Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
7 Health problems in Cardiovascular system - Coggle Diagram
7 Health problems in Cardiovascular system
อาการเจ็บอก (Chest pain)
I เจ็บแน่นบริเวณกลางอกหรือค่อนไปด้านซ้าย ลักษณะคล้ายถูกบีบรัดหรือมีอะไรมาทับ (Squeezing, Heaviness, Pressure) อาจมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ กราม ไหล่ซ้ายหรือแขนซ้ายได้ บางรายอาจมีอาการจุก แน่นลิ้นปี่ หรือเจ็บแน่นร้าวไปยังตําแหน่งที่ไม่ต่ํากว่าสะดือหรือด้านหลังของทรวงอก นอกจากนี้ในรายที่มี อาการเฉียบพลันอาจพบร่วมกับอาการเหนื่อย ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก
II อาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็นมากขึ้นขณะออกแรง ออกกําลังกาย มีความโกรธ ความเครียด หรือหลัง รับประทานอาหารมื้อใหญ่
III อาการเจ็บแน่นหน้าอกลดลงเมื่อหยุดพักหรือได้รับยา nitroglycerin พ่นหรืออมใต้ลิ้น
ลักษณะอาการเจ็บอกเป็น 3 แบบ
Non anginal chest pain
หมายถึง มีลักษณะอาการเจ็บอกเพียง 1 ข้อหรือไม่มีเลย
Atypical angina
หมายถึง มีลักษณะอาการเจ็บอกเพียง 2 ข้อ
Typical angina
หมายถึง มีลักษณะอาการเจ็บอกครบทั้ง 3 ข้อ
ตําแหน่งที่อาการเจ็บร้าวไป (Referred pain/Radiation)
หากผู้ป่วยเจ็บอกลักษณะ แบบ Angina pectoris ร่
วมกับมีอาการเจ็บร้าวไปที่แขนซ้ายด้านในข้อศอก ปลายนิ้ว หรือกรามจะเพิ่มความ
แม่นยําในก
ารวินิจฉัยเบื้องต้นว่าอาการเจ็บอกน่าจะมีสาเหตุจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือด เ
ป็นต้น
ระยะเวลาที่มีอาการเจ็บหน้าอก (Duration)
หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการเจ็บอกจน
อาการดีขึ้นหรือหายไป
เช่น กล้ามเนื้อ
หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute myocardial infraction) จะมีอาการเจ็บแน่นอกนานกว่า 15-20 นาที
ปัจจัยที่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้มีอาการมากขึ้น (Precipitating factors)
อาการเจ็บอกจากโรคหัวใจและหลอดเลือด จะมีอาการเจ็บอกรุนแรงขึ้นหากมีการออกกําลังกายหรือ มีอารมณ์เครียด
อาการเจ็บอกจากโรคของเยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจ จะเจ็บอกมากขึ้นขณะหายเข้าลึก ๆ
อาการเจ็บอกจากโรคของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่บริเวณหน้าอกจะเป็นมากขึ้นขณะบิดหรือเอี้ยวตัว
อาการเจ็บอกจากระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เป็นต้น
ปัจจัยที่ช่วยให้อาการบรรเทาหรือหายไป (Relieving factors)
หากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหลังจาก นั่งพักหรือได้รับยา Nitroglycerin อาการเจ็บอกอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือหากนั่งโน้มตัวไป ข้างหน้าแล้วอาการดีขึ้น อาจเกิดจากโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Investigation)
การตรวจเลือด
เพื่อหาเอนไซม์ที่เกิดจากการถูกทําลายของกล้ามเนื้อหัวใจหรือ Cardiac markers
ได้แก่
Creatinin kinase (CK-MB), Myoglobin, และ Troponin
การตรวจพิเศษ
เพื่อการวินิจฉัยโรคในระบบหัวใจและหลอดสามารถทําได้โดย การ
ทํา
CT scan, MRI, และ Coronary angiogram
ก
ารตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
การวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis)
อาการเจ็บอกที่มีสาเหตุจากหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular chest pain)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (ACS)
Aortic dissection
อาการเจ็บอกที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจและหลอดเลือด (Non Cardiovascular chest pain)
Pulmonary embolism
Esophageal rupture
Tension pneumothorax
อาการใจสั่น (Palpitation)
ลักษณะอาการใจสั่น (Character/Quality)
ใจสั่นเป็นแบบเต้นผิดจังหวะ หรือกระตุก หยุดเป็นพักๆ หัวใจเต้นเร็วหรือช้า อาจให้ผู้ป่วยอธิบายลักษณะอาการใจสั่นโดยการเคาะนิ้วเป็นจังหวะตามที่รู้สึกขณะใจสั่น
ลักษณะของการเริ่มมีอาการใจสั่น (Onset)
อาการใจสั่นเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด หรือค่อย ๆ เกิดขึ้น หากอาการเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดแล้วหายเป็นปกติทันที มักพบใน Paroxysmal supraventricular tachycardia, Paroxysmal atrial fibrillation, Ventricular tachycardia
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Investigation)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
การตรวจ Ambulatory EKG monitor หรือ Holter monitoring
กลุ่มอาการหายใจลําบาก เหนื่อยหอบ (Dyspnea)
ลักษณะของการเริ่มมีอาการหายใจลําบาก เหนื่อยหอบ (Onset)
อาการเป็นกระทันหันหรือ ค่อยเป็นค่อยไป ขณะเริ่มเกิดอาการกําลังทําอะไรอยู่ (เกิดขณะพัก หรือขณะทํากิจกรรม ถ้าเกิดขณะทํา กิจกรรม เกิดขึ้นขณะทํากิจกรรมมากแค่ไหน เช่น ขึ้นบันไดกี่ขั้น ยกของหนัก ทํางานบ้าน)เคยเป็นเช่นนี้มาก่อน หรือไม่ เป็นอยู่นานเท่าใดจึงดีขึ้น
ความรุนแรงของอาการอาการหายใจลําบาก เหนื่อยหอบ (Severity)
อาการมีความรุนแรง
เพียงใด ไม่มากนักเพียงทําให้รําคาญ ไม่สะดวกมากจนทําหน้าที่ปกติไม่ได้ มากจนอยู่เฉยๆก็มีอาการ
ปัจจัยที่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้มีอาการมากขึ้น (Precipitating factors)
การทํากิจกรรม อาการเป็นมากขึ้นเมื่อนอนราบ หรือสภาวะทางจิตใจ เช่น มีอาการหายใจลําบาก เหนื่อยหอบ เมื่อเกิด ความเครียด กังวล หรือตื่นเต้น เป็นต้น
อาการร่วม (Associated symptoms)
มีอาการหายใจลําบากขณะนอนราบ แต่ ดีขึ้นเมื่อนอนศีรษะสูง หรือถามว่านอนหนุนหมอนกี่ใบ มีอาการตื่นขึ้นมาหอบในเวลากลางคืนหรือไม่ ปริมาณ และลักษณะของปัสสาวะเป็นอย่างไร มีอาการบวม กดบุ๋มร่วมด้วยหรือไม่ และอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ไอ มี เสมหะ ไข้ แน่นหน้าอก เบื่ออาหาร น้ําหนักลด ไอเป็นเลือด มีเสียงวี๊ด เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Investigation)
ภ
าพถ่ายรังสีทรวงอก (Chest X-ray/CXR)
เป็นการตรวจเพื่อยืนยันภาวะ Pulmonary congestion และในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังมักพบขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography)
ผู้ป่วยอาการหายใจลําบาก เหนื่อยหอบที่มีสาเหตุจาก หัวใจล้มเหลวเฉียบพลันจะพบลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บ่งบอกถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน
การตรวจเลือด
ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ประเมินภาวะซีดโดยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ด เลือด (Complete Blood Count) ประสิทธิภาพการทํางานของไตโดยการตรวจ Blood Urea Nitrogen (BUN) และ Creatinine (Cr) นอกจากนี้ยังมีการตรวจเลือดที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคหัวใจ ล้มเหลวโดยเฉพาะคือการตรวจระดับ Natriuretic peptide ประกอบด้วย Brain Natriuretic Peptide (BNP) และ NT-proBNP
การวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis)
อาการหายใจลําบากที่เกิดจากระบบหัวใจและหลอดเลือด
โ
รคในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ทําให้เกิดอาการหายใจลําบากคือโรคหัวใจล้มเหลว หรือภาวะ หัวใจล้มเหลว (Heart Failure: HF)
เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกายได้อย่างเพียงพอกับความต้องการในการเผาผลาญอาหารและการใช้ออกซิเจน หรือหากทําได้ก็เป็นการ ทํางานภายใต้ภาวะที่ความดันในห้องหัวใจ (Filling pressure) สูงผิดปกติอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่ มีภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่
อาการในระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ออกแรงหรือออกกําลังกายได้น้อยลง นอนราบไม่ได้หรือ เหนื่อยหอบหลังนอนหลับ แขนขาบวม
อาการอื่น ๆ ได้แก่ อิ่มง่าย ท้องอืด จุกแน่นท้องด้านขวา คลื่นไส้ กระสับกระส่าย ซึมเศร้า สับสน ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้จําแนกประเภทของผู้ป่วยเพื่อใช้เป็นหลัก พิจารณาแนวทางการดูแลผู้ป่วย
อาการหายใจลําบาก เหนื่อยหอบจากระบบทางเดินหายใจ
โรคหืด (Asthma) จะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ มักเกิดเมื่อมีสิ่งระคายเคืองมากระตุ้นหลอดลม ผู้ป่วย จะมีอาการไอและมีเสียงวี๊ดในทรวงอกเมื่อหายใจเข้าออก อาการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วภายในไม่กี่ ชั่วโมง
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (Emphysema) ผู้ป่วยจะมี อาการไอมีเสมหะ และเหนื่อยง่าย อาการจะค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
โรคปอดบวม (Pneumonia) ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ หอบเหนื่อยขึ้นมาอย่างกะทันหัน อาจมีอาการ เจ็บหน้าอกร่วมด้วย
น้ําในเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion) เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด หรือโรคระบบอื่น ๆ ที่มี ภาวะบวมน้ํา เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคตับ โรคไต เกิดการคั่งของน้ําในช่องเยื่อหุ้มปอด