Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
บทที่ 8 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
คำจำกัดความ Stroke
เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือดสมอง เป็นเหตุให้สมองบางส่วนหรือทั้งหมดทำงานผิดปกติไป ก่อให้เกิดอาการและอาการแสดงซึ่งคงอยู่เกิน 24 ชั่วโมงหรือทำให้เสียชีวิต
ภาษาไทย คือ โรคอัมพาต
กรณีอ่อนแรงไม่มากหรือเป็นชั่วคราว เรียกว่า โรคอัมพฤกษ์
Stroke
Cerebrovascular disease
Cerebrovascular accident (ไม่นิยม)
ระบาดวิทยา
พบบ่อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
ในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง
ส่วนประเทศแถบเอเชีย พบเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจ
สำหรับประเทศไทย ประมาณได้ว่า มีผู้ป่วยโรคนี้ 496,800 คน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต
ความชุกของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยใกล้เคียงกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก (clinical nursing practice guideline for stroke, 2550)
ก่อให้เกิดความพิการเป็นอันดับสองทั้งเพศชายและหญิง
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองอุดตันคิดเป็น 162,664 บาทต่อคนต่อปี (Youngkong, Riewpaiboon & Riewpaiboon, 2002)
ปัจจุบันความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองพัฒนามาก ทั้งด้านการป้องกัน การตรวจวินิจฉัย และการดูแลรักษา
ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง
สมองขาดเลือด (Ischemic stroke) 75-80%
เลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke)20-25%
อาการ
หน้าเบี้ยว
แขนขาอ่อนแรง
พูดไม่ชัด
ปวดศีรษะ อาเจียน ชัก สับสน
ความรู้สึกตัวลดลง
กลืนลำบาก
กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้
เพศ
ชาติพันธ์
อายุ
พันธุกรรม
ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้
ความดันโลหิตสูง
Atrial fibrillation
โรคหลอดเลือดหัวใจ
ความผิดปกติของหลอดเลือดแดง Carotid
การสูบบุหรี่
เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง
เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
การประเมินสภาพ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
การตรวจร่างกาย
ระดับความรู้สึกตัว (Glasgow coma scale)
การอ่อนแรงกล้ามเนื้อแขนขา
การอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า
ประวัติ: อาการสำคัญ ระยะเวลาที่เกิดอาการผิดปกติ(สำคัญมาก)
ให้ได้เวลาที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจให้การรักษาของแพทย์
อาการแสดงที่ต้องรายงานแพทย์ทันที
BP; SBP > 185-220 mmHg, DBP>120-140 mmHg
พร่องออกซิเจน O2 sat < 95 หรือมีภาวะcyanosis
GCS < 10 หรือ ลดลง
DTX<50mg% หรือ >400mg%
เจ็บหน้าอก ชัก เกร็ง กระตุก เหนื่อยหอบ เป็นต้น
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ: CBC, PT, PTT, INR, Glusose, E+, EKG, BUN, Cr+, ABG, Lipid profife; LDL, HDL, Cholesterol
การตรวจทางรังสี: CT (computer tomography) เพื่อตรวจสอบภาวะเลือดออกในสมอง MRI (Magnetic resonance imaging) เพื่อตรวจสอบหาภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
การรักษา
การรักษาแบบทางด่วน (fast track)
กรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และเข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาลไม่เกิน 3 ชั่วโมง และเป็นโรงพยาบาล ที่มีความพร้อม กล่าวคือ มีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง มี Stroke unit (แพทย์ทั้งอายุรกรรมและศัลยกรรมประสาท พยาบาลผู้เชี่ยวชาญ และทีมสุขภาพอื่น ๆ) แพทย์จะพิจารณาให้
Reperfusion therapy คือ ให้ยาละลายลิ่มเลือด (RTPA, recombinant tissue plasminogen activator) ขนาด 0.9 มก./กก. ไม่เกิน 90 มก. ทางหลอดเลือดดำ
เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ป่วยให้ RTPA
ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายใน 3 ชั่วโมง
ผล CT ไม่พบว่ามีเลือดออกในสมอง
ผู้ป่วยและญาติเข้าใจประโยชน์และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการให้ยา และยินยอมให้การรักษา
ข้อห้ามในการให้ RTPA
ไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอนของการเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เช่น ให้ประวัติว่าเกิดขึ้นหลังตื่นนอน
มีเลือดออกในสมอง
มีอาการชัก
มีประวัติเลือดออกในสมอง
มีความดันโลหิตสูง (SBP >=180 mmHg, DBP >= 110mmHg)
มีประวัติบาดเจ็บที่ศีรษะภายใน 3 เดือน
ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดภายใน 48 ชั่วโมง
มีค่าความแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือมีความผิดปกติของเกล็ดเลือด (น้อยกว่า 100,000 mm3)
Hct < 25%
มีประวัติผ่าตัดใหญ่ใน 14 วัน
มีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือปัสสาวะภายใน 21 วัน
มีเนื้อสมองตายมากกว่า 1 กลีบ
การรักษาแบบไม่ใช่ทางด่วน
Prevention therapy ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ควรได้รับแอสไพริน 160-325 มิลลิกรัมต่อวัน ภายใน 48 ชั่วโมง
การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ได้แก่ การป้องกันเกล็ดเลือดเกาะตัว (antiplatelet treatment) คือ ให้แอสไพริน การป้องกันการเกิดลิ่มเลือด การลดความดันโลหิต การลดไขมันในเลือด รักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ งดสูบบุหรี่
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่สำคัญและพบบ่อย
เนื้อเยื่อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากหลอดเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน/แตก
ระดับความรู้สึกตัวลดลงเนื่องจากเนื้อเยื่อสมองได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
ระดับความรู้สึกตัวลดลงเนื่องจากมีภาวะสมองบวมหรือความดันกะโหลกศีรษะสูง
พร่องความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเนื่องจากความรู้สึกตัวลดลงหรือแขนขาเคลื่อนไหวได้น้อยหรือไม่ได้เลย
การสื่อสารด้วยการพูดบกพร่องเนื่องจากเซลล์สมองด้านการพูดได้รับบาดเจ็บ
การพยาบาล
ขณะให้ยาละลายลิ่มเลือด
อธิบายญาติเข้าใจข้อดี ข้อเสียของการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ให้ลงนามในใบยินยอมการรักษา
เปิดหลอดเลือดดำ 2 เส้น เส้นหนึ่งให้ 0.9 % NSS ที่เหลือ lock ไว้ให้ยา
การเตรียมยา คำนวนยาตามน้ำหนักตัว คือ 0.6-0.9 mg/kg ไม่เกิน 90 mg ผสมยาใน sterile water (ไม่ละลายในสารละลายที่มีน้ำตาล)
ยาที่ผสมเหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิ 2-8 C ถ้าไม่ใช้ใน 24 hr ต้องทิ้ง
ขณะให้ยาละลายลิ่มเลือดไม่ให้ยาชนิดอื่นเข้าทางสายให้สารน้ำเดียวกัน
ผู้ป่วยควรได้รับการเฝ้าะวังและป้องกันการมีเลือดออกเข้า
เข้ารับการรักษาใน stroke unit or ICU
งดกิจกรรมเหล่านี้หลังได้รับยา 24 hr
ให้ยา heparin/warfarin/antiplatelet
ใส่ NG tube
แทงสายเข้าหลอดเลือดดำส่วนกลาง
เจาะ arterial blood gas หรือ เจาะหลอดเลือดแดง
หลีกเลี่ยงการใส่สายสวนปัสสาวะใน 30 นาที
ให้ยาลดกรดเพื่อป้องกันเลือดออกในระบบทางเดินอาหารตามแผนการรักษา
เฝ้าระวังและสังเกตอาการมีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ
กรณีที่สงสัยว่าจะมีเลือดออกในสมอง เช่น ปวดศีรษะ GCS ลดลง BP สูง คลื่นไส้อาเจียน ให้หยุดการให้ยาละลายลิ่มเลือด เจาะ lab เตรียมให้ FFP ตามแผนการรักษา
ให้พักบนเตียง
งดน้ำและอาหารทางปาก ยกเว้นยา
วัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที 2 ชั่วโมง ทุก 30 นาที 6 ชั่วโมง
ให้ออกซิเจน
Monitor EKG
ประเมิน GCS
ควบคุมระดับน้ำตาล ไม่ควรเกิน 150 mg% เพราะทำให้สมองมีเนื้อตายเพิ่มขึ้น
หลีกเลี่ยงการให้สารน้ำที่มีน้ำตาลกลูโคส
ระยะฉุกเฉินและวิกฤติ
เฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดและการหายใจที่ผิดปกติ (O2 saturation 95%)
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ถ้าใส่เครื่องช่วยหายใจต้องดูแลการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ ไม่ควรใช้ PEEP เพราะจะทำให้เพิ่ม ICP ได้
ดูดเสมหะเมื่อจำเป็นและต้อง Hyperventilate ทุกครั้ง
ไม่ใช้เวลาในการดูดเสมหะนานเกิน 10-15 นาที
ประเมินความรู้สึกตัวและภาวะเลือดออกในสมอง เช่น ปวดศีรษะ ความรู้สึกตัวลดลง ความดันโลหิตสูงขึ้น และมีคลื่นไส้อาเจียน
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยากันชัก ยาลดความดันโลหิต
ประเมินความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง
กรณีที่มีความดันโลหิตสูง การพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิตต้องพิจารณา คือ หลีกเลี่ยงการให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิต SBP 220 mmHg หรือ DBP120 mmHg
ไม่ควรให้ Nifedipine อมใต้ลิ้นหรือทางปาก เพราะทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น
ดูแลงดน้ำและอาหารทางปาก กรณีผู้ป่วยซึม และสงสัยว่ามี Massive infarction หรือมีแนวโน้มที่จะได้รับการผ่าตัด (สารน้ำที่ให้คือ NSS ทางหลอดเลือดดำ)
ประเมินระดับน้ำตาลในเลือด โดยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 150 mg/dlในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ให้ยาลดไข้กรณีที่มีไข้ พร้อมทั้งสาเหตุและการรักษาตามสาเหตุ
ให้ยาป้องกันชักและระวังชักในกรณีที่มีอาการชัก
จัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา เพื่อให้เลือดดำไหลกลับสมองได้ดีขึ้น หลีกเลี่ยงที่ทำให้มีการงอ หัก พับ แหงนคอ หรือก้มศีรษะ จะขัดขวางการไหลของหลอดเลือดดำ ทำให้ความดันกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นได้
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ความดันในช่องอก ช่องท้องเพิ่มขึ้น เพราะขัดขวางการไหลกลับของหลอดเลือดจากสมอง เกิด ICP กิจกรรมเหล่านี้ได้แก่ การเบ่งถ่าย การไอจามแรง ๆ การต้านการผูกยึด การดึงรั้งไม้กั้นเตียงเพื่อพยุงตัวเองขึ้นนั่ง
ลดการกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเกร็ง เช่น Isometric exercise, การใช้ foot board ป้องกันปลายเท้าตกขณะที่ผู้ป่วยชักเกร็ง
ให้การดูแลญาติและครอบครัว โดยการรับฟังปัญหา ให้การช่วยเหลืออย่างเป็นมิตร
ระยะพักฟื้นและฟื้นฟูสภาพ
การพยาบาลเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการกลับเป็นซ้ำ
ผู้ป่วยและญาติเข้าใจความสำคัญของการรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ห้ามหยุดยาหรือเพิ่มขนาดยาเอง
อธิบายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ
อธิบายอาการแสดงที่ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
มาตรวจตามแพทย์นัด
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติซักถาม
การพยาบาลในการป้องกันภาวะความดันกระโหลกศีรษะสูง (IICP)
ดูแลป้องกันไม่ไห้เกิดแรงดันในช่องอกและช่องท้องสูงขึ้น เพราะทำให้หลอดเลือดดำไหลกลับเข้าสู่หัวใจลดลง
หลีกเลี่ยงการไอและจามแรง ๆ
หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (PEEP; positive end expiratory pressure) ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรอยู่ระหว่าง 5 cmH2O
หลีกเลี่ยงท้องผูก ห้ามเบ่งถ่าย/สวนอุจจาระ
ให้ยาลดบวมของสมองตามแผนการรักษา เช่น manitol
ข้อเสื่อม (Osteoarthritis: OA)
ความหมาย การเสื่อมของข้อ ที่มีการเปลี่ยนแปลงกระดูกอ่อนผิวข้อ สึกบางลง ทำให้มีการเสียดสีของกระดูก เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว อาการปวด ข้อฝืด เมื่อเวลาผ่านไปจะมีกระดูกงอกเข้าในข้อ และมีเศษกระดูกลอยอยู่ในข้อ ทำให้ปวดข้อมากยิ่งขึ้นและเคลื่อนไหวลำบาก มีผลทำให้ข้อผิดรูปและพิการ
ลักษณะสำคัญ
มีการเสื่อมทำลายของกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณข้อ โดยไม่มีการอักเสบของข้อ
เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับข้อที่เคลื่อนไหวได้ ทำให้มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมเป็นรอยถลอกกรอนไป ร่วมกับมีการสร้างกระดูกใหม่บริเวณขอบข้อ
พบมากในวัยสูงอายุ
ปัจจัยชักนำ
อายุ
การใช้งานข้อมากเกินไป เป็นเวลานาน
บาดเจ็บที่ข้อ
โรคอ้วน
ขาดวิตามินดีและซี
กรรมพันธุ์
อาการและอาการแสดง
ข้อเสื่อมมักเป็นหลายข้อ เป็นมากที่สุดคือข้อที่รับน้ำหนักมาก
ปวด ปวดตื้อ ๆ บริเวณข้อ ปวดมากเมื่อใช้งานหรือลงน้ำหนักบนข้อนั้น ทุเลาเมื่อพักใช้งาน
ข้อฝืด พบบ่อย ในช่วงเช้าและหลังพักใช้ข้อนั้นนาน ๆ
ข้อบวมผิดรูป ตรวจพบข้อที่อยู่ตื้น เช่น ข้อเข่า ข้อนิ้ว
อาจพบเข่าโก่ง เข่าฉิ่ง
สูญเสียการเคลื่อนไหวและการทำงาน
เสียงดังกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวข้อ
องศาการเคลื่อนที่ของข้อลดลง
การวินิจฉัย
ซักประวัติและตรวจร่างกาย การตรวจข้อเข่าพบลักษณะที่สำคัญคือ ข้อบวม หรือขนาดข้อใหญ่
การถ่ายภาพรังสี พบช่องว่างระหว่างกระดูกเข่าแคบลงซึ่งหมายถึงกระดูกอ่อนมีการสึกหรอ
การเจาะเลือด การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคปวดเข่าเรื้อรังเช่น โรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์
การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงเข่า ในกรณีที่เข่าบวมแพทย์จะเจาะเอาน้ำหล่อเลี้ยงเข่าออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์
การรักษา
เนื่องจากรักษาไม่หาย เป้าหมาย สำคัญ
เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ
แก้ไขหรือคงสภาพการทำงานของข้อให้ปกติ
ป้องกันและชะลอภาวะแทรกซ้อน
ให้มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงคนปกติ
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
การลดน้ำหนัก
ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดข้อเข่าเสื่อม เช่น การยกของหนัก
การนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ
การนอนกับพื้นเป็นประจำเพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับเข่า
หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ ควรจะนั่งบนเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
การนวดประคบ
การบริหารข้อด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดแรงกระแทกต่ำ
การออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยลดแรงที่กระทำต่อเข่า
วิธีการบริหารสามารถทำได้โดยการยืน มือเกาะกับเก้าอี้ ย่อตัวให้เข่างอเล็กน้อย นับ 3-6 แล้วยืนตรงทำช้ำ 3-6 ครั้ง
หรืออาจจะทำได้โดยนั่งบนเก้าอี้เหยียดขาเกร็งไว้ 10 วินาทีแล้วจึงงอเข่า ทำซ้ำหลายครั้ง
นอกจากนั้นการเดินเร็วหรือการว่ายน้ำจะช่วยกระตุ้นให้กระดูกแข็งแรง
เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะมีพื้นกันกระแทก
ให้ใช้เข่าเหมือนปกติ หากมีอาการปวดให้พักเข่า
ใช้ไม้เท้าค้ำเวลาจะลุกขึ้น อย่าหยุดใช้งาน
เวลาขึ้นบันไดให้ก้าวข้างดีขึ้นก่อน เวลาลงให้ก้าวข้างปวดลงก่อน มือจับราวบันได
ประคบอุ่นเวลาปวดเข่า
การทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีการบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าเพื่อลดอาการปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิดรูปรวมทั้งทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี
การรักษาโดยการใช้ยา
ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamol
ยาแก้อักเสบ steroid เมื่อสมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ
แต่ปัจจุบันความนิยมลดลงเนื่องจากผลข้างเคียง โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid (NSAID) ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน
ยาบำรุงกระดูกอ่อน ได้ผลช้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้มีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด
แต่การฉีดนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก
การรักษาโดยใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟู
การรักษาโดยการผ่าตัด
ได้ผลดีและโรคแทรกซ้อนไม่มาก วิธีการผ่าตัดมีได้หลายวิธี
การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเข้าไปเอาสิ่งสกปรกที่เกิดจากการสึกออกมา
การผ่าตัดแก้ความโก่งงอของเข่า ตัดกระดูกบางส่วนออกทำให้ใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบันนิยมลดลง
การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม (arthroplasty) คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้น
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่สำคัญและพบบ่อย
ปวดเรื้อรัง เนื่องจากมีการอักเสบของข้อ...
