Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและการดูแลระยะสุดท้าย - Coggle…
หน่วยที่ 9 การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและการดูแลระยะสุดท้าย
WHO Definition of Palliative Care
การดูแลแบบประคับประคอง หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่กำลัง เผชิญปัญหาที่เกี่ยวของกับความเจ็บป่วยที่กำลังคุกคามต่อชีวิต และครอบครัว เพื่อช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการป้องกัน บรรเทาความทุกข์ทรมานโดยการค้นหาปัญหาแต่เนิ่นๆ การประเมิน อย่างถูกต้องและแม่นยำ และรักษาความปวด ตลอดจนปัญหาอื่นๆ ทั้งทางร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ
เป้าหมายของการดูแลแบบประคบประคอง
คือ การส่งเสริมให้บุคคลได้รับการดูแลตลอดกระบวนการ ของการตายที่เรียกว่า ตายดี (good death)
มีคุณภาพชีวิตที่ดี
บรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนและอาการปวด
การปฏิบัติสอดคล้องกับวัฒนธรรม จริยธรรม
ผู้ป่วยและครอบครัวยอมรับและเข้าใจ พร้อมปรับตัวเข้ากับความเจ็บป่วยได้
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและมีอาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ (serious illness) โรคเรื้อรังระยะสุดท้าย
Stroke รักษา 6 เดือนแล้ว PPS<40
Heart failure (functional class 4) with home oxygen
CKD stage 5 มีระดับ PPS <40
โรคอื่นๆที่แพทย์พิจารณาเห็นว่ารักษาไม่หายและพยาธิสภาพ โรคเสื่อมลง ร่วมกับ PPS <40 เชน Dementia, Alhzimer, Spinal &cord disease,Paraplegia, Post fracture ในผู้สูงอาย
COPD stage 4 Home oxygen therapy,
กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย (end of life)
กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิด
การประเมินผู้ป่วยในการดูแลแบบประคับประคอง
การประเมินอาการปวด
การประเมินอาการรบกวน
การประเมิน 2Q
การประเมิน PPS (Palliative Performance Scale)
Effective Communication with patients and families
การสื่อสารที่ดีเป็นหัวใจของการดูแลแบบ Palliative ผู้ป่วยที่เข้าใจและประทับใจในตัวผู้ให้บริการมีแนวโน้มที่จะยอมรับ ความเจ็บป่วย เข้าใจและร่วมมือในการรักษา และการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมได้ดีกว่า
ในมุมมองของผู้ป่วย ถ้าถามว่าอะไรสำคัญที่สุดในระบบบริการ คำตอบ คือ “วิธีการที่ผู้ให้บริการปฏิบัติต่อเขา״ นั่นเอง การสื่อสารที่ดีจงเป็นหัวใจของการดูแลที่ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
Breaking bad news.
มีผู้เปรียบเทียบ การบอกข่าวร้ายว่าเหมือนการ “ตอกไข่ breaking an egg” ซี่งต้องการทักษะและความชำนาญ มิฉะนั้นก็จะเลอะเทอะหรือยุ่งเหยิงไปหมด แต่หากเห็นว่าเป็นการยากที่จะบอกแล้วละเลยไม่ปฏิบัติ ก็จะมีผลเสียต่อผู้ป่วยและญาติ และต่อตัวบุคลากรทางการแพทย์เองได้อย่างมากเช่นกัน
การบอกข่าวร้ายกับผู้ป่วย
Robert Buckman (6 step protocol for communicating bad news)
ขั้นตอนที่ 4 เผยแพร่ข้อมูลให้ตรงจริง (Sharing information)
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินใจอยากรู้แน่ (How much the patient want to know)
ขั้นตอนที่ 5 ไม่ทอดทิ้งนิ่งดูดาย (Responding to patient and family)
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจว่ารู้แค่ไหน (What does the patient knows)
ขั้นตอนที่ 6 นัดหมายไว้ภายหน้า (Planning and follow-up)
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมตัวเจรจา (Getting start)
ทฤษฏีของ Kubler-Ross
DABDA
Bargaining เป็นความรู้สึกที่อยาก ต่อรองกับความตาย และความสูญเสียที่ กาลังจะมาถึง อยากจะ เลื่อนเวลาออกไป
Depression ช่วงนี้มีอาการซึมเศร้า หมดแรง มองโลกในแง่ลบ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อยากตาย
Anger คือความโกรธ เช่น คนไข้โกรธ ที่กาลังจะตาย โกรธแพทย์และ ทีมผู้รักษา ซึ่ง ไม่สามารถรักษา ให้หายได้ ฯลฯ
