Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9 ปัญหาสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ - Coggle Diagram
9 ปัญหาสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
ปัญหาสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะน้อยหรือไม่ออก
ปัสสาวะเป็นเลือด
ปวดสีข้าง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การส่งตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจดูลักษณะและส่วนประกอบของน้ําปัสสาวะ เช่น Urinalysis (U/A) และ Urine culture (U/C) เป็นต้น
การส่งตรวจเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือความ ผิดปกติของเกลือแร่ เช่น Blood urea nitrogen (BUN), Creatinine (Cr), Complete Blood Count (CBC), Calcium และ Phosphate เป็นต้น
การตรวจพิเศษ เช่น Ultrasound, renal scan, Intravenous pyelogram (IVP), Plain KUB cystoscope และ CT เป็นต้น
ปัสสาวะผิดปกติ (Abnormal urination)/ปัสสาวะลําบาก (Dysuria)
ปัสสาวะบ่อย (Frequent urination)
จํานวนครั้งของปัสสาวะมากกว่าค่าปกติ ของแต่ละช่วงอายุ เช่น ในเด็กเล็กปัสสาวะปกติ 8-14 ครั้ง เด็กโต 6-12 ครั้ง ผู้ใหญ่ 4-6 ครั้งต่อวัน ใน ผู้ใหญ่อาจใช้เกณฑ์กลางวันปัสสาวะบ่อยมากกว่าทุก 2 ชม. (daytime voiding frequency) และตื่นมา ปัสสาวะตอนกลางคืน (nocturia) ในตอนกลางคืนคนปกติจะตื่นมาปัสสาวะไม่เกินคืนละ 1 ครั้ง
ปัสสาวะบ่อยร่วมกับปริมาณปัสสาวะปกติมีลักษณะกะปริดกะปรอย
สาเหตุมัก เกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคของกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะไว กระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ โรคที่มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะส่วนล่างทําให้ปัสสาวะออกไม่หมด
ปั
สสาวะบ่อยร่วมกับปริมาณปัสสาวะมากกว่าปกติ
โดยเฉพาะเกิน 3 ลิตรต่อวัน หรือ polyuria พบในโรคเบาหวาน เบาจืด และการดื่มน้ํามากเกินไป
กลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence)
ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคเบาหวาน อายุมาก และเพศหญิง เช่น การติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ
(cystitis)
ผู้หญิงที่มีปัญหาท่อปัสสาวะหรือ ช่องคลอดแห้งจากการขาดฮอร์โมน (Atrophic urethritis and vaginitis) อาจมีอาการปัสสาวะลําบาก คัน และแห้งบริเวณปากช่องคลอดร่วมด้วย
ผู้ป่วยที่มีอาการเพ้อสับสน (Delirium) ผู้ป่วยที่มีการใช้ยาบาง
กลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ
ผู้หญิงที่คลอดบุตรทางช่องคลอดหลายคน ภาวะอ้วน ผู้ที่มีอาชีพยกของหนัก
ปัสสาวะลําบาก (Dysuria, Painful urination)
Inflammation
โรคที่มีการอักเสบของผิวหนังบริเวณ perineum เช่น irritant/contact dermatitis
โรคติดเชื้อ ได้แก่ urinary tract infection ทั้ง upper UTI เช่น กรวยไตอักเสบ (pyelonephritis) และ lower UTI เช่น cystitis การอักเสบของทอทางเดินปสสาวะ (urethritis) หรือ ตอมลูกหมากอักเสบ (prostatitis) โดยพบอาการปัสสาวะแสบขัด อาจมีอาการกลั้นปัสสาวะ ไม่ได้ร่วมด้วย
Non-inflammatory
ความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น urethral stricture ยาบางชนิด โรคต่อมไร้ท่อ เช่น atrophic vaginitis เนื้องอก เช่น bladder cancer อุบัติเหตุ เช่น หลังจากได้รับการผ่าตัดหรือใส่อุปกรณ์ในทางเดินปัสสาวะ และไม่ทราบสาเหตุ
โรคที่พบบ่อยในระบบทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจมีปวดท้องน้อย ร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส บางรายอาจขุ่นหรือมีเลือดปน อาการอาจเกิดขึ้นหลังกลั้น ปัสสาวะนานๆ หรือหลังร่วมเพศ
กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis)
