก่ มีไข้ หรืออาจไม่มีไข้ก็ได้ มีน้ำมูก คัดจมูกนำมาก่อนในช่วง 3-5 วัน ตามมาด้วยอาการของหลอดลม โดยมีอาการ ไอเป็นอาการที่สำคัญที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการไอเฉียบพลัน อาการระยะแรกจะไอแห้งๆ (dry and harsh cough) ผู้ป่วยบางรายมีไอเสียงก้อง (brassy cough) ต่อมาไอมากขึ้นและ มีเสมหะ (productive cough) โดยเสมหะมีลักษณะสีขาว หรือใสเหนียว แล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่น
การวินิจฉัยโรค
การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด
(CBC), การตรวจเสมหะ และภาพรังสีทรวงอก
แนะนำดื่มน้ำมากๆ
Bronchiolitis
การวินิจฉัยโรค
ได้จากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
การรักษา
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วย ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง การ รักษาที่สำคัญ คือ การรักษาแบบประคับประคอง เช่น การให้สารน้ำและอาหาร อย่างเหมาะสม การดูดน้ำมูกแบบนุ่มนวล และการให้ออกซิเจนเมื่อมีข้อบ่งชี้
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อที่พบบ่อยที่สุด คือ respiratory syncytial virus (RSV) รองลงมา ได้แก่ human metapneumovirus (hMPV), influenza virus, rhinovirus, adenovirus และ parainfluenza virus พบการ ติดเชื้อไวรัสหลายชนิดร่วมกันได้ร้อยละ 10-30 ของเด็กเล็กที่มีอาการรุนแรง จนต้องรับไว้ในโรงพยาบาล โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงและภาวะแทรกซ้อน อาทิ ภาวะหยุดหายใจ และหายใจล้มเหลวดัง
ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อ RSV ได้แก่ สภาวะ เศรษฐานะและสังคมต่ำ อาศัยในที่แออัด มีประวัติสัมผัสควันบุหรี่ตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์และหลังเกิดและไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมมารดา
Pneumonia
เชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยของโรคปอดบวมในเด็กแตกต่างกันในแต่ละ อายุ ได้แก่ ไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุร้อยละ 60-70 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี1,2 ไวรัส ที่พบบ่อยได้แก่ respiratory syncytial virus, influenza, parainfluenza และ human metapneumovirus สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียพบร้อยละ 5-81 เชื้อ แบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุดในทุกกลุ่มอายุ
อาการ
อาการสำคัญ คือ ไข้ ไอ หอบ ลักษณะทางคลินิกที่ตรวจพบ ได้แก่
มีไข้ ยกเว้นปอดบวมที่เกิดจากเชื้อ C. trachomatis ก็อาจไม่มีไข้ได้
หายใจเร็วกว่าปกติ
มีอาการหายใจลำบาก หายใจอกบุ๋ม จมูกบาน ในรายที่เป็นมากอาจ ตรวจพบริมฝีปากเขียวหรือหายใจมีเสียง grunting
ฟังเสียงปอด มักได้ยินเสียง fine หรือ medium crepitation อาจได้ยิน เสียง wheeze ร่วมด้วย
การวินิจฉัยโรค
โดยทั่วไปสามารถทำได้โดยอาศัยประวัติและการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะ ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี อาการหายใจหน้าอกบุ๋มและ/หรือหายใจเร็วมากกว่า 50 ครั้ง/นาที ถือว่ามีความสำคัญในการวินิจฉัยปอดบวม การตรวจพบ crepitation หรือ bronchial breath sound มีความไวในการวินิจฉัยปอดบวมถึงร้อยละ 75
การรักษา
ให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่มีอาการเขียว หายใจเร็ว หอบชายโครง
บุ๋ม กระวนกระวาย ซึม
ให้สารน้ำอย่างเพียงพอ
ให้ยาพ่นขยายหลอดลมในรายที่ฟังปอดได้ยินเสียง wheeze หรือ rhonchi และมีการตอบสนองดีต่อการให้ยาพ่นขยายหลอดลม
การรักษาตามอาการ
เ
ช่น การให้ยาแก้ปวดลดไข้ ในรายที่มีอาการ เจ็บหน้าอก ปวดข้อ ปวดท้อง เจ็บหู
Influenza
อาการ
ของไข้หวัดใหญ่ได้แก่ ไข้ ปวดศรีษะ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอแห้งๆ คัดจมูกน้ำมูกไหล อาการต่างๆเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอยู่นาน 6-10 วัน
เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน เชื้อต้นเหตุเป็นไวรัสที่เรียกว่า influenza virus หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือ influenza A และ B ส่วนไวรัส influenza อีกชนิดหนึ่งคือ influenza C นั้นเนื่องจากมีความรุนแรงน้อยและไม่มีความสำคัญในการแพร่ระบาดจึงอาจจะไม่นับอยู่ในกลุ่มของโรคไข้หวัดใหญ่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่นั้นติดเชื้อในเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนคือจมูกและคอและอาจลงไปถึงส่วนล่างอันได้แก่หลอดลมและปอดด้ว
การวินิจฉัยโรค
ทำได้โดยแยกเชื้อไวรัสจากไม้ป้ายคอ (throat swab) หรือน้ำที่ดูดจากหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal aspirate) ซึ่งกินเวลาอย่างน้อยประมาณ 1 สัปดาห์ หรือด้วยการตรวจหาโปรตีนแอนติเจนของไวรัสในสิ่งส่งตรวจนั้นซึ่งได้ผลเร็วในไม่กี่ชั่วโมง
Croup
เป็นโรคติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนที่พบมากในเด็ก และมักเกิดในช่วงปลายฝนต้นหนาว ผู้ป่วยจะหายใจติดขัดและไอแบบมีเสียงก้อง
การรักษา
การรักษาผู้ป่วย croup เริ่มจากการประเมินความรุนแรงของโรคว่ารุนแรง ระดับไหน หาปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ มี ความผิดปกติของทางเดินหายใจมาก่อน เคยถูกใส่ท่อช่วยหายใจ มีโรคพื้นฐานที่ ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว เช่น neuromuscular diseases เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อพิจารณาแนวทางในการให้การรักษา การติดตาม การพิจารณา รับไว้ในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวัง ในส่วนของการรักษาประกอบด้วยการ รักษาทั่วไปและการใช้ยาเพื่อลดการบวมของทางเดินหายใจ ได้แก่ corticosteroids และ nebulized epinephrine