การเคลื่อนไหวของร่างกายบกพร่อง เนื่องจากปวดข้อและข้อมีการเคลื่อนไหวจำกัด
ภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลง เนื่องจากความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลงเพราะมีการอักเสบของข้อ......
ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง เนื่องจากความสามารถในการทำกิจกรรมหรือเคลื่อนไหวลดลง
ประเมินความปวด
ประเมินปัจจัยที่ทำให้อาการปวดเพิ่มขึ้นหรือทำให้อาการปวดลดลง เพื่อวางแผนป้องกันและควบคุมอาการปวด
ประเมินผลกระทบของความปวดต่อการทำกิจวัตรประจำวัน
แนะนำให้พักใช้ข้อในระยะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน ลดการนั่ง ยืน เดินนาน ๆแต่ยังให้มีการเคลื่อนไหว
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อ
สังเกตลักษณะการอักเสบของข้อ เช่น ปวด บวม แดง ร้อน
ประคบความร้อนเพื่อลดอาการปวด
สวมถุงเท้าหรือใช้ผ้าคลุม ห่อหุ้มบริเวณข้อเพื่อให้ความอบอุ่น
แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ถูกต้อง ลดแรงกดที่ข้อ
หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมากเกินไป
แนะนำการขึ้นลงบันไดให้ถูกวิธี เดินขึ้น ก้าวขาดีขึ้นก่อน เดินลงก้าวขาข้างที่เจ็บก่อน
แนะนำใช้ไม้เท้าหรือเครื่องพยุงเดิน ควรถือไม้เท้าด้วยมือตรงข้ามข้างที่เจ็บ
ออกกำลังกายเพื่อคงไว้ซึ่งพิสัยของข้อ (range of motion exercise: ROM) และเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของข้อ
นั่งเก้าอี้ที่มีเท้าแขน เพื่อช่วยในการลุกยืนได้สะดวก
ไม่ควรใช้พรมปูพื้น เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา
ดูแลด้านจิตใจ ให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกที่ไม่สบายใจ
กระดูกพรุน (Osteoporosis)
ความหมาย โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อย ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดได้ตามปกติ ทำให้กระดูกหักตามมา
ในภาวะปกติ กระดูกจะมีการสร้างและการสลายตลอดเวลา
ในเด็กมีการสร้างมากกว่าการสลาย โดยกระดูกจะใหญ่ขึ้นจนอายุ 30ปี
หลังจากนั้นกระดูกจะมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้กระดูกบางลง
ในวัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น
เมื่ออายุมากขึ้นการดูดซึมแคลเซียมลดลง ร่างกายดึงแคลเซียมจากกระดูกทำให้เนื้อกระดูกหนาแน่นลดลง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุ
เพศและอายุ : หญิงมากกว่าชาย เพราะมีปริมาณเนื้อกระดูกน้อยกว่า30% สตรีวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
รูปร่างเล็กผอม เพราะมีปริมาณเนื้อกระดูกน้อยกว่า (BMI< 19)
เชื้อชาติ พันธุกรรม ชาวเอเชียผิวขาว มีโอกาสมากกว่าคนผิวดำ
คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเกิดภาวะกระดูกพรุนมีโอกาสมากขึ้น
โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไต ตับแข็ง ข้ออักเสบรูมาตอยด์ hyperthyroidism, hyperparathyroidism, cushing’s syndrome
การใช้ยาที่มีผลการสลายเนื้อกระดูก เช่น สเตียรอยด์ ยารักษาไธรอยด์ ยาลดกรดที่มีฤทธิ์จับฟอสเฟต ยากันชัก
รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
การไม่ได้เคลื่อนไหวหรือขาดการออกกำลังกาย
รับประทานอาหารเค็มจัด ลดการดูดซึมแคลเซียมที่ไต
รับประทานอาหารโปรตีนสูง ใช้แคลเซียมในกระดูกไปทำปฏิกิริยากับกรดอินทรีย์ที่สร้างจากโปรตีน
อาหาร
ขาดวิตามินดี
อาการและอาการแสดง
ปวดหลัง ถ้ากระดูกสันหลังยุบ จะปวดร้าวไปยังปลายเท้า จะมีอาการมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว
น้ำหนักลด
กล้ามเนื้อเกร็งโดยเฉพาะบั้นเอว
การก้มทำได้น้อยกว่าการแหงนเหยียด
Dowager’s hump กระดูกสันหลังโค้งเพราะมีการหักของกระดูกสันหลังซ้ำ ๆ
การวินิจฉัย
ใช้ Dual Energy X-ray Absorptionmetry (DEXA) ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกที่กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา และปลายกระดูกข้อมือ (เฉพาะคนอ้วนมาก ๆ> 130 kg)
การวินิจฉัยกระดูกพรุนเมื่อ BMD น้อยกว่า -2.5 SD
นำค่าไปเปรียบเทียบกับค่าคนปกติในเพศเดียวกัน ถ้า bone mineral density น้อยกว่า 1.00 กรัม/ตารางซม. มีโอกาสกระดูกหักง่าย
วัด 2 ครั้งห่างกัน 1-2 ปี จะพยากรณ์โรคได้
เป็นเครื่องมือที่วินิจฉัยโรคกระดูกพรุนที่เหมาะสมที่สุด
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC, แคลเซียม, ฟอตเฟต, อัลบูมิน
การทำงานของตับ ไต
ฮอร์โมนไทรอยด์ม พาราไธรอยด์ วิตามินดี (25- hydroxyvitamin D)
ฮอร์โมนเพศ เช่น estradiol, testosterone, folliclestimulating hormone (FSH) luteinizing hormone (LH)
การรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
การได้รับปริมาณแคลเซียมเพียงพอ
รับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ ตลอดอายุขัย ตั้งแต่ในครรภ์ วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ วัยหมดประจำเดือนและวัยชรา
นมและผลิตภัณฑ์จากนมถือว่าเป็นแคลเซียมที่มีการดูดซึมได้ดีที่สุด
ผู้สูงอายุดื่มนมมีปัญหา ท้องอืดและท้องเสีย แก้ไขโดยดื่มทีละน้อยและดื่มหลังอาหาร
อาหารอื่นที่มีแคลเซียม คือ ปลาตัวเล็กกินได้ทั้งกระดูก กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ปลาป่น ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียวเข้ม
วิตามินดี การศึกษา พบว่า การให้วิตามินดีทั้งแบบดั้งเดิม และในรูปอนุพันธ์ไม่สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดกระดูกหักได้ แต่ถ้าให้วิตามินดี 700 IU ต่อวันร่วมกับแคลเซียม 500 mg จะช่วยลดอุบัติการณ์ได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
งดสูบบุหรี่
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดและโปรตีนสูง
ไม่ดื่มสุรา
มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น หรือออกกำลังกาย
ควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
ระมัดระวังการใช้ยาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
การออกกำลังกาย
ช่วยลดมวลกระดูก เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัว ลดความเสี่ยงต่อกระดูกหัก
การออกกำลังกายที่มีการแบกรับน้ำหนักอย่างเหมาะสม (appropriate weight bearing exercise) และการออกกำลังกายที่ออกแรงต้าน (resistance exercise) จะช่วยเพิ่มความหนาแน่นกระดูก เช่น เดินโดยยกขวดน้ำ หรือ dumbbell
ข้อควรระวังผู้ป่วยควรได้รับการตรวจสภาพร่างกายก่อนการออกกำลังกาย
การรักษาโดยใช้ยา ต้องทำควบคู่กับการรักษาโดยไม่ใช้ยาเสมอ
หลักการเลือกใช้ยา คือ ป้องกันไม่ให้กระดูกหัก ดังนั้นจึงมีหลักเกณฑ์การกำหนดว่าผู้ป่วยใดควรได้รับยา
ยาที่เลือกใช้ คือ biphosphonate เพิ่มความหนาแน่นกระดูก
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารหมักดอง และมีความเครียดสูง เพราะทำให้การดูดซึมแคลเซียมในอาหารลดลง
ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรม ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ให้มีการลงน้ำหนักของกระดูก อย่านั่ง ๆ นอน ๆ จะทำให้มีการสลายของกระดูกมากขึ้น
ตรวจความหนาแน่นของกระดูก ถ้ามีกระดูกพรุนควรได้รับการรักษาเพื่อคงไว้ซึ่งเนื้อกระดูกด้วยวิธีที่เหมาะสม
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล: ปวดเนื่องจากมีแรงกดที่กระดูกและมีเนื้อกระดูกลดลง
ระมัดระวังในการจัดท่า การเคลื่อนไหว และออกกำลังกาย
ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุหกล้ม ยกไม้กั้นเตียงขึ้น
กระตุ้นให้มีกิจกรรม มีการเคลื่อนไหว ให้เวลาในการทำกิจกรรมและถูกแสงแดด
ดูแลให้รับประทานอาหารที่แคลเซียมสูง ควรได้รับวันละ 1500มก. (นม 1 กล่อง 250 ซีซี มีแคลเซียม 300 มก.)
ประเมินและติดตามอาการปวด
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา และใช้วิธีอื่น ๆ ในการลดอาการปวด
ให้การดูแลด้านอารมณ์ จิตใจ ให้ระบายความรู้สึก มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยอื่นที่มีปัญหาเหมือนกัน
โรคเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่1 (Type 1 Diabetes Mellitus)
พบในเด็กหรือผู้ที่อายุน้อย ส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี
มักจะผอม
เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินสุลินได้ ต้องรักษาโดยการฉีดอินสุลิน
ถ้าขาดจะเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงและกรดคั่งในเลือด (Ketoacidosis)
เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus)
พบมากร้อยละ 95-97 ส่วนใหญ่มักจะอ้วน
ตับอ่อนยังพอผลิตอินสุลินได้ แต่มีภาวะดื้อต่ออินสุลิน
ระยะแรกรักษาโดยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด
เป็นนาน ๆ อาจต้องฉีด เพราะเบต้าเซลล์เสื่อมหน้าที่
ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ
ปัจจัยชักนำ
ปริมาณอินสุลินลดลงเนื่องจากภาวะสูงอายุ
เกิดการดื้ออินสุลินเนื่องจากสูงอายุ
โรคอ้วน
กิจกรรมด้านร่างกายลดลง
ยาที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น corticoteriod , estrogen, furosemide and thiazide diuretic,
การเจ็บป่วยหรือความเครียด
กรรมพันธุ์
อาการและอาการแสดง
ระยะแรกไม่ค่อยมีอาการ
อาการทั่วไป: กินจุ ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก น้ำหนักลด
ติดเชื้อบ่อย โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย รา ที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง มีแผลหายยาก
ระบบประสาททำงานบกพร่อง เช่น ชา เจ็บ ปวดแสบปวดร้อน
โรคของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ (Macroangiopathy) ทำให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดส่วนปลาย
โรคหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก (Microangiopathy) เป็นที่ไตทำให้โปรตีนรั่วออกมากับปัสสาวะ เป็นที่ตา ทำให้เกิด macular disease
มีรอยโรคที่ผิวหนัง เช่น Diabetic dermopathy
มีภาวะแทรกซ้อนของระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ Hyperlipidemia โรคอ้วน
Insulin Resistance Syndrome (Syndrome X)
Obesity
HDL < 45mg/dl (female), <35 mg/dl (men)
Triglyceride level > 150 mg/dl
Hypertension
Hyperuricemia
เกณฑ์วินิจฉัยเบาหวาน
มีอาการของโรคเบาหวานร่วมกับมีระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมาจากหลอดเลือดดำ(casual plasma glucose [CPG])
ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำงดอาหาร(fasting plasma glucose [FPG])
ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลา 2 ชั่วโมงหลังทำการทดสอบความทนกลูโคส (oral glucose tolerance test [OGTT])
ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน (Acute complication)
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
Nonketotic hyperglycemic-hyperosmolar coma (NKHHC) or hyperosmolar hyperglycemic state
ภาวะแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดขนาดใหญ่ ได้แก่ Myocardial infarction, Hypertension, Stroke, peripheral vascular disease, neuropathy, amputation
ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็ก ได้แก่
Retinopathy ทำให้ตามองไม่เห็น และไตวายระยะสุดท้าย (end-stage renal failure)
การถูกตัดขา
เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ เกิดแผลได้ง่าย
เกิดแผล แผลหายยาก เพราะเส้นเลือดตีบทำให้ขาดสารอาหารและออกซิเจน
การซ่อมแซมแผลและทำลายเชื้อแบคทีเรียไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้แผลลุกลามต้องถูกตัดขา
อาการแสดงที่เตือนว่ามีปัญหาที่เท้า
เท้าเย็น และมีอาการปวดเป็นพัก ๆ (Intermittent claudication)
ค่อยๆเปลี่ยนแปลงรูปร่างของนิ้ว
สีและความหยาบของผิวหนังเปลี่ยน
การควบคุมเบาหวาน
การควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด มีผลต่อการป้องกันและชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน
ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดใหญ่ เช่น ระดับไขมันและความดันโลหิต
เพื่อให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
ไม่มีโรคแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง
การใช้ยาฉีด คือ อินสุลิน และยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
การบริโภคอาหารที่เหมาะสม
การออกกำลังกาย
ประโยชน์
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื้อเยื่อมีความไวต่ออินสุลินเพิ่มขึ้น ทำให้ภาวะดื้อต่ออินสุลินลดลง
ควบคุมน้ำหนัก ลดไขมัน เพราะหลังออกกำลังกายจะลดความอยากอาหาร และมีการเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นนาน 1 ชั่วโมง
เมื่อออกกำลังกายสม่ำเสมอได้ระยะหนึ่ง ระดับไตรกลีเซอไรด์ คลอเลสเตอรอลลดลง HDL สูงขึ้น
ลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือด
ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่เริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ชนิด
เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการออกกำลังกายสูงสุด
ควรออกกำลังกายโดยให้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว อย่างต่อเนื่องกันนาน 20 นาทีขึ้นไป
เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน กายบริหาร เต้นแอโรบิก
ควรออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ (strengthening exercise) และความยืดหยุ่นของร่างกาย ( flexibility) ด้วยการยืดกล้ามเนื้อ (stretching)
ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดในลูกตา ควรงดการออกกำลังกายประเภทกระโดดหรือต้องออกแรงหนักหรือการออกกำลังกายชนิดมีแรงต้าน (strengtening exercise)
ค่อย ๆ เพิ่มเวลาการออกกำลังกายจนอย่างน้อย 20-30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์
ความหนักของการออกกำลังกาย คือ ระดับเบาถึงปานกลาง คือ 50-80% HR max
ปรับอาหารให้เหมาะสมกับการออกกำลังกาย
ถ้าออกกำลังกายนานเกิน 30 นาที ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าอยู่ระหว่าง 80-180 มก.ต่อดล. ควรรับประทานอาหารเพิ่มก่อนออกกำลัง
ถ้าอยู่ระหว่าง 180-240 มก.ต่อดล. ไม่จำเป็นต้องเพิ่มอาหารก่อนออกกำลัง
สังเกตอาการน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างออกกำลังกาย ให้หยุดพัก ดื่มน้ำหวาน หรืออมน้ำตาลก้อน
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่อินสุลินออกฤทธิ์สูงสุด
ภาวะแทรกซ้อน
Hypoglycemia มักเกิดในผู้ที่ฉีดอินสุลินมากกว่า แต่พบได้ในคนที่เป็นโรคเบาหวานมานานและสูงอายุ
มีเลือดออกในจอตา
การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรมีการตรวจสมรรถภาพก่อนออกกำลังกาย
งดออกกำลังกาย
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้สม่ำเสมอ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 250 mg/dl หรือ น้อยกว่า 100 mg/dl
BP ขณะพักเกิน 200/100 mmHg
หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวายที่ควบคุมไม่ได้
มีไข้
หลอดเลือดอุดตันหรืออักเสบ
กระดูกและข้ออักเสบ
อากาศร้อนอบอ้าวมาก ผู้ป่วยเบาหวานมีความบกพร่องของระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมความสมดุลความร้อนไม่ดี
การดูแลสุขภาพเท้า
ล้างเท้าให้สะอาดทุกวันหลังอาบน้ำ
ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
สำรวจเท้าตนเองทุกวัน
สวมรองเท้าหรือรองเท้าแตะตลอดเวลาทั้งในและนอกบ้าน
ถ้าผิวแห้งให้ทาครีมบาง ไม่เกา
ห้ามแช่เท้าด้วยน้ำร้อน ไม่เดินเท้าเปล่า ไม่ตัดตาปลา ไม่นั่งไขว่ห้าง
บริหารเท้า ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี
การลดน้ำหนัก
การติดตามผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ควรดูค่า HBA1C เป็นหลัก
เนื่องจากสะท้อนให้เห็นค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 1-4 เดือนก่อนการตรวจ
เกณฑ์บ่งชี้การควบคุมเบาหวานดี
ระดับน้ำตาลก่อนมื้ออาหารเท่ากับ 90-130 มก.ต่อดล.
ระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหาร 2 ชั่วโมง น้อยกว่า 180 มก.ต่อดล.
ระดับน้ำตาลเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) น้อยกว่า 7%
HDL-C มากกว่า 40 มก.ต่อดล.
LDL-C น้อยกว่า 100 มก.ต่อดล.
ไตรกลีเซอร์ไรด์ขณะอดอาหารน้อยกว่า 150 มก.ต่อดล.