Acceptance เป็นระยะที่ยอมรับ ความจริง พร้อม ใจที่จะเผชิญกับ ทุกสิ่งที่จะเกิด ขึ้นกับตัว
Denial (Shock) คือการตกใจและ ปฏิเสธความจริงว่ามัน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นแน่ ๆ
Physical Symptoms
อาการที่พบบ่อย อ่อนเพลีย ปวด หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้าหนักลด เพ้อ
อาการต่างๆ มักเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน ต้องประเมินทุกมิติไปพร้อมกัน
อาการทางกายคาดเดาได้ล่วงหน้า ต้องประเมินคัดกรองสม่ำเสมอเพื่อจัดการได้ทันที
การประเมินด้านร่างกาย
หยุดหายใจหรือหายใจลำบาก ()
ถ่ายเหลวหรือท้องผูก (Diarrhea/constipation)
เบื่ออาหาร
คลื่นไส้อาเจียน (Nausea and vomiting)
ผอมแห้ง (Cachexia)
อ่อนแรงหรือเหนื่อยล้า (Weakness/fatigue)
ปากแห้ง (Dry mouth)
ปัญหาของผิวหนัง เช่น เป็นแผล (Ulcers) ผื่นคัน (Pruritus)
อาการปวด (Pain)
Palliative care Outcome Scale (POS) PATIENT QUESTIONNAIRE (version 2)
ช่วง 33วันที่ผ่านมา
คุณได้พูดคุยถึงความรู้สึกของคุณกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆไหม
คุณและครอบครัวได้รับการบอกหรือให้ข้อมูลมากน้อยแค่ไหน
คุณรู้สึกซึมเศร้าไหม
คุณมีคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆ ที่ห่วงกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของคุณไหม
คุณรู้สึกดีกับตัวคุณเองไหม
คุณวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตัวเองหรือวิธีการรักษาหรือไม่
คุณรู้สึกบ่อยแค่ไหนว่ามีแต่เรื่องทำให้เสียเวลา กับการนัดหมายที่เกี่ยวกับโรงพยาบาล เช่น การรอคอยเปล การรอผลตรวจซ้า เป็นต้น
คุณมีอาการรบกวนที่ทำให้รู้สึกไม่สบายไหม เช่น คลื่นไส้ ไอ ท้องผูก
คุณมีเรื่องอะไรที่กระทบกับตัวคุณหรือไม่ ทั้งเรื่องการเงิน เรื่องส่วนตัวอื่นๆ
คุณมีอาการปวดไหม
Psychological symptoms
Emotional distress
เป็นผลจากความกลัวและความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการดำเนินโรค การเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของตน การปฏิบัติกิจประจำวันได้ลดลง ขาดงาน ขาดรายได้ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง บทบาทในครอบครัวเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถทากิจกรรมที่ชอบ
คัดกรองสุขภาพจิตเป็น RoutineRoutineการดูแล รับฟัง ให้คาปรึกษา แนะนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกาลังกาย และปรึกษาจิตแพทย์ในรายที่รุนแรง
ความเป็นมนุษย์คือคุณสมบัติที่เกิดจากการบูรณาการของชีวิตด้านร่างกายและจิตวิญญาณ
องค์รวมของชีวิต
มิติทางจิตวิญญาณ
มิติทางกาย
Life is Holistic
Spirituality
จิตวิญญานมีความหมายกว้างๆ ครอบคลุมทั้งมุมมองทางศาสนา และที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา
ประสบการณ์ และอารมณ์ (Experiential &emotional aspects)
อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความหวัง ความสงบ ความสามารถในการให้และรับความรัก ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโลกภายใน กับธรรมชาติ กับสิ่งแวดล้อมภายนอก และสิ่งที่เหนือธรรมชาติ
พฤติกรรมที่แสดงออก (Behavioral aspects)
การแสดงออกภายนอกที่มองเห็นได้ สอดคล้องกับความเชื่อและสภาวะภายในของตัวเอง
การรับรู้ (Cognitive aspects)
การรับรู้ความหมายของชีวิต ความเชื่อ และคุณค่าของการมีชีวิตอยู่
Spiritual suffering/ crisis ภาวะวิกฤติทางจิตวิญญาณ
เกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นไม่สามารถหาหลักที่พึ่งพิงได้ในการให้ความหมายของชีวิต ความหวัง ความรัก ความสงบภายใน หรือเมื่อมีความขัดแย้งระหว่างความเชื่อกับสิ่งที่กาลังเกิดขึ้นในชีวิต
Spiritual assessment
Formal assessment
การประเมินโดยใช้ข้อคำถาม ร่วมไปกับการประเมินด้านอื่นในระบบ routine เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านความเชื่อและการปฏิบัติ และประเมินว่าสิ่งนั้นจะมีบทบาทหรือโอกาสในการเยียวยาผู้ป่วยหรือไม่
Informal assessment
