Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle Diagram
เลือดและส่วนประกอบของเลือด
12. การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
เลือด(Whole blood) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดแดง แบ่งเป็น เซลล์เม็ดเลือดแดง(red blood cell) เซลล์เม็ดเลือดขาว(white blood cell) เกร็ดเลือด(platelet) และน้ำเลือด(plasma)
การให้เลือด(Blood transfusion) หมายถึง การให้เลือด แก่ผู้ป่วยโดยผ่านเข้าทางหลอดเลือดดำ การให้เลือดแม้จะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ แต่ก็ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน
การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้น แต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย
คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้จากทุกกรุ๊ป แต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ป AB
คนเลือดกรุ๊ป A รับได้จาก A และ O ให้ได้กับ A และ AB
คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B และ O ให้ได้กับ B และ AB
13. ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
มีดังนี้
เม็ดเลือดแดงสลายตัว (Hemolysis) เกิดจากการให้เลือดผิดหมู่ เม็ดเลือดแดงจะแตกและบางส่วนไปอุดตั้นหลอดเลือดฝอยของท่อไตทำให้ไตวาย อาจเกิดอาการหลังให้เลือดไปแล้วประมาณ 50 มล. พบว่ามีอาการหนาวสั่น มีไข้ปวดศีรษะ ปวดหลังบริเวณเอว กระสับกระส่าย ปัสสาวะเป็นเลือด
ปริมาตรการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป (Volume overload) เกิดจากการให้เลือดในอัตราเร็วเกินไป จึงเพิ่มปริมาตรการไหลเวียนในกระแสเลือด ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เกิดภาวะหัวใจวาย และมีอาการน้ำท่วมปอด
ไข้ (Febrile transfusion reaction) เกิดจากการได้รับสารที่ทำให้เกิดไข้ เชื้อแบคทีเรียจากเครื่องใช้หรือเทคนิคการให้เลือดที่ไม่สะอาด
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction) เกิดจากผู้รับแพ้สารอย่างใดอย่างหนึ่งในเลือดที่ได้รับ ผู้ป่วยจะมีอาการมีผื่นคัน หรือลมพิษ
การถ่ายทอดโรค (Transfusion-associated graft versus host disease) มักเกิดจากการขาดการตรวจสอบเลือดของผู้ให้ ซึ่งมีการติดเชื้อต่างๆ เช่น ตับอักเสบ มาลาเรีย ซิฟิลิส เอดส์ เป็นต้น
การอุดตันจากฟองอากาศ (Air embolism) เกิดจากการไล่ฟองอากาศไม่หมดไปจากสายให้เลือด อากาศจะลอยไปตามกระแสเลือด และอาจไปอุดตันหลอดเลือดดำให้ขัดขวางการนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้น
ภาวะสารซิเตรทเกินปกติ เกิดจากการให้เลือดติดต่อกันเป็นจำนวนมากจึงมีการสะสมของสารกัน พบว่าผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริวเจ็บแปลบตามปลายนิ้วมือ
ภาวะโปตัสเซียมเกินปกติ (Hyperkalemia) เกิดจากการให้เลือดที่เก็บไว้ในธนาคารเลือดนานเกินไป หลังจากที่ผู้ป่วยได้เลือดจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
14. การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านร่างกาย
การประเมินด้านจิตใจ
การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม
การประเมินแผนการรักษา
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัย
มีความพร้อมในการเริ่มให้เลือดและสารประกอบของเลือดตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
โดยใช้หลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE
วัตถุประสงค์ของการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
ทดแทนปริมาณเลือดที่สูญเสียไป เช่น จากการตกเลือดหรือจากการผ่าตัด
ทดแทนเม็ดเลือดแดง และรักษาระดับฮีโมโกลบิน เป็นการรักษาระดับความสามารถในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโลหิตจาง
ทดแทนปัจจัยการแข็งตัวของเลือด เช่น ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยได้รับเลือดและสารประกอบของเลือดไม่พบอาการแทรกซ้อนและปลอดภัยตามหลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE
ขั้นตอนที่ 4 การให้เลือดและสารประกอบของเลือด
