Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รัฐ - Coggle Diagram
รัฐ
วิวัฒนาการของรัฐ
3.นครรัฐกรีก หากเปรียบเทียบกับรัฐ
โบราณอื่น ๆ แล้ว นครรัฐกรีกยึดมั่นบูชาเรื่องของเสรีภาพ และเคารพความมีเหตุผล เป็นจุดเริ่มต้นของความเชื่อแบบมนุษย์นิยม ชอบแสวงหาความรู้ อีกทั้งแนวความคิดประชาธิปไตย อันเกิดจากการแสวงหาความรู้ของชาวกรีก ก็เป็นมรดกตกทอดที่สำคัญ และเป็นรากฐานอารยธรรมตะวันตกด้วย
4.จักรวรรดิโรมัน เป็นจักรวรรดิที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการปกครองที่ใช้กฎหมาย(นิติรัฐ) ชาวโรมันทุกคนต้องรู้กฎหมาย นั่นหมายถึงชาวโรมันทุกคนรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี
2.อาณาจักรโบราณตะวันออก มีรูปแบบการปกครองที่เน้นอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง มีระบบชนชั้นเกิดขึ้น ซึ่งชนชั้นปกครองจะมีอำนาจในการบังคับบัญชาเด็ดขาด ส่วนผู้ถูกปกครองจะถูกใช้งานเหมือนข้าทาสบริวาร อย่างเข้มงวด การออกสิทธิ์ออกเสียงแทบจะไม่ปรากฏเลย
5.รัฐฟิวดัล เน้นการครอบครองพื้นที่เป็นหลักสำคัญ โดยขุนนางผู้มีอำนาจในพื้นที่ที่ครอบครอง บังคับให้ผู้คนเป็นทาสติดที่ดินยามศึกสงครามก็ถูกเกณฑ์เป็นทหารต่างจากของระบบศักดินาในสมัยอยุธยา ที่ให้ความสำคัญของการควบคุมไพร่เป็นหลัก ทั้งนี้รัฐฟิวดัลในยุโรปเกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน
1.รัฐเผ่าชน เป็นรัฐที่ไม่เน้นเรื่องของการครอบครองดินแดนอาณาเขต ลักษณะเร่ร่อนอพยพไปมา อาศัยแสวงหาความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินไปเรื่อย ๆ เน้นขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นสำคัญ
องค์ประกอบ
ประชากร รัฐทุกรัฐจำเป็นต้องมีประชากรอาศัยอยู่ภายในดินแดนของตนเอง มากน้อยไม่สำคัญ เพียงแต่ความเจริญก้าวหน้า ตกต่ำหรือเสื่อมโทรมของรัฐนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนเป็นสำคัญ
รัฐบาล ถือเป็นองค์การ หรือสถาบันทางการเมือง ที่เกิดขึ้นและได้รับความยินยอมจากประชาชน
เปรียบเสมือนตัวแทนของประชาชน รัฐบาลดำรงอยู่ได้ด้วยการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
ดินแดน
การอ้างตัวของชุมชนทางการเมืองใดว่ามีความเป็นรัฐจำเป็นที่จะต้องมีดินแดนอิสระเป็นของตนเอง
ไม่ใช่การอาศัยดินแดนของรัฐอื่น
อำนาจอธิปไตย เป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐ ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งมีอิสระในการดำเนินกิจกรรมต่างๆทั้งภายในและภายนอก อำนาจอธิปไตย เป็นการบ่งบอกถึงว่าประเทศนั้นมีเอกราช ที่สามารถกระทำการใดๆด้วยตนเองได้ ในเรื่องของการกำหนดนโยบาย ทั้งภายในและภายนอก โดยไม่ต้องฟังหรืออยู่ภายใต้อาณัติของประเทศอื่น
วิธีการมอง
การมองด้านหน้าที่ การมองด้านนี้เน้นบทบาทหรือเป้าหมายของสถาบันต่างๆของรัฐ โดยมองว่าหน้าที่หลักของรัฐคือ การรักษาระเบียบของสังคมแนวคิดนี้ได้มาจากลัทธิมาร์กซิสต
การมองด้านองค์การ Heywood เห็นด้วยกับการมองรัฐในแนวทางที่ 3 พร้อมทั้งได้ระบุถึงคุณลักษณะที่สำคัญของรัฐคุณลักษณะที่สำคัญของรัฐซึ่งมี 5
ประการคือ 1.อำนาจอธิปไตย
2.ความเป็นสาธารณะ
3.ความชอบธรรม
4.การครอบงำ
5.ดินแดนหรืออาณาเขต
การมองด้านอุดมคติระบุว่าสิ่งที่เป็นสังคมในเวลาหนึ่งๆมีอยู่ 3 อย่างคือ ครอบครัว ประชาสังคม และรัฐ
จุดอ่อนของการมองรัฐทางด้านอุดมคติ คือ มองรัฐในสภาพที่มีจริยธรรมบริบูรณ์แล้วและไม่แยกส่วนประกอบของรัฐออกมาว่ามีอะไรบ้าง รวมทั้งไม่ระบุว่าอะไรคือสิ่งที่อยู่ภายนอกรัฐ
รูปแบบ
รัฐเดี่ยว
คือ รัฐที่มีศูนย์กลางในทางการเมืองและการปกครองรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว เป็นรัฐซึ่งมีเอกภาพไม่ได้แยกออกจากกัน มีการใช้อำนาจสูงสุดทั้งภายในและภายนอกโดยองค์กรเดียวกันทั่วดินแดนของรัฐ อำนาจสูงสุดในที่ นี้ก็คือ อำนาจอธิปไตย ไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกัน
รัฐรวม
คือ รัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป ซึ่งได้เข้ามารวมกันภายใต้รัฐบาลเดียวกัน หรือ ประมุขเดียวกัน อาจด้วยความสมัครใจของทุกรัฐเพื่อประโยชน์ร่วมกัน โดยที่แต่ละรัฐต่างก็ยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่อย่างเดิม เพียงแต่การใช้อำนาจอธิปไตยได้ถูกจำกัดจะมากหรือน้อยก็ตามแต่รัฐธรรมนูญจะกำหนด หรือตามแต่ข้อตกลงที่ได้ให้ไว้ โดยที่รัฐรวมในรูปแบบอื่น เช่น สมาพันธรัฐ นั้น ส่วนมากก็ได้กลายเป็นอดีตกันไปหมดแล้ว ยกเว้นกรณีสหพันธรัฐ เท่านั้น
สหพันธรัฐ การแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ ซึ่งมีอำนาจโดยตรงจากรัฐธรรมนูญและเป็นอำนาจที่ก้าวก่ายกันไม่ได้ เป็นรัฐที่มีรูปแบบรัฐบาลกระจายอำนาจ
ความหมาย
รัฐ(State) ได้ถูกนิยามให้มีความหมายแตกต่างกันออกไปตามแต่ละมุมมองและกรอบความคิดของนัก
คิดแต่ละบุคคล ดังนั้นการให้คำ
จำกัดความในเรื่องรัฐจึงแตกต่างกันออกไปตามวิธีการศึกษาหรือแนวคิดแต่ละบุคคล
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า รัฐ ว่า แว่นแคว้น บ้านเมือง ประเทศ มาจากภาษาบาลี รฏฐ หรือ ราษฎร ในภาษาสันสกฤต
ริชาร์ด ฮักกินส์
ให้ความหมายของรัฐอย่างเป็นรูปธรรมว่า รัฐหมายถึงสถาบัน องค์การหรือหน่วยงานทั้งหลายที่ดำเนินงานอยู่ภายในดินแดนหนึ่ง โดยมีอำนาจหน้าที่อย่างชอบธรรมเหนือตัวเรา
ประจักษ์ พันธ์ชูเพชร
ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ที่มาอาศัยอยู่
ร่วมกันภายในอาณาเขตที่แน่นอนและมีรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยทั้งภายในและภายนอกรัฐ
การรับรองรัฐ
เป็นเครื่องมือสำคัญที่แสดงถึงการเป็นรัฐที่สมบูรณ์ เพราะการเป็นรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจะ
เกิดได้จากการได้รับการยอมรับจากรัฐอื่น ๆ โดยความสมัครใจ
1.รับรองโดยข้อเท็จจริง หมายถึง การมีรัฐอยู่จริง แต่รัฐนั้นยังไม่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งอาจเพราะยังไม่มั่นใจในเงื่อนไขการเป็นรัฐของรัฐนั้น จึงมีเพียงการยอมรับรองโดยพฤตินัยและหากในเวลาต่อมาเงื่อนไขที่เป็นปัญหาในการรับรองรัฐโดยกฎหมายได้สิ้นสุดลง รัฐนั้นก็จะได้รับการรับรองโดยกฎหมายระหว่างประเทศ และการรับรองโดยข้อเท็จจริงอาจมีการขยายระยะเวลาออกไปนานได้เท่าที่เงื่อนไขการรับรองโดยกฎหมายยังไม่สมบูรณ์พอ
2.รับรองโดยกฎหมาย หมายถึง การรับรองรัฐโดยนิตินัยอันมีผลถูกต้องตามกฎหมายว่ารัฐที่ได้รับการยอมรับนั้นมีสภาพครบถ้วนตามเงื่อนไขการเป็นรัฐ การรับรองโดยกฎหมายจึงมีลักษณะที่เป็นทางการและมีผลถาวร การรับรองโดยกฎหมายจึงเป็นการแสดงถึง
ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ
รัฐชาติ
เป็นเรื่องหนึ่งที่วิชารัฐศาสตร์ในปัจจุบัน เรื่องของรัฐชาตินั่นมีความสำคัญมาก และจะต้องปลูกฝังเรื่องนี้อยู่เสมอ โดยเน้นหนักไปที่ “คนในชาติ” ให้ประชาชนในชาติมีความรู้สึก ความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่า เป็นพวกพ้องเดียวกัน เรื่องของรัฐชาติที่จะต้องปลูกฝังให้กับประชาชนในชาตินั้น มีกระบวนการปลูกฝังความเป็นชาติอยู่ 2 องค์ประกอบด้วยกัน
1.การสร้างสัญลักษณ์ร่วมกัน
เป็นกระบวนการแรกของการสร้างความเป็นพวกพ้องเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งเป้าในสิ่งที่เหมือนๆกันหรือคล้ายกัน เช่น ประเทศในยุโรปที่มุ่งเน้นในเรื่องของศาสนาเป็นหลักใน การสร้างรัฐชาติ อันเนื่องมาจากประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งมีนักบุญ เป็นตัวแทน และผู้
เผยแผ่หลักคำสอน กระบวนการนี้จึงหล่อหลอมให้คนในชาตินับถือนักบุญ เป็นหลัก
2.การมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน
เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการที่คนในชาติ มีบรรพบุรุษร่วมกัน ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดของประเทศนั้น โดยเฉพาะการมีประวัติศาสตร์ที่มีจุดเชื่อมกันของเวลานั่นหมายถึงการมีจุดเริ่มต้นสานต่อ และเชื่อมโยงมาจวบจนถึงปัจจุบัน อย่างเห็นได้ชัด เช่น ประเทศไทยที่มีมีต้นแบบของภาษาไทย ที่เรียกว่า “ลายสือไท” ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้น และพัฒนาต่อกันมาจนกลายเป็นภาษาไทยที่ใช้กันในปัจจุบัน