Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน - Coggle Diagram
พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน
5.6 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
หมวด๑คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
มาตรา๙กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี
มาตรา๑๐นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
(๖) ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
มาตรา๑๑การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา๑๓ให้คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาหรือวิจัยเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการและให้นําความในมาตรา๑๑มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด๒การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ
มาตรา๑๔ห้ามผู้ใดผลิตขายนําเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเฉพาะในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
(๓) เป็นการผลิตเพื่อส่งออกและส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๒บางชนิดที่รัฐมนตรีประกาศระบุชื่อตามมาตรา๗ (๕)
มาตรา๑๖ห้ามผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๒เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๒๓ใบอนุญาตตามมาตรา๑๔มาตรา๑๕มาตรา๑๖มาตรา๒๐มาตรา๘๘และมาตรา๑๐๐ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตด้วย
มาตรา๒๕ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา๒๖ให้ผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยยาอีก
หมวด๓หน้าที่ของผู้รับอนุญาต
มาตรา๒๗ห้ามผู้รับอนุญาตผู้ใดผลิตขายนําเข้าหรือเก็บไว้ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทนอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา๓๐ผู้รับอนุญาตผลิตนําเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๒ตามมาตรา๑๕ผู้รับอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๒ตามมาตรา๑๙ (๓) และผู้รับอนุญาตผลิตขายนําเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๓หรือประเภท๔ตามมาตรา๒๐ต้องจัดให้มีเภสัชกรอยู่ประจําควบคุมกิจการตามเวลาที่เปิดทําการซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา๔๐ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทําลายในสาระสําคัญให้ผู้รับอนุญาตยื่นคําขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทําลายดังกล่าว
มาตรา๔๒ห้ามผู้รับอนุญาตย้ายเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มสถานที่ผลิตสถานที่ขายสถานที่นําเข้าหรือสถานที่เก็บซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๔๔ผู้รับอนุญาตผู้ใดจะเลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ให้แจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าและให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นอายุตั้งแต่วันที่เลิกกิจการตามที่แจ้งไว้นั้น
หมวด๔หน้าที่ของเภสัชกร
มาตรา๔๘ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๒ปฏิบั
(๑) ควบคุมการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมให้มีฉลากและเอกสารกํากับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา๓๑
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทําบัญชีเกี่ยวกับการผลิตวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจําควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทําการ
มาตรา๕๒ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการนําเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๒ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการนําเข้าวัตถุออกฤทธิ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากและเอกสารกํากับวัตถุออกฤทธิ์ตามมาตรา๓๕
(๓) ควบคุมให้มีการแยกเก็บวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
(๔) ควบคุมการทําบัญชีเกี่ยวกับการนําเข้าวัตถุออกฤทธิ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ต้องอยู่ประจําควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทําการ
มาตรา๕๖ในกรณีที่เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมกิจการไม่ประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมกิจการนั้นแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นหน้าที่
หมวด๕วัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามผลิตขายนําเข้าหรือส่งออก
มาตรา๕๗ห้ามผู้ใดผลิตขายนําเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ดังต่อไปนี้
(๑) วัตถุออกฤทธิ์ปลอม
(๒) วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน
(๓) วัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ
(๔) วัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุตํารับแต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว
(๕) วัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตํารับ
มาตรา๕๘วัตถุออกฤทธิ์หรือสิ่งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ปลอม
(๑) สิ่งที่ทําเทียมวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(๒) วัตถุออกฤทธิ์ที่แสดงชื่อว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์อื่นหรือแสดงเดือนปีที่วัตถุออกฤทธิ์สิ้นอายุซึ่งไม่ใช่ความจริง
(๓) วัตถุออกฤทธิ์ที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งไม่ใช่ความจริ
(๔) วัตถุออกฤทธิ์หรือสิ่งที่แสดงว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามที่กําหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา๗ (๑) หรือตามตํารับของวัตถุตํารับที่ขึ้นทะเบียนไว้ซึ่งไม่ใช่ความจริง
(๕) วัตถุออกฤทธิ์ที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐานถึงขนาดสารออกฤทธิ์ขาดหรือเกินกว่าร้อยละสิบของปริมาณที่กําหนดไว้ไปจากเกณฑ์ต่ําสุดหรือสูงสุดตามที่กําหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา๗ (๒) หรือตามตํารับของวัตถุตํารับที่ขึ้นทะเบียนไว
มาตรา๖๑ห้ามผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปหรือขายวัตถุออกฤทธิ์และยารวมกันหลายขนานโดยจัดเป็นชุดไว้ล่วงหน้าเพื่อประโยชน์ทางการค้า
หมวด๖การขึ้นทะเบียนวัตถุตํารับ
มาตรา๖๒ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนําเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๓หรือประเภท๔จะผลิตหรือนําเข้าซึ่งวัตถุตํารับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุตํารับนั้นต่อผู้อนุญาตก่อนและเมื่อได้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตํารับแล้วจึงจะผลิตหรือนําเข้าซึ่งวัตถุตํารับนั้นได้
มาตรา๖๓การขอขึ้นทะเบียนวัตถุตํารับตามมาตรา๖๒ต้องแจ้งรายการดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อวัตถุตํารับ
(๒) ชื่อและปริมาณของวัตถุต่างๆอันเป็นส่วนประกอบของวัตถุตํารับ
(๓) ขนาดบรรจุ
(๔) วิธีวิเคราะห์มาตรฐานของส่วนประกอบของวัตถุตํารับ
(๕) ฉลาก
(๖) เอกสารกํากับวัตถุออกฤทธิ์
(๗) ชื่อผู้ผลิตและประเทศที่สถานที่ผลิตตั้งอยู่
(๘) รายการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
มาตรา๖๔การแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตํารับที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อนุญาต
มาตรา๖๕ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจไม่รับขึ้นทะเบียนวัตถุตํารับ
มาตรา๖๙ในกรณีที่ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตํารับสูญหายหรือถูกทําลายในสาระสําคัญให้ผู้รับอนุญาตยื่นคําขอรับใบแทนใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตํารับต่อผู้อนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทําลายดังกล่าว
หมวด๗การโฆษณา
มาตรา๗๐ห้ามผู้ใดโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์เว้นแต
(๑) เป็นฉลากหรือเอกสารกํากับวัตถุออกฤทธิ์ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์
(๒) เป็นการโฆษณาซึ่งกระทําโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
มาตรา๗๒ในกรณีที่ผู้ได้รับคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๗๑ไม่เห็นด้วยกับคําสั่งดังกล่าวให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได
มาตรา๗๓การอุทธรณ์ตามมาตรา๗๒ให้ยื่นต่อคณะกรรมการภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้อุทธรณ์ได้รับทราบคําสั่งของผู้อนุญาต
หมวด๘พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา๗๖ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อผู้รับอนุญาตหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
มาตรา๗๗ในการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๗๔มาตรา๗๕และมาตรา๗๙วรรคสามให้ผู้รับอนุญาตและบุคคลที่เกี่ยวข้องอํานวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา๗๘ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด๙การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา๘๐ผู้รับอนุญาตผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา๑๙ (๔) หรือมาตรา๒๒ (๑) หรือไม่จัดให้มีเภสัชกรอยู่ประจําควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทําการตามมาตรา๓๐วรรคหนึ่งผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได
มาตรา๘๑คําสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทําเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบในกรณีไม่พบตัวผู้รับอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตไม่ยอมรับคําสั่งดังกล่าวให้ปิดคําสั่งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายณสถานที่ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับอนุญาตได้ทราบคําสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่รับหรือปิดคําสั่งแล้วแต่กรณี
มาตรา๘๓ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคําสั่งรัฐมนตรีมีอํานาจสั่งให้ยกอุทธรณ์ยกเลิกคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือแก้ไขคําสั่งของผู้อนุญาตในทางที่เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ได
มาตรา๘๔ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องทําลายหรือขายวัตถุออกฤทธิ์ของตนที่เหลืออยู่ในส่วนที่เกินกว่าที่กฎหมายให้มีไว้ในครอบครองในกรณีที่ขายให้ขายแก่ผู้รับอนุญาตอื่นหรือแก่ผู้ซึ่งผู้อนุญาตเห็นสมควรทั้งนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือวันที่ได้ทราบคําวินิจฉัยของรัฐมนตรีเว้นแต่ผู้อนุญาตจะผ่อนผันขยายระยะเวลาต่อไปอีกแต่ต้องไม่เกินหกสิบวั
หมวด๑๐มาตรการควบคุมพิเศษ
มาตรา๘๕ให้ถือว่าวัตถุตํารับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย
มาตรา๘๘ห้ามผู้ใดมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๘๖ในกรณีที่วัตถุตํารับมีวัตถุออกฤทธิ์อันระบุอยู่ในประเภทต่างกันมากกว่าหนึ่งประเภทผสมอยู่ให้ถือว่าวัตถุตํารับนั้นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่มีการควบคุมเข้มงวดที่สุดในบรรดาวัตถุออกฤทธิ์ที่ผสมอยู่นั้น
หมวด๑๑การค้าระหว่างประเทศ
มาตรา๑๐๐การนําเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ของผู้รับอนุญาตตามมาตรา๑๔มาตรา๑๕และมาตรา๒๐นอกจากจะต้องได้รับใบอนุญาตตามมาตราดังกล่าวแล้วในการนําเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ของผู้รับอนุญาตในแต่ละครั้งต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวทุกครั้งที่นําเข้าหรือส่งออกอีกด้วยในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่สามารถส่งออกได้ตามปริมาณที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเฉพาะคราวให้ผู้รับอนุญาตแจ้งไปยังเลขาธิการเพื่อแก้ไขใบอนุญาตเฉพาะคราวให้ถูกต้องตามปริมาณที่ส่งออกจริง
มาตรา๑๐๑ในการนําเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๑ประเภท๒หรือประเภท๓ให้ผู้รับอนุญาตจัดให้มีสําเนาใบอนุญาตส่งออกหรือสําเนาหนังสือแสดงการอนุญาตให้ส่งออกของเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศที่ส่งออกนั้นส่งมาพร้อมกับวัตถุออกฤทธิ์หนึ่งฉบับและจัดให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของประเทศที่ส่งออกส่งสําเนาใบอนุญาตหรือสําเนาหนังสือแสดงการอนุญาตให้ส่งออกไปยังสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้วย
มาตรา๑๑๑เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้รับแจ้งการห้ามนําเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดที่ต่างประเทศได้แจ้งผ่านเลขาธิการสหประชาชาติระบุห้ามนําเข้าไปยังประเทศนั้นให้รัฐมนตรีประกาศกําหนดการห้ามนําเข้าของประเทศนั้น
หมวด๑๒บทกําหนดโทษ
มาตรา๑๑๕ผู้ใดผลิตนําเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๑อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา๑๔วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงสองล้านบาท
มาตรา๑๑๖ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท๑อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา๑๔วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท
มาตรา๑๒๗ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๔๓วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา๑๖๒ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจําคุกและปรับให้ศาลลงโทษจําคุกและปรับด้วยเสมอโดยคํานึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์
บทเฉพาะกาล
มาตรา๑๖๕คําขอใดที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. ๒๕๑๘และยังอยู่ในระหว่างพิจารณาให้ถือว่าเป็นคําขอตามพระราชบัญญัตินี้ในกรณีที่คําขอมีข้อแตกต่างไปจากคําขอซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความจําเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัติน
มาตรา๑๖๘บรรดากฎกระทรวงระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. ๒๕๑๘ที่ใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงระเบียบหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
5.8 พระราชบัญญัติเครื่องสําอางพ.ศ. ๒๕๕๘
หมวด๑คณะกรรมการเครื่องสําอาง
มาตรา๘กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสองปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได
มาตรา๙นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๗วรรคสาม
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๗) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา๑๒คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาหรือวิจัยเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา๑๓ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา๑๒มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคําหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาได้
หมวด๒การจดแจ้งและการรับจดแจ้งเครื่องสําอาง
มาตรา๑๔ผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขายนําเข้าเพื่อขายหรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางต้องจดแจ้งรายละเอียดของเครื่องสําอางต่อผู้รับจดแจ้งและเมื่อผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งให้แล้วจึงจะผลิตหรือนําเข้าเครื่องสําอางนั้นได้
มาตรา๑๕ใบรับจดแจ้งให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้งในกรณีที่ผู้จดแจ้งประสงค์จะขอต่ออายุใบรับจดแจ้งให้ยื่นคําขอก่อนวันที่ใบรับจดแจ้งสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคําขอและชําระค่าธรรมเนียมการต่ออายุพร้อมกับการยื่นคําขอแล้วให้ใบรับจดแจ้งนั้นใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้รับจดแจ้งจะสั่งไม่ให้ต่ออายุใบรับจดแจ้งนั้น
มาตรา๑๖ผู้ซึ่งผลิตหรือนําเข้าเครื่องสําอางเพื่อเป็นตัวอย่างเพื่อจัดนิทรรศการหรือเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยหรือวิเคราะห์ทางวิชาการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับใบจดแจ้งสําหรับเครื่องสําอางดังกล่าวตามมาตรา๑๔
มาตรา๑๙ในกรณีที่ผู้จดแจ้งประสงค์จะขอแก้ไขรายการในใบรับจดแจ้งให้ยื่นคําขอต่อผู้รับจดแจ้ง
มาตรา๒๐ผู้จดแจ้งรายใดประสงค์จะขอออกหนังสือรับรองเกี่ยวกับเครื่องสําอางให้ยื่นคําขอต่อผู้รับจดแจ้ง
หมวด๓ฉลากเครื่องสําอาง
มาตรา๒๓ในกรณีที่ฉลากใดไม่เป็นไปตามมาตรา๒๒เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจสั่งให้ผู้จดแจ้งเครื่องสําอางเลิกใช้ฉลากดังกล่าวหรือดําเนินการแก้ไขฉลากนั้นให้ถูกต้อง
มาตรา๒๔ผู้จดแจ้งผู้ใดสงสัยว่าฉลากของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามมาตรา๒๒ผู้จดแจ้งผู้นั้นอาจขอให้คณะกรรมการให้ความเห็นเกี่ยวกับฉลากที่ประสงค์จะใช้นั้นได้ทั้งนี้คณะกรรมการจะต้องให้ความเห็นและแจ้งให้ผู้ขอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้รับคําขอถ้าไม่แจ้งภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าคณะกรรมการให้ความเห็นชอบแล้ว
หมวด๔การควบคุมเครื่องสําอาง
มาตรา๒๕เมื่อมีประกาศตามมาตรา๖ (๙) การนําเข้าเพื่อขายเครื่องสําอางต้องผ่านการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ณด่านตรวจสอบเครื่องสําอาง
มาตรา๓๐เครื่องสําอางซึ่งมีสารสําคัญขาดหรือเกินกว่าที่ได้จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือที่ระบุไว้ในฉลากเกินเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่ไม่ถึงขนาดตามที่กําหนดไว้ในมาตรา๒๙ (๒) ให้ถือว่าเป็นเครื่องสําอางผิดมาตรฐาน
มาตรา๓๑ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้จดแจ้งฝ่าฝืนมาตรา๒๖หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา๖ (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) ให้ผู้รับจดแจ้งมีอํานาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทําที่ฝ่าฝืนหรือแก้ไขปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องได้และให้มีอํานาจประกาศการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามดังกล่าวให้ประชาชนทราบเพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองผู้บริโภคได้ตามควรแก่กรณี
มาตรา๓๔เมื่อมีการประกาศกําหนดให้วัตถุใดอาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอางตามมาตรา๖ (๓) ให้ถือว่าการใช้วัตถุดังกล่าวในเครื่องสําอางได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยยากฎหมายว่าด้วยอาหารกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด๕การเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอาง
มาตรา๓๙การแจ้งคําสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอางโดยวิธีให้บุคคลนําไปส่งถ้าผู้จดแจ้งไม่ยอมรับหรือในขณะนําไปส่งไม่พบผู้จดแจ้งและหากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทํางานในสถานที่นั้นหรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับหากได้วางหนังสือนั้นหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่ายณสถานที่นั้นต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ไปเป็นพยานก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งแล้ว
