Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
2.2 การใช้งานระบบปฏิบัติการอุปกรณ์พกพา - Coggle Diagram
2.2 การใช้งานระบบปฏิบัติการอุปกรณ์พกพา
2.2.1 ประเภทของระบบปฏิบัติการอุปกรณ์พกพา
1.iOS (ไอโอเอส) หรือชื่อเดิมคือ iPhone OS (ไอโฟนโอเอส)
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดย Apple Inc. หรือในชื่อเดิมคือ Apple Computer Inc เพื่อรองรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น iPhone , iPad, iPod เป็นต้น ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก Apple App Store
2.Android (แอนดรอยด์)
ระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาโดย Android Inc. จากนั้นบริษัท Google ได้เข้าซื้อกิจการรวมทั้งบุคลากรทั้งหมด เพื่อนำมาพัฒนาต่อ ซึ่งระบบดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Smartphone, Tablet , Notebook เป็นต้น ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก Google Play Store
3.Windows Phone (วินโดว์โฟน
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือเวอร์ชันล่าสุด (โดยก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า Windows Mobile) ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก Windows Phone Store
4.BlackBerry OS (แบล็กเบอร์รีโอเอส)
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท RIM (Research In Motion) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารภายใต้ยี่ห้อ BlackBerry (แต่ปัจจุบัน RIM ได้เปลี่ยนชื่อเป็น BlackBerry เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อแบรนด์ของสินค้าหลัก) ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก BlackBerry App Word
Symbian OS (ซิมเบียน)
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท SymbianLtd. และเป็นหนึ่งใน OS ที่บริษัท Nokia พัฒนาเพื่อนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ Nokia เอง โดยมีจุดเด่นคือเป็นระบบเปิด ผู้ใช้สามารถที่จะนำโปรแกรมอื่น ๆ ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้งานรองรับ Symbian มาลงเพิ่มในเครื่องได้เอง ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก Nokia Ovi Store
2.2.2 ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง PDA
พีดีเอ หรือ เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (อังกฤษ: PDA ย่อมาจาก Personal digital assistants) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถพกพานำติดตัวได้ เริ่มพัฒนามาจากเครื่องออกาไนเซอร์มาก่อน ซึ่งพีดีเอที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมเบิลมักถูกเรียกว่าพ็อคเกตพีซี แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ
ปาล์ม (Palm) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เปิดตลาดมาก่อน แต่ก่อนนั้นใช้งานสำหรับเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำต่างๆ เช่น การนัดหมาย ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันพัฒนาคุณภาพมากขึ้นจนมีระบบปฏิบัติการของตัวเองเรียกว่า Palm Os
พ็อกเก็ตพีซี (Pocket PC) คือคอมพิวเตอร์ขนาดมือถือที่ใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมเบิล มันมีความสามารถของพีซีเดสก์ท็อปสมัยใหม่หลายอย่าง เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวกได้ดีเช่นเดียวกับปาล์ม แต่กินกำลังเครื่องมากกว่าปาล์ม ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่จะอิงค่ายไมโครซอฟท์เป็นหลัก เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ CE/Mobiles 2002,2003, 5.0 (ฉบับพ็อคเกตพีซี) ซีพียูที่ร่วมกันได้คือ "อินเทล XScale"
2.2.3 ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Smart Phone
ระบบปฏิบัติการ Palm OS
เป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือยุคแรกๆ เมื่อ 8-9 ปีที่ผ่านมา โดยหลักๆ จะมีคุณสมบัติเทียบเคียงกับคอมพิวเตอร์พกพา สามารถทำอะไรๆ ได้หลายๆ อย่างคล้ายกับคอมพิวเตอร์ แต่ข้อเสียก็คือนักพัฒนา (Developer) มักจะไม่ค่อยสนใจพัฒนาแอพพลิเคชั่นเสริมโดนๆ มาให้ใช้กันมากนัก Palm OS จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมสักเท่าใดในปัจจุบัน
ระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยน (Symbian)
ระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือยุคที่สองต่อจาก Palm OS สมัยโทรศัพท์มือถือค่ายโนเกียเฟื่องฟูในบ้านเรา หลายรุ่นของโนเกีย ใช้ระบบปฏิบัติการนี้ใส่ลงไปในมือถือ ความสามารถหลักๆ ก็คือ สามารถลงแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมได้ รองรับการใช้งานพื้นฐานเช่น SMS MMS Calendar Task และ Note เป็นต้น ที่สำคัญถือเป็นการเปิดศักราชการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือกันเลยทีเดียว
ระบบปฏิบัติการ iOS
ค่ายแอปส่ง “ไอโฟน” รุ่นแรกออกวางจำหน่ายเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ระบบปฏิบัติการ iOS ก็เริ่มเป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม ปัจจุบันมีผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS กว่า 50 ล้านคนทั่วโลก โดยคุณสมบัติโดดเด่น หลักที่เห็นได้ง่ายก็คือ เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Single OS ที่ไม่ว่าจะเป็นไอโฟน ไอพอดทัช ไอแพด รุ่นไหนๆ ก็สามารถอัพเกรดระบบปฏิบัติการมาใช้ได้เหมือนกันหมด แถมโดดเด่นด้วยแอพพลิเคชั่นเสริมมากมายมีให้เลือกดาวน์โหลดกันเป็นแสนเป็นล้านแอพฯ ครบครันทุกความต้องการการใช้งาน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ระบบปฏิบัติการนี้ไม่สามารถที่จะเสริมเติมแต่งอะไรเข้าไปเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่แอปเปิ้ลเค้าจัดสรรมาให้เท่านั้น
ระบบปฏิบัติการ Blackberry
หลายคนคงคุ้นชินและสนิทสนมกับระบบปฏิบัติการ Blackberry เป็นอย่างดี โดยระบบปฏิบัติการนี้เป็นระบบปฏิบัติการที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Research in Motion หรือ RIM ความสามารถหลักๆ คือรองรับการใช้งานองค์กร ในการรับส่งอีเมล์ในเชิงธุรกิจที่เน้นความปลอดภัยเป็นอย่างสูง แต่ระบบปฏิบัติการนี้จะสามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องสมาร์ทโฟนค่าย Blackberry เท่านั้น แถมคุณสมบัติโดดเด่นก็เห็นจะเป็น Blackberry Messenger หรือ BBM ที่สาวดีว่าใช้แชทเม้าท์มอยกับเพื่อนสาว กุ๊กกิ๊กออดอ้อนหวานใจกันนั่นแหละ
2.2.4 ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Tablet
ระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานและตัวเครื่อง เหมือนกับ Window 7, 8 ที่ทุกคนใช้กันอยู่ในตอนนี้
ตอนนี้ tablet มีระบบปฏิบัติการด้วยกันอยู่ 4 ระบบ ดังนี้
ระบบปฏิบัติการ iOS
เป็นระบบปฏิบัติการของค่าย Apple ซึ่งแท็บเล็ตที่ใช้อยู่จะเป็นอะไรเลยไม่ได้นอกจาก iPad นั่นเอง โดยจุดเด่นของ iOS คือความลื่นไหล เมื่อระบบการทำงานและจัดการหน่วยความจำออกมาดีด้วย ถึงแม้ iPad 2 จะมีหน่วยความจำแรมเพียงแค่ 512MB แต่การทำงานกลับลื่นไหลไม่ต่างจากแท็บเล็ตตัวอื่นๆที่มีหน่วยความจำมากกว่า ส่วนข้อด้อยเป็นระบบปฏิบัติการตัวเดียวที่ไม่รองรับ Flash ที่ไม่สามารถยอมให้แสดงผลได้ และการเชื่อมต่อที่ต้องทำผ่านซอฟท์แวร์ iTune ของ Apple เท่านั้น
ระบบปฏิบัติการ Android
เป็นระบบปฏิบัติการของค่าย Google แต่ก่อน Google ได้พัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับมือถือสมาร์ทโฟนซึ่งก็มีบางค่ายได้นำไปปรับปรุงแล้วใส่ในแท็บเล็ต เช่น ยี่ห้อดังอย่าง Samsung Galaxy Tab รุ่นแรกเลย โดยตัวระบบปฏิบัติการที่ใช้นั่นจะเป็น Android Froyo ต่อมาทาง Google ถึงได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่นใหม่ให้สามารถรองรับแท็บเล็ตที่มีหน้าจอขนาดใหญ่กว่ามือถือสมาร์ทโฟนได้ แล้วตั้งชื่อมันว่า Honeycomb
ระบบปฏิบัติการ Windows
เป็นระบบปฏิบัติการจากค่าย Microsoft ที่ทำให้หลายคนอาจจะชินและคุ้นเคยกับการใช้งาน Windows เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และยิ่งหน้าจอเป็นแบบสัมผัสอีกด้วยก็ช่วยให้แท็บเล็ตน่าใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามตัว Windows 7 นั้นยังคงไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้สำหรับแท็บเล็ตโดยเฉพาะ จึงทำให้อาจจะเล็กเกินไปที่จะใช้นิ้วสัมผัสได้ นอกจากนี้ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอร์รี่ก็ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอีก 3 ค่าย ของ iOS, Android และ BlackBerry Tablet OS อีกด้วย
ระบบปฏิบัติการ BlackBerry Tablet OS
เป็นระบบปฏิบัติการจากค่าย RIM เจ้าของมือถือสมาร์ทโฟนชื่อดัง BB นั่นเอง โดยระบบปฏิบัติการตัวนี้จะพัฒนามาสำหรับ PlayBook โดยเฉพาะ การทำงานโดยรวมก็ถือได้ว่าลื่นไหลไม่แพ้ iOS ของ Apple เหมือนกันนอกจากนี้ยังออกแบบการใช้งานโดยวิธีการสัมผัสต่างๆ เพื่อช่วยให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น จุดเด่นอีกอย่างก็คือการทำงานของ Multitasking หรือเปิดแอพพลิเคชั่นหลายตัวพร้อมกันได้ สามารถทำได้ดีกว่าระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆ หรือเทียบเท่า Windows ได้เลย แต่อย่างไรก็ตามมีข้อเสียตรงที่ PlayBook จำเป็นจะต้องมีมือถือ BB ถึงจะสามารถใช้งานส่วนของการเช็คอีเมลล์ รายชื่อ ปฏิทิน BBM ได้ และยังไม่รองรับภาษาไทยอีกด้วย