ความดันโลหิตน้อยกว่า 130/80มม.ปรอท
การพยาบาล
ส่งเสริมให้มีความรู้และสามารถปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคเบาหวานได้ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น โปรแกรมสอนสุขศึกษา การสอนแบบมีแบบแผน การใช้แรงสนับสนุนทางสังคมจากญาติผู้ป่วย การสร้างแรงจูงใจ การใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเอง
การแนะนำเรื่องอาหาร ควรรับประทานอาหารร่วมกับออกกำลังกาย เพื่อรักษาดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23 กก.ต่อตร.ม. โดยใช้โภชนบำบัด 9 ประการ
กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งบางมื้อ
กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ
กินปลาเนื้อสัตว์ไม่ติดไขมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
ดื่มนมเหมาะสมตามวัย (low fat)
กินอาหารไขมัน ประเภท ไขมันไม่อิ่มตัว คือ ไขมันจากพืช
หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด เค็มจัด
กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
กระตุ้นการหลั่งอินสุลินจากตับอ่อน: sulfonylurea
แก้ไขภาวะดื้อต่ออินสุลินที่ตับ เซลล์กล้ามเนื้อทำให้อินสุลิน ออกฤทธ์ดีขึ้น: metformin
ชะลอการย่อยและการดูดซึมน้ำตาลของลำไส้ ลดระดับน้ำตาลหลังอาหาร ต้องรับประทานยาพร้อมอาหาร: acarbose
แก้ไขภาวะดื้อต่ออินสุลินที่เซลล์กล้ามเนื้อ ตับและไขมัน: rosiglitozone
แนะนำผู้เป็นเบาหวานเกี่ยวกับการใช้อินสุลิน
ฤทธิ์ของอินสุลินในการควบคุมระดับน้ำตาล
การรับประทานอาหารให้สอดคล้องกับการฉีดอินสุลิน
ชนิดออกฤทธิ์เร็วต้องรับประทานอาหารทันที ออกฤทธิ์สั้นรับประทานอาหารหลังฉีด 30 นาที
การเก็บอินสุลิน เก็บในตู้เย็นไม่ใช่ช่องแช่แข็ง สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องนาน 1 เดือน ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง
สังเกตอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการเหงื่อออก ใจสั่น หิว หน้ามืด ตาลาย อ่อนเพลีย จะเป็นลม ชาปลายมือปลายเท้า
การฉีดอินสุลินวันละครั้งไม่เพียงพอ เพราะระดับอินสุลินไม่ขึ้นลงตามธรรมชาติ
การฉีด RI ก่อนอาหารและฉีด long acting ก่อนนอนเป็นวิธีที่ดี แต่พบว่าผู้ป่วยเจ็บตัวหลายครั้ง จึงมีการผสม intermediate and short acting ไว้ในขวดเดียวกัน เพราะยาออกฤทธิ์เป็น 2 peak เช่น Humulin 70/30
การฉีดหน้าท้องเป็นบริเวณที่ดูดซึมที่สุดและการดูดซึมไม่เปลี่ยนแปลงตามการออกกำลังกาย
การฉีดที่ขาทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ง่าย
ห้ามนวดหรือคลึงบริเวณฉีด เพราะยาดูดซึมเร็ว
ภาวะท้องผูก
(Constipation)
ความหมายของการถ่ายอุจจาระปกติ
การถ่ายอุจจาระ 3 ครั้งต่อวัน ไปจนถึงอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
โดยอุจจาระต้องไม่แข็งเกินไปหรือก่อให้เกิดการเจ็บปวด
และไม่รู้สึกว่ายังมีอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้อีก
ความหมายท้องผูก
การถ่ายอุจจาระแข็งและแห้งผิดปกติความถี่คือหลายวันจึงจะขับถ่ายเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระนานหรือเบ่งมาก หรือรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่หมด
เป็นภาวะที่ทำงานหรือการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระออกมาได้
ภาวะที่บุคคลรับรู้ด้วยประสบการณ์ว่า การทำงานหรือการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่เปลี่ยนแปลง โดยมีการลดลงของจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ และ/หรือ การถ่ายอุจจาระลำบาก อุจจาระมีลักษณะแห้งแข็ง
ชนิดของภาวะท้องผูก (แบ่งตามลักษณะการขับถ่ายอุจจาระ)
ชนิดถ่ายลำบาก หรือเจ็บปวดในขณะถ่าย
ภาวะท้องผูกที่มีการไหลอุจจาระในลำไส้อย่างช้า ๆ
ชนิดของภาวะท้องผูก (แบ่งตามสาเหตุการทำให้เกิดท้องผูก)
Primary constipation เกิดขึ้นเองโดยไม่มีโรคอื่นเป็นสาเหตุนำมาก่อน
การกินอาหารที่มีกากน้อย
การละเลยไม่ถ่ายอุจจาระทันทีที่ปวดถ่าย
การออกกำลังกายน้อย
การถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
การไม่เคยชินสภาพแวดล้อมหรือไม่สะดวกในการขับถ่าย
การดื่มน้ำน้อย
มีกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแอ
Secondary constipation
มีก้อนเนื้องอกของลำไส้ ลำไส้กลืนกัน ไส้เลื่อน
การเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติ
มีความผิดปกติทางจิต เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า
มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์
มีพยาธิสภาพของไขสันหลัง
การได้รับยา เช่น antacid, anticholinergics, tranquilizers, antidepressant, antihypertensive (calcium channel blocker), narcotic analgesic, NSAIDs
ความสูงอายุกับการขับถ่ายอุจจาระ
ขับถ่ายช้า โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ถูกจำกัดให้นอนบนเตียงนาน ๆ
ถ่ายอุจจาระออกไม่หมด เนื่องจากสมรรถภาพความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง สุขนิสัยการขับถ่ายไม่ดี สภาพจิตใจสับสน มีภาวะซึมเศร้าทำให้ไม่อยากทำกิจกรรม
ละเลยต่อการปวดถ่ายอุจจาระ
ได้รับอาหารน้อยลง
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ น้อยกว่า 1000 มิลลิลิตรต่อวัน
เกิดความกลัวในเรื่องยากลำบากในการขับถ่าย
ได้รับยา
ประเมินอาการท้องผูก
โดยการซักประวัติ เช่น แบบแผนการขับถ่าย ความถี่ ลักษณะอุจจาระ ความปวด ยาที่ใช้ การสวนอุจจาระ แบบแผนการรับประทานอาหาร กิจกรรม ความเครียด
การตรวจร่างกาย เช่น การฟังเสียงลำไส้บีบตัว ลดลงหรือเพิ่มขึ้น แสดงถึงลำไส้อุดตัน กดเจ็บ แสดงถึงการมี diveritculitis สังเกตอาการท้องอืด ปวดท้อง การคลำได้ก้อน
การพยาบาล
แนะนำรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ และอาหารที่มีเส้นใยสูงอย่างน้อย 10 กรัมต่อวัน ถ้าท้องผูกเรื้อรัง ประมาณ 20-30 กรัมต่อวัน
แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วเป็นอย่างน้อย โดยเฉพาะหลังตื่นนอนตอนเช้าควรดื่มน้ำ 1 แก้ว เพื่อช่วยระบบขับถ่าย ช่วงเย็นก่อนนอนดื่มน้ำประมาณ 500-1000 มิลลิลิตรอาจเสริมการดื่มน้ำส้ม มะนาว มะขาม ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟทำให้ขับน้ำในระบบปัสสาวะมากร่วมกับทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวลดลง
เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
ออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวดีขึ้น
ออกกำลังกายอวัยวะที่ช่วยในการขับถ่าย คือ กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เช่น เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง เกร็งกล้ามเนื้อสะโพกและขมิบบริเวณฝีเย็บ ร่วมกับนวดคลึงหน้าท้องบริเวณลำไส้ใหญ่
การฝึกการขับถ่าย โดยกำหนดเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน เพื่อนั่งถ่ายอุจจาระ เวลาที่แนะนำคือ ตื่นนอนตอนเช้าและดื่มนมอุ่น ๆ 1-2 แก้ว หรือหลังรับประทานอาหารเช้า 30 นาที เพื่อกระตุ้น gastrocolic reflex
กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยการพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
ไม่กลั้นอุจจาระ เมื่อปวดควรรีบเข้าห้องน้ำทันที
จัดสภาพแวดล้อมห้องน้ำให้เหมาะสม ความสะอาด และลักษณะโถส้วมที่เหมาะสม
การดูแลเรื่องการรับประทานยา ระวังการใช้ยาลดกรดที่มีองค์ประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนตและโซเดียม เพราะทำให้ท้องผูก
กรณีต้องใช้ยาระบาย ควรให้ยาที่มีฤทธิ์ข้างเคียงน้อย ไม่ควรให้ขนาดที่สูง
ถ้าอุจจาระแข็งควรให้ยาที่ดูดน้ำไว้ เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว
ยาเหน็บควรใช้เป็นครั้งคราวเพราะเกิดความเคยชินและทำให้หน้าที่ตามปกติของลำไส้เสียไป
กรณีที่รับประทานยาระบายแล้วอุจจาระไม่ออก สวนอุจจาระไม่ได้ผล ควรปฏิบัติดังนี้
ใช้ยาเหน็บ
สวนด้วยยาหล่อลื่น (Glycerine ต่อน้ำอย่างละ 1ส่วน ให้ไม่เกิน 250 มิลลิลิตร)
ควักอุจจาระให้ออกมามากที่สุด เจ็บมากให้ยาแก้ปวด
การป้องกันและรักษาอาการท้องผูกสรุปเป็นอักษรย่อ FECES ดังนี้
F = Fluid & fiber intake
E = Exercise & environment
C = Creation of bowel program
E = Elimination of causative factors
S = Stimulation of gastrocolic reflex
ต่อมลูกหมากโต
สาเหตุ
ไม่ทราบชัดเจน
การโตของต่อมลูกหมากสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตามวัย
ฮอร์โมน dihydrotestosterone หรือ DHT เกี่ยวข้องกับการเกิด BPH
วัยสูงอายุระดับเทสโตเสตอโรนในเลือดจะลดลงแต่ระดับ DHT จะคั่งอยู่ในต่อมลูกหมาก จะกระตุ้นให้สร้างเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ (hyperplasia)
พยาธิสภาพ
ผนังด้านข้างหรือด้านในของต่อมลูกหมากจะเพิ่มจำนวนเซลล์มากผิดปกติ เกิดเป็นก้อน
เบียดเนื้อเยื่อเดิมให้บางออกจนเหมือนเปลือกหุ้มหรือเป็นแคบซูล เปรียบได้กับผลส้ม
ต่อมลูกหมากที่โตจะเปรียบเหมือนกลีบส้มส่วนของเดิมจะเปรียบเหมือนเปลือกส้ม
เบียดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบลง
ทางเดินปัสสาวะจะถูกอุดกั้น
ปัสสาวะลำบากปัสสาวะไหลไม่สะดวก กระเพาะปัสสาวะจะปรับตัวไวต่อการกระตุ้น
ปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะไม่ได้
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ผนังท่อไตบางลง พองออก และมีปัสสาวะขัง เกิดเป็นท่อไตบวมน้ำ (hydroureter)
ผนังของไตจะบางลง พองออกและมีปัสสาวะขัง กลายเป็นไตบวมน้ำ (hydronephrosis)
อุดตันหรือมีการไหลย้อนกลับเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดไตวาย
อาการ
ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ หรือรอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้
ปัสสาวะไม่พุ่งเป็นลำเล็ก ๆ
ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
ปัสสาวะบ่อย ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ
ภาวะแทรกซ้อน
กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีเกิดการคั่งของปัสสาวะ
เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ไตเสื่อม
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ปัสสาวะเล็ด
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรค
อาศัยการซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
และการตรวจพิเศษ
การซักประวัติ
สอบถามอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
ระยะเวลาที่เริ่มอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
ลักษณะของขับถ่ายปัสสาวะ
การตรวจร่างกาย
ควรตรวจร่างกายในทุกระบบมิใช่ตรวจเฉพาะระบบที่มีปัญหา
อาจจะมีปัญหาเลือดจาง
บวมตามตัวเนื่องจากมีภาวะ Azotemia
อาจติดเชื้อของไตเคาะบริเวณบั้นเอวด้านหลังมีอาการเจ็บ
คลำและเคาะบริเวณหน้าท้องเหนือหัวหน่าวจะพบกระเพาะปัสสาวะโป่งนูนมีเสียงทึบ เนื่องจากมีการคั่งค้างของปัสสาวะ
ตรวจทางทวารหนัก เพื่อดูขนาดและลักษณะต่อมลูกหมาก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไต
ตรวจ Prostate-specific antigen (PSA) ค่าปกติประมาณ 0-4 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร
Tumor-marker ในการสืบค้นหามะเร็งของต่อมลูกหมาก
Cystoscope เพื่อดูว่ามีท่อปัสสาวะตีบตันหรือไม่ ต่อมลูกหมากโตเพียงใด และกระเพาะปัสสาวะเป็นอย่างไร
Plain kidney ureter bladder (KUB) และการทำ IVP [ intravenous pyelography]
ultrasound
Uroflowmetry เพื่อดูว่าทางเดินปัสสาวะอุดกั้นมากน้อย
การรักษา
การเฝ้าสังเกตอาการ (Watchful waiting)
กรณีที่ต่อมลูกหมากโตและไม่มีอาการ
แพทย์ตัดสินใจว่ายังไม่จำเป็นต้องให้ยาหรือการรักษาอย่างอื่น
ต้องมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะประเมินว่าต่อมลูกหมากที่โตเกิดปัญหาต่อสุขภาพหรือไม่
ต่อมลูกหมากโตไม่มากประมาณ1/3อาการจะดีขึ้นเอง
แนะนำมิให้รับประทานยาลดน้ำมูกเพราะจะทำให้อาการแย่ลง
รักษาโดยยา
ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่บีบรัดท่อปัสสาวะ ได้แก่ Alfa blocker drug treatment เช่น terzosin (Hytrin), doxazosin (Cardura) and tamsulosin (Flamax)
กล้ามเนื้อคอกระเพาะปัสสาวะคลายตัว รูของท่อปัสสาวะกว้างขึ้น ปัสสาวะได้สะดวกขึ้น
มีฤทธิ์ข้างเคียง คือ ความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดอาการปวดและเวียนศีรษะ
เป็นยาลดขนาดต่อมลูกหมาก ได้แก่ Finasteride (Proscar)
ออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศชาย testosterone ทำให้ฮอร์โมน DHT ลดลง จึงทำให้ขนาดของต่อมลูกหมากเล็กลง ปัสสาวะได้คล่อง
หยุดยาต่อมลูกหมากจะโตขึ้น ดังนั้นจึงต้องรับประทานยาตลอดไป
ผลข้างเคียงคือ ลดความต้องการทางเพศ
การรักษาต่อมลูกหมากโตโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัด
Transurethral Microwave Procedures
Transurethral Needle Ablation (TUNA)
Balloon dilatation
การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาต่อมลูกหมากโต
Transurethral resection of the prostate (TURP)
ใส่เครื่องมือเข้าทางท่อปัสสาวะและใช้เครื่องมือตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วล้างออก
หลังจากผ่าตัดต้องคาสายสวนปัสสาวะอีก 2-3 วัน
เหมาะสำหรับผู้ที่มีต่อมลูกหมากโตขนาดปานกลาง
ข้อเสียคือ เลือดออกง่าย มีน้ำอสุจิไหลย้อนกลับ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ องคชาตไม่แข็งตัว และต่อมลูกหมากอาจโตขึ้นอีกถ้าตัดออกไม่หมด
Transurethral incision of the prostate (TUIP)
กรณีที่ต่อมลูกหมากไม่โตมาก
ใช้เครื่องมือใส่เข้าท่อปัสสาวะแล้วกรีดต่อมลูกหมาก 2-3รอยไม่มีการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก
ลดความดันในต่อมลูกหมากทำให้ปัสสาวะออกง่ายขึ้น
Open prostatectomy or suprapubic prostatectomy
ผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องแล้วเอาต่อมลูกหมากออก
กรณีต่อมลูกหมากโตมาก
จะใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้ทางหน้าท้อง เพื่อเป็นทางออกของปัสสาวะ
นำเนื้องอกออกมาได้หมด แต่มีเลือดออกมาก ต้องอยู่โรงพยาบาลนาน
อาจกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และองคชาตไม่แข็งตัว
การพยาบาล
กรณีที่รักษาโดยวิธี Watchful waiting
ควรแนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติ และมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
กรณีที่รักษาโดยการใช้ยา
แนะนำการรับประทานยา การออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของยา พร้อมทั้งการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
กรณีที่รักษาโดยการผ่าตัด
ก่อนการผ่าตัด
เหมือนการเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดโดยทั่วไป
อาบน้ำสระผม เย็นวันก่อนการทำผ่าตัด
ทำความสะอาดและเตรียมบริเวณที่จะผ่าตัด โดยการโกนขนและล้างบริเวณ หัวหน่าวและฝีเย็บให้สะอาด
สวนอุจจาระก่อนนอนในคืนวันก่อนผ่าตัด
แพทย์อาจให้ยาบางชนิดก่อนผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ให้ยานอนหลับตามแผนการรักษา
หลังการผ่าตัด
ประเมินสัญญาณชีพ
สังเกตสีและจำนวนปัสสาวะที่ออกมา
จัดท่าผู้ป่วยให้นอนเหยียดขาข้างที่ถูกตรึงไว้กับสายสวนปัสสาวะ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง (Bladder irrigation, CBI) ด้วยน้ำเกลือ (NSS)
กรณีได้รับยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง จัดให้นอนราบและหนุนหมอนได้ อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง
กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีคลื่นไส้ อาเจียน ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอย่างน้อย ชั่วโมงละ 1 แก้ว
บันทึกจำนวนปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาจริง และจำนวนสารน้ำที่ใช้ในการสวนล้าง
สังเกตการบวมนูนของกระเพาะปัสสาวะ
ดูแลให้สายสวนปัสสาวะและถุงปัสสาวะอยู่ระบบปิด
จัดให้ถุงใส่ปัสสาวะอยู่ในระดับต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ
ประเมินความเจ็บปวด และให้ยาบรรเทาอาการปวด
จัดให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมให้สอดคล้องปริมาณเลือดที่ออกมากับปัสสาวะ
วันแรกของการทำผ่าตัด ดูแลให้นอนพักบนเตียง ห้ามลุกนั่งเพราะอาจทำให้เลือดออกได้
วันรุ่งขึ้นถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ สามารถให้ลุกนั่งบนเตียงได้ พร้อมทั้งประเมินปัสสาวะมีเลือดออกเพิ่มหรือไม่ ถ้ามีก็ให้นอนพักบนเตียงต่อ
แต่ถ้าไม่มีเลือดออกมากขึ้น ในวันต่อไปอาจพิจารณาให้ผู้ป่วยลงมานั่งข้าง เตียงได้
ควรป้องกันไม่ให้ท้องผูก เพราะการเบ่งถ่ายอุจจาระทำให้มีเลือดออกได้
ส่วนใหญ่แพทย์มักสั่งยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา
ไม่ควรสวนอุจจาระ เพราะอาจทำให้เกิดรูทะลุจากลำไส้ใหญ่เข้าสู่บริเวณแอ่งของต่อมลูกหมากที่ถูกตัดไปได้
หลังการผ่าตัด 3-4 วัน ปัสสาวะมีสีปกติ แพทย์จะพิจารณาถอดสายสวนปัสสาวะ
หลังถอดสายอาจมีปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะไม่สะดวก มีแสบขัด หรือปัสสาวะกะปริบกะปรอยได้
ควรแนะนำให้ผู้ป่วยมีการออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณฝีเย็บ โดยการขมิบก้น ให้ทำทุกชั่วโมง ๆ ละ 20-30 ครั้ง ช่วยให้การควบคุมการปัสสาวะได้ดีขึ้น
บางรายอาจมีอาการปัสสาวะไม่ออก ภายหลังการถอดสายสวนปัสสาวะ
อาจเกิดจาก กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัวเพราะต่อมลูกหมากโตมาเป็นเวลานาน
จะคาสายสวนปัสสาวะต่อ ให้อีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์
คำแนะนำเพื่อการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
พักผ่อนให้เพียงพอ เดินออกกำลังกายในพื้นราบได้ งดเว้นการเดินขึ้นที่สูง ขึ้นบันไดบ่อย ๆ ห้ามแบกของหนัก
ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2,500-3,000 ซีซีต่อวัน
ป้องกันภาวะท้องผูก
งดการมีเพศสัมพันธ์ อย่างน้อย 1-2 เดือน หลังการผ่าตัด
มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา
หากมีอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะไม่ออก หรือมีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
(Urinary Incontinence)
ความหมาย การสูญเสียการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะทำให้มีปัสสาวะเล็ดราดออกมาทางท่อปัสสาวะ โดยไม่สามารถควบคุมได้และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิต และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของบุคคล
ความชุก
ต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะละอายไม่กล้าบอก
คิดว่าปัญหาเกิดจากความสูงอายุ และไม่สามารถแก้ไขได้ จึงไม่ปรึกษาเพื่อทำการรักษา
ความชุกเพิ่มขึ้นตามอายุ และแปรผันตามสิ่งแวดล้อม
ชุมชนพบร้อยละ 15 บ้านพักคนชราร้อยละ 50 หอผู้ป่วยร้อยละ 70
ผู้สูงอายุหญิงสูงกว่าผู้สูงอายุชาย 2 เท่า
ผลกระทบที่เกิดจากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ด้านร่างกาย: ระคายเคืองผิวหนัง เกิดบาดแผล เสี่ยงต่อการติดเชื้อผิวหนังและทางเดินปัสสาวะ สมรรถภาพทางเพศลดลง เสี่ยงต่อการหกล้ม พักผ่อนไม่เพียงพอ
ด้านจิตใจและสังคม: คุณค่าตัวเองลดลง แยกตัวจากสังคม เกี่ยวข้องเศรษฐกิจเพราะต้องจัดซื้อผ้ารองซับปัสสาวะ คุณภาพชีวิตลดลง
ปัจจัยเกี่ยวข้องการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
โครงสร้าง สรีรวิทยา ความสมบรูณ์ในการทำหน้าที่ของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
จิตใจและวัฒนธรรม: การตระหนักรู้
การใช้อุปกรณ์ในการขับถ่าย
สิ่งแวดล้อมที่ช่วยเกื้อกูลในการปัสสาวะ
เป็นความสัมพันธ์ของการทำงานที่ควบคุมได้กับรีเฟล็กซ์ที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ กล้ามเนื้อ Detruser และกล้ามเนื้อหูรูดรอบท่อปัสสาวะ
องค์ประกอบด้านสรีระที่เกี่ยวข้อง
กระเพาะปัสสาวะมีความจุเพียงพอ: ขนาดเล็กทำให้ปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่อยู่ ปกติกระเพาะปัสสาวะมีความจุ 400 มล.
กระเพาะปัสสาวะมีความสามารถในการยืดตัวออกเพื่อรองรับน้ำปัสสาวะที่มากขึ้น และยังคงรักษาแรงดันให้ต่ำ หากยังไม่มีการขับถ่าย ถ้ายืดมากเกินไป ปัสสาวะไหลรินออกมาเอง
ระยะที่ยืดรับน้ำกระเพาะปัสสาวะ จะต้องไม่มีการบีบตัวอย่าง ผิดปกติ บีบตัวเมื่อต้องการขับถ่ายปัสสาวะเท่านั้น ถ้าบีบตัวก่อนก็เล็ดราด
ระหว่างการเก็บปัสสาวะ ท่อปัสสาวะและกลไกหูรูดจะปิดสนิท ไม่ให้ปัสสาวะเล็ดราด การปิดไม่สนิทของหูรูดหรือหูรูดไม่แข็งแรง เมื่อเกิดแรงดันในช่องท้องสูงกระทันหันก็เกิดเล็ดราด
กลไกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง สมอง ก้านสมอง ไขสันสันหลัง เส้นประสาทส่วนปลาย และประสาทอัตโนมัติทั้งซิมพาเธติคและพาราซิมพาเธติค
ปัสสาวะถูกกรองจากไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะยืดตัวออก จะรู้สึกหน่วงเมื่อมีน้ำปัสสาวะประมาณ 150 มล. เมื่อเพิ่มเป็น 400 มล. ผนังกระเพาะปัสสาวะจะส่งสัญญาณไปที่สมอง โดยผ่านไขสันหลัง
สมองรับความรู้สึก แปลความสั่งการ ตัดสินว่าอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสมในการถ่ายปัสสาวะหรือไม่
หากไม่เหมาะสมยับยั้ง โดยสั่งการผ่านระบบประสาท parasympathetic ให้กลั้นปัสสาวะต่อไป ถ้าพร้อม สัญญาณประสาทจะส่งมา โดยมี pons กำกับให้มีการทำงานประสานกันระหว่างกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูด กระแสประสาทที่ทำให้เกิดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อ หูรูดส่งลงมาที่สันหลังส่วน sacrum 2-4 ทำให้กล้ามเนื้อ detruser หดตัว กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัว ทำให้เกิดการขับถ่ายปัสสาวะ
ระบบประสาทอัตโนมัติจะถูกกระตุ้นเมื่อมีปัสสาวะไหลเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ sympathetic จะทำให้กระเพาะคลายตัวกักเก็บน้ำปัสสาวะได้
ชนิดของกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบชั่วคราว (Transient) หรือ แบบเฉียบพลัน (Acute): ป้องกัน รักษาให้หายได้ พบบ่อย แต่มักไม่ค่อยได้รับการประเมิน
การประเมิน
DIAPPERS หลักการประเมิน
D = Delirium สูญเสียการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ เพราะสับสนเฉียบพลัน สาเหตุจากเสียสมดุลน้ำและอิเลคโตรไลท์ การติดเชื้อ
I = Infection of urinary tract
A = Atrophic vaginitis/ urethritis การขาดฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน ทำให้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะแห้ง ช่องคลอดแห้ง การบีบรัดของหูรูดเสื่อมท่อปัสสาวะปิดไม่สนิท การได้รับฮอร์โมนทดแทน ทำให้ดีขึ้น
P= Pharmacological agents/ drug เช่น ยาขับปัสสาวะ แอลกอฮอล์
P= Psychological factors ปัญหาทางจิตทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ ความตั้งใจในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
E = Excess urine output
R= Restrict mobility ไม้กั้นเตียง อุปกรณการแพทย์ติดตัว หลังผ่าตัด เตียงไกลจากห้องน้ำ
S = Stool impact อุจจาระอัดแน่น มีผลต่อกดท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ ขับถ่ายบ่อย รีบด่วนขับถ่าย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบเรื้อรัง (Chronic)
Functional incontinence
ไม่ได้เกิดจากพยาธิสภาพ คล้ายกับกลุ่มปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบชั่วคราว คือ เดินไปปัสสาวะไม่สะดวก เช่น ปวดเข่าเนื่องจากเข่าเสื่อม เหนื่อยง่ายจากโลหิตจาง ภาวะหัวใจวาย เดินลำบากจากโรคหลอดเลือดสมอง
สมองเสื่อม ทำให้ไม่รับรู้มารยาทในการขับถ่ายปัสสาวะ
ภาวะซึมเศร้าทำให้ไม่สนใจดูแลตนเอง
Stress incontinence
มีปัสสาวะเล็ดราดออกมาเมื่อมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น เช่น ไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย หรือยกของ เนื่องจากแรงดันที่เพิ่มขึ้นในช่องท้องที่ลงมายังกระเพาะปัสสาวะ
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
หย่อนตัวของท่อปัสสาวะและbladder neck, ISD
Urge incontinence
การมีปัสสาวะเล็ดร่วมกับความรู้สึกปวดถ่ายอย่างรุนแรง ไม่สามารถไปห้องน้ำได้ทัน กระเพาะปัสสาวะบีบตัวขึ้นมาเองทั้งที่ปัสสาวะยังไม่เต็ม
สาเหตุที่พบบ่อย คือ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะมีความไวต่อการกระตุ้น
พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ พบ 1 ใน 4 ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี
มักพบร่วมกับปัญหาอื่น เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ เนื้องอกหรือนิ่วกระเพาะปัสสาวะ
เกิดขึ้นเองจากความสูงอายุ เรียกว่า Overactive bladder (OAB)
ภาวะนี้เกิดจากกล้ามเนื้อ detrusor บีบตัวเอง ไม่สามารถควบคุมได้ เกิดขึ้นบ่อยแม้เวลากลางคืน
ทำให้อยากถ่ายปัสสาวะอย่างรุนแรง ต้องรีบเข้าห้องน้ำ ไม่ทันทำให้ปัสสาวะราด บางทีปัสสาวะรดที่นอน
Overflow incontinence
การมีปัสสาวะเล็ดออกมาเนื่องมาจากกระเพาะปัสสาวะยืดขยาย (overdistension) มีน้ำปัสสาวะเต็มและล้นออกมา
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ดหรือหยด (dribbling) ตลอดเวลา
เกิดจาก การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ
เกิดจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวน้อย เช่น กระเพาะปัสสาวะพิการจากเบาหวาน อุบัติเหตุที่กระดูกสันหลัง
ไม่ค่อยรู้สึกอยากขับถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ค่อยพุ่งแรง ปัสสาวะสะดุดติดขัด ไม่ค่อยออก ต้องเบ่งปัสสาวะ
รู้สึกไม่สุขสบายท้องน้อย
มีปัสสาวะหยดหลังถ่ายเสร็จ มีปัสสาวะค้าง
การประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยาในวัยสูงอายุ
ประวัติการมีปัสสาวะราด
องค์ประกอบควรมีดังนี้
ระยะเวลาที่มีอาการ
ลักษณะอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย
สาเหตุชักนำที่ทำให้เกิดอาการ
การได้รับยา
โรคประจำตัว
การตั้งครรภ์ การคลอด
อุบัติเหตุ และการผ่าตัด
ยาที่ผู้สูงอายุรับประทาน
การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษ
การตรวจร่างกาย
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง: BMI
ตรวจหน้าท้อง: มีก้อน มีบาดแผลผ่าตัด คลำกระเพาะปัสสาวะได้หรือไม่
ตรวจระบบประสาท: การรับความรู้สึก การควบคุมและสั่งการ และการตรวจ reflex
ผู้หญิง: ตรวจภายในดูลักษณะท่อปัสสาวะ ช่องคลอด เยื่อบุว่าซีดหรือไม่ มีก้อนเนื้อหรือไม่
ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน: ให้ไอทั้งในท่านอนราบและท่ายืนเพื่อดูว่ามีปัสสาวะเล็ดราดหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจปัสสาวะดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
ตรวจเลือดเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดและการทำงานของไต
ประเมินปัสสาวะตกค้าง หลังการถ่ายปัสสาวะ (post void residual urine) มากกว่า 100 มล แสดงว่าผิดปกติ
Pad test
การตรวจยูโรพลศาสตร์ เพิ่มความแม่นยำและเลือกวิธีการรักษา
Uroflowmetry เป็นการวัดการไหลของปัสสาวะ โดยใช้เครื่องอิเลคโทรนิก
Cystourethroscopy การตรวจโดยการส่องกล้องทางท่อปัสสาวะ
Cystometry เป็นการวัดการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
โรคที่เกิดขึ้นมาก่อน (Co-morbidities)
เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
หัวใจล้มเหลวจากการมีน้ำคั่ง
ข้ออักเสบ
ซึมเศร้า
และความบกพร่องทางสติปัญญา (cognitive impairment)
Voiding diary
การทำ Voiding diary
การจดบันทึกปริมาณน้ำดื่มและเครื่องดื่มทุกชนิดที่ดื่ม และปริมาณปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมา
เป็นข้อมูลสำคัญทำให้วินิจฉัยแยกโรคได้ เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและญาติ
การจดบันทึกแยกเป็นกลางวันและกลางคืน
ทำต่อเนื่องประมาณ 3-4 วัน
แนวทางการวิเคราะห์ Voiding diary
ปริมาณน้ำดื่ม หากมากเกินไปก็ควรลดปริมาณลง
จำนวนครั้งการขับถ่ายปัสสาวะตอนกลางวัน ไม่ควรเกิน 2.5 – 3 ชั่วโมงต่อครั้ง
ปริมาณปัสสาวะแต่และครั้งไม่ควรน้อยกว่า 200 มิลลิลิตร
จำนวนครั้งการขับถ่ายปัสสาวะตอนกลางคืน ไม่ควรเกินคืนละ 1-2 ครั้งหลังเข้านอนแล้ว
จำนวนครั้งที่ปัสสาวะราด
จำนวนครั้งที่ต้องรีบไปห้องน้ำ
การรักษา
การรักษาเชิงพฤติกรรม (behavioral therapy)
การฝึกกระเพาะปัสสาวะ (bladder training)
ฝึกการใช้คำสั่งจากคอร์เท็กซ์ของสมองยับยั้ง reflex จาก การถ่ายปัสสาวะส่วน sacrum
มีวิธีการทำหลายวิธี หลักการคือ ยืดเวลาขับถ่ายปัสสาวะออกไป เริ่มจาก 5-10 นาที จนกระทั่งต่ละครั้งห่างกัน 2-3 ชั่วโมง การฝึกแบบนี้ได้ผลใน urge incontinence
ต้องให้เห็นความสำคัญในการฝึก
จัดตารางในการขับถ่ายปัสสาวะ
เสริมแรงและให้กำลังใจ ช่วยให้การขับถ่ายปัสสาวะเป็นไปตามกำหนดเวลา
การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic muscle exercise or kegel exercise)
กลั้นปัสสาวะในขณะถ่าย
ขมิบก้นในท่านั่งหรือยืน
ขมิบก้นและช่องคลอดช้า ๆ
ซิทอัพ
การใช้อุปกรณ์ช่วยในการบริหารช่องคลอด
ง่ายเสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่เกิดผลข้างเคียง ต้องการการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง
ฝึกทำ Crede’s maneuver
กดบริเวณเหนือหัวเหน่าลึก ๆ เพื่อช่วยให้ปัสสาวะออกได้มากขึ้น
ฝึกทำ double voiding technique
เมื่อขับถ่ายครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ยืนขึ้นหรือเปลี่ยนท่าและปัสสาวะอีกครั้ง
การจัดน้ำดื่มแต่ละวันอย่างเหมาะสม ผู้สูงอายุไม่ดื่มน้ำเพราะกลัวปัสสาวะเล็ดราด ไม่ถูกต้อง ต้องปรับการดื่มน้ำตามที่ทำบันทึกไว้ ดื่มน้ำสม่ำเสมอทั้งวัน งดดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มคาเฟอีน ลดการดื่มน้ำก่อนนอน 2 ชั่วโมง
ควบคุมน้ำหนัก
การรักษาโดยการใช้ยา (pharmacologic therapy)
การรักษาโดยการผ่าตัด (surgical therapy)
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ และการใช้อุปกรณ์ช่วย
การสวนปัสสาวะเป็นระยะ (intermittent catherization) ผู้ป่วยอาจทำเองโดยการสวนปัสสาวะเป็นระยะอย่างสะอาด (clean intermittent catheterization: CIC)
การคาสายสวนปัสสาวะ (indwelling catherization)
การใช้อุปกรณ์ช่วยเก็บปัสสาวะ
การใช้ผ้าอ้อมอนามัยสำหรับผู้ใหญ่
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีโอกาสเกิดแผลและติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธ์และผิวหนังเนื่องจากชื้นแฉะจากปัสสาวะ
แยกตัวจากสังคมเนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลตนเอง
หลักการพยาบาลโดยทั่วไปผู้สูงอายุที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ค้นหาปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ชนิดที่เป็น และร่วมแก้ไขสาเหตุ
ค้นหากลยุทธที่เคยใช้จัดการภาวะนี้แล้วประสบความสำเร็จ ส่งเสริมให้ใช้ต่อไป
พัฒนาแผนการดูแลเฉพาะผู้ป่วยแต่ละคน โดยใช้ข้อมูลจากการประเมิน
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
หลีกเลี่ยงการใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ ทำให้เกิดการติดเชื้อ
ประเมินการได้รับน้ำและวางแผนการจัดการรับน้ำอย่างเพียงพอ
ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
ป้องกันอันตรายเกิดกับผิวหนัง โดยทำความสะอาดทันทีเมื่อมีการ เปรอะเปื้อน
ใช้ผลิตภัณฑ์ดูดซับอย่างระมัดระวัง
จัดให้มีกริ่งขอความช่วยเหลือและให้การช่วยเหลือทันทีที่ต้องการ
หลีกเลี่ยงการผูกยึดหรือยกไม้กั้นเตียงตลอดเวลา
ประสานกับทีมสุขภาพในกจัดอุปกรณ์การช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายหรือการเดินที่เหมาะสม
การพยาบาลผู้สูงอายุที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ชนิดต่างๆ
Stress incontinence
สอนให้บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
Bladder training
แนะนำให้ใช้แผ่นรองซับ
ควบคุมน้ำหนัก
ประสานทีมสุขภาพ เมื่อต้องรักษาด้วยยา alpha adrenergic agonist , estrogen
Urge incontinence
Bladder Training
Kegel exercise
ประสานทีมสุขภาพ เมื่อต้องรักษาด้วยยา anticholinergic
Overflow incontinence
แนะนำให้ปัสสาวะเมื่อรู้สึกอยากปัสสาวะ
แนะนำให้ปัสสาวะอย่างไม่เร่งรีบ ให้มีเวลานานพอที่ปัสสาวะได้มากที่สุด
แนะนำให้ใช้ Crede’s maneuver และ double voiding technique
ผู้สูงอายุชาย ให้ใช้อุปกรณ์ รองรับน้ำปัสสาวะช่วย
สวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
ประสานทีมสุขภาพในการใช้ยา Cholinergic –agonist or parasympathomimetic คือ bethanechol
หัวใจขาดเลือด
ความหมาย กล้ามเนื้อหัวใจมีความไม่สมดุลของการใช้ออกซิเจน กับความต้องการออกซิเจน ทำให้หัวใจขาดเลือดและหรือตายจากเลือดในหลอดเลือดหัวใจไปเลี้ยงลดลงอย่างเฉียบพลัน
ประเภท
ST segment elevation myocardial infarction (STEMI)
Non-STEMI (NSTEMI)
Unstable angina
สาเหตุและกลไกการเกิด มีหลายสาเหตุ เช่น พยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบ ภาวะซีด กล้ามเนื้อหัวใจโต หรือสาเหตุหลายอย่างร่วมกัน
ร้อยละ 70 เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
มีการแตกของ plaque
เกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
ขัดขวางการไหลของเลือดและการขนส่งออกซิเจน
กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับออกซิเจน
กล้ามเนื้อหัวใจเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจน
กรดแลกติกคั่ง ระคายเคืองระบบประสาท
เกิดอาการเจ็บหน้าอก เรียกว่า angina pectoris
1 more item...