มาตรา๔๐การแจ้งคําสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอางโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งเว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น
มาตรา๓๘คําสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอางให้ทําเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้จดแจ้งทราบโดยให้ส่งหนังสือแจ้งไปยังสถานที่ที่ระบุไว้ในใบรับจดแจ้งตามวิธีการที่กําหนดไว้ในมาตรา๓๙หรือมาตรา๔๐
หมวด๖การโฆษณา
มาตรา๔๑การโฆษณาเครื่องสําอางต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกําเนิดสภาพคุณภาพปริมาณหรือลักษณะของเครื่องสําอาง
มาตรา๔๒การโฆษณาจะต้องไม่กระทําด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชนหรืออันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้บริโภค
มาตรา๔๓ในกรณีที่เลขาธิการเห็นว่าเครื่องสําอางใดอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งให้ผู้จดแจ้งหรือผู้ทําการโฆษณาดําเนินการ
มาตรา๔๕ในกรณีที่เลขาธิการมีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อความใดที่ใช้ในการโฆษณาเป็นเท็จหรือเกินความจริงตามมาตรา๔๑วรรคสอง (๑) ให้เลขาธิการมีอํานาจออกคําสั่งให้ผู้จดแจ้งหรือผู้ทําการโฆษณาพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงได
หมวด๗พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา๔๙ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ค้นบันทึกรายละเอียดแห่งการค้นและบัญชีรายละเอียดสิ่งของที่ค้นยึดหรืออายัด
มาตรา๕๒ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา๔๗ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้กระทําการต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือยานพาหนะหรือถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่อยู่ในที่นั้นก็ให้กระทําต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ร้องขอมาเป็นพยาน
มาตรา๕๓ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา๕๔ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
หมวด๘การอุทธรณ์
มาตรา๕๖ในกรณีผู้รับจดแจ้งไม่ออกใบรับจดแจ้งหรือไม่ต่ออายุใบรับจดแจ้งผู้ขอจดแจ้งหรือผู้จดแจ้งซึ่งขอต่ออายุใบรับจดแจ้งมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบรับจดแจ้งหรือการไม่ต่ออายุใบรับจดแจ้งแล้วแต่กรณ
มาตรา๕๗ผู้จดแจ้งซึ่งถูกเพิกถอนใบรับจดแจ้งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคําสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งตามมาตรา๓๘
มาตรา๕๘ในกรณีที่ผู้ได้รับคําสั่งของเลขาธิการตามมาตรา๒๓มาตรา๓๓มาตรา๔๓มาตรา๔๔หรือมาตรา๔๕ไม่พอใจคําสั่งดังกล่าวให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง
มาตรา๕๙การพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา๕๖มาตรา๕๗และมาตรา๕๘ให้รัฐมนตรีพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําอุทธรณ์ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกําหนดระยะเวลานั้นในการนี้ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว
หมวด๙บทกําหนดโทษ
มาตรา๖๐ผู้ใดผลิตเพื่อขายนําเข้าเพื่อขายหรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศที่รัฐมนตรีออกตามมาตรา๖ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๖๑ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคําหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่งตามมาตรา๑๓หรือตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคําสั่งตามมาตรา๔๗ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
,มาตรา๖๓ผู้จดแจ้งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามมาตรา๑๔วรรคสามต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา๖๖ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๑๘วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา๖๘ผู้ผลิตเพื่อขายผู้นําเข้าเพื่อขายหรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสําอางซึ่งใช้ฉลากที่ไม่เป็นไปตามมาตรา๒๒วรรคสอง (๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา๙๓ใบรับแจ้งเครื่องสําอางควบคุมที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสําอางพ.ศ. ๒๕๓๕ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นใบรับจดแจ้งตามพระราชบัญญัตินี้และให้ใช้ได้ต่อไปอีกสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา๙๔บรรดากฎกระทรวงระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสําอางพ.ศ. ๒๕๓๕ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงระเบียบหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา๙๒คําขอแจ้งรายละเอียดเครื่องสําอางควบคุมที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติเครื่องสําอางพ.ศ. ๒๕๓๕และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาให้ถือว่าเป็นการขอจดแจ้งเครื่องสําอางตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลมและผู้รับจดแจ้งมีอํานาจสั่งให้ผู้ยื่นคําขอส่งเอกสารเพิ่มเติมแก่ผู้รับจดแจ้งหรือแก้ไขเพิ่มเติมคําขอแจ้งรายละเอียดเครื่องสําอางควบคุมเท่าที่จําเป็นได้
