Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้สารน้้าทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle Diagram
การให้สารน้้าทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด
หลักการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การให้สารน้้าทางหลอดเลือดด้าส่วนปลาย (Peripheral intravenous infusion)
การให้สารน้ำหรือของเหลวทางหลอดเลือดดำที่อยู่ในชั้นตื้น ๆ ของผิวหนัง
หลอดเลือดดำที่อยู่ในส่วนปลายของแขนและขา
ผู้ป่วยที่ต้องงดอาหารและน้ำดื่ม เพื่อเตรียมผ่าตัด ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้ยาทางหลอดเลือดดำ
Heparin lock
การแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
คาเข็มที่หล่อด้วยสารต้านการแข็งตัวของเลือด
การให้สารละลายและยาเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นครั้งเป็นคราว
Piggy back IV Administration
การให้สารน้ำขวดที่ 2 ซึ่งมีขนาดบรรจุ 25 – 250 มล.²
ต่อเข้ากับชุดให้สารน้ำขวดแรก
เพื่อให้ยาหยดเข้าทางหลอดเลือดดำช้า ๆ ขณะที่สารน้ำใน
piggyback set หยด สารน้ำที่ให้อยู่ก่อนจะหยุดไหลชั่วคราว จนกว่าสารน้ำใน Piggy back หมด
การให้สารน้้าทางหลอดเลือดด้าใหญ่ (Central venous therapy)
การให้สารน้ำหรือของเหลวทาง Central line ทางหลอดเลือดดำใหญ่ ๆ
ให้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปาก รับประทานอาหารทางปากได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การให้สารน้้าและสารละลายทางหลอดเลือดด้าใหญ่ผ่านอุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง
(Implanted vascular access device หรือ venous port)
การฝังอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำไว้ใต้ผิวหนัง
ปลายสายสอดผ่านเข้าหลอดเลือดดำใหญ่
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้สารละลายทางหลอดเลือดด าเป็นระยะ ๆ และไม่สามารถให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายได้
ชนิดของสารน้้าที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
สารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำทุกชนิด ประกอบด้วย ตัวถูกละลาย รวมทั้งอิเล็กโตไลท
สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)
มีความเข้มข้นเท่ากันน้ำนอกเซลล์
(Extracellular fluid) ซึ่งมีออสโมลาริตี้ระหว่าง 280-310 m0sm/l
ถ้าให้ทางหลอดเลือดดำจะไม่มีการเคลื่อนที่ของน้ำเข้าหรือออกจากเซลล์
ช่วยเพิ่มปริมาตรของน้ำที่อยู่นอกเซลล์
Lactated Ringer’s
5% Dextrose in water
5% Albumin
สารละลายไฮโปโทนิก (Hypotonic solution)
ออสโมลาริตี้ น้อยกว่า 280 m0sm/l ซึ่งค่าOsmolarityน้อยกว่าน้ำนอกเซลล์
เป็นสารน้ำที่มีโมเลกุลอิสระของน้ำมากกว่าในเซลล์ ทำให้เกิดการเคลื่อนของน้ำเข้าสู่เซลล์
การให้สารน้ำชนิดนี้ต้องให้อย่างช้า ๆ เพื่อป้องการรบกวนของเซลล์
0.33% Sodium chloride
2.5% Dextrose in water
สารละลายไฮเปอร์โทนิก (Hypertonic solution)
เป็นสารน้ำที่มีค่าออสโมลาริตี้ มากกว่า310 m0sm/l ซึ่งมีมากกว่าออสโมลาริตี้ของน้ำนอกเซลล์
มีโมเลกุลอิสระของน้ำน้อยกว่าน้ำในเซลล์ ทำให้เกิดการดึงน้ำจากเซลล์สู่ระบบการไหลเวียน
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการหยดของสารน้ำ
ระดับขวดสารน้ำสูงหรือต่ำเกินไป
การแขวนขวดสารน้ำให้สูง สารน้ำจะหยดเร็วกว่าการแขวนขวดในระดับต่ำ
ถ้าขวดสารน้ำอยู่ต่ ากว่าระดับหลอดเลือด แรงดันในหลอดเลือดจะมากกว่าทำให้เลือดไหลย้อนเข้ามาในเข็มและปนกับสารน้ำในสายให้สารน้ำ
ความหนืดของสารน้ำ ถ้าสารน้ำมีความหนืดสูงอัตราการหยดจะช้า
ขนาดของเข็มที่แทงเข้าหลอดเลือดดำเข็มขนาดใหญ่จะมีทางผ่านกว้าง การหยดจะเร็วกว่าใช้เข็มขนาดเล็ก
เกลียวปรับบังคับหยดที่ลื่นมาก จะบังคับการหยดได้ไม่ดีพอ อัตราการหยดจะเร็ว
สายให้สารน้ำ
มีความยาวมาก มีการหักพับงอหรือถูกกด จะทำให้สารน้้ำผ่านไม่สะดวก อัตราการไหลจะช้าลง
ถ้าปลายข้อต่อของสายให้น้ำถูกดึงรั้งจนหลวมหลุดจากเข็มสารน้ำจะไหลเร็วจะมีเลือดออกมาจากหัวเข็มด้วย
การผูกยึดบริเวณหลอดเลือดแน่นตึงเกินไปรวมทั้งการนั่งจะปิดกั้นทางผ่านของสารน้ำ ทำอัตราการหยดช้าลง
การเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย อาจทำให้เข็มเคลื่อนที
การปรับอัตราหยดผู้ป่วยเด็กที่เอื้อมมือไปหมุนปรับเล่น หรือญาติผู้ป่วยหมุนปรับเอง
การคำนวณอัตราการหยดของสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
สูตรการคำนวณอัตราของสารน้ำใน 1 นาที
จำนวนหยดของสารละลาย (หยด/ นาที) =จำนวน Sol.(มล/ชม.) x จำนวนหยดต่อมล.)/เวลา(นาที)
สูตรการคำนวณสารน้ำที่จะให้ใน 1 ชั่วโมง
ปริมาตรของสารน้ำที่จะให้ใน 1 ชม.=ปริมาตรของสารน้ำที่จะให้/จำนวนเวลาที่จะให้เป็นชั่วโมง
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การเลือกตำแหน่งของหลอดเลือดดำที่จะแทงเข็ม
เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่ถนัดก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้แขนข้างที่ถนัดทำกิจวัตรต่างด้วยตนเองได้
เริ่มต้นแทงเข็มที่ให้สารน้ำที่หลอดเลือดดำส่วนปลายของแขนก่อน
เพื่อให้หลอดเลือดดำส่วนที่ถัดเข้ามาสามารถใช้งานได้อีก
ตำแหน่งเส้นเลือดดำส่วนปลายที่แขนและมือ ซึ่งเหมาะสำหรับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
Cephalic vein
Basilic vein
ตรวจสอบบริเวณตำแหน่งที่จะแทงเข็มว่ามีสภาพที่เหมาะสม
ถ้าจำเป็นต้องผูกยึดแขนและขา ให้หลีกเลี่ยงการแทงเข็มให้สารน้ำ
หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับต่าง ๆ เพราะจะทำให้หลอดเลือดแตกทะลุง่าย
คำนึงถึงชนิดของสารน้ำที่ให้
สารน้ำชนิด Hypertonic เนื่องจากสารน้ำมีความเข้มข้นของสารละลายสูง และมีความหนืดควรเลือกหลอดเลือดเส้นใหญ่ในการให้สารน้ำ
อุปกรณ์เครื่องใช้
ขวดสารน้ำ โดยขวดสารน้ำ/ยา ต้องเตรียมให้ตรงกับใบสั่งการรักษาและตรวจสอบดูว่าสภาพขวดสารน้ำ/ยาไม่มีรอยแตกร้าว หมดอายุ
ชุดให้สารน้ำ (IV Administration set) ใช้เป็นทางผ่านของสารน้ำจากขวดไปสู่หลอดเลือดดำของผู้ป่วย
เป็นสายสีขาวใสมองเห็นสารน้ำได้ตลอดสาย
ส่วนบนเป็นแท่งพลาสติกแข็งปลายแหลมใช้แทงผ่านจุกขวด ต่อ
จากโคนเข็มมีกระเปาะพักน้้ำ
ปรับอัตราการหยดตามการหมุนเกลียวหรือใช้แผ่นปรับบังคับการหยดของสารน้ำ ที่ปลายสายของชุดให้สารน้ำ
ปลายท่อยางมีข้อต่อใช้ต่อเข้ากับหัวเข็มที่แทงเข้าหลอดเลือดดำ
เข็มที่ใช้แทงเข้าหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral insertion devices)
อาการแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ (Local complication)
การบวมเนื่องจากสารน้ำซึมออกนอก หลอดเลือดดำ (Infiltration) เกิดอาการบวมบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำ
การมีเลือดออกและแทรกซึมเข้าใต้ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็ม (Extravasations)รู้สึกปวดแสบ ปวดร้อน ไม่สุขสบาย ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็มแดง
การติดเชื้อเฉพาะที่ (Local infection) บวมแดง ร้อน บริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำอาจจะมีหนองบริเวณที่แทงเข็ม
หลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็มบวม ตำแหน่งที่แทงเข็มแดงร้อนไปตามแนวของหลอดเลือด หลอดเลือดด าที่ให้สารน้ำเป็นลำแข็ง อาจมีไข้
การพยาบาล
หยุดให้สารน้ำจัดแขนข้างที่บวมให้สูงกว่าลำตัวผู้ป่วย
ประคบด้วยความร้อนเปียก
เปลี่ยนที่แทงเข็มให้สารน้ำใหม
รายงานให้แพทย์ทราบเพื่อให้การรักษา
จัดแขนข้างที่บวมให้สูงกว่าล าตัวผู้ป่วย เพื่อลดอาการบวม
ส่งหนองบริเวณที่แทงเข็มเพาะเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบไหลเวียนของเลือด (Systemic complication)
การแพ้ยาหรือสารน้ำที่ได้รับ (Allergic reaction) มีผื่นแพ้เกิดขึ้นที่ผิวหนัง
การติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia หรือ Septicemia) มีไข้สูง หนาวสั่น ความดันโลหิตลดลง คลื่นไส้ อาเจียน
เกิดฟองอากาศในกระแสเลือด (Air embolism) เกิดจากการไล่ฟองอากาศในชุดสายให้สารน้ำไม่หมด
ให้สารน้ำเร็วเกินและมากเกินไป (Circulatory overload) เกิดจากอัตราการหยดของสารน้ำเร็วเกินไป โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหัวใจ
การพยาบาล
หยุดให้สารน้ำ
เปลี่ยนขวดให้สารน้ำกรณีผู้ป่วยมีการแพ้ยาหรือสารน้ำที่ได้รับหรือมีการติดเชื้อ
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ส่งเลือดและหนองที่เกิดเฉพาะที่ไปเพาะเชื้อ
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะต่ำกรณีความดันโลหิตต่ำ
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงกรณีความดันโลหิตสูง
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านร่างกาย
ระดับความรู้สึกตัว ประวัติการเจ็บป่วย
การประเมินด้านจิตใจ
ความพร้อมของการรับบริการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ความต้องการรับบริการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ความวิตกกังวลและความกลัว
การประเมินสิ่งแวดล้อม
ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยและรอบเตียง
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย
ความพร้อมใช้ของสิ่งแวดล้อมตัวผู้ป่วย
บรรยากาศในหอผู้ป่วย และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
การประเมินแผนการรักษา
ขั้นตอนที่2 ข้อวินิจฉัย
มีความพร้อมในการเริ่มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่3 การวางแผนในการให้สารน้้าทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่ 4 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ประเมินอาการแทรกซ้อนและอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยและปลอดภัยตามหลักการ 6 Rights
ประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย (โดยการสอบถามผู้ป่วย)
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและจัดท่านอนให้สุขสบายและเหมาะสม
ประเมินการปฏิบัติถูกต้องครบและเป็นไปตามขั้นตอนของการปฏิบัติ
ประเมินการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่
การใช้กระบวนการพยาบาลในการฉีดยาเข้าหลอดเลือดำ
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนที่2 ข้อวินิจฉัย
การบริหารยาที่มีประสิทธิภาพโดยใช้หลักการ 6 Rights
หลักความปลอดภัย SIMPLE ของpatient safety goals
ขั้นตอนที่3 การวางแผนในการบริหารยา
วางแผนบริหารยาตามหลักการ 6 Rights หลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safetygoals
ขั้นตอนที่ 4 วิธีการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
วิธีการฉีดยาแบบที่ 1 IV plug กับ piggy back (100 ml)
วิธีการฉีดยาแบบที่ 2 IV plug กับ syringe IV push
วิธีการฉีดยาแบบที่ 3 Surg plug กับ piggy back (100 ml)
วิธีการฉีดยาแบบที่ 4 Surg plug กับ syringe IV push
วิธีการฉีดยาแบบที่ 5 three ways กับ piggy back (100 ml)
วิธีการฉีดยาแบบที่ 6 three ways กับ syringe IV push
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการบริหารยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
ประเมินอาการแทรกซ้อนและอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วย
ประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย (โดยการสอบถามผู้ป่วย)
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและจัดท่านอนให้สุขสบายและเหมาะสม