ปัจจัยเสี่ยง
ลักษณะของคราบไขมันในหลอดเลือดหัวใจ
การไหลเวียนของเลือดในหัวใจ
กระบวนการแข็งตัวของเลือดภายใน
กลุ่มอาการ metabolic และการอักเสบ
สิ่งแวดล้อมและยา
ความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมนและระบบประสาท
อาการ
ไข้
เหงื่อออกมากตัวเย็น
คลื่นไส้อาเจียน
อาการของระบบหัวใจและหลอดเลือด
เจ็บหน้าอก พบได้ร้อยละ 70 ผู้หญิงจะมีอาการแตกต่างจากผู้ชาย ความรุนแรงและตำแหน่ง กล่าวคือ จะพบ อาการอ่อนเพลีย ร้าวไปคอ แขนขวา กราม และคลื่นไส้ วิงเวียน และหมดสติ ในขณะผู้ชายจะมีอาการ
อาการทางจิตใจ
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
T wave หัวกลับ (Inversion)
ST segment ลดต่ำลง (Depression)
ST segment ยกขึ้นสูง (Elevation)
การตรวจ cardiac marker
เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะตรวจพบว่า Troponin I และ T ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง (ค่าปกติ < 0.1 ng/ml)
ระยะเวลาที่ตรวจพบ เริ่มตั้งแต่ 6-12 ชั่วโมงและจะสูงนานถึง 14 วัน
การซักประวัติ
อาการเจ็บหน้าอก
ถ้ามีอาการแบบกล้ามเนื้อหัวใจตายแสดงว่าผู้ป่วยอาจมี ACS
ให้รีบทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 12 leads ในเวลา 10 นาที
การตรวจพิเศษ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography)
ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงไปกระทบเนื้อเยื่อภายในหัวใจและรับสัญญาณสะท้อนกลับมาแปลเป็นกายวิภาคของหัวใจ
บ่งชี้ ความหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัว/คลายตัวหัวใจ การไหลเวียนของเลือดผ่านหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจและน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ และประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ (Ejection fraction: EF)
บอกความรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้
การสวนและฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac catheterization หรือ Coronary angiography)
เป็นการใส่สายตรวจเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจและฉีดสารทึบแสงเพื่อแสดงตำแหน่งและลักษณะการตีบของหลอดเลือด
สามารถประเมินการทำหน้าที่ของหัวใจล่างซ้าย ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ และความดันต่าง ๆ ภายในห้องหัวใจและปอด
เป็นแนวการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ในการตรวจและทำการรักษาด้วยการถ่างขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน (percutaneous coronary intervention: PCI)
การรักษา
เป้าหมาย คือ การจำกัดบริเวณการขาดเลือดของหัวใจ ไม่ให้เกิดในวงกว้าง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน (สุรพันธ์ สิทธิสุข, 2557) คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือช็อคจากหัวใจ (cardiogenic shock)
การรักษาเบื้องต้น คือ เปิดหลอดเลือดด้วยยาละลายลิ่มเลือด หรือการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน
มีขั้นตอนการรักษา ในระยะ 24 ชั่วโมงแรก
การรักษาโดยการเปิดหลอดเลือด สำหรับผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น STEMI ภายในระยะเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง นับจากมีอาการเจ็บหน้าอก
การให้ยาละลายลิ่มเลือด (fibrinolytic therapy) ได้แก่ streptokinase tissue plasminogen activator (t-PA) โดยพิจารณาให้ในผู้ป่วยต่อไปนี้
ในสถานพยาบาลที่ไม่สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจฉุกเฉินได้
เสียเวลาเตรียมหรือการส่งต่อนานกว่า 90 นาที
มาถึงสถานพยาบาลภายใน 3 ชั่วโมง ตั้งแต่เริ่มมีอาการเจ็บหน้าอกแต่ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
การถ่างขยายหลอดเลือด (primary coronary intervention, PCI) ได้แก่ การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน (percutaneous transluminal coronary angioplasty, PTCA) และหรือ การใส่ขดลวด (stent)
ผู้ป่วยกลุ่ม NSTEMI และ Unstable Angina
มุ่งที่การป้องกันปัจจัยการแข็งตัวของเลือดมาเกาะกลุ่มเกล็ดเลือด เกิดลิ่มเลือดอุดกั้นบางส่วน ด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ในรูปแบบการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ได้แก่ enoxaparin
Beta blocker (β adrenagic block agent) ทำให้หัวใจเต้นช้าลง หลอดเลือดขยายตัว ควรทำทุกรายที่ไม่มีข้อห้าม
ยากลุ่มยับยั้ง Renin- angiotensin aldosterone system (RAAS) ได้แก่ angiotensin converting enzyme inhibitor (ACEI) หรือ angiotensin II receptor blocker (ARB) ควรให้ทุกรายภายใน 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือมี ejection fraction (EF) ต่ำกว่าร้อยละ 40
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล และกิจกรรมการพยาบาล
การกำซาบของเนื้อเยื่อหัวใจลดลงเนื่องจากการไหลของเลือดในหลอดเลือดหัวใจลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมิน บันทึก และรายงานแพทย์เกี่ยวกับอาการเจ็บหน้าอก โดยคำนึงถึง “PQRST”
P = Provokes and precipitating factors ปัจจัยชักนำที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก และบรรเทาอาการ
Q = Quality ลักษณะอาการเจ็บหน้าอก เจ็บแบบไหน อย่างไร
R = Region and refer ตำแหน่งที่เกิดอาการและอาการร้าว
S = Severity ความรุนแรงของอาการเจ็บปวด โดย pain score
T = Time ระยะเวลาที่เกิดอาการ และระยะเวลาที่เป็น
ประเมินสัญญาณชีพ oxygen saturation และระดับความรู้สึกตัว เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกทุกชั่วโมง
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 12 leads เมื่อแรกรับผู้ป่วยภายใน 10 นาที และทุกครั้งที่มีอาการเจ็บหน้าอก
ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่อง (ECG monitoring) ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บหน้าอก
หยุดการทำกิจกรรมของผู้ป่วย เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก จัดท่านั่งหรือนอนแบบ semi Fowler position
ดูแลให้ได้รับออกซิเจน 2 LPM ทาง nasal cannula ถ้าหายใจเร็วหรือมี oxygen saturation ต่ำกว่าร้อยละ 90
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดเลือด ในรูปแบบยาอมใต้ลิ้นหรือยาพ่นใต้ลิ้น ตามแผนการรักษาและติดตามอาการและความดันโลหิต ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจให้ซ้ำได้ทุก 5 นาที
ดูแลให้ยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดตามแผนการรักษา และติดตามผลข้างเคียงยา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการเปิดหลอดเลือดด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Steptokinase) สำหรับผู้ป่วย STEMI หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (LMWH) สำหรับผู้ป่วย NSTEMI
ในกรณีที่ไม่สามารถทำการรักษาด้วยยา ต้องเตรียมผู้ป่วยเพื่อการตรวจสวนหัวใจและการขยายหลอดเลือดหัวใจ และการดูแลก่อนการทำตรวจและการรักษา
อธิบายเกี่ยวกับวิธีการตรวจ และการรักษา เปิดโอกาสซักถามระบายความรู้สึก
ซักประวัติการแพ้ยา และอาหารทะเล
งดน้ำและอาหารยกเว้นยา ก่อนทำการตรวจสวนหัวใจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
ติดตามประเมินการทำหน้าที่ของไต โดยเฉพาะค่าการกรองของไต และ creatinine
ประเมินความเบาแรง ของชีพจรบริเวณแขนขาทั้งสองข้าง
ทำความสะอาดขาหนีบซ้ายหรือขวา ข้อพับแขนซ้ายหรือขวา ข้อมือซ้ายหรือขวา
ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา (ส่วนใหญ่มักเป็นแขนตรงข้ามกับข้างที่ทำ)
กิจกรรมการพยาบาล (หลังทำ)
จัดให้ผู้ป่วยนอนราบ ศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา ให้แขนและขาข้างที่ทำเหยียดตรง เป็นเวลาอย่างน้อย 3-6 ชั่วโมง ภายหลังเอาสายออก เพื่อให้หลอดเลือดที่ได้รับการสวนไม่เกิดอุดตัน และป้องกันการเลือดออกจากหลอดเลือดแดง
ติดตามประเมินสัญญาณชีพ เปรียบเทียบชีพจร สีผิว และความอุ่นของผิวหนังแขนหรือขาข้างที่ทำ ตลอดจนอาการปวดทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 1 ชั่วโมง 4 ครั้ง เมื่อคงที และต่อไปทุก 1 ชั่วโมง
ตรวจสอบบริเวณแผลที่ทำ โดยเฉพาะบริเวณ femoral artery ว่ามีเลือดออกหรือไม่ ทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 1 ชั่วโมง 4 ครั้ง เมื่อคงที และต่อไปทุก 1 ชั่วโมง
บันทึกภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดดำ เช่น ขนาดของ hematoma ขอบเขตและขนาด ลักษณะของก้อนเลือด สีผิว อุณหภูมิ และการคลำชีพจรส่วนปลาย
ประเมินอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น และติดตามประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในรายที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สังเกตอาการแพ้สารทึบรังสี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นที่ผิวหนัง
ประเมินการขับถ่ายปัสสาวะ ถ้าไม่ถ่ายปัสสาวะนานเกิน 6 ชั่วโมง พิจารณาสวนปัสสาวะ
ติดตามประเมินค่า BUN creatinine และ GFR โดยเฉพาะรายที่มีปัญหา renal insufficiency
หัวใจล้มเหลว
ชนิด แบ่งตามเวลาการเกิดโรค
Acute heart failure เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดแบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ลิ้นหัวใจรั่วอย่างรุนแรง และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
Chronic heart failure เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดซ้ำ ๆ บ่อย ๆ พบในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และโรคลิ้นหัวใจ
ชนิด แบ่งตามประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ
Heart failure with reduce ejection fraction (HFrEF) เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricular ejection fraction: LVEF) ต่ำกว่า 40%
Heart failure with mid range ejection fraction (HFmrEF) เป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ทีมี LVEF 40-49% มีระดับฮอร์โมนที่หลั่งเมื่อผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกินจากการมีภาวะหัวใจล้มเหลว (B type natriuretric peptide: BNP) มากกว่า 35 pg/ml หรือ NT proBNP มากกว่า 125pg/ml ร่วมกับมีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ คือ 1) หัวใจห้องล่างหนาตัว (Left ventricle hypertrophy) 2) หัวใจขณะคลายตัวทำงานไม่มีประสิทธิภาพ (Diastolic dysfunction)
Heart failure with preserved ejection fraction (HFpEF) เป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มี LVEF ตั้งแต่ 50% ขึ้นไป ทั้งนี้ต้องมีระดับของ BNP หรือ NT-proBNP ร่วมกับมีความผิดปกติตามเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งในสองข้อเช่นเดียวกับ HFmrEF
ชนิด จำแนกกลุ่มผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง
Stage A HF เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการมีโครงสร้างและการทำหน้าที่ของหัวใจผิดปกติ เช่น HT DM หลอดเลือดตีบแข็ง และกลุ่มอาการเมตาโบลิก
Stage B HF เป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจแต่ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ MI กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว ประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายต่ำ และผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจ กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิด Symptomatic heart failure แต่สามารถกลับคืนสู่การทำงานของหัวใจที่ดีขึ้นหรือชะลอการดำเนินของโรค
Stage C HF เป็นผู้ป่วยที่มีหรือเคยมีอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อน เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดในกลุ่ม Symptomatic heart failure
Stage D HF เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรค มีการดำเนินการของโรคไม่ดี และตอบสนองต่อการรักษาต่ำ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ
จำแนกตามหน้าที่ทางกาย (New York heart association (NYHA)-functional class)
Class I หมายถึง ผู้ป่วยไม่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมหรือทำกิจวัตรประจำวันปกติ โดยไม่มีอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อย อ่อนเพลีย หายใจลำบาก
Class II หมายถึง ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมเล็กน้อย หรือผู้ป่วยรู้สึกสบายเมื่อพักแต่เมื่อทำกิจวัตรประจำวันตามปกติจะมีอาการแสดงภาวะหัวใจล้มเหลว
Class III หมายถึง ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมมาก หรือผู้ป่วยจะรู้สึกสบายเมื่อพัก แต่เมื่อทำกิจกวัตรประจำวันแม้เพียงเล็กน้อยจะมีอาการแสดงภาวะหัวใจล้มเหลว
Class IV หมายถึง ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เลย แม้ในขณะพักมีอาการเหนื่อย หายใจลำบากชัดเจน
ปัจจัยเสี่ยง
โรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยที่มี SBP สูงกว่า 160 mmHg และ DBP ตั้งแต่ 90 mmHg จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มากกว่าผู้ป่วยที่มี SBP น้อยกว่า 140 mmHg และ DBP น้อยกว่า 90 mmHg
โรคเบาหวาน โรคอ้วน และกลุ่มอาการเมตาโบลิก
