Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle Diagram
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเลือดและส่วนประกอบของเลือด
หลักการให้สารน้้าทางหลอดเลือดดำ
การให้สารน้้าทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
(Peripheral intravenous infusion)
อยู่ในชั้นตื้นๆของผิวหนังหรือหลอดเลือดดำที่อยู่ในส่วนปลายของแขนและขา
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องงดอาหารและน้ำดื่มเพื่อเตรียมผ่าตัด
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้ยาทางหลอดเลือดดำโดยเฉพาะการให้ยาที่ผสมเจือจางและหยดเข้าทางหลอดเลือดดำช้าๆ
Heparin lockหรือ Saline lock
การแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายและคาเข็มที่หล่อด้วย
สารต้านการแข็งตัวของเลือด (Heparin)
Piggyback IV Administration
การให้สารน้ำขวดที่ 2 ต่อเข้ากับชุดให้สารน้ำขวดแรก
การให้สารน้้าทางหลอดเลือดดำใหญ่
(Central venous therapy)
การให้สารน้ำหรือของเหลวทาง Central line ทางหลอดเลือดดำใหญ่ๆ
Subclavian vein,Internal&External jugular veins
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปาก
การให้สารน้้าและสารละลายทางหลอดเลือดด้าใหญ่ผ่านอุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง
(Implantedvascular access device หรือvenousport)
ฝังอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำไว้ใต้ผิวหนัง
ผู้ป่วยโรคเลือดเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
Subclavian vein, Right &Left Nominateveins
ชนิดของสารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
สารละลายไอโซโทนิก
(Isotonic solution)
Lactated Ringer’s , Ringer’s, Normal saline, 5%Dextrose in water
ความเข้มข้นเท่ากันน้ำนอกเซลล์(Extracellular fluid)ซึ่งมีออสโมลาริตี้
ระหว่าง 280-310 m0sm/l
ช่วยเพิ่มปริมาตรของน้ำที่อยู่นอกเซลล์
สารละลายไฮโปโทนิก
(Hypotonic solution)
½ Normal saline, 0.33% Sodium chlorideและ2.5% Dextrose in water
ออสโมลาริตี้ น้อยกว่า 280 m0sm/l
สารน้ำชนิดนี้ต้องให้อย่างช้าๆ เพื่อป้องการรบกวนของเซลล์
สารละลายไฮเปอร์โทนิก
(Hypertonic solution)
5% Dextrose in half-normal saline, 5% Dextrose in normal saline,
5% Dextrose in lactated Ringer’s
มีค่าออสโมลาริตี้ มากกว่า 310m0sm/l
เกิดการดึงน้ำจากเซลล์สู่ระบบการไหลเวียน
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการหยดของสารน้้า
ระดับขวดสารน้ำสูงหรือต่ำเกินไป
แขวนขวดสารน้ำให้สูง สารน้ำจะหยดเร็วกว่าการแขวนขวดในระดับต่ำ
ความหนืดของสารน้ำ
ความหนืดสูงอัตราการหยดจะช้า
ขนาดของเข็มที่แทงเข้าหลอดเลือดดำ
เข็มขนาดใหญ่ อัตราการหยดจะเร็วกว่าใช้เข็มขนาดเล็ก
เกลียวปรับบังคับหยด
ลื่นมากจะบังคับการหยดได้ไม่พอดี
สายให้สารน้ำ
ยาวมากมีการหักพับงอหรือถูกกด จะทำให้สารน้ำผ่านไม่สะดวก
การผูกยึดบริเวณหลอดเลือด
แน่นหรือตึงเกินไป จะปิดกั้นทางผ่านของสารน้ำ
การเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย
ปลายตัดของเข็มแนบชิดผนังหลอดเลือดทำให้สารน้ำไหลไม่สะดวก
การปรับอัตราหยดผู้ป่วยเด็กที่เอื้อมมือไปหมุนปรับเล่น หรือญาติผู้ป่วยหมุนปรับเอง
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การเลือกตำแหน่งของหลอดเลือดดำที่จะแทงเข้า
ตรวจสอบบริเวณตำแหน่งที่จะแทงเข็มว่ามีสภาพที่เหมาะสม
ถ้าจำเป็นต้องผูกยึดแขนและขาให้หลีกเลี่ยงการแทงเข็มให้สารน้ำ
เริ่มต้นแทงเข็มที่ให้สารน้้ำที่หลอดเลือดดำส่วนปลายของแขนก่อนโดยตำแหน่งเส้นเลือดดำส่วนปลายที่แขนและมือ ซึ่งเหมาะสำหรับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ : Cephalic vein และ Basilic vein
หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับต่างๆ
เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่ถนัดก่อน
คำนึงถึงชนิดของสารน้ำที่ให้
อุปกรณ์เครื่องใช้
ขวดสารน้ำ
เตรียมให้ตรงกับใบสั่งการรักษาและตรวจสอบดูว่าสภาพขวดสารน้ำ/ยาไม่มีรอยแตกร้าว และสภาพพร้อมใช้งาน
ชุดให้สารน้ำ
(IV Administration set)
ทางผ่านของสารน้ำจากขวดไปสู่หลอดเลือดดำของ
ผู้ป่วยบรรจุในซองที่ปิดผนึกมิดชิดผ่านการฆ่าเชื้อ
เข็มที่ใช้แทงเข้าหลอดเลือดดำส่วนปลาย
(Peripheral insertion devices)
ทำด้วยเทฟล่อน นิยมใช้มากที่สุด
มีหลายขนาดตั้งแต่เบอร์ 14, 16, 18, 20, 22 และ 24
Butterfly or Scalp vein : ทำด้วยเหล็กสแตนเลสหรือโลหะ
อุปกรณ์อื่นๆ
เสาแขวนขวดให้สารน้ำ
สำลีปลอดเชื้อ70%Alcohol
ยางรัดแขน (Tourniquet)
ที่ต่อ 3ทางและสายต่อขยาย (Extension tube)
Transparent dressing
อาการแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะที่
(Local complication)
การบวมเนื่องจากสารน้ำซึมออกนอกหลอดเลือดดำ (Infiltration)
เลือดออกและแทรกซึมเข้าใต้ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็ม (Extravasations)
ติดเชื้อเฉพาะที่ (Local infection)
หลอดเลือดดำอักเสบ(Phlebitis)
Phlebitis Scale
Grade 0 ไม่มีอาการ
Grade1 ผิวหนังบริเวณแทงเข็มแดง
Grade2 ปวดบริเวณที่แทงเข็ม ผิวหนังบวมหรือไม่บวมก็ได้
Grade3 ปวดบริเวณที่แทงเข็ม ผิวหนังบวมแดงเป็นทาง คลำได้หลอดเลือดแข็งเป็นลำ
Grade4 ปวดบริเวณที่แทงเข็ม ผิวหนังบวมแดงเป็นทาง และมีหนอง
การพยาบาล
เปลี่ยนที่แทงเข็มให้สารน้ำใหม่
รายงานให้แพทย์ทราบเพื่อให้การรักษา
ประคบด้วยความร้อนเปียก
จัดแขนข้างที่บวมให้สูงกว่าลำตัวผู้ป่วย
หยุดให้สารน้ำ
ส่งหนองบริเวณที่แทงเข็มเพาะเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบไหลเวียนของเลือด
(Systemic complication)
การแพ้ยาหรือสารน้ำที่ได้รับ (Allergic reaction) มีผื่นแพ้เกิดขึ้นที่ผิวหนัง ร่วมกับอาการแพ้ต่าง ๆ
การติดเชื้อในกระแสเลือด (BacteremiaหรือSepticemia)
เกิดฟองอากาศในกระแสเลือด (Air embolism) เกิดจากการไล่ฟองอากาศในชุดสายให้สารน้ำไม่หมด
ให้สารน้ำเร็วเกินและมากเกินไป (Circulatory overload)
อาจเกิดอาการหัวใจวาย(Cardiac failure)และ/หรือน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)ได้
การพยาบาล
เตรียมรถ Emergency ในการช่วยเหลือเร่งด่วน
รายงานให้แพทย์ทราบเพื่อให้การรักษา
วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต
ส่งเลือดและหนองที่เกิดเฉพาะที่ไปเพาะเชื้อ
ให้การช่วยเหลือตามอาการ
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
เปลี่ยนขวดให้สารน้ำ
ดูแลให้ออกซิเจน
หยุดให้สารน้ำ
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะต่ำเมื่อความดันโลหิตต่ำ หรือจัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงเมื่อความดันโลหิตสูง