5.8 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. ๒๕๒๒
หมวด๑คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
มาตรา๑๕คณะกรรมการและคณะกรรมการเฉพาะเรื่องจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมายก็ได
มาตรา๑๖การประชุมของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องและคณะอนุกรรมการให้นํามาตรา๑๓มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา๑๗คณะกรรมการและคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมีอํานาจสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องที่มีผู้ร้องทุกข์หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมาพิจารณาได้ในการนี้จะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงด้วยก็ได
มาตรา๑๘ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้คณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือสงสัยว่ากระทําการอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นตามสมควรเว้นแต่ในกรณีที่จําเป็นและเร่งด่วน
หมวด๒การคุ้มครองผู้บริโภค
ส่วนที่๑การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา
มาตรา๒๒การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกําเนิดสภาพคุณภาพหรือลักษณะของสินค้าหรือบริการตลอดจนการส่งมอบการจัดหาหรือการใช้สินค้าหรือบริการ
มาตรา๒๓การโฆษณาจะต้องไม่กระทําด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจหรืออันอาจก่อให้เกิดความรําคาญแก่ผู้บริโภคทั้งนี้ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา๒๕ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่าสินค้าหรือบริการใดผู้บริโภคจําเป็นต้องทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพฐานะและรายละเอียดอย่างอื่นเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจด้วยคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอํานาจกําหนดให้การโฆษณาสินค้าหรือบริการนั้นต้องให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณากําหนดได้
ส่วนที่๒การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
มาตรา๓๐ให้สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
มาตรา๓๓เมื่อคณะกรรมการว่าด้วยฉลากเห็นว่าฉลากใดไม่เป็นไปตามมาตรา๓๑คณะกรรมการว่าด้วยฉลากมีอํานาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเลิกใช้ฉลากดังกล่าวหรือดําเนินการแก้ไขฉลากนั้นให้ถูกต้อง
มาตรา๓๔ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดสงสัยว่าฉลากของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามมาตรา๓๑ผู้ประกอบธุรกิจผู้นั้นอาจขอให้คณะกรรมการว่าด้วยฉลากพิจารณาให้ความเห็นในฉลากนั้นก่อนได้ในกรณีนี้ให้นํามาตรา๒๙มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา๓๕เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและการตรวจสอบการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่ควบคุมฉลากรัฐมนตรีมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจในสินค้าดังกล่าวต้องจัดทําและเก็บรักษาบัญชีเอกสารและหลักฐานเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการตรวจสอบได
ส่วนที่๒ทวิการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา
มาตรา๓๕ทวิในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใดถ้าสัญญาซื้อขายหรือสัญญาให้บริการนั้นมีกฎหมายกําหนดให้ต้องทําเป็นหนังสือหรือที่ตามปกติประเพณีทําเป็นหนังสือคณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอํานาจกําหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการนั้นเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้
มาตรา๓๕ตรีเมื่อคณะกรรมการว่าด้วยสัญญากําหนดให้สัญญาของการประกอบธุรกิจที่ควบคุมสัญญาต้องใช้ข้อสัญญาใดหรือต้องใช้ข้อสัญญาใดโดยมีเงื่อนไขในการใช้ข้อสัญญานั้นด้วยตามมาตรา๓๕ทวิแล้วถ้าสัญญานั้นไม่ใช้ข้อสัญญาดังกล่าวหรือใช้ข้อสัญญาดังกล่าวแต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขให้ถือว่าสัญญานั้นใช้ข้อสัญญาดังกล่าวหรือใช้ข้อสัญญาดังกล่าวตามเงื่อนไขนั้นแล้วแต่กรณี
มาตรา๓๕จัตวาเมื่อคณะกรรมการว่าด้วยสัญญากําหนดให้สัญญาของการประกอบธุรกิจที่ควบคุมสัญญาต้องไม่ใช้ข้อสัญญาใดตามมาตรา๓๕ทวิแล้วถ้าสัญญานั้นใช้ข้อสัญญาดังกล่าวให้ถือว่าสัญญานั้นไม่มีข้อสัญญาเช่นว่านั้