ที่ไม่ได้รับการควบคุม จะนำไปสู่การมีหลอดเลือดแดงตีบแข็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปร่างของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง
กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
เป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหัวใจล้มเหลว
พยาธิสภาพ
ในภาวะปกติหัวใจสามารถเพิ่ม CO (cardiac out put) ได้มากถึง 5 เท่าของระยะพัก
เมื่อการทำหน้าที่ของหัวใจลดลงจนไม่สามารถชดเชยให้มี CO เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะปรับตัวร่วมกันดังนี้
Sympathetic nervous system จะทำงานมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว เลือดดำไหลกลับหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจมีความแรงและเร็วในการบีบตัวมากขึ้น เพื่อเพิ่ม CO
Renin-angiotensin-aldersterone system (RASS) ถูกกระตุ้น ทำให้มีการดูดน้ำกลับและโซเดียมทางไตมากขึ้น เพื่อให้มีปริมาณเลือดเข้าสู่หัวใจเพิ่มขึ้น
Antidiuretic hormone (ADH) ทำหน้าที่เพิ่มการดูดน้ำกลับที่ท่อไตรวมและส่วนปลาย
การเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อหัวใจ
อาการแสดง
อาการแสดงภาวะหัวใจซีกซ้ายวาย
การบีบตัวห้องล่างซ้ายลดลง ส่งผลให้มีเลือดคั่งในหัวใจห้องบนซ้ายและปอด จึงหอบเหนื่อย (Dyspnea) นอนราบไม่ได้ (Orthopnea) จากการที่นอนราบเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจมากขึ้น
มีอาการเหนื่อยขณะนอนหลับ ซึ่งต้องตื่นมาลุกนั่งหายใจ (Paroxysmal nocturnal dyspnea: PND)
หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำจากการมี CO ลดลง
หัวใจเต้นเร็วอาจเต้นแรงสลับเบา (Pulsus alternans) เป็นผลจากการทำงานชดเชยของระบบประสาทซิมพาเธติก
ผิวหนังส่วนปลายเย็น ชื้น จากหลอดเลือดส่วนปลายหดตัว
ปัสสาวะออกน้อย จากเลือดไปเลี้ยงไตลดลง
อาการแสดงภาวะหัวใจซีกขวาวาย
หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง (Jugular vein distention) จากมีแรงดันกลับ superior venacava เพิ่มขึ้น
บวมกดบุ๋ม บริเวณข้อเท้าและขา ตับโต มีน้ำในช่องท้อง และอาจพบอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร
การประเมิน
การตรวจร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ประเมิน jugular vein distention ขนาดและตำแหน่ง PMI เพื่อประเมินหัวใจโต ประเมิน pitting edema, BMI, body weight
ระบบหายใจ เหนื่อย หายใจลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนอนราบ มีอาการไอ ฟังปอดได้ยินเสียง crepitation
ระบบประสาท งุนงง สับสน ระดับความรู้สึกตัวลดลงหรือหมดสติ จากร่างกายมีภาวะพร่องออกซิเจน
ระบบต่อมไร้ท่อและไต มีปัสสาวะออกน้อยลง และมีภาวะบวมจากการคั่งน้ำและโซเดียม
ระบบทางเดินอาหาร พบตับโต ท้องอืด คลื่นไส้ ความอยากอาหารลดลง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจรังสีปอด
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูง
การประเมินระดับความดันในหัวใจห้องบนซ้าย
การตรวจเลือด
การซักประวัติ
ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอื่น ๆร่วมด้วย ควรซักประวัติการควบคุมโรคผ่านมา การใช้ยารับประทาน
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น อาการเหนื่อย ระดับการทำกิจกรรม การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว หรือมีปัสสาวะออกน้อย เป็นต้น
การรักษา
การรักษาด้วยยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การใส่เครื่องมือพิเศษ
การผ่าตัด
การจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในปัจจุบันเป็นไปตาม stage of heart failure
Stage A HF
มีเป้าหมายการจัดการ เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ให้ความสำคัญกับการคัดกรองและควบคุมปัจจัยเสี่ยงหรือภาวะที่เป็นอยู่ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปร่างของหัวใจ
ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEIs) หรือ Angiotensin receptor blocker (ARBs) ในผู้ป่วยเบาหวาน และ ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี
การใช้ยา stastin เพื่อป้องกันหลอดเลือดแดงตีบแข็งในผู้ป่วยที่ระดับไขมันในเลือดสูง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำได้โดยการควบคุมน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การับประทานอาหารที่ดีมีประโยขน์
stage B HF
มีเป้าหมายการจัดการ คือ ป้องกันการเกิด symptomatic heart fialure และ cardiac remodeling
ดังนั้นจึงต้องคัดกรองเพื่อระบุผู้ป่วย และให้การรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วย stage A HF
ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของไตบกพร่อง ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย และมีค่าประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง ACEIs หรือ ARBs
stage D HF
เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเข้าสู่ระยะท้ายของโรค
เป้าหมายการจัดการ คือ การควบคุมอาการ การปรับปรุงคุณภาพชีวิต ลดการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลซ้ำ
ช่วยผู้ป่วยในการตั้งเป้าหมายระยะท้ายของชีวิตร่วมกับครอบครัว
ผู้ป่วยจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือพยุงหัวใจ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
stage C HF
เป้าหมายการจัดการเพื่อควบคุมอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิต ป้องกันการเข้ารับรักษาในโรงพยาบาล และการเสียชีวิต
สร้างความตระหนัก และความรับผิดชอบในการจัดการอาการของตนเอง ภายใต้การประสานความร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการจัดการตนเอง (self management) โดยรับการสนับสนุนจากครอบครัวและผู้ดูแล
ยาที่ใช้รักษาสำหรับผู้ป่วยทุกราย คือ ACEIs/ ARB, β-blocker ร่วมกับ loop diuretic เช่น furosemide ซึ่งมีประสิทธิภาพในการขับน้ำและโซเดียม
นอกจากนี้ยังมียาที่ใช้รักษาผู้ป่วยบางราย เช่น digitalis, hydralazine, nitrate ส่วน
การพยาบาล
ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที ลดลง เนื่องจากประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจลดลง
ดูแลให้ได้รับยาเพื่อลดภาระงานของหัวใจ และเพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที
ดูแลให้ยาลด after load เช่น ACEIs และ ARBs ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง ทำให้แรงต้านการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง ACEIs เป็นยาตัวแรกที่เลือกใช้ก่อน แต่มีผลข้างเคียงคือ ไอแห้ง ๆ หากผู้ป่วยมีอาการไอมาก จะเลือกใช้ ARBs ทดแทน หากผู้ป่วยมีค่าการทำงานของไตผิดปกติ อาจใช้ยาตัวอื่นทดแทน คือ hydralazine หรือ nitrate
ดูแลให้ยาที่ลด preload จะช่วยลดปริมาณและแรงดันเลือดในหัวใจห้องล่างซ้าย ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือดดำ นิยมให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน คือ มอร์ฟีนซัลเฟต
ดูแลให้ยาเพิ่มประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจ positive inotropic เช่น dopamine เป็นยากลุ่ม beta adrenagic agonist เป็นยามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นช้าลง
การแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดลดลงเนื่องจากการระบายอากาศและการกำซาบออกซิเจนไม่พียงพอ
ความทนต่อการทำกิจกรรมลดลง เนื่องจากประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจลดลง
มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวกำเริบ เนื่องจากผู้ป่วยและหรือครอบครัวดูแลจัดการตนเองไม่เหมาะสม
ความดันโลหิตสูง
ความหมาย
ระดับความดันโลหิต 140/90 mmHg หรือมากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นตัวบนหรือตัวล่างก็ได้
Isolated systolic hypertension หมายถึง ระดับความดันโลหิตตัวบน 140 mmHg หรือมากกว่า แต่ระดับความดันตัวล่างต่ำกว่า 90 mmHg
Isolated office hypertension (white coat hypertension, WCH) หมายถึง ระดับความดันโลหิตเมื่อวัดในคลินิกหรือสถานพยาบาลมีค่า 140/90 มม. ปรอท หรือมากกว่า แต่เมื่อวัดความดันโลหิตที่บ้านพบว่าต่ำกว่า 135/85 (จากการวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ)
Mask hypertension หมายถึง ภาวะที่วัดความดันโลหิตที่คลินิก หรือโรงพยาบาลพบว่า ปกติ แต่เมื่อวัดความดันโลหิตที่บ้านด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติพบว่าสูง
การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองโดยใช้เครื่องวัดอัตโนมัติ
ใช้ในการตรวจหาผู้ป่วยที่เป็น isolated office hypertension หรือ WCH และ MH
ใช้ติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตทุกราย ถ้าเป็นไปได้
แนะนำให้หยุดวัดความดันโลหิตที่บ้าน ถ้าการวัดความดันโลหิตทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวล
แนะนำให้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่วัดที่ต้นแขน และเป็นเครื่องมือที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
แนะนำให้วัดความดันโลหิตวันละ 2 ครั้ง โดยวัดตอนเช้าก่อนรับประทานยาลดความดันโลหิตและช่วงเย็น เป็นเวลา 3-7 วันก่อนมาพบแพทย์
ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ที่บ้านจากเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติจะต่ำกว่าที่วัดในโรงพยาบาลประมาณ 5 มม. ปรอท จึงถือว่าความดันโลหิตผิดปกติ เมื่อ SBP≥135 mmHg และ/หรือ DBP≥ 85mmHg
ถ้าวัดความดันโลหิต ≥ 140/90 มม. ปรอท ให้วัดความดันโลหิตซ้ำภายใน 2 สัปดาห์ หรือติดตามวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน หากทำได้ เพื่อยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2558)
หากผู้ป่วยมีความดันโลหิตในระดับรุนแรงหรือมีร่องรอยของการถูกทำลายของอวัยวะเป้าหมาย เช่น หัวใจ สมอง ตา ไต ควรพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิต
จุดมุ่งหมายการประเมินผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
เพื่อยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและประเมินความรุนแรงของโรค
เพื่อประเมินร่องรอยอวัยวะที่ถูกทำลาย (TOD; taget organ damage) ได้แก่ LVH, hypertensive retinopathy, microalbuminuria, macroalbuminuria เป็นต้น
เพื่อตรวจหาโรคที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด CVD เช่น โรคเบาหวาน, CKD,
เพื่อตรวจหาโรคความดันโลหิตสูงทุติยภูมิที่อาจจักษาต้นเหตุได้
การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ความเสี่ยงต่อการเกิด CVD จากโรคความดันโลหิตสูง ไม่ได้ตัดสินจากระดับความดันโลหิตอย่างเดียว แต่เป็นการประเมินปัจจัยเสี่ยงรวมได้แก่
ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อการเกิด CVD ได้แก่ อายุ เพศ ประวัติการสูบบุหรี่ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
การตรวจพบว่ามีร่องรอยอวัยวะที่ถูกทำลาย
การปรากฎว่าเป็น CVD อยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย
โรคร่วมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด CVD เช่น โรคเบาหวาน CKD
ประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง เช่น อาการ (ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการให้ทราบชัดเจน ส่วนน้อยที่บพว่าปวดมึนศีรษะบริเวณท้ายทอย ตึงต้นคอ จะเป็นเมื่อตื่นนอนใหม่ ๆ ตอนสายอาการจะทุเลาลง) ระยะเวลาที่เป็น ชนิดของยาที่เคยรับประทาน การควบคุมระดับความดันโลหิต รวมทั้งผลข้างเคียงของยาที่ใช้
ประวัติครอบครัว เช่น ความดันโลหิตสูงของคนในครอบครัว ซึ่งจะช่วยสนับสนุนว่าผู้ป่วยน่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเค็ม โรคเบาหวาน การมีไขมันในเลือดสูง ประวัติการนอนกรนและหยุดหายใจเป็นพัก
อาการที่บ่งชี้ว่ามี TOD แล้ว เช่น อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก ชาแขนหรือขา อ่อนแรงชั่วคราวหรือถาวร ตามัว มองไม่เห็น ปวดศีรษะ บวมที่เท้า ปวดขาเวลาเดินระยะสั้น ๆ
การตรวจร่างกาย
ตรวจยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจริง ร่วมกับประเมินความรุนแรงของโรค
ตรวจหา TOD และ CVD
ร่องรอยของโรคอ้วนและภาวะอ้วนลงพุง ประเมินจาก BMI มีภาวะน้ำหนักเกิน เมื่อค่า BMI ≥ 23 กก/ม2 หรือ อ้วนเมื่อ BMI ≥25 กก/ม2 มีภาวะอ้วนลงพุงเมื่อเส้นรอบเอวในท่ายืน ≥ 90 ซม. ในผู้ชาย หรือ ≥ 80 ซม. ในผู้หญิง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
Fasting plasma glucose
Serum total cholesterol, HDL, LDL, triglyceride
Serum electrolyte, serum creatinine, GFR
Hb, Hct
UA
ECG
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด CVD ควรตรวจเพิ่มเติม
echocardiography
carotid ultrasonography
ankle brachial blood pressure index (ABI) และ pulse wave velocity (PWV)
วัดปริมาณ albuminuria หรือ protienuria ต่อวัน
ตรวจจอประสาทตา
การรวบรวมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ระดับ SBP และ DBP
ระดับของ pulse pressure > 60 มม.ปรอท
อายุ >55 ปี ในเพศชาย หรือ>65 ปี ในเพศหญิง
สูบบุหรี่
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ total cholesterol > 200 มก./ดล., LDL-C > 130 มก./ดล., HDL-C < 40 มก./ดล. ในเพศชายหรือ< 50 มก./ดล.ในเพศหญิง หรือระดับ triglyceride > 150 มก./ดล.
FPG 100-125 มก./ดล.