ปวดบริเวณสีข้างฉับพลัน โดยจะปวดมากที่ข้างใดข้างหนึ่ง และอาจปวดร้าวลงที่ขาหนีบ พร้อมกับมีไข้สูง หนาวสั่นมากเป็นพัก (คล้ายไข้มาลาเรีย) อาจมีปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ขัดเบาร่วมด้วย ปัสสาวะมักมีลักษณะขุ่น บางครั้งอาจเป็นหนอง
กรวยไตอักเสบเรื้อรัง (Chronic Pyelonephritis)
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงแต่อย่างใด ถ้ามีการอักเสบของกรวยไตนานแรมปี จนเซลล์ไต ถูกทําลาย ไตฝ่อ และเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง มีซีด อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง
ปัสสาวะเป็นเลือด
Initialhematuria ปัสสาวะมีเลือดปนช่วงต้นของการปัสสาวะ บ่งชี้ถึงพยาธิสภาพอยู่ที่ท่อ ปัสสาวะ(urethra)
Terminalhematuria ปัสสาวะเป็นเลือดออกช่วงท้ายของการปัสสาวะ บ่งชี้ถึงพยาธิสภาพอยู่ที่ บริเวณ bladder หรือ ทางเดินท่อปัสสาวะเพศชายส่วนหลัง (posterior urethra)
Totalhematuria ปัสสาวะเป็นเลือดเท่ากันตลอดทั้งการปัสสาวะ (homogenous) บ่งชี้ถึงพยาธิ สภาพอยู่ที่ไต ท่อไต(ureter) หรือกระเพาะปัสสาวะที่มีเลือดออกมาก
โรคที่พบบ่อย
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis/AGN)
ปัสสาวะเป็นสีแดงเหมือนน้ําล้างเนื้อหรือน้ําหมาก จํานวนปัสสาวะมักออกน้อยกว่าปกติ อาจพบอาการบวมที่หน้า หนังตา เท้า และท้อง มีปวดศีรษะ ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีปัสสาวะออกน้อย หอบเหนื่อย หรือชัก
สิ่งที่ตรวจพบ : ไข้ หน้าบวม หนังตาบวม เท้าบวมกดบุ๋ม อาจมีท้องบวม ปัสสาวะขุ่นแดง ตรวจ พบสารไข่ขาวถึง 1+ ถึง 3+ อาจมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
ปัสสาวะน้อยหรือไม่ออก
Oliguria
ภาวะที่ผู้ป่วยมีปริมาณปัสสาวะออกน้อยกว่า 400 ซีซี/วัน (< 20 ซีซี/ชั่วโมง หรือ น้อยกว่า 0.5 มล./กก./ชม.) ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง
Anuria
คือ ภาวะที่ร่างกายขับปัสสาวะน้อยกว่า 100 ซีซี/วัน (มีความรุนแรงกว่า Oliguria)
ปั
สสาวะไม่ออก (Acute Urinary Retention: AUR)
คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีปริมาณปัสสาวะน้อย กว่า 100 ซีซี/วัน (< 5 ซีซี/ชั่วโมง) อาการปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน จะทําให้มีอาการปวดมากบริเวณ ท้องน้อย เมื่อตรวจร่างกายคลําพบว่าบริเวณท้องน้อยโป่งตึง
บวม (edema)
บวมเฉพาะที่ (Localized edema)
สาเหตุมักเกิดจากหลอดเลือดดําหรือหลอดน้ําเหลืองอุด ตันเฉพาะที่ เช่น บวมขาข้างเดียวจากภาวะ Deep vein thrombosis, ภาวะท้องมาน (Ascites) จาก Portal hypertension
บวมทั้งตัว (Generalized edema)
คือการมีอาการบวมมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป ถ้าบวมมาก ทั่วทั้งตัวเรียก anasarca เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ Right side heart failure ผู้ป่วยโรคไต ได้แก่ Chronic kidney disease และ Nephrotic syndrome และผู้ป่วยโรคตับ ได้แก่ Chronic liver disease และ Cirrhosis แต่อาจทําให้มีการบวมเฉพาะที่ได้จากการมี Portal hypertension
โรคที่พบบ่อย
โรคไตเนโฟรติก (Nephrotic syndrome)
บวมทั้งตัว (หน้า หนังตา ท้องและเท้าทั้ง 2 ข้าง) มักจะค่อย ๆ เกิดเพิ่มทีละน้อย อาจ สังเกตเห็นหนังตาบวมชัดเจนเวลาตื่นนอน ปัสสาวะสีใสเหมือนปกติแต่ออกน้อยกว่าปกติ อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ไม่มีไข้ นอนราบได้ ทํางานได้
ภาวะไตวาย (Renal Failure)
ไตวายเฉียบพลัน (Acute Renal Failure) หรือไตเสียหายเฉียบพลัน (Acute kidney injury: AKI)
ปัสสาวะน้อยกว่า 400 ซีซีใน 24 ชั่วโมง หรือไม่มีปัสสาวะออกเลย ต่อมามีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา ในที่สุดผู้ป่วยจะซึม สับสน ชัก และหมดสติ ผู้ป่วยอาจมีประวัติการใช้ยา หรือมีอาการเจ็บป่วยนํามาก่อน