ประเมินได้ทุกเวลาเมื่อโอกาสอำนวย การฟังเป็นเครื่องมือสำคัญ คนไข้มักแสดงออกโดยการเล่าเรื่องซึ่งแฝงไปด้วยข้อมูลด้านจิตวิญญาณ เช่น ความหมายของชีวิตตนเอง ความหวัง-ความสิ้นหวัง ความกลัว ทำให้เราเข้าใจได้ว่าความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเป็นอย่างไร มี spiritual suffering หรือไม่
Religion
ศาสนาเป็นวิธีที่ช่วยมนุษย์ตอบคำถามที่เกี่ยวกับจิตวิญญาน จึงมีการกำหนดความเชื่อ คำสอนเฉพาะ และสิ่งที่ต้องปฏิบัติ
การดูแลด้านจิตวิญญาน
มองให้เห็น และตอบสนอง
มีความกรุณา
อยู่กับปัจจุบันขณะ
ฟังอย่างตั้งใจ
สนับสนุนความหวัง (ที่ไม่เกินจริง)
ไม่จำเป็นต้องพูดคุยเรื่องพระเจ้าหรือศาสนา
ปัจจัยความสำเร็จของการดูแลด้านจิตวิญญาณ
ความเข้าใจจิตวิญญาณของตนเองของผู้ประเมิน
เข้าใจอย่างลึกซึ้งในความเชื่อด้านจิตวิญญาณของตนเอง
ต้องไม่ตัดสิน และอยู่บนฐานของการมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้การรักษากับผู้ป่วย
ความไว้วางใจทำให้เปิดใจพูดคุย
เวลา และวิธีการที่เหมาะสม
วางตัวเป็นธรรมชาติ เรียงลำดับประเด็นสนทนา (กาย -จิต -สังคม -จิตวิญญาณวิธีการรักษา-การช่วยเหลือ-การสนับสนุน-ทางเลือก-เสริม)
การสนทนาเชิงลึก จำเป็นต้องอาศัยผู้มีทักษะในการแปรความหมายของคาพูดและภาษากาย
สรีรวิทยาในระยะเผชิญความตาย
ความอ่อนเพลีย (weakness / fatigue)
ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี การช่วยขยับและบริหารข้อ หมั่นพลิกตัว และบีบนวดสัมผัสเบาๆ ก็เพียงพอ
ความเบื่ออาหาร
ความเบื่ออาหารเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย ทำให้มีสารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้น สารคีโตนทาให้ความเจ็บปวดบรรเทาลง
ดื่มน้ำน้อยลง
ภาวะขาดน้้ำกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ทาให้รู้สึกสบาย
การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือด
ช็อก ชีพจรเต้นเร็ว มี peripheral และ central cyanosis ปัสสาวะลดลง
การหายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง
ญาติตื่นตระหนก กลัวผู้ป่วยทรมาน ความจริง ผู้ใกล้ตายมิได้รู้สึกเช่นนั้น
การเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท
Usual road
รู้สึกง่วง และนอนหลับตลอดเวลา รู้สึกตัวน้อยลงเป็นลำดับ จนหมดสติและตายในที่สุด
Difficult road
กระวนกระวาย อาจเพ้อ กระตุก ชัก และในที่สุดไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิต
ระยะเผชิญความตาย จะดูแลผู้ป่วยให้ “ตายดี” ได้อย่างไร
สื่อสารบอกผู้ป่วยและครอบครัวด้วยวิธีที่เหมาะสม
ประเมินและตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาน
รักษาอาการปวด และอาการรบกวนที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน
วางแผนการดูแลขณะเผชิญความตายของผู้ป่วย ร่วมกับครอบครัว
ลดหรือหยุดยา และวิธีการตรวจ/การรักษาที่ไม่จำเป็น
การตายดีที่พึงประสงค์
มีความเป็นส่วนตัว เลือกได้ว่าจะตายที่ใด
ได้รับการดูแลด้านจิตใจ จิตวิญญาน
มีคนรักอยู่ใกล้ มีเวลากล่าวคาอาลา
ไม่เจ็บปวด ไม่ทุกข์ทรมาน
พร้อมไปเมื่อเวลามาถึง ไม่ยื้อชีวิต
รู้ตัวและมีสติรับรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้น
LIVING WILL
กฎหมายพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2550
พินัยกรรมชีวิต
"บุคคลมีสิทธิทาหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้...เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทานั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
เข้าใจหลักคิดชีวิตคือองค์รวม การเกิดและการตายเป็นธรรมดาของทุกชีวิต
ช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีชีวิตที่ดีที่สุดจนถึงวันที่ต้องตาย
ต้องไม่เร่ง หรือยื้อการตายของผู้ป่วยเมื่อเวลานั้นมาถึง
รักษาอาการปวดและอาการทุกข์ทรมานของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ผสมผสานการดูแลด้านจิตใจ จิตวิญญาณในการดูแลผู้ป่วย
เริ่มต้นทันทีควบคู่ไปกับการดูแลที่เน้นการรักษาที่ตัวโรค
ใช้หัวใจมากกว่าสมองในการทำงาน