ส่วนที่๓การคุ้มครองผู้บริโภคโดยประการอื่น
มาตรา๓๗ในกรณีที่คณะกรรมการมีคําสั่งตามมาตรา๓๖วรรคสอง (๒) (๔) (๕) หรือ (๖) แต่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าวให้คณะกรรมการมีอํานาจจัดให้มีการดําเนินการแทนผู้ประกอบธุรกิจโดยผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
มาตรา๔๐สมาคมและมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคหรือต่อต้านการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้าและข้อบังคับของสมาคมและมูลนิธิดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการสมาชิกและวิธีการดําเนินการของสมาคมและมูลนิธิเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวงสมาคมและมูลนิธินั้นอาจยื่นคําขอให้คณะกรรมการรับรองเพื่อให้สมาคมและมูลนิธินั้นมีสิทธิและอํานาจฟ้องตามมาตรา๔๑ได
มาตรา๔๒นอกจากต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นแล้วสมาคมและมูลนิธิที่คณะกรรมการรับรองตามมาตรา๔๐ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
หมวด๓การอุทธรณ์
มาตรา๔๓ในกรณีที่ผู้ได้รับคําสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องตามมาตรา๒๗หรือมาตรา๒๘วรรคสองไม่พอใจคําสั่งดังกล่าวให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้
มาตรา๔๔การอุทธรณ์ตามมาตรา๔๓ให้ยื่นต่อคณะกรรมการภายในสิบวันนับแต่วันที่ผู้อุทธรณ์ได้รับทราบคําสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
หมวด๔บทกําหนดโทษ
มาตรา๔๕ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกไม่ให้ถ้อยคําหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา๕ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๔๖ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องตามมาตรา๑๗ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๔๙ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาซึ่งสั่งตามมาตรา๒๗หรือมาตรา๒๘วรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๕ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา๓๕ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา๕๗ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา๓๕สัตตต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
5.9 พระราชบัญญัติสุขภาพจิตพ.ศ. ๒๕๕๑
หมวด๑คณะกรรมการ
ส่วนที่๑คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
มาตรา๗กรรมการตามมาตรา๕ (๔) และ (๕) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปีและจะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา๙การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา๑๑คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ส่วนที่๒คณะกรรมการสถานบําบัดรักษา
มาตรา๑๒สถานบําบัดรักษาแต่ละแห่งให้มีคณะกรรมการสถานบําบัดรักษาซึ่งอธิบดีแต่งตั้งประกอบด้วยจิตแพทย์ประจําสถานบําบัดรักษาหนึ่งคนเป็นประธานกรรมการแพทย์หนึ่งคนพยาบาลจิตเวชหนึ่งคนนักกฎหมายหนึ่งคนและนักจิตวิทยาคลินิกหรือนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์หนึ่งคนเป็นกรรมการ
มาตรา๑๓คณะกรรมการสถานบําบัดรักษามีอํานาจหน้าที่
(๑) ตรวจวินิจฉัยประเมินอาการและมีคําสั่งตามมาตรา๒๙
(๒) พิจารณาทําความเห็นเกี่ยวกับการบําบัดรักษาและผลการบําบัดรักษาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๑๔ให้นําความในมาตรา๖มาตรา๗มาตรา๘มาตรา๙และมาตรา๑๑มาใช้บังคับกับคณะกรรมการสถานบําบัดรักษาโดยอนุโลม
หมวด๒สิทธิผู้ป่วย
มาตรา๑๗การบําบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกายการกักบริเวณหรือแยกผู้ป่วยจะกระทําไม่ได้เว้นแต่เป็นความจําเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเองบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บําบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา๑๘การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้าการกระทําต่อสมองหรือระบบประสาทหรือการบําบัดรักษาด้วยวิธีอื่นใดที่อาจเป็นผลทําให้ร่างกายไม่อาจกลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างถาวรให้กระทําได้ในกรณ
มาตรา๑๙การทําหมันผู้ป่วยจะกระทําไม่ได้เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามมาตรา๑๘ (๑
มาตรา๒๐การวิจัยใดๆที่กระทําต่อผู้ป่วยจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ป่วยและต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ดําเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและให้นําความในมาตรา๒๑วรรคสามมาใช้บังคับกับการให้ความยินยอมโดยอนุโลม
หมวด๓การบําบัดรักษาทางสุขภาพจิต
ส่วนที่๑ผู้ป่วย
มาตรา๒๑การบําบัดรักษาจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการอธิบายเหตุผลความจําเป็นในการบําบัดรักษารายละเอียดและประโยชน์ของการบําบัดรักษาและได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยเว้นแต่เป็นผู้ป่วยตามมาตรา๒๒
มาตรา๒๒บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการบําบัดรักษา
(๑) มีภาวะอันตราย
(๒) มีความจําเป็นต้องได้รับการบําบัดรักษา
มาตรา๒๓ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีลักษณะตามมาตรา๒๒ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจโดยไม่ชักช้า
มาตรา๒๗ให้แพทย์อย่างน้อยหนึ่งคนและพยาบาลอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประจําสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบําบัดรักษาตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นบุคคลที่มีการนําส่งตามมาตรา๒๔มาตรา๒๕หรือมาตรา๒๖ให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้าทั้งนี้ต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่บุคคลนั้นมาถึงสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบําบัดรักษา
ส่วนที่๒ผู้ป่วยคด
มาตรา๓๕ภายใต้บังคับมาตรา๑๔วรรคหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้พนักงานสอบสวนหรือศาลส่งผู้ต้องหาหรือจําเลยไปรับการตรวจที่สถานบําบัดรักษาพร้อมทั้งรายละเอียดพฤติการณ์แห่งคดี
มาตรา๓๖ภายใต้บังคับมาตรา๑๔วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้สถานบําบัดรักษารับผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ควบคุมและบําบัดรักษาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหาหรือจําเลยจนกว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยจะหายหรือทุเลาและสามารถต่อสู้คดีได้เว้นแต่พนักงานสอบสวนหรือศาลจะมีคําสั่งหรือมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา๓๙ในกรณีที่ศาลกําหนดเงื่อนไขตามมาตรา๕๖วรรคสอง (๔) แห่งประมวลกฎหมายอาญาให้ศาลส่งผู้ป่วยคดีพร้อมทั้งสําเนาคําพิพากษาไปยังสถานบําบัดรักษา
ส่วนที่๓การฟื้นฟูสมรรถภาพ
มาตรา๔๐ในกรณีที่คณะกรรมการสถานบําบัดรักษามีคําสั่งตามมาตรา๒๙ (๒) ให้หัวหน้าสถานบําบัดรักษามีหน้าที่
(๑) แจ้งให้ผู้รับดูแลผู้ป่วยรับตัวผู้ป่วยไปดูแล
(๒) ในกรณีที่ไม่มีผู้รับดูแลให้แจ้งหน่วยงานด้านสงเคราะห์และสวัสดิการทั้งภาครัฐและเอกชนตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
(๓) แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ติดตามดูแลประสานงานและช่วยเหลือในการดําเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยตาม (๑) และหน่วยงานตาม (๒) แล้วรายงานให้คณะกรรมการสถานบําบัดรักษาทราบ
มาตรา๔๑เมื่อผู้ถูกคุมขังซึ่งได้รับการบําบัดรักษาในระหว่างถูกคุมขังถึงกําหนดปล่อยตัวให้หัวหน้าสถานที่คุมขังมีหน้าที่ดําเนินการตามมาตรา๔๐
หมวด๔การอุทธรณ์
มาตรา๔๔คณะกรรมการอุทธรณ์มีอํานาจหน้าที่
(๑) พิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา๔๒
(๒) รายงานผลการดําเนินการให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้
มาตรา๔๕ให้นําความในมาตรา๖มาตรา๗มาตรา๘มาตรา๙และมาตรา๑๑มาใช้บังคับกับคณะกรรมการอุทธรณ์โดยอนุโลม
มาตรา๔๓ให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์
(๑) อธิบดีเป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตซึ่งเลือกกันเองจํานวนสามคนเป็นกรรมการ
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาการแพทย์จิตเวชจิตวิทยาคลินิกสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชและกฎหมายสาขาละหนึ่งคนเป็นกรรมการ
หมวด๕พนักงานเจ้าหน้าท
มาตรา๔๗ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
มาตรา๔๘ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๖ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอํานวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา๔๙ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด๖บทกําหนดโทษ
มาตรา๕๐ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๑๖ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๑ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามมาตรา๒๓โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๒ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๖ (๓) โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๓ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา๔๘ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา๕๔ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา๕(๑) (๒) (๓) และอธิบดีและให้ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีกรรมการตามมาตรา๕ (๔) และ (๕) ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