เครื่องใช้
วิธีทำการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
การประเมินผลการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด เป็นการประเมนิผลลัพธ์การพยาบาล
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล เป็นการประเมินผลของการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การดูแลผู้ป่วยภายหลังได้รับเลือด
ตรวจสอบสัญญาณชีพหลังการให้เลือด 15 นาที และต่อไปทุก 4 ชั่วโมง
สังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตลอดระยเวลาที่ให้เลือด
บันทึกหมู่เลือด ชนิดของเลือด หมายเลขเลือด ปริมาณเลือด วัน เวลา ชื่อผู้ให้เลือด
การปฏิบัติเมื่อพบอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับเลือด
หยุดให้เลือดทันทีแล้วเปิดทางหลอดเลือดดำ (KVO) ด้วย NSS
รายงานแพทย์
ตรวจสอบสัญญาณชีพ และสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างใกล้ชิด เช่น หนาวสั่น ควรห่มผ้าให้ผู้ป่วย
เตรียมสารน้ำและยา เช่น Antidiuretic, Antihistamine, Epinephrine, Steroid
ส่งขวดเลือดและเจาะเลือดของผู้ป่วยจากแขนที่ไม่ได้ให้เลือดไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ
บันทึกจำนวนสารน้ำที่นำเข้า-ออกจากร่างกาย เพื่อดูการทำงานของไต
การหยุดให้เลือด เมื่อผู้ป่วยได้รับเลือครบให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการหยุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
15. การบันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย (Record Intake-Output)
1. หลักการบันทึกจำนวนสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกาย
1.1 แบบฟอร์มการบันทึกควรแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย เพื่อสะดวกในการจดบันทึก
1.2 อธิบายเหตุผลและความสำคัญของการวัดและการบันทึกจำนวนน้ำที่รับเข้าและขับออกจากร่างกาย
1.3 ร่วมกับผู้ป่วยในการวางแผนกำหนดจำนวนน้ำที่เข้าสู่ร่างกายในแต่ะลช่วงเวลา
1.4 จดบันทึกจำนวนน้ำและของเหลวทุกชนิดที่ให้ขณะมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยดื่มน้ำในขวดที่เตรียมไว้ให้ ไม่นำน้ำที่เตรียมไว้ไปบ้วนปากหรือเททิ้ง
1.5 การจดบันทึกควรสรุปทุก 8 ชั่วโมง และทุกวัน
1.6 บันทึกจำนวนสารน้ำที่สูญเสียทางอื่นๆ เช่น อาเจียน ท้องเดิน ของเหลวที่ระบายออกจากการใช้เครื่องดูดกับสายยางจากกระเพาะ
16. กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมความสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
1. การประเมินภาวะสุขภาพ
S : ผู้ป่วยบ่นปวดบริเวณที่ให้สารน้ำมาก ขอเปลี่ยนตำแหน่งที่แทงเข็มใหม่
O : จากการสังเกตบริเวณที่หลังมือซ้ายบวมแดง หลอดเลือดดำที่ให้สารน้ำเป็นลำแข็ง บริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำเป็นตำแหน่งเดิมนาน 5 วันแล้ว
2. ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นเวลานาน
3. การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบที่รุนแรงขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบลดลง
อาการปวดบริเวณที่ให้สารน้ำลดลง โดยใช้แบบประเมินความปวด
4. การปฏิบัติการพยาบาล
หยุดให้สารน้ำทันที
ประเมินอาการบวมที่หลังมือซ้ายทุกเวร หากบวมมากขึ้น ผู้ป่วยมีไข้
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
จัดมือซ้ายที่บวมให้สูงกว่าลำตัวผู้ป่วย โดยใช้หมอนรอง เพื่อลดอาการบวม
เปลี่ยนบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำใหม่
ประเมินการขาดสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์ โดยบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกทุกเวร เพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ไขโดยเร็ว
ลดภาะวเครียดโดยให้ความช่วยเหลือทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
5. การประเมินผลการพยาบาล
ประเมินอาการปวดของผู้ป่วย โดยสังเกตสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย
ประเมินอาการหลอดเลือดดำอักเสบบริเวณหลังมือ
ปริมาณสารน้ำเข้าและออกมีความสมดุล