ประวัติการเกิด CVD ในบิดา มารดา หรือพี่น้องก่อนวัยอันควร
อ้วนลงพุง WC >90 ซม. ในเพศชาย และ>80 ซม. ในเพศหญิง
สรุป ลักษณะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและสูงมากในการเกิดการเสียชีวิตจาก CVD
1) เป็นโรคความดันโลหิตสูงในระดับรุนแรง
2) มี pulse pressure > 60 มม. ปรอท
3) เป็นโรคเบาหวาน
4) มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด CVD มากกว่า 3 ปัจจัยขึ้นไป
5) มี TOD โดยไม่มีอาการ
6) เป็น CVD แล้ว
7) เป็น CKD ตั้งแต่ stage 3 ขึ้นไป (eGFR < 60 มล./นาที/1.73 ม.2 )
การรักษา
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
การรักษาด้วยยา
ก่อนให้ยารักษาความดันโลหิต ควรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจาก CVD ใน 10 ปีข้างหน้าก่อน
จะเริ่มให้ยาลดความดันโลหิตทันที่ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจาก CVD สูงและสูงมาก
ส่วนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่ำ เริ่มให้ถ้าหากความดันโลหิตของผู้ป่วยยังคงอยู่ในระดับ > 140/90 มม.ปรอท หลังจากให้คำแนะนำไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน
ผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางหรือปานกลางถึงสูง ควรเริ่มให้ยา ถ้าหากความดันโลหิตของผู้ป่วยยังคงอยู่ที่ระดับ > 140/90 มม.ปรอท หลังจากให้คำแนะนำอย่างน้อย 1 สัปดาห์
ระดับความดันโลหิตเป้าหมาย
ผู้ป่วยทั่วไป ความดันโลหิต < 140/90 มม.ปรอท
ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 60 ปี แต่น้อยกว่า 80 ปี ความดันโลหิต < 140-150/90 มม.ปรอท
ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 80 ปี ความดันโลหิต < 150/90 มม.ปรอท
ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ความดันโลหิต < 130/80 มม.ปรอท
ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิต < 140/90 มม.ปรอท
ผู้ป่วย CKD ที่ไม่มี albuminuria และโรคไตเรื้อรังที่มี albuminuria น้อยกว่า 30 มก.ต่อวัน ความดันโลหิต < 140/90 มม.ปรอท
ผู้ป่วย CKD ที่มี albuminuria ตั้งแต่ 30 มก.ต่อวันขึ้นไป ความดันโลหิต < 130/80 มม.ปรอท
การเลือกใช้ยาลดความดันโลหิตเริ่มต้นจากยา 4 กลุ่ม
Thiazide–type diuretics
Calcium channel blockers (CCBs)
Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEIs)
Angiotensin receptor blockers (ARBs)
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง
ติดตามวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนักตัว และวัดรอบเอวอยู่เสมอ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และมีรอบเอวเกิน ต้องลดน้ำหนัก โดยการที่น้ำหนักลดลงตั้งแต่ร้อยละ 5 ของน้ำหนักตั้งต้นขึ้นไปจะส่งผลให้ระดับความดันโลหิตลดลง เทียบเท่ากับยาลดความดันโลหิต 1 ชนิด
หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการปวดมึนศีรษะบริเวณท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน ปวดศีรษะตุบๆ แบบไมเกรน เลือดกำเดาไหล ตามัวหรือตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งแบบชั่วคราว เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขนขาอ่อนแรง หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์
สร้างสุขนิสัยที่ดีและมีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันความดันโลหิตสูง เช่น รับประทานอาหาร การรับประทานอาหารแบบ DASH (Dietary approach to stop hypertension) ลดอาหารรสจัดและมีโซเดียมสูง (จำกัดโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน)
ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายความหนักระดับปานกลางอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน เพื่อสุขภาพที่
การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระดับต่ำจนถึงปานกลาง
ควบคุมอาหาร ควรรับประทานอาหารแบบ DASH (Dietary approach to stop hypertension) ลดอาหารรสจัดและมีโซเดียมสูง ควรรับประทานอาหารที่ปรุงเองที่บ้าน หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารสำเร็จรูป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารที่ทำจากกะทิ
ผ่อนคลายความเครียด และพักผ่อนอย่างเพียงพอ แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงภาวะเครียด โดยทำให้จิตใจให้แจ่มใส ผ่อนคลายความเครียดโดยฝึกจิต นั่งสมาธิ และหาเวลานอนพักในเวลากลางวัน อย่างน้อย ½-1 ชั่วโมง
หยุดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคติน ทำให้หลอดเลือดหดตัว การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะเพิ่ม renin หรือ aldosterone ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง
รับประทานยาให้สม่ำเสมอ ตามแผนการรักษา จะช่วยควบคุมภาวะความดันโลหิตไม่ให้รุนแรงมากขึ้น และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนให้เกิดช้าที่สุด
ขณะรับประทานยาลดความดันโลหิต ควรแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าทางช้า ๆ ระวังอาการหน้ามืด เป็นลม เนื่องจากความดันโลหิตต่ำลงมากหรือเร็วเกินไป ผู้ป่วยที่ได้รับยาขับปัสสาวะในกลุ่ม thiazide ควรระวังผลข้างเคียง คือ ภาวะโปแตสเซียมต่ำ
ติดตามวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
(Chronic obstructive pulmonary disease)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลัก ทั้งสูบด้วยตนเอง หรือ เป็นผู้สูบบุหรี่มือสอง
มลพิษในอากาศ การใช้ไม้ฟืนในการทำครัวในบ้าน ฝุ่นควัน สารเคมีหรือสารระเหยจากการทำงาน
การขาด alpha1-antitrypsin (โรค Alpha1-antitrypsin (AAT) deficiency เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้โมเลกุลของเอ็นไซม์ AAT ที่ผลิตในตับผิดปกติไป ปกติโมเลกุลตัวนี้ทำหน้าที่ต้านเอ็นไซม์ ชื่อโปรตีแอส (protease) ในปอด คนเป็นโรคนี้จึงมีเอ็นไซม์โปรตีนแอสค้างอยู่ในปอดมากและทำลายเยื่อบุถุงลมในปอด กลายเป็นโรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง
เพศชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคใกล้เคียงกัน เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการสูบบุหรี่ ซึ่งเพศหญิงมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่มากขึ้น
ความยากจน พบว่า ความยากจนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลไกไม่ทราบชัดเจน แต่สามารถอธิบายได้ว่า ผู้ที่มีฐานะยากจนมักจะอาศัยในสถานที่ที่แออัด สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้านมีฝุ่นควัน โภชนาการไม่ดี ติดเชื้อได้ง่าย
โรคหอบหืด พบว่า ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดมีโอกาสเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 12 เท่าของผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหอบหืด (ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, 2559)
พยาธิสภาพ
มีความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนก๊าซ (Gas exchange abnormalities)
เมื่อมีการคั่งค้างของอากาศในถุงลม การเสียหน้าที่ของกล้ามเนื้อหายใจ และการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างการระบายอากาศ (ventilation: V) และการไหลเวียนเลือดผ่านถุงลม (perfusion: Q) คือ V/Q mismatch
ส่งผลทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติ มีภาวะพร่องออกซิเจนและมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์
มีการหลั่งมูกเพิ่มมากขึ้น (Mucus hypersecretio)
เมื่อ goblet cell submucosa gland ได้รับการสัมผัสกับควันบุหรี่ ทำให้เกิดการหลั่งเสมหะเพิ่มขึ้น
มีการอักเสบของหลอดลมเรื้อรัง จึงมีการหลั่งมูกเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยไอมีเสมหะเรื้อรัง
การจำกัดการไหลของอากาศและการขังของอากาศในถุงลม (Airflow limitation and air tapping)
เมื่อเกิดการอักเสบ มีสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจเล็กๆ เยื่อบุหลอดลมจะหนาตัวขึ้น การระบายอากาศขณะหายใจออกลดลง ทำให้อากาศคั่งค้างในถุงลม เกิดลมคั่งค้างในปอด (Lung hyperinflation)
โดยปกติจะมีการเชื่อมต่อระหว่างถุงลมและหลอดลมเล็ก ๆ ส่วนปลาย เมื่อมีการอักเสบรุนแรงการเชื่อมต่อนี้จะบกพร่อง ทำให้เกิดการคั่งของอากาศในถุงลมเพิ่มมากขึ้น
การมีลมคั่งค้างในปอดทำให้สมรรถภาพในการหายใจเข้าลดลง
เมื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเพิ่มมากขึ้น เช่น การออกกำลังกาย จึงทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยมากกว่าปกติ
ความดันในปอดสูง (Pulmonary hypertension: PAH)
ภาวะนี้มักพบในระยะท้ายของโรค เมื่อความดันในปอดสูงจะทำให้เกิดภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลวตามมา เรียกว่า โรคหัวใจเพราะปอด (Cor pulmonale) กล้ามเนื้อหัวใจซีกขวาหนาตัว และไม่สามารถบีบตัวให้เลือดไปปอดได้เพียงพอ
เกิดเนื่องจากมีความดันในปอดสูงเป็นเวลานานเพราะมีปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องขวาล้มเหลว จะมีอาการ หายใจลำบาก ไอมีเสมหะ หายใจมีเสียงหวีด ปลายมือปลายเท้าบวม มีเลือดคั่งในอวัยวะในช่องท้องและทางเดินอาหาร เช่น ตับ ม้าม มีน้ำในช่องท้อง หลอดเลือดที่คอโป่งพอง
อาการแสดง
เหนื่อย หายใจลำบาก ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กช่วยในการหายใจ ผู้ป่วยต้องใช้แรงมากขึ้นในการหายใจ เมื่อโรคพัฒนารุนแรงขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบากแม้ทำกิจวัตรประจำวันหรือในขณะพัก
ไอเรื้อรัง พบในระยะแรกของโรค อาจมีหรือไม่มีเสมหะร่วมด้วย
แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด (Wheeze)
เหนื่อยล้า น้ำหนักลด เบื่ออาหาร พบบ่อยในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะรุนแรง
การวินิจฉัยโรค
Chest x- ray
อาจพบปอดพองลมทั้งสองข้าง (Bilateral hyperinflation) กะบังลมแบนราบ และหัวใจมีขนาดเล็ก
ABG
อาจพบภาวะพร่องออกซิเจน มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์
การตรวจร่างกาย
รูปร่างทรวงอกอาจพบว่าเป็นรูปถังเบียร์ (Barrel shape) ได้ยินเสียงโปร่ง จากการคั่งค้างของลมในปอด
สมรรถภาพปอด
เป็นการวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าออกจากปอด ค่าที่ได้จากการตรวจ คือค่า FEV1/FVC X 100 ถ้าค่าที่ได้ น้อยกว่า 70% คือเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่วนใหญ่ใช้วินิจฉัยในผู้สูงอายุสำหรับผู้ที่อายุน้อย และไม่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้ข้อมูลอื่น ๆ ร่วมในการวินิจฉัย เช่น อาการ ปัจจัยเสี่ยง
การซักประวัติ
การสูบบุหรี่ สัมผัสสารเคมี และมลพิษ การติดเชื้อทางเดินหายใจ
การรักษา
การใช้ยา
ยาขยายหลอดลมกลุ่ม Beta-adrenagic agonist
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อ Beta adrenagic receptor ทำให้เพิ่ม cyclic AMP ต้านการหดตัวของหลอดลม เกิดหลอดลมคลายตัว จึงทำให้ผู้ป่วยมีค่า FEV1 สูงขึ้น
การรับประทานยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ช้าและมีผลข้างเคียงมากจึงนิยมใช้การพ่นสูดดม
เมื่อมีการกำเริบจึงเลือกใช้ชนิดพ่นสูดดม เพราะออกฤทธิ์สั้น มีประสิทธิภาพดี อาการข้างเคียงน้อยกว่า
ยาออกฤทธิ์ 3-5 นาที ออกฤทธิ์เต็มที่ 30-45 นาที ฤทธิ์อยู่ได้นาน 4-6 ชั่วโมง
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Sulbutamal (Ventolin),Terbutaline
อาการข้างเคียงของยา คือ หัวใจเต้นเร็วหรืออาจเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ พบมือสั่นในผู้สูงอายุได้
ยาขยายหลอดลม กลุ่ม Anticholinergic
ออกฤทธิ์ต่อต้านการออกฤทธิ์ Acetylcholine ที่มีฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง ยับยั้งการทำงานของ muscarine receptor ที่กล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม ทำให้ลดการหดเกร็งของหลอดลมได้
ออกฤทธิ์ช้ากว่ายากลุ่ม beta-adrenagic agonist
ยามีทั้งที่ออกฤทธิ์เร็ว 3-5 นาที และยาที่ออกฤทธิ์ยาว ตัวอย่างยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ได้แก่ Ipratropium bromide (berodual)
ออกฤทธิ์เต็มที่ 1.5-2 ชั่วโมง และ ฤทธิ์อยู่ได้นาน 5-8 ชั่วโมง ยาที่ออกฤทธิ์ยาว จะมีฤทธิ์ได้นานกว่า 24 ชั่วโมง ทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ คือ ปากแห้ง คอแห้ง การใช้ยาขนิดนี้ผสมน้ำเกลือผ่านทางหน้ากากให้ออกซิเจน อาจทำให้เกิดต้อหิน เนื่องจากยาสัมผัสดวงตาโดยตรง
ยาขยายหลอดลมกลุ่ม Methylxanthines
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ phosphoiesterase (PDE)
ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ Cyclic AMP ในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ทำให้หลอดลมขยายตัว
ผลข้างเคียงของยา คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชัก ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้ และแสบยอดอก
ตัวอย่ายาในกลุ่มนี้ คือ Theophylline
ยาลดการอักเสบกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteriods)
เนื่องจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีการอักเสบทั้งในปอดและระบบต่างๆร่วมด้วย
การให้ยาสูดดมกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ทำให้ลดการอักเสบ ควรใช้ร่วมกับยากลุ่ม beta adrenagic agonist ที่ออกฤทธิ์ยาว จะได้ผลดีกว่าการใช้ยาอย่างเดียว
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอด เพิ่มภาวะสุขภาพ ลดการกำเริบในผู้ป่วยที่มีความรุนแรงระดับปานกลางจนถึงรุนแรงมากที่สุด (Global strategy for diagnosis, management and prevention for COPD, 2016)
ผลข้างเคียงของการใช้ยา ทำให้เกิดเชื้อรา ในปาก เสียงแหบ รอยช้ำที่ผิว
การรักษาด้วยออกซิเจน
เมื่อมีอาการกำเริบจะต้องค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นออกซิเจน เพื่อให้ได้ค่าความอิ่มตัวออกซิเจน
เป้าหมาย คือ ระหว่างร้อยละ 88-92 ควรตอบสอบหลังให้ออกซิเจนไปแล้ว 30-60 นาที เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีภาวะคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ หรือภาวะเลือดเป็นกรด
การให้ออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง หรือเกือบต่อเนื่อง พบว่า สามารถลดความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดได้ (secondary polycythemia)
ลดค่าความดันเฉลี่ยในหลอดเลือดดำที่ปอด (decrease mean pulmonary artery pressure) ทำให้ความดันในปอดสูงเกิดช้าลง (delay pulmonary hypertension)
ผู้ป่วยที่ควรได้รับออกซิเจนต่อเนื่อง
ผู้ที่มีอาการคงที่ และมีค่าความดันก๊าซออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) น้อยกว่า 55 mmHg หรือค่าความอิ่มตัวออกซิเจน (O2 satulation) น้อยกว่าร้อยละ 88 ในขณะที่ไม่ได้รับออกซิเจน (room air)
มีค่าความดันก๊าซออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) ระหว่าง 55-59 mmHg ร่วมกับมีความดันในปอดสูง ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงสูง หรือมีค่าฮีมาโตคริตมากกว่าร้อยละ 55 และมีหัวใจซีกขวาล้มเหลว แม้จะรับยาที่รักษาเหมาะสมแล้ว
การหยุดสูบบุหรี่
การรักษาอื่น ๆ
การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
การให้ Alpha1 antitrypsin
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
มีเป้าหมายเพื่อลดอาการหายใจลำบาก ส่งเสริมภาวะสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นโปรแกรมที่ประกอบด้วย การออกกำลังกาย โดยเฉพาะแบบแอโรบิค ให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ การให้ความรู้เรื่องโรค และการดูแลตนเอง เทคนิคการสงวนพลังงาน การบริหารการหายใจ การให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจ
การพยาบาล
มีความพร่องในการแลกเปลี่ยนก๊าซจากการระบายอากาศที่ลดลงและมีเสมหะปริมาณมาก
ประเมินการหายใจ อัตราการหายใจ ภาวะพร่องออกซิเจน การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กช่วยการหายใจ
ประเมินระดับความรู้สึกตัว
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
จัดท่า High Fowler เพื่อให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้ดี
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง สามารถระบายเสมหะได้ดี ดูดเสมหะตามความจำเป็น เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถไอออกมาได้เอง
ให้ยาขยายหลอดลมตามแผนการรักษา
ดูแลให้พักผ่อนเพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ถ้าผู้ป่วยได้รับยากล่อมประสาท สงบประสาท ต้องสังเกตผลข้างเคียง เพราะยาเหล่านี้บางตัว จะกดการหายใจ ทำให้ระบายอากาศไม่ดี
การระบายเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ จากปริมาณเสมหะมีปริมาณมาก เหนียว และการไอไม่มีประสิทธิภาพ
ฟังเสียงหายใจ เพื่อประเมินเสียงหายใจที่ผิดปกติ
ประเมินความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก โดยใช้ visual analogue scale (VAS)
ดูแลให้รับน้ำอย่างเพียงพอ ถ้าไม่มีข้อห้าม ซึ่งจะทำให้เสมหะระบายออกมาได้ง่าย ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการทำกายภาพบำบัดปอด
จัดท่าเพื่อระบายเสมหะ (postural drainage) ให้เสมหะไหลตามแรงโน้มถ่วง
เคาะปอด และการสั่นสะเทือนปอด จะทำให้เสมหะที่เกาะอยู่ในทางเดินหายใจหลุดออก
สอนและสาธิการไออย่างมีประสิทธิภาพและให้ผู้ป่วยปฏิบัติตาม
สอนและสาธิการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง และการเป่าปาก
ฟังปอดก่อนและหลังทำกายภาพบำบัดปอด เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ของการไอ และการทำกายภาพปอด
ความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากหายใจลำบาก
แนะนำวิธีการสงวนพลังงาน เช่น วางแผนการทำกิจกรรม และการพักผ่อนตลอดวัน จัดให้มีกิจกรรมหนักสลับเบา หรือให้มีการพักระหว่างทำกิจกรรม การใช้เทคนิคสงวนพลังงาน จะทำให้ทำงานมากขึ้นแต่ใช้พลังงานจำกัด เช่น พยายามทำกิจวัตรประจำวันในท่านั่งให้มากที่สุด เช่นนั่งอาบน้ำ และอาบน้ำไม่เร่งรีบ แปรงฟัน โกนหนวด แต่งหน้าในท่านั่ง แนะนำให้ใส่กางเกงก่อนใส่เสื้อ หลีกเลี่ยงการก้มและเงยหยิบของ
ช่วยผู้ป่วยจัดตารางในการทำกิจกรรม ค่อย ๆ เพิ่มการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย
บริหารการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและกะบังลม และเป่าปาก (purse lip)
จัดให้มีกิจกรรมออกกำลังกายหลังทำกายภาพบำบัด หรือได้รับยาขยายหลอดลม การทำหน้าที่ของปอดจะสูงสุดเมื่อยาออกฤทธิ์สูงสุดหรือเมื่อทางเดินหายใจโล่ง
ให้ออกซิเจนเมื่อต้องการ การให้ออกซิเจนทดแทนช่วยทำให้ทำกิจกรรมได้ดีขึ้น ลดการพร่องออกซิเจนที่เกิดจากการออกกำลังกาย
ประเมินอาการแสดงที่ผิดปกติหลังทำกิจกรรมหรืออกกำลังกาย เช่น หลังออกกำลังกาย 3 นาที อัตราการหายใจ ชีพจร ยังไม่ลงมาใกล้เคียงขณะพัก มีการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกตัว
มีความวิตกกังวลเนื่องจาก อาการหายใจลำบาก
เมื่อผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก อยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา ช่วยเหลือในท่าที่สงบ และมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วมั่นใจในการดูแลของพยาบาล
จัดบรรยากาศให้เงียบสงบ เป็นการลดสิ่งเร้าจากภายนอก
สนับสนุนให้ผู้ป่วยใช้เทคนิคผ่อนคลาย และการหายใจที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกควบคุมตนเองได้ ควบคุมการหายใจได้ ทำให้ลดความวิตกกังวลและความซึมเศร้าลง
ดูแลให้ยาขยายหลอดลมตามแผนการรักษา
ให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ประเมินความรุนแรง และความก้าวหน้าของอาการหายใจลำบาก เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการรักษาพยาบาล
มีภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อย / ความอยากอาหารลดลง
ประเมินภาวะโภชนาการและพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน
กำหนดชนิดอาหารและปริมาณให้เหมาะสม ควรลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลง เพราะการเผาผลาญจะทำให้มีการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น
ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมตามเกณฑ์ เพราะผู้ป่วยที่น้ำหนักเกิน ทำให้หายใจลำบากขึ้น น้ำหนักที่มากขึ้นต้องการออกซิเจนมากขึ้น
หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ที่มีไนไตรท์เป็นส่วนประกอบ เช่น เบคอน กุนเชียง แฮม จะทำให้เป็นอันตรายต่อ Collagen และ elastin ของเนื้อปอด การรับประทานไนไตรท์ เพิ่มขึ้น 1 ครั้งใน 1 เดือนทำให้ FEV1 ลดลง 3.85 มล. (Cleveland clinic, 2011)
ชั่งน้ำหนักผู้ป่วย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ถ้ารับยาขับปัสสาวะ หรือสเตียรอยด์ ควรชั่งน้ำหนักทุกวัน เพื่อปรับชนิดอาหารและน้ำที่รับเข้าไป
รับประทานอาหารที่กากใยเพิ่มมากขึ้น ช่วยในการเคลื่อนอาหารในทางเดินอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาล และระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
ประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้ เนื่องจากผู้ป่วยบางคนจำกัดน้ำ รับประทานอาหารได้น้อย มีกิจกรรมลดลง อาจทำให้ท้องผูก
กิจกรรมหรืออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดี
มีควบคุมอาหารประเภทเกลือ เพราะการรับประทานอาหารที่มีเกลือสูงจะทำให้ร่างกายดูดน้ำกลับสูงเกิดการคั่งของน้ำในปอดมากขึ้น ทำให้หายใจลำบากมากขึ้น
ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบากหรือเหนื่อยง่าย ควรใส่ออกซิเจนทางจมูกตลอดเวลา เพราะ การรับประทานอาหารและการย่อยอาหารใช้พลังงานมาก
หลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัดหรือเย็นจัด อาจกระตุ้นให้เกิดอาการไออย่างต่อเนื่องมากกว่า 5 นาที
กระตุ้นให้ผู้ป่วยไอเอาเสมหะออก และทำความสะอาดปากและฟันบ่อย ๆ เพื่อลดรสชาติของเสมหะที่อยู่ในปาก และทำให้ทางเดินหายใจให้โล่ง ทำก่อนรับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง
รับประทานอาหารช้า ๆ ตักอาหารคำเล็ก ๆ เคี้ยวช้า ๆ หายใจลึก ๆ
เลือกอาหารที่ย่อยง่าย
แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็ก 5-6 มื้อ จะทำให้กระเพาะอาหารไม่แน่นเกินไป
ควรอยู่ท่านั่งขณะรับประทานอาหาร เพื่อลดแรงดันต่อกล้ามเนื้อกะบังลม
หายใจโดยการเป่าปาก (purse lip breathing)
แบบแผนการนอนหลับถูกรบกวน เนื่องจากอาการหายใจลำบาก และมีสิ่งเร้ากระตุ้นจากภายนอก
ปัญหาในการสื่อสาร
ความหมาย การสื่อสาร คือ การส่งสารและรับข้อมูลจากโลกภายนอกทั้งโดยวัจนะและอวัจนะภาษาและส่งสารติดต่อแปลผลภายในร่างกายของมนุษย์ก่อนการตอบสนองเป็นกระบวนการทำงานที่ต้องการทำหน้าที่ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
การสื่อสารที่ดี
เป็นทักษะสำคัญในการพยาบาลผู้สูงอายุ
ช่วยให้พยาบาลได้มาซึ่งข้อมูลสุขภาพที่เป็นจริง ก่อให้เกิดให้การวางแผนการพยาบาลสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุและครอบครัว
ช่วยพัฒนาสัมพันธภาพเชิงบำบัดระหว่างพยาบาลและผู้สูงอายุ
ประสิทธิภาพการสื่อสารที่มีความบกพร่อง ก่อให้เกิด ความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้สูงอายุและคนในครอบครัว ผู้สูงอายุกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สุขภาพ
ความล้มเหลวของกิจกรรมการดูแลหรือการบำบัดรักษาที่ต้องดำเนินการร่วมกัน
การสื่อสารที่ล้มเหลวอาจเนื่องมาจากสาเหตุปัจจัยตัวผู้สูงอายุ และผู้ดูแลหรือลูกหลาน
ปัจจัยด้านผู้สูงอายุ
หู
ความสามารถในการได้ยินลดลง โดยช่วงแรกการรับเสี่ยงที่มีความถี่สูงหรือเสียงแหลมจะสูญเสียไปก่อน ต่อมาเป็นเสียงที่มีความถี่ปานกลางและต่ำ
เยื่อบุแก้วหูที่มีลักษณะแข็ง และเหี่ยวลีบ หรืออาจมีการอุดตันของขึ้หู
ตา
ตาฝ้ามัว มองไม่ชัด เนื่องจากแก้วตามีความหนาตัว มีความโค้งน้อย การหักเหของแสงไม่ดี รวมทั้งเลนส์ตาจะขุ่น หนาและแข็ง รูม่านตาลดลง ตอบสนองต่อแสงช้าลง จึงทำให้มีโอกาสเกิดโรคต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อได้ง่าย
อวัยวะการพูด
มะเร็งกล่องเสียง หรือช่องปาก ผู้สูงอายุที่เจาะคอ รวมทั้งผู้สูงอายุที่มีความจำเสื่อม ในที่สุดผู้สูงอายุเหล่านี้มักจะมีปัญหาในการสื่อภาษา
ความผิดปกติของการสื่อสารด้วยคำพูดที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
aphasia
เป็นความผิดปกติของการพูดและการเข้าใจภาษา
สาเหตุของความผิดปกติ มักจะพบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อุบัติเหตุทางสมอง เนื้องอกที่สมอง
ลักษณะอาการคือ พูดไม่ได้ หรือพูดได้หรือไม่เข้าใจภาษา
ประเภทของความผิดปกติของอะเฟเซีย
มีปัญหาเรื่องการรับรู้เข้าใจในภาษา (Wernicke’s Aphasia)
ผู้ป่วยจะสามารถพูดได้คล่อง ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
แต่ไม่สามารถเข้าใจคำพูดนั้นๆได้ ยิ่งถ้าเป็นประโยคที่ซับซ้อนจะไม่เข้าใจมาก
ไม่สามารถพูดตามได้เนื่องจากไม่เข้าใจในสิ่งที่พูดตาม
ไม่สามารถเขียนหนังสือตามคำบอกได้
ในบางรายที่มีอาการน้อยสามารถอ่านได้แต่มีตกหล่นบางคำและถ้ามีอาการมากจะไม่สามารถอ่านหนังสือได้เลย
จะพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เส้นเลือด Middle cerebral artery ที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองบริเวณ left superior temporal lobe
มีปัญหาเรื่องการแสดงออกทางภาษา แต่มีความเข้าใจในภาษาที่ปกติ (Broca’s Aphasia)
ผู้ป่วยสามารถเข้าใจคำพูดของผู้อื่นได้ แต่พูดไม่ชัดและไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้
เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดทำให้ผู้ป่วยพูดไม่คล่อง
จะพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่เส้นเลือด Middle cerebral arteryอยู่ในบริเวณสมองส่วนหน้าทางซีกซ้าย (left frontal lobe)
ปัญหาทั้งเรื่องการแสดงออกทางภาษาและความเข้าใจในภาษา (Global Aphasia)
ผู้ป่วยมีปัญหาทั้งเรื่องการพูดและการเข้าใจในภาษาในระดับที่ใกล้เคียงกัน
โดยพบในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทั้งบริเวณ Wernicke’s area และBroca’s area
มีปัญหาเรื่องการนึกคำพูด (Nominal Aphasia)
ผู้ป่วยนึกคิดคำศัพท์ที่จะพูดได้ยากลำบาก (Word finding difficulty)
มักจะพูดอ้อม หรืออธิบายโดยใช้คำศัพท์อื่นแทนสิ่งที่พูด เช่น พูดว่า “อันที่ไว้ใส่ข้าว” แทนคำว่า “จาน”
แต่ผู้ป่วยจะพูดคล่อง ชัดเจน ถูกหลักไวยากรณ์
มักพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่จุดเชื่อมระหว่างสมองส่วน temporal และ parietal area
dysarthia
เป็นความผิดปกติในการควบคุมกล้ามเนื้อการพูด คือ พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด พูดแบบลิ้นแข็งๆ หรือพูดตะกุกตะกัก
เกิดจากการอ่อนแรงของใบหน้า ปาก ลิ้น และขากรรไกร
สาเหตุเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดสมองที่มีการตีบขนาดใหญ่ หรือตีบบริเวณเนื้อสมองส่วนสีขาว บริเวณก้านสมอง หรือบริเวณสมองน้อย ทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมบริเวณปากได้
แก้ไขปัญหาด้านการพูดด้วยการออกกำลังกาย นอกเหนือจากความลำบากในการพูดแล้วผู้ป่วยมักประสบปัญหาในการกลืนด้วย
ปัญหา (Dysarthria) จะดีขึ้นด้วยการบำบัดด้วยการฝึกพูดและการออกกำลังกาย
โดยปกติแล้วผู้ป่วยยังสามารถเข้าใจการสนทนา การอ่าน หรือการเขียน
การทำงานของสมองแต่ละซีก
สมองซีกซ้าย (Left dominant hemiphere)
เป็นสมองที่ควบคุมเกี่ยวกับภาษาและทักษะต่าง ๆ ของผู้ที่ถนัดขวา
คนที่ถนัดมือซ้ายมักจะมีสมองซีกซ้ายหรือทั้งสองข้างเด่น
ถ้าผู้ป่วยมีพยาธิสภาพของสมองซีกซ้ายจะทำให้เกิดความผิดปกติของการใช้ภาษา (aphasia)
สมองซีกขวา (Right non-dominant hemiphere)
เป็นสมองซีกควบคุมและเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวกับการรับรู้ต่าง ๆ แสดงพฤติกรรมทางอารมณ์
ถ้าสมองส่วนนี้ได้รับบาดเจ็บทำให้ผู้ป่วยจำทิศทางไม่ได้ ไม่สนใจร่างกายด้านตรงข้าม
สมองส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพูดและความเข้าใจภาษา
Wernicke’s area
สมองส่วนนี้อยู่บริเวณเหนือกกหูด้านซ้าย
เมื่อบริเวณนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความหมาย (aphasia)
ความบกพร่องของความเข้าใจภาษาและการพูด ผู้ป่วยจะได้ยินสิ่งที่คนอื่นพูดแต่ไม่เข้าใจความหมาย
ผู้ป่วยพูดได้แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมาย
สมองส่วนนี้อยู่บริเวณเหนือกกหูด้านซ้าย
Broca’s area
อยู่บริเวณ brodmann’s area 44 และ 45
ถูกค้นพบโดยนายแพทย์ชาวฝรั่งเศส ปอล โบรกา
ถ้าบริเวณนี้ถูกทำลายจะทำให้สูญเสียการสื่อสารที่ออกมาเป็นคำพูด จะพูดได้ลำบาก พูดทวนคำไม่ได้ บอกชื่อสิ่งของไม่ได้ แต่ยังสามารถเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นสื่อสารได้
การพยาบาล
aphasia
อธิบายสถานการณ์ การบำบัดรักษาและกิจกรรมทุกอย่างที่ต้องปฏิบัติกับผู้สูงอายุ
ปฏิบัติกับผู้สูงอายุอย่างผู้ใหญ่ ไม่ดูแลแบบเด็ก
พยายามสื่อสารด้วยคำพูดถ้าผู้สูงอายุฟังเข้าใจ
อดทนและให้เวลาสำหรับผู้สูงอายุในการสื่อสาร จัดสิ่งแวดล้อมที่เงียบ
พูดช้า ชัด ถามทีละคำถาม ให้รอคำตอบ อาจต้องถามซ้ำตามจำเป็น
สร้างสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมผู้สูงอายุในการตัดสินใจ อธิบายหรือให้ข้อเสนอแนะ และสื่อสารในสิ่งที่ต้องการและความคิดได้ตามอิสระ
ผู้สูงอายุที่พูดไม่ได้ ให้ใช้คำถามที่ผู้สูงอายุสามารถตอบสนองได้โดยการกระพริบตาหรือพยักหน้า
แนะนำการสื่อสารโดยใช้ท่าทางแทนการพูด
ตกลงกับทีมสุขภาพให้เข้าใจว่ากิริยาท่าทางที่ใช้หมายถึงอะไร เพื่อลดความสับสนที่อาจเกิดจากการติดต่อที่หลากหลาย
ในกรณีที่ไม่เข้าใจคำพูดที่ผู้สูงอายุสื่อสารให้บอกผู้สูงอายุอย่างตรงไปตรงมาอย่างสุภาพและเอื้ออาทร และแสดงให้เห็นด้วยว่ามีความพยายามจะเข้าใจและช่วยกันหาวิธีการสื่อสารใหม่
เมื่อไม่เข้าใจว่าผู้สูงอายุพูดอะไรเป็นบางส่วน ให้ถามส่วนที่ไม่เข้าใจ เพื่อผู้สูงอายุจะได้พูดซ้ำในส่วนนั้นเท่านั้น
ควรพูดในสิ่งที่ผู้สูงอายุคุ้นเคยและสนใจ
ใช้วัตถุที่รับรู้ด้วยการมองเห็นช่วยในการสื่อสาร เช่น รูปภาพ วัตถุ ท่าทาง การสัมผัส หรือจัดกระดาษ ดินสอ ไว้ให้ผู้สูงอายุเขียนหรือวาดรูปโต้ตอบ
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุพูดจนจบ พยายามฟังและจับใจความ เปิดโอกาสในการถ่ายทอดความคิด
dysarthria
บอกกับผู้ที่ผู้สูงอายุสื่อสารด้วยว่า มีความยากลำบากในการสื่อสาร
การสนทนาควรกำหนดระยะเวลาและให้หยุดเมื่อรู้สึกเหนื่อย
พูด ช้า ๆ ดังๆ ในสิ่งแวดล้อมที่เงียบ
หายใจลึก ๆก่อนพูด พูดทีละคำ พูดในขณะหายใจออก เปิดปากให้กว้างเวลาพูด เพื่อให้ลิ้นได้เคลื่อนไหว
จัดท่านั่งหรือยืนในท่าตัวตรง จะช่วยให้ออกเสียงดีขึ้น
เมื่อรู้สึกคับข้องใจในการพูด ให้วิธีการอื่นทดแทน เช่น การชี้ แสดงท่าทาง วาดรูป
บริหารใบหน้า เช่น เป่าลมห่อปาก ย่นหน้าผาก ยิ้ม นวดกล้ามเนื้อใบหน้า
ขณะพูดกับผู้สูงอายุ ให้ความสนใจ ประสานสายตาและมองหน้าขณะพูด
ให้เวลาในการสื่อสารและชักชวนเมื่อผู้สูงอายุเงียบไป
บอกผู้สูงอายุเมื่อไม่สามารถเข้าใจคำพูดที่ผู้สูงอายุสื่อสาร
ถามในส่วนที่ไม่เข้าใจ ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุพูดซ้ำในส่วนนั้นเท่านั้น
ตระหนักว่าผู้สูงอายุมี dysarthria ไม่ได้สูญเสียความฉลาดไปด้วย
สอบถามผู้สูงอายุถึงวิธีการที่จะช่วยในการสื่อสาร เช่น อนุญาตให้ช่วยเดา ช่วยต่อประโยคหรือช่วยเขียน
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการมองเห็น
ประเมินว่าควรจะพูดคุยกับผู้สูงอายุทางด้านไหนจึงจะเหมาะสม
ผู้สูงอายุตาบอด ต้องส่งเสียงพูดเมื่อพบกัน แนะนำตัวเองและผู้ที่อยู่ด้วย และเมื่อจากไปต้องบอก
ต้องแน่ใจว่าผู้สูงอายุอยู่ในสภาพที่พร้อมพูดคุย
อธิบายสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อให้ผู้สูงอายุคุ้นเคย
พูดคุยด้วยเสียงปกติ และพูดด้วยท่าทางตามปกติที่เคยทำ เมื่อมีผู้เข้ามาใหม่ต้องแนะนำ บอกตำแหน่งที่อยู่ อาจให้แตะเบา ๆ ที่แขนเพื่อบอกตำแหน่ง
ลดสิ่งลบกวนความสนใจ
บอกตำแหน่งสิ่งต่างๆ อาจประยุกต์ใช้ตำแหน่งนาฬิกาช่วยในการบอก
ตรวจสอบแสงสว่างที่เหมาะสมที่ช่วยในการมองเห็นที่เหลืออยู่
ไม่โยกย้ายของในห้อง หรือจัดของในห้องใหม่โดยไม่บอกให้ผู้สูงอายุรู้
เมื่อจะส่งของให้ผู้สูงอายุ ควรบอกให้ผู้สูงอายุรับรู้ก่อน
เมื่อต้องเดินไปกับผู้สูงอายุ ต้องให้ผู้สูงอายุจับแขน ก่อนขึ้นบันไดให้หยุดเดินหรือรั้งไว้ บอกให้รับรู้
ในการพาไปนั่งให้วางมือผู้สูงอายุบนพนักเก้าอี้ บอกตำแหน่งตัวผู้สูงอายุกับเก้าอี้ และวัตถุอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ
ผู้สูงอายุที่ตาบอดเกิดขึ้นภายหลัง ควรอธิบายความงามสิ่งต่าง ๆที่อยู่รอบตัว ความงามของทิวทัศน์ ดอกไม้ สีสรรต่าง ๆ ช่วยให้ผู้สูงอายุรำลึกถึงความทรงจำที่ได้คิดตาม
จัดอุปกรณ์ในการช่วยเหลือไว้ใกล้ ๆ สะดวกในการหยิบจับ
ตรวจเยี่ยมเพื่อสอบถามความต้องการเป็นระยะ