ไตวายเรื้อรัง (Chronic Renal Failure) หรือโรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease:CKD)
ระยะแรกอาจไม่มีอาการชัดเจน และมักตรวจพบจากการตรวจเลือด ในขณะตรวจเช็ค สุขภาพหรือมาตรวจด้วยโรคอื่น จะมีอาการชัดเจนเมื่อเนื้อไตทั้ง 2 ข้างถูกทําลายจนทําหน้าที่ได้น้อยกว่า 5% ของไตปกติ มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินบ่อย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ขาดสมาธิ ตามัว ผิวหนังแห้งและมีสีคล้ํา เจ็บหน้าอก บวม หรืออาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็น เลือด เมื่อเป็นถึงขั้นสุดท้ายจะมีอาการซึม ชัก หมดสติ
ปวดสีข้าง ปวดหลังบริเวณเอว
นิ่วในไต (Renal calculus/Kidney stone)
ปวดเอว ปวดหลังข้างใดข้างหนึ่ง ปวดแบบเสียด ๆ หรือปวดบิดเป็นพัก ๆ อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะอาจขุ่นแดงหรือมีเม็ดทราย ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก อาจตกลงมาที่ท่อไต ทําให้เกิดการ ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง บางรายอาจไม่มีอาการเลยก็ได้
นิ่วท่อไต (Ureteric stone/Ureteral stone)
ปวดท้องรุนแรง มีลักษณะปวดบิดเป็นพัก ๆ บริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้าง เดียว นานเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ มีอาการปวดมากจนมีเหงื่อออก มัก ปวดจนดิ้นไปมา หรือใช้มือกดไว้จะรู้สึกดีขึ้น บางรายอาจปวดมากจนมีเหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น ใจหวิว คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยจะไม่มีอาการขัดเบา ปัสสาวะมักใสเช่นปกติ
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesical calculus/Bladder stone)
ก้อนนิ่วลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ ทําให้มีอาการขัดเบา ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปวดเบ่ง คล้ายว่ายังถ่ายไม่สุด ปัสสาวะสะดุดและออกเป็นหยด บางรายอาจปัสสาวะเป็นเลือด/สีน้ําล้างเนื้อหรือ อาจถ่ายเป็นก้อนนิ่ว หรือเม็ดกรวยทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขุ่นขาวเหมือนมีผงแป้งปน ถ้าก้อนนิ่วตกลง ไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ จะมีอาการปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก และมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะ ปัสสาวะ
ปัญหาสุขภาพในระบบสืบพันธุ์
การวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการระบบสืบพันธุ์
Bacterial vaginosis (BV)
ผู้หญิงที่มีการติดเชื้อ BV ประมาณร้อยละ 50 – 75 ไม่มีอาการ บางรายอาจมาพบ แพทย์ด้วยอาการตกขาวผิดปกติ มีอาการคัน มีกลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ส่วน อาการปัสสาวะแสบขัด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ การอักเสบในช่องคลอดหรืออาการแสบร้อนบริเวณปาก ช่องคลอดพบได้น้อย
การวินิจฉัย : อาศัยลักษณะทางคลินิกและการตรวจ wet smear เป็นส่วนใหญ่ เกณฑ์การ วินิจฉัย ได้แก่ (Amsel criteria) (ต้องการ 3 ใน 4 ข้อ)
ตกขาวมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous) thin and grayish-white
Vaginal pH > 4.5
Positive Whiff test
20% clue cells on wet mount
Trichomoniasis vaginalis (TV)
ตกขาวมี
สีเขียวเป็นฟองและมีกลิ่นเหม็น
Vulvovaginal candidiasis (VVC)
ตกขาวมีลักษณะจําเพาะ คือ เหมือนแป้งเปียก (curd
– like หรือ cottage cheese - like)
Pelvic pain and Dysmenorrhea
ก
ารปวดเฉียบพลัน (Acute pelvic pain)
การปวดที่เกิดขึ้นทันทีทันใด รุนแรง และมักเป็น ระยะเวลาสั้น ๆ เช่น การอักเสบ มดลูกอักเสบ เนื้องอกของรังไข่ หรือ ท้องนอกมดลูก Cyclic pain การปวดซึ่งเกิดสัมพันธ์กับรอบประจําเดือน Dysmenorrhea อาการปวดประจําเดือน เป็น cyclic pain ที่พบบ่อยที่สุด
การปวดเรื้อรัง (chronic pelvic pain)
อาการปวดที่เป็นนานเกิน 6 เดือน และรุนแรงจน รบกวนชีวิตประจําวัน
การวินิจฉัยแยกโรคที่มาด้วย Acute pelvic pain
อาการปวดที่เกิดจากระบบสืบพันธุ์
การตั้งครรภ์ผิดปกติ
การแตกของถุงน้ํา (cyst) ที่รังไข่ ที่พบบ่อยได้แก่การแตกของ ovarian follicle ขณะมีการ ตกไข่ ที่เรียก mittelschmerz ซึ่งทําให้มีเลือดปริมาณน้อย ๆ เข้ามาในช่องท้อง ทําให้เกิดอาการปวด
การบิดขั้วของปีกมดลูก มักเกิดในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกรังไข่ ทําให้เกิดการขาดเลือดมาเลี้ยงรังไข่
ปีกมดลูกอักเสบ (Salpingitis) และ Tobo-ovarian abscess ผู้ป่วยจะมีไข้ ตรวจภายใน โยกปากมดลูกจะเจ็บ และมีอาการกดเจ็บบริเวณปีกมดลูก มักเป็นทั้งสองข้าง ถ้าคลําได้ก้อนที่ปีกมดลูก ขยับไม่ค่อยได้ กดเจ็บอาจจะเกิดเป็น tubo-ovarian abscess
Myoma อาการปวดฉับพลันที่พบ อาจเกิดจากภาวะ degeneration หรือมีการบิดขั้วของ myoma โดยเฉพาะ subserous myoma ถ้าเกิดจาก degeneration การให้ยาแก้ปวดจะทุเลาอาการได้ แต่ถ้าเป็นการบิดขั้วต้องเข้าไปผ่าตัด
Endometriosis ผู้ป่วยจะมีอาการปวดประจําเดือน ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ และปวดขณะ ถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยมักมีประวัติมีบุตรยาก ถ้าอาการปวดท้องเกิดขณะไม่เป็นประจําเดือน
อาการปวดที่เกิดจากทางเดินอาหาร
Appendicitis
Intestinal obstruction
อาการปวดที่เกิดจากทางเดินปัสสาวะ
อาการปวดประจําเดือน (dysmenorrhea)
การวินิจฉัยแยกโรคที่มาด้วย Chronic pelvic pain
ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia: BPH)
ปัสสาวะลําบาก ต้องออกแรงเบ่ง ปัสสาวะพุ่งไม่แรง มีความรู้สึกต้องถ่ายปัสสาวะ บ่อยครั้ง แต่ละครั้งออกได้ครั้งละน้อย บางครั้งอาจถ่ายออกเป็นเลือด หรืออาจมีขัดเบาจากกระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ มักมีปัสสาวะลําบากเป็นแรมปี จนในที่สุดปัสสาวะไม่ออก เนื่องจากท่อปัสสาวะถูกต่อม ลูกหมากกดจนตีบตัน จะมีปวดตึงท้องน้อย คลําได้ก้อนของกระเพาะปัสสาวะที่มีปัสสาวะคั่งเต็ม
ดียูบี (Dysfunction Uterine Bleeding/DUB)
มีเลือดคล้ายประจําเดือนออกมา/กระปริดกระปรอย นานเป็นสัปดาห์ โดยไม่มีปวดท้อง
ร่วมด้วย เลือดอาจออกมาจนซีด อ่อนเพลีย บางรายอาจมีประวัติประจําเดือนขาดนํามาก่อน 2-3 เดือน
โรคหนองใน (Gonorrhea)
เพศชาย
หลังรับเชื้อจะมีอาการแสบลํากล้องเวลาปัสสาวะ หรือปัสสาวะขัด และมีหนอง ไหลออกจากท่อปัสสาวะ ระยะแรกจะไหลซึมเป็นมูกใสเล็กน้อย ใน 12 ชั่วโมงต่อมาจะกลายเป็นหนองข้น 10% ของผู้ชายอาจไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้
เพศหญิง
ระยะแรกมักไม่มีอาการ ต่อมามีตกขาวเป็นหนองสีเหลือง กลิ่นเหม็น ไม่คัน มีอาการ ขัดเบา และแสบร้อนเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น ถ้ามีการอักเสบของปีกมดลูกจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดกด เจ็บตรงท้องน้อย หญิงที่ติดเชื้อประมาณครึ่งหนึ่งอาจไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ (ทั้งสองเพศ อาจมีต่อมน้ําเหลืองขาหนีบโต บวม และเจ็บ)
หนองในเทียม ( Non-specific Urethritis: NSU / Non-Gonococcal Urethritis:NGU)
เพศชาย
มีอาการแสบท่อปัสสาวะ ปัสสาวะขัด มีหนองไหลเป็นมูกใสหรือขุ่น ไม่ข้นแบบ หนองใน และออกซึมเพียงเล็กน้อยในช่วงเช้า ถ้าให้ปัสสาวะลงแก้วใส ใช้ไฟฉายส่งจะเห็นเส้นขาว ๆ คล้าย เส้นด้ายลอยอยู่
เพศหญิง
มักไม่มีอาการแสดง อาจมีเพียงอาการตกขาว
ซิฟิลิส (Syphilis)
ท้องนอกมดลูก (Ectopic Pregnancy)