Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์ที่ 2 เรื่อง การให้คำปรึกษาก่อนสมรส และการวงแผนครอบครัว - Coggle…
สถานการณ์ที่ 2 เรื่อง การให้คำปรึกษาก่อนสมรส และการวงแผนครอบครัว
จากสถานการณ์ควรซักประวัติผู้รับบริการชายหญิงอะไรเพิ่มเติม
ซักประวัติการเจ็บป่วยของผู้รับบริการเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย G6PD
ซักประวัติการเจ็บป่วยของผู้รับบริการเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นโรคซิฟีลิส, HIV, โรคเริม, โรคหนองใน
ซักประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ วัณโรค
ซักประวัติเกี่ยวกับอาชีพและรายได้ของชายหญิงคู่นี้ ว่าประกอบอาชีพอะไรและมีความพร้อมในด้านการเงินมากน้อยแค่ไหน
ซักประวัติรอบประจำเดือน
ซักประวัติเกี่ยวกับ การใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่
ตรวจ กรุ๊ปเลือด ABO และ Rh
ซักประวัติเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน HPV มั้ย
ซักประวัติการคุมกำเนิดในอดีตและปัจจุบัน
ซักประวัติน้ำหนัก ส่วนสูง
ควรให้คำปรึกษาในการเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจอย่างไร
ด้านร่างกาย
• แนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพร่างกายทั่วไป การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ของชายหญิงคู่นี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการให้คำปรึกษาและส่งพบแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
การตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก การตรวจ
ร่างกายตามระบบ (Head to toe)
การตรวจหมู่เลือด ABO และ Rh โดยในสตรีที่มีหมู่เลือด Rh ลบ ควรได8รับ Rh immunoglobulin ในขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด
การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
การตรวจภูมิต้านทานต่อหัดเยอรมัน
การตรวจปัสสาวะ เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การปรับเปลี่ยน Life style ให้พร้อมที่สุดในการที่จะมีลูก ควรปรับก่อนมีลูกอย่างน8อย 1-3 เดือน.
ลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล
แนะนำให้รับประทาน Folic acid ก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 1-3 เดือน
ด้านจิตใจ
ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความรัก ความผูกพันซึ่งกันและกันโดยให้คสมรสชายหญิงมีความคิดในด้านบวก หากมีปัญหาให้คู่สมรสร่วมกันแก้ปัญหาและให้ยึดถือการตัดสินใจของคู่สมรสเป็นหลักเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในครอบครัว ที่อาจนำไปสู่ภาวะเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต
ควรส่งเสริมสุขภาพก่อนตั้งครรภ์อย่างไร
การออกกำลังกาย ควรมีการส่งเสริมให้มสุขภาพที่ดีก่อนการตั้งครรภ์ ควรมีการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
ส่งเสริมในเรื่องของการวางแผนการตั้งครรภ์
ส่งเสริมในเรื่องของการป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ส่งเสริมให้หยุดพฤติกรรมที่มีการใช้สารเสพติดหรือการใช้เครื่องดื่มที่มี
ส่วนผสมของแอลกอฮอล์
ส่งเสริมในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักและการจัดการภาวะโภชนาการก่อน
ตั